TGAT TPAT คืออะไร? แล้ว น้อง ม.ปลาย จำเป็นต้องสอบทุกคนไหม?

TGAT คืออะไร
tgat คืออะไร

การสอบ TGAT คืออะไร

TGAT คือ การสอบเพื่อวัดสมรรถนะทั่วไป ย่อมาจาก Thai General Aptitude Test คะแนนจะเป็นส่วนหนึ่งในการยื่นสมัครเรียนต่อมหาวิทยาลัยในระบบ TCAS TGAT มี 3 ส่วน คือ การสื่อสารภาษาอังกฤษ การคิดอย่างมีเหตุผล และข้อสอบที่ถูกเพิ่มเข้ามาใหม่อย่าง สมรรถนะการทำงานในอนาคต ซึ่งผู้สอบต้องสอบหมดทั้ง 3 ส่วน ส่วนละ 100 คะแนน รวมคะแนนเต็ม 300 คะแนน

Table of Contents

TGAT สำคัญอย่างไร ทำไมต้องสอบ

คะแนน TGAT ใช้ยื่นได้ทุกรอบของระบบ TCAS โดยการคัดเลือกนักเรียนเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัย จะใช้คะแนนสอบเป็นเกณฑ์ในการคัดเลือก ประมาณ80%

ข้อสอบ TGAT มีวิชาอะไรบ้าง

ความถนัดทั่วไป : TGAT (Thai General Apititude Test)

– เป็นการสอบวัดสมรรถนะทั่วไป 3 พาร์ท

พาร์ท 1 : English Communication (การสื่อสารภาษาอังกฤษ)

พาร์ท 2 : Critical and Logical Thinking (การคิดอย่างมีเหตุผล)

พาร์ท 3 : Future Workforce Competencies (สมรรถนะการทำงาน)

– เลือกข้อสอบเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษได้

– สอบบนเครื่องคอมพิวเตอร์

– จัดสอบ : ช่วงเดือนตุลาคม และ/หรือ เดือนธันวาคม

– ใช้เป็นเกณฑ์ส่วนหนึ่งในการยื่นสมัคร

รอบ 1 พอร์ตฟอลิโอ

รอบ 2 โควตา

รอบ 3 แอดมิชชั่น

– คะแนนเต็ม 300 คะแนน

TGAT 1 (English Communication) คืออะไร

TGAT 1 คือ การสื่อสารภาษาอังกฤษ (English Communication) เป็นพาร์ทการสอบ TGAT ที่เน้นการใช้ภาษาอังกฤษสื่อสารในชีวิตประจำวัน มีความแตกต่างจาก GAT ภาษาอังกฤษแบบเดิม ข้อสอบเป็นแบบปรนัย 4 ตัวเลือก 100 คะแนน ระยะเวลาในการทำข้อสอบ 60 นาที มีโครงสร้างเนื้อหาที่ต้องสอบได้แก่

ทักษะการพูด ซึ่งจะประกอบไปด้วย

– การถาม-ตอบ 10 ข้อ

– เติมบทสนทนาแบบสั้น 10 ข้อ

– เติมบทสนทนาแบบยาว 10 ข้อ

ทักษะการอ่าน ซึ่งจะประกอบไปด้วย

– เติมข้อความเนื้อเรื่องให้สมบูรณ์ 15 ข้อ

– อ่านเพื่อจับใจความ 15 ข้อ

ความแตกต่าง ข้อสอบ TGAT 1 กับ A-Level ภาษาอังกฤษ

ข้อสอบ

TGAT 1

วัดความถนัด / การสื่อสารภาษาอังกฤษ

A-Level

ภาษาอังกฤษ

จำนวนข้อ60 ข้อ80 ข้อ
เวลาในการทำข้อสอบ60 นาที90 นาที
คะแนนเต็ม100 คะแนน100 คะแนน
โครงสร้างข้อสอบ

– Speaking Skill 60 ข้อ

( Question-Response , Short conversions , Long conversions ทั้งหมด คือ ข้อสอบแบบเติมบทสนทนา )

– Reading Skill 30 ข้อ

( Text completion คือ ข้อสอบ Cloze test ที่วัดทั้งคำศัพท์และแกรมม่า , Reading Comprehension ข้อสอบการอ่านทั่วไป )

– Listening and Speaking Skills 20 ข้อ

( ข้อสอบแบบเติมบทสนทนา )

– Reading Skill 40 ข้อ

( ข้อสอบการอ่าน )

– Writing Skill 20 ข้อ

( Text Completion คือ ข้อสอบ Cloze Test ที่วัดทั้งคำศัพท์ และ Grammar , Paragraph organization คือ ข้อสอบเรียงประโยค)

TGAT 2 (Critical & Logical Thinking) คืออะไร

TGAT 2 คือ การคิดอย่างมีเหตุผล (Critical & Logical Thinking) เป็นการสอบที่เน้นการเข้าใจ วิพากษ์ข้อมูลข่าวสาร ใช้เหตุผลเชิงปริมาณ และคิดอย่างมีตรรกะ มีความคล้ายข้อสอบ GAT เชื่อมโยงแบบเดิม แต่ข้อสอบเป็นแบบปรนัย 5 ตัวเลือก คะแนนเต็ม 100 คะแนน ระยะเวลาในการทำข้อสอบ 60 นาที มีโครงสร้างเนื้อหาที่ต้องสอบ ดังนี้

ความสามารถทางภาษา จำนวน 20 ข้อ ซึ่งจะประกอบไปด้วย

– การสื่อความหมาย

– การใช้ภาษา

– การอ่าน

– การเข้าใจภาษา

ความสามารถทางตัวเลข จำนวน 20 ข้อ ซึ่งจะประกอบไปด้วย

– อนุกรมมิติ

– การเปรียบเทียบเชิงปริมาณ

– ความเพียงพอของข้อมูล

– โจทย์ปัญหา

ความสามารถทางมิติสัมพันธ์ จำนวน 20 ข้อ ซึ่งจะประกอบไปด้วย

– แบบพับกล่อง

– แบบหาภาพต่าง

– แบบหมุนภาพสามมิติ

– แบบประกอบภาพ

ความสามารถทางเหตุผล จำนวน 20 ข้อ ซึ่งจะประกอบไปด้วย

– อนุกรมภาพ

– อุปมาอุปไมยภาพ

– สรุปความ

– วิเคราะห์ข้อความ

TGAT 3 (Future Workforce Competencies) คืออะไร

TGAT 3 คือ สมรรถนะการทำงานในอนาคต (Future Workforce Competencies) เป็นพาร์ทการสอบ TGAT ที่เน้นวิเคราะห์ข้อสอบ โดยต้องทำความเข้าใจความต้องการของโจทย์ และเข้าใจวิธีการตอบคำถาม ซึ่งทุกคำตอบจะมีคะแนนที่แตกต่างกันออกไป

โดยรูปแบบข้อสอบเป็นปรนัย 4 ตัวเลือก ทุกคำตอบจะมีคะแนนอยู่ที่ระหว่าง 0 – 1 คะแนน ดังนั้น การตอบคำถามจึงมี 2 แบบ คือ เลือกตอบตัวเลือกเดียว และเลือกตอบหลายตัวเลือก มีคะแนนเต็ม 100 คะแนน มีระยะเวลาที่ใช้สอบ 60 นาที โดยโครงสร้างข้อสอบ มีดังต่อไปนี้

การสร้างคุณค่าและนวัตกรรม จำนวน 15 ข้อ ซึ่งจะประกอบไปด้วย

– การคิดเชิงวิเคราะห์

– การแก้ไขปัญหาอย่างมืออาชีพ

– ความคิดเชิงนวัตกรรม

การแก้ไขปัญหาที่ซับซ้อน จำนวน 15 ข้อ ซึ่งจะประกอบไปด้วย

– การระบุปัญหา

– การแสวงหาทางออก

– การนำทางออกไปแก้ปัญหา

– การประเมินทางออกเพื่อการพัฒนาปรับปรุง

การบริหารจัดการอารมณ์ จำนวน 15 ข้อ ซึ่งจะประกอบไปด้วย

– ความตระหนักรู้ตนเอง

– การควบคุมอารมณ์และบุคลิกภาพ

– ความเข้าใจผู้อื่น

การเป็นพลเมืองที่มีส่วนร่วมของสังคม จำนวน 15 ข้อ ซึ่งจะประกอบไปด้วย

– การมุ่งเน้นการบริการสังคม

– จิตสำนึกและรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม

– การสร้างสรรค์เพื่อประโยชน์ของท้องถิ่น

จำนวนข้อสอบ TGAT

TGAT มี 200 ข้อ เวลาสอบ 3 ชั่วโมง เฉลี่ย ข้อละ 54 วินาที

คะแนน TGAT

TGAT คะแนนเต็ม 300 คะแนน

คะแนนเฉลี่ย TGAT

TGAT ความถนัดทั่วไป

คะแนนเฉลี่ย TGAT ที่ได้ส่วนใหญ่อยู่ระหว่าง 40.001 – 50.000 นับเป็น 35.1279%

TGAT1

คะแนนเฉลี่ย TGAT1 ที่ได้ส่วนใหญ่อยู่ระหว่าง 20.001 – 30.000 นับเป็น 33.0563%

TGAT2

คะแนนเฉลี่ย TGAT2 ที่ได้ส่วนใหญ่อยู่ระหว่าง 30.001 – 40.000 นับเป็น 25.920%

TGAT3

คะแนนเฉลี่ย TGAT3 ที่ได้ส่วนใหญ่อยู่ระหว่าง ส่วนใหญ่ได้ระหว่าง 60.001 – 70.000 นับเป็น 35.961%

TPAT 2

ความถนัดด้านศิลปกรรมศาสตร์ : ส่วนใหญ่ได้ระหว่าง 40.001 – 50.000 นับเป็น 49.697%

TPAT21 (ทัศนศิลป์) : ส่วนใหญ่ได้ระหว่าง 40.001 – 50.000 นับเป็น 39.667%

TPAT22 (ดนตรี) : ส่วนใหญ่ได้ระหว่าง 30.001 – 40.000 นับเป็น 41.426%

TPAT23 (นาฏศิลป์) : ส่วนใหญ่ได้ระหว่าง 60.001 – 70.000 นับเป็น 39.971%

TPAT3

ความถนัดด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรมศาสตร์ : ส่วนใหญ่ได้ระหว่าง 40.001 – 50.000 นับเป็น 32.588%

TPAT4

ความถนัดด้านสถาปัตยกรรมศาสตร์ : ส่วนใหญ่ได้ระหว่าง 60.001 – 70.000 นับเป็น 32.610%

TPAT5

ความถนัดด้านครุศาสตร์-ศึกษาศาสตร์ : ส่วนใหญ่ได้ระหว่าง 70.001 – 80.000 นับเป็น 42.143%

คะแนนสอบ TGAT ใช้ยื่นอะไร

TGAT สามารถใช้ยื่น TCAS ในรอบแฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio), รอบโควตา หรือรอบ Admission ได้ และคณะส่วนใหญ่จะใช้คะแนน TGAT ในการคัดเลือกสมัครสอบ ซึ่งแต่ละคณะจะใช้สัดส่วนคะแนน TGAT ที่มากน้อยแตกต่างกันไป

ข้อสอบ TPAT คืออะไร

TPAT คือ การทดสอบวัดความถนัดทางวิชาชีพ โดยเน้นไปที่การวัดความสามารถเชิงทักษะในสายอาชีพ

เปรียบเทียบ TGAT TPAT A-Level คืออะไร

TGAT TPAT A-Level คือ ระบบสอบเข้ามหาวิทยาลัย รูปแบบใหม่ จากทาง ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) เพื่อลดความซ้ำซ้อนของวิชาที่ใช้สอบในแต่ละสนาม และเน้นนำความรู้มาประยุกต์ใช้ไม่ท่องจำ

private

เทคนิค เตรียมสอบ TGAT

เทคนิค เตรียมสอบ TGAT1 English (ภาษาอังกฤษ)

Grammar ที่ออกสอบแน่นอน

– Subject & Verb Agreement ( การใช้ Verb ให้สอดคล้างกับ Subject )

– Part of Speech ( ชนิดคำในภาษาอังกฤษ )

– Tenses & Passive Voice ( การใช้ Tenses ประโยค Subject ถูกกระทำ )

– Clauses ( อนุประโยค )

– Finite & Non-finite Verbs ( กริยาแก้และกริยาไม่แท้ เช่น Participle Gerund , Infinite )

– Phrases ( วลี หรือ กลุ่มคำ )

– Conjunction & Preposition ( คำเชื่อมและคำบุพบท )

– Parallel Structure ( โครงสร้างคู่ขนาน )

Grammar เรื่องอื่นๆ ที่ออกสอบบ่อย

– other VS another

– a number of VS the number of

– million VS millions

– Noun Clause

– Present Subjunctive

– Past Subjunctive

– Speaking Skill ควรฝึกโจทย์ Conversion จาก ข้อสอบ TOEIC เพราะข้อสอบส่วนนี้จะคล้ายกับ TOEIC

– Reading Skill ข้อสอบจะออกคำศัพท์หลายรูปแบบ เช่น V2 , V3 , Adv. , Adj. , -ing เช่น ให้เติมคำศัพท์ในช่องว่าง ควรเติมคำอะไร โดยให้คำศัพท์ คำเดียว แต่มีรูปแบบที่แตกต่างกัน เช่น feel, felt, feeling, and feel, have felt เพราะฉะนั้น น้องๆ ควรฝึกจำ V2 , V3 และ การใช้ Part of Speech

– ฝึก Causative Verb คือ โครงสร้างไวยากรณ์ในรูปแบบคำกริยาที่พูดเพื่อให้ผู้อื่นทำบางสิ่งบางอย่างให้ โดยใช้คำกริยา Let, Make, Have, Get และ Help

เทคนิค เตรียมสอบ TGAT2 การคิดอย่างมีเหตุผล

– ฝึกทำโจทย์ อนุกรมตัวเลข

– ฝึกตัดตัวเลือกให้คล่องในบท การเปรียบเทียบเชิงปริมาณ , ความเพียงพอของข้อมูล และโจทย์ปัญหา

เทคนิค เตรียมสอบ TGAT3 สมรรถนะการทำงาน

– ข้อสอบ ส่วน การสร้างคุณค่าและนวัตกรรม ในส่วนนี้จะถามเกี่ยวกับการทำงาน การทำธุรกิจ น้องๆควรทำความเข้าใจ เรื่อง Design Thinking การคิดเชิงออกแบบ 5 ขั้นตอน

1. Empathize เข้าใจลูกค้า

2. Define นิยามปัญหาลูกค้า

3. Ideate สร้างสรรค์สินค้า

4. Prototype จำลองสินค้า

5. Test ทดสอบกับลูกค้า

ตัวอย่างข้อสอบ โจทย์ถามหากผลิตสินค้า แล้วอยู่ขั้นตอน Prototype ขั้นตอนต่อไปคืออะไร ? ให้น้องสอบได้เลย คือ Test

– ฝึกหาความต้องของ โจทย์ ปัญหา จากนั้นดูที่ ตัวเลือกในข้อสอบ ว่าตัวเลือกไหนไม่สามารถ แก้ปัญหาได้ ให้ตัดทิ้งได้เลย

– ข้อสอบพลเมืองที่มีส่วนร่วมของสังคม ให้ พยายามหา Keyword ในข้อสอบต้องมี 3 สิ่งนี้ คือ “ตัวเรา+ชุมชน+ส่วนร่วม” หากตัวเลือกไหน ไม่มี 3 สิ่งนี้ ให้ตัดทิ้งก่อนเลย

สมัครสอบ TGAT

1. เข้าใช้งานระบบที่ URL https://student.mytcas.com ในหน้าของข้อมูลการสมัครสอบ เลือก “ดูรายละเอียดและสมัครสอบ”

2. เลือกวิชาสอบและสนามสอบ – ระบบจะปรากฏวันสอบของแต่ละรายวิชา การเลือกวิชาสอบและสนามสอบให้เลือกเป็นรายวัน ให้ผู้สมัครเลือกวันที่ที่ต้องการสอบ

3. หลังจากนั้นให้ผู้สมัครเลือกวิชาสอบที่ต้องการ แล้วเลือก “ไปหน้าถัดไป”

4. ผู้สมัครจะต้องทำการเลือกประเภทข้อสอบ โดยเลือกระหว่าง “ข้อสอบแบบกระดาษ” หรือ “ข้อสอบแบบคอมพิวเตอร์”

สมัครสอบ TGAT แบบกระดาษ

1. กรณีที่เลือกประเภทข้อสอบแบบกระดาษ ผู้สมัครจะต้องทำการเลือกสนามสอบให้ครบทั้ง 5 ลำดับ ยกเว้นกรณีที่จังหวัดในลำดับแรก มีสนามสอบน้อยกว่า 5 สนามสอบ ให้เลือกทุกสนามสอบในจังหวัดนั้นแทน (กรุงเทพฯ นนทบุรี สมุทรปราการ นับเป็นจังหวัดเดียวกัน) โดยให้เลือกที่กล่องข้อความ “ค้นหาสนามสอบ”

2. กรณีที่ค้นหาสนามสอบไม่เจอ อาจเป็นเพราะเลือกความต้องการพิเศษอยู่ ซึ่งจะมีจำนวนสนามสอบที่รองรับไม่มากนัก ให้ดูรายชื่อสนามสอบทั้งหมด ที่ ค้นหาสนามสอบ

สมัครสอบ TGAT แบบคอมพิวเตอร์

1. กรณีที่เลือกประเภทข้อสอบแบบคอมพิวเตอร์ ผู้สมัครจะต้องทำการเลือกสนามสอบแบบกระดาษด้วย เผื่อกรณีสนามสอบคอมพิวเตอร์เต็ม จากนั้นเลือก “ไปหน้าถัดไป”

2. เมื่อทำการเลือกวิชาสอบและสนามสอบเสร็จสิ้นแล้ว ระบบจะปรากฏข้อมูลรายละเอียดการสมัครสอบและสนามสอบ ให้ผู้สมัครตรวจสอบข้อมูลให้ครบถ้วน ก่อนเลือก “บันทึกรายการ”

3. เมื่อบันทึกข้อมูลการเลือกวิชาสอบและสนามสอบเรียบร้อยแล้ว ระบบจะปรากฏสถานะ รอยืนยันการสมัคร หากต้องการเพิ่มรายวิชาสอบหรือแก้ไขสนามสอบ ให้เลือกที่ไอคอนลูกศรในวันที่ต้องการแก้ไข

4. เมื่อเสร็จสิ้นขั้นตอนการเลือกวิชาสอบและสนามสอบแล้ว ระบบจะสรุปวิชาสอบที่เลือกทั้งหมดและยอดเงินที่ต้องชำระ ให้เลือก “ยืนยันการสมัครสอบ”

5. ตรวจสอบความถูกต้องอีกครั้ง และเลือกช่องทางในการส่งรหัส One Time Password (OTP) เพื่อยืนยันการสมัครสอบ จากนั้นเลือก “ส่ง OTP เพื่อยืนยันการสมัครสอบ”

6. กรอกรหัสยืนยัน One Time Password (OTP) ที่ได้รับ จากนั้นเลือก “ยืนยัน OTP และยืนยันการสมัครสอบ”

7. ระบบจะปรากฏสถานะ รอการชำระเงิน และรายละเอียดวิชาสอบและสนามสอบทั้งหมด จากนั้นเลือก “พิมพ์ใบแจ้งชำระเงิน”

ตารางสอบ TGAT TPAT A-Level 2567

กันยายน 2567 – สมัครรอบ Portfolio

กันยายน 2567 – สมัครสอบ TPAT 1

ตุลาคม 2567 – ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ TCAS68

ตุลาคม 2567 – สมัครสอบ TGAT/TPAT2-5

ธันวาคม 2567 – สอบ TGAT/TPAT2-5

ธันวาคม 2567 – สอบ TPAT1

ธันวาคม 2567 – ประกาศผลสอบ TGAT/TPAT2-5 (แบบคอมพิวเตอร์)

มกราคม 2568 – ประกาศผลสอบ TGAT/TPAT2-5 (แบบกระดาษ)

กุมภาพันธ์ 2568 – สมัครรอบ Quota

กุมภาพันธ์ 2568 – สมัครสอบ A-Level

กุมภาพันธ์ 2568 – ประกาศผลสอบ TPAT1

กุมภาพันธ์ 2568 – ประกาศผลรอบ Portfolio

มีนาคม 2568 – วันสอบ A-Level

มีนาคม 2568 – ประกาศผลสอบ TGAT/TPAT2-5 (แบบคอมพิวเตอร์)

เมษายน 2568 – ประกาศผลสอบ TGAT/TPAT2-5 (แบบกระดาษ)

พฤษภาคม 2568 – ประกาศผลสอบ Quota

พฤษภาคม 2568 – สมัครสอบ Admission

พฤษภาคม 2568 – ประกาศผลรอบ Admission

พฤษภาคม 2568 – สมัครสอบ Direct Admission

มิถุนายน 2568 – ประกาศผลรอบ Direct Admission

Scroll to Top