IGCSE Economics คืออะไร? ข้อสอบ IGCSE Economics ออกอะไร?

IGCSE Economics คืออะไร?

เป็นข้อสอบที่ใช้วัดความรู้วิชาเศรษฐศาสตร์ โดยที่ข้อสอบจะครอบคลุมเพียงความรู้เบื้องต้นของวิชาเท่านั้น และหัวข้อที่จะสอบก็ถูกแบ่งเป็น 8 หัวข้อใหญ่ คือ

1. Allocation of resources

2. Market and Market failure

3. The individual as producer, consumer and borrower

4. The private firm as producer and employer

5. Role of government in economy

6. Economic indicators

7. Developed and developing economies

8. International aspects

โดยข้อสอบ IGCSE Economics นี้ก็เป็นข้อสอบที่จัดทำมาเพื่อวัดความรู้ความเข้าใจทั้งคำศัพท์ทางเทคนิคในวิชาเศรษฐศาสตร์ และทฤษฎี (รวมถึงการวาดกราฟ, คำนวณและความสามารถที่จะอธิบายข้อมูลต่างๆได้) ทั้งนี้เกณฑ์การให้คะแนนข้อสอบนั้นแบ่งเป็นสามระดับ คือ A, C และ F ส่วนในตัวข้อสอบนั้นจะแบ่งเป็น 2 พาร์ทใหญ่ๆ

Paper 1

พาร์ทนี้จะเป็นข้อสอบแบบตัวเลือก โดยใช้ความรู้และความเข้าใจทางทฤษฎีในการตอบคำถามประมาณ 45% ส่วนที่เหลือจะทดสอบความสามารถในการวิเคราะห์ ในชุดนี้จะมีข้อสอบทั้งหมด 30 ข้อ มีเวลาให้ทำ 45 นาที และ คิดเป็น 30% ของคะแนนทั้งหมด

ตัวอย่างข้อสอบของ IGCSE Economics paper 1

Which aim of government policy is most likely to be achieved by an increase in interest rates?

A. Economic growth     B. Greater equality of income

C. Full employment      D. Price stability

 

จริงๆแล้วรัฐบาลจะสามารถเข้าแทรกแซงเศรษฐกิจได้สองทาง หนึ่งคือ ด้วย fiscal policy และ สองคือ monetary policy เนื่องจากข้อนี้พูดถึงดอกเบี้ย เพราะฉะนั้นผู้สอบจึงจำเป็นต้องเข้าใจกลไกของ monetary policy ว่าเป็นอย่างไร และสามารถเข้าช่วยเหลือเศรษฐกิจในส่วนไหนได้บ้าง

หนึ่งในวิธีที่ง่ายที่สุดที่จะตอบคำถามข้อนี้ คือ การตัดตัวเลือกที่ไม่ใช่ออก Choice ข้อ A ที่จะทำให้เศรษฐกิจเติบโตขึ้นด้วยการขึ้นดอกเบี้ยนั้นเป็นคำตอบที่ผิด เพราะ การที่จะทำให้เศรษฐกิจเติมโตและกระตุ้นเศรษฐกิจนั้น จำเป็นต้องลดดอกเบี้ย เพื่อให้จะเพิ่มความสามารถของภาคเอกชนในการเข้าถึงเงินเพื่อกู้ออกไปทำธุรกิจได้ง่าย และทำให้เศรษฐกิจเติบโต ส่วน Choice ข้อ C เรื่องอัตราการจ้างงานนั้นจะลิงค์กับข้อ A คือเมื่อธุรกิจมีการขยายตัว ก็จำเป็นต้องจ้างพนักงานเพิ่ม จึงจะทำให้ไม่มีอัตราการว่างงาน ซึ่งก็แปลว่ารัฐบาลสมควรจะลดดอกเบี้ย ไม่ใช่ขึ้นดอกเบี้ย ส่วนข้อ B นั้น ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับดอกเบี้ย เนื่องจากการที่จะลดความต่างทางรายได้นั้นจะทำผ่าน fiscal policy เช่น การเก็บภาษีเพิ่มจากคนที่มีรายได้สูง หรือลดการเก็บภาษีในคนที่มีรายได้ต่ำ เพราะฉะนั้นตัวเลือกสุดท้ายที่เหลือและเป็นข้อที่ถูกต้อง คือ ข้อ D.Price Stability
จะเห็นได้จากการวิเคราะห์คำตอบในข้อสอบข้อนี้ว่า ข้อสอบ IGCSE นั้นไม่จำเป็นต้องมีความรู้ลึกในวิชาเศรษฐศาสตร์มาก แต่จำเป็นต้องแม่นหลักการและมีความเข้าใจความเกี่ยวข้องกันข้อหลักการต่างๆอย่างถูกต้อง

ตัวอย่างข้อสอบของ IGCSE Economics Paper 2

พาร์ทนี้จะเป็นข้อสอบแบบ essay โดยจะมีข้อสอบทั้งหมด 2 sections โดยที่ section A จะเป็นข้อสอบบังคับ คือผู้เข้าสอบทุกคนจะต้องตอบคำถามใน section นี้ ซึ่งโดยส่วนมาก section นี้จะเป็นคำถามแนว situation และมีคำถามย่อยๆ อยู่ในข้อใหญ่อีกที section A นี้จะมีคะแนนเต็มทั้งหมด 30 คะแนน

ส่วน section B จะอนุญาตให้ผู้เข้าสอบเลือกทำ 3 ข้อ จากจำนวนทั้งหมด 6 ข้อ แต่ละข้อมีคะแนนเต็ม 20 คะแนน

ข้อสอบพาร์ทนี้จะมีเวลาให้ผู้เข้าสอบทำ 2 ชั่วโมง 15 นาที และคำนวณเป็น 70% ของคะแนนทั้งหมด

ตัวอย่างข้อสอบของ paper 2 section B

Brazil’s economic growth rate of 7.5% in 2010 was its highest since 1986. This was achieved, in part, by the government’s expansionary fiscal policy. The rapid increase in output helped to reduced absolute poverty, relative poverty and unemployment. It also raised living standards in the country.

Discuss whether economic growth always results in higher living standards?

ในการที่จะตอบคำตอบข้อนี้ จำเป็นต้องมีความเข้าในในสองเรื่องคือ economic growth และ living standard ผู้สอบจำเป็นต้องบอกได้ว่าอะไรคือ factor ที่ทำให้ living standard สูงขึ้นได้ อย่างเช่น สภาพแวดล้อมที่ดีขึ้นในการทำงาน เงินเดือนที่มากขึ้น ชั่วโมงเวลาที่น้อยลง นอกจากนี้ยังต้องอธิบายได้ว่า การที่เศรษฐกิจมีการขยายตัวนั้นจะทำให้มีอัตราการจ้างเงินสูงขึ้น หลังจากนั้นอาจจะอธิบายถึงว่าพอ supply แรงงานในตลาดน้อยลง เงินเดือนที่จ่ายให้แรงงานจึงจำเป็นต้องสูงขึ้นเพื่อดึงดูดให้มีแรงงานเข้าทำงานมากขึ้น และเจ้าของธุรกิจอาจจำเป็นต้องปรับสภาพแวดล้อมในการทำงานให้ดีขึ้นเพื่อที่พนักงานจะได้อยู่ทำงานได้นานขึ้นเพื่อที่จะผลิตสินค้าได้มากขึ้น หลังจากนั้นพนักงานก็จะมีเงินมากขึ้นเพื่อไปใช้จ่าย หรือเก็บออมซึ่งจะทำให้มาตรฐานการครองชีพดีขึ้น

อย่างไรก็ตามทาง IGCSE จะมีมาตรฐานในการให้คะแนนว่าผู้เข้าสอบจำเป็นต้องเขียนสิ่งที่เชื่อโยงกับคำตอบให้ได้มากกว่าจำนวนที่กำหนดเพื่อที่จะได้คะแนนเต็มในข้อนั้นๆ

Scroll to Top