TGAT Thai General Aptitude Test การสอบเพื่อวัดสมรรถนะทั่วไป

TGAT คืออะไร
tgat คืออะไร

การสอบ TGAT คืออะไร ?

TGAT คือการทดสอบความรู้ความสามารถทั่วไป ย่อมาจาก Thai General Aptitude Test ถือเป็นคะแนนที่สำคัญที่น้องจะต้องใช้ยื่นในการสมัครเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยผ่านระบบ TCAS

ข้อสอบ TGAT ประกอบด้วย 3 ส่วนคือ 1.การทดสอบทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษ 2. การคิดอย่างมีเหตุผล และ 3.ความสามารถในการทำงานในอนาคต น้องจะต้องสอบทั้ง 3 ส่วน โดยแต่ละส่วนมีคะแนน 100 คะแนน รวมทั้งหมด 300 คะแนน

References

Table of Contents

ข้อสอบ TGAT มีทั้งหมด 3 พาร์ท

ความถนัดทั่วไป : TGAT (Thai General Apititude Test)

– เป็นการสอบวัดสมรรถนะทั่วไป 3 พาร์ท

พาร์ท 1 : English Communication (การสื่อสารภาษาอังกฤษ)

พาร์ท 2 : Critical and Logical Thinking (การคิดอย่างมีเหตุผล)

พาร์ท 3 : Future Workforce Competencies (สมรรถนะการทำงาน)

– เลือกข้อสอบเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษได้

– สอบบนเครื่องคอมพิวเตอร์

– จัดสอบ : ช่วงเดือนตุลาคม และ/หรือ เดือนธันวาคม

– ใช้เป็นเกณฑ์ส่วนหนึ่งในการยื่นสมัคร

รอบ 1 พอร์ตฟอลิโอ

รอบ 2 โควตา

รอบ 3 แอดมิชชั่น

– คะแนนเต็ม 300 คะแนน

TGAT 1 ประกอบด้วย 60 ข้อ และมีเวลาทำข้อสอบ 60 นาที

TGAT 1 คือส่วนหนึ่งของการสอบ TGAT ที่เน้นการใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารในชีวิตประจำวัน โดยมีความแตกต่างจาก GAT ภาษาอังกฤษแบบเดิม โดยข้อสอบเป็นแบบปรนัย 4 ตัวเลือก โดยมีระยะเวลาในการทำข้อสอบ 60 นาที โครงสร้างของเนื้อหาที่ต้องสอบได้แก่

ทักษะการพูด ซึ่งจะประกอบไปด้วย

– การถาม-ตอบ 10 ข้อ

– เติมบทสนทนาแบบสั้น 10 ข้อ

– เติมบทสนทนาแบบยาว 10 ข้อ

ทักษะการอ่าน ซึ่งจะประกอบไปด้วย

– เติมข้อความเนื้อเรื่องให้สมบูรณ์ 15 ข้อ

– อ่านเพื่อจับใจความ 15 ข้อ

ความแตกต่าง ข้อสอบ TGAT 1 กับ A-Level ภาษาอังกฤษ

ข้อสอบ

TGAT 1

วัดความถนัด / การสื่อสารภาษาอังกฤษ

A-Level

ภาษาอังกฤษ

จำนวนข้อ60 ข้อ80 ข้อ
เวลาในการทำข้อสอบ60 นาที90 นาที
คะแนนเต็ม100 คะแนน100 คะแนน
โครงสร้างข้อสอบ

– Speaking Skill 60 ข้อ

( Question-Response , Short conversions , Long conversions ทั้งหมด คือ ข้อสอบแบบเติมบทสนทนา )

– Reading Skill 30 ข้อ

( Text completion คือ ข้อสอบ Cloze test ที่วัดทั้งคำศัพท์และแกรมม่า , Reading Comprehension ข้อสอบการอ่านทั่วไป )

– Listening and Speaking Skills 20 ข้อ

( ข้อสอบแบบเติมบทสนทนา )

– Reading Skill 40 ข้อ

( ข้อสอบการอ่าน )

– Writing Skill 20 ข้อ

( Text Completion คือ ข้อสอบ Cloze Test ที่วัดทั้งคำศัพท์ และ Grammar , Paragraph organization คือ ข้อสอบเรียงประโยค)

TGAT1 ประกอบด้วย 60 ข้อ 100 คะแนน และมีเวลาทำข้อสอบ 60 นาที

TGAT 2 เป็นการทดสอบทักษะในการคิดอย่างมีเหตุผลและตรรกะ ซึ่งเน้นไปที่การเข้าใจข้อมูลและข่าวสาร การใช้เหตุผลเชิงปริมาณ และการคิดอย่างมีตรรกะ ข้อสอบมีความคล้ายคลึงกับข้อสอบ GAT แบบเชื่อมโยง แต่ข้อสอบของ TGAT 2 เป็นแบบปรนัย มีตัวเลือก 5 ตัวเลือก และมีคะแนนเต็ม 100 คะแนน โครงสร้างเนื้อหาของข้อสอบ TGAT 2 ประกอบไปด้วย

ความสามารถทางภาษา จำนวน 20 ข้อ ซึ่งจะประกอบไปด้วย

– การสื่อความหมาย

– การใช้ภาษา

– การอ่าน

– การเข้าใจภาษา

ความสามารถทางตัวเลข จำนวน 20 ข้อ ซึ่งจะประกอบไปด้วย

– อนุกรมมิติ

– การเปรียบเทียบเชิงปริมาณ

– ความเพียงพอของข้อมูล

– โจทย์ปัญหา

ความสามารถทางมิติสัมพันธ์ จำนวน 20 ข้อ ซึ่งจะประกอบไปด้วย

– แบบพับกล่อง

– แบบหาภาพต่าง

– แบบหมุนภาพสามมิติ

– แบบประกอบภาพ

ความสามารถทางเหตุผล จำนวน 20 ข้อ ซึ่งจะประกอบไปด้วย

– อนุกรมภาพ

– อุปมาอุปไมยภาพ

– สรุปความ

– วิเคราะห์ข้อความ

TGAT3 ประกอบด้วย 60 ข้อ 100 คะแนน และมีเวลาทำข้อสอบ 60 นาที

TGAT3 คือ สมรรถนะการทำงานในอนาคต (Future Workforce Competencies) ส่วนนี้เป็นการสอบความรู้เกี่ยวกับการสร้างคุณค่าและนวัตกรรม การแก้ปัญหาที่ซับซ้อน การบริหารจัดการอารมณ์ และการเป็นพลเมืองที่มีส่วนร่วมต่อสังคม ข้อสอบจะมีทั้งหมด 4 ตัวเลือกต่อข้อ และสามารถเลือกตอบได้มากกว่า 1 ตัวเลือกต่อข้อ มีคะแนนเต็ม 100 คะแนน และจะใช้เวลาสอบ 60 นาที

การสร้างคุณค่าและนวัตกรรม จำนวน 15 ข้อ ซึ่งจะประกอบไปด้วย

– การคิดเชิงวิเคราะห์

– การแก้ไขปัญหาอย่างมืออาชีพ

– ความคิดเชิงนวัตกรรม

การแก้ไขปัญหาที่ซับซ้อน จำนวน 15 ข้อ ซึ่งจะประกอบไปด้วย

– การระบุปัญหา

– การแสวงหาทางออก

– การนำทางออกไปแก้ปัญหา

– การประเมินทางออกเพื่อการพัฒนาปรับปรุง

การบริหารจัดการอารมณ์ จำนวน 15 ข้อ ซึ่งจะประกอบไปด้วย

– ความตระหนักรู้ตนเอง

– การควบคุมอารมณ์และบุคลิกภาพ

– ความเข้าใจผู้อื่น

การเป็นพลเมืองที่มีส่วนร่วมของสังคม จำนวน 15 ข้อ ซึ่งจะประกอบไปด้วย

– การมุ่งเน้นการบริการสังคม

– จิตสำนึกและรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม

– การสร้างสรรค์เพื่อประโยชน์ของท้องถิ่น

จำนวนข้อสอบ TGAT

TGAT มี 200 ข้อ เวลาสอบ 3 ชั่วโมง โดยเฉลี่ยละ 54 วินาทีต่อข้อ

คะแนน TGAT

TGAT คะแนนเต็ม 300 คะแนน

คะแนนเฉลี่ย TGAT

TGAT ความถนัดทั่วไป

คะแนนเฉลี่ย TGAT ที่ได้ส่วนใหญ่อยู่ระหว่าง 40.001 – 50.000 นับเป็น 35.1279%

TGAT1

คะแนนเฉลี่ย TGAT1 ที่ได้ส่วนใหญ่อยู่ระหว่าง 20.001 – 30.000 นับเป็น 33.0563%

TGAT2

คะแนนเฉลี่ย TGAT2 ที่ได้ส่วนใหญ่อยู่ระหว่าง 30.001 – 40.000 นับเป็น 25.920%

TGAT3

คะแนนเฉลี่ย TGAT3 ที่ได้ส่วนใหญ่อยู่ระหว่าง ส่วนใหญ่ได้ระหว่าง 60.001 – 70.000 นับเป็น 35.961%

TPAT 2

ความถนัดด้านศิลปกรรมศาสตร์ : ส่วนใหญ่ได้ระหว่าง 40.001 – 50.000 นับเป็น 49.697%

TPAT21 (ทัศนศิลป์) : ส่วนใหญ่ได้ระหว่าง 40.001 – 50.000 นับเป็น 39.667%

TPAT22 (ดนตรี) : ส่วนใหญ่ได้ระหว่าง 30.001 – 40.000 นับเป็น 41.426%

TPAT23 (นาฏศิลป์) : ส่วนใหญ่ได้ระหว่าง 60.001 – 70.000 นับเป็น 39.971%

TPAT3

ความถนัดด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรมศาสตร์ : ส่วนใหญ่ได้ระหว่าง 40.001 – 50.000 นับเป็น 32.588%

TPAT4

ความถนัดด้านสถาปัตยกรรมศาสตร์ : ส่วนใหญ่ได้ระหว่าง 60.001 – 70.000 นับเป็น 32.610%

TPAT5

ความถนัดด้านครุศาสตร์-ศึกษาศาสตร์ : ส่วนใหญ่ได้ระหว่าง 70.001 – 80.000 นับเป็น 42.143%

คะแนนสอบ TGAT ใช้ยื่นอะไร

TGAT สามารถใช้ยื่น TCAS ในรอบแฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio), รอบโควตา หรือรอบ Admission ได้ และคณะส่วนใหญ่จะใช้คะแนน TGAT ในการคัดเลือกสมัครสอบ ซึ่งแต่ละคณะจะใช้สัดส่วนคะแนน TGAT ที่มากน้อยแตกต่างกันไป

ข้อสอบ TPAT คืออะไร

TPAT คือการทดสอบที่ใช้ในการวัดความถนัดทางวิชาชีพ โดยเน้นไปที่การวัดความสามารถเชิงทักษะในสายอาชีพ

เปรียบเทียบ TGAT TPAT A-Level คืออะไร

ระบบสอบเข้ามหาวิทยาลัย TGAT TPAT A-Level เป็นระบบสอบเข้ามหาวิทยาลัยแบบใหม่ที่ถูกออกแบบมาเพื่อลดความซับซ้อนของการสอบแต่ละวิชาในสนามสอบ โดยเน้นการทดสอบด้วยการประยุกต์ใช้ความรู้มากกว่าการท่องจำ และเพิ่มโอกาสในการสอบเข้ามหาวิทยาลัยให้กับน้อง ๆ ระบบ TGAT TPAT A-Level นี้จะเพิ่มโอกาสในการสอบเข้ามหาวิทยาลัยให้กับน้อง ๆ และคัดเลือกน้อง ๆ เข้ามหาวิทยาลัยที่ตรงตามความสามารถของทุกคน

private

เทคนิคเตรียมสอบ TGAT

เทคนิค เตรียมสอบ TGAT1 English (ภาษาอังกฤษ)

Grammar ที่ออกสอบแน่นอน

– Subject & Verb Agreement ( การใช้ Verb ให้สอดคล้างกับ Subject )

– Part of Speech ( ชนิดคำในภาษาอังกฤษ )

– Tenses & Passive Voice ( การใช้ Tenses ประโยค Subject ถูกกระทำ )

– Clauses ( อนุประโยค )

– Finite & Non-finite Verbs ( กริยาแก้และกริยาไม่แท้ เช่น Participle Gerund , Infinite )

– Phrases ( วลี หรือ กลุ่มคำ )

– Conjunction & Preposition ( คำเชื่อมและคำบุพบท )

– Parallel Structure ( โครงสร้างคู่ขนาน )

Grammar เรื่องอื่นๆ ที่ออกสอบบ่อย

– other VS another

– a number of VS the number of

– million VS millions

– Noun Clause

– Present Subjunctive

– Past Subjunctive

– Speaking Skill ควรฝึกโจทย์ Conversion จาก ข้อสอบ TOEIC เพราะข้อสอบส่วนนี้จะคล้ายกับ TOEIC

– Reading Skill ข้อสอบจะออกคำศัพท์หลายรูปแบบ เช่น V2 , V3 , Adv. , Adj. , -ing เช่น ให้เติมคำศัพท์ในช่องว่าง ควรเติมคำอะไร โดยให้คำศัพท์ คำเดียว แต่มีรูปแบบที่แตกต่างกัน เช่น feel, felt, feeling, and feel, have felt เพราะฉะนั้น น้องๆ ควรฝึกจำ V2 , V3 และ การใช้ Part of Speech

– ฝึก Causative Verb คือ โครงสร้างไวยากรณ์ในรูปแบบคำกริยาที่พูดเพื่อให้ผู้อื่นทำบางสิ่งบางอย่างให้ โดยใช้คำกริยา Let, Make, Have, Get และ Help

เทคนิค เตรียมสอบ TGAT2 การคิดอย่างมีเหตุผล

– ฝึกทำโจทย์ อนุกรมตัวเลข

– ฝึกตัดตัวเลือกให้คล่องในบท การเปรียบเทียบเชิงปริมาณ , ความเพียงพอของข้อมูล และโจทย์ปัญหา

เทคนิค เตรียมสอบ TGAT3 สมรรถนะการทำงาน

– ข้อสอบ ส่วน การสร้างคุณค่าและนวัตกรรม ในส่วนนี้จะถามเกี่ยวกับการทำงาน การทำธุรกิจ น้องๆควรทำความเข้าใจ เรื่อง Design Thinking การคิดเชิงออกแบบ 5 ขั้นตอน

1. Empathize เข้าใจลูกค้า

2. Define นิยามปัญหาลูกค้า

3. Ideate สร้างสรรค์สินค้า

4. Prototype จำลองสินค้า

5. Test ทดสอบกับลูกค้า

ตัวอย่างข้อสอบ โจทย์ถามหากผลิตสินค้า แล้วอยู่ขั้นตอน Prototype ขั้นตอนต่อไปคืออะไร ? ให้น้องสอบได้เลย คือ Test

– ฝึกหาความต้องของ โจทย์ ปัญหา จากนั้นดูที่ ตัวเลือกในข้อสอบ ว่าตัวเลือกไหนไม่สามารถ แก้ปัญหาได้ ให้ตัดทิ้งได้เลย

– ข้อสอบพลเมืองที่มีส่วนร่วมของสังคม ให้ พยายามหา Keyword ในข้อสอบต้องมี 3 สิ่งนี้ คือ “ตัวเรา+ชุมชน+ส่วนร่วม” หากตัวเลือกไหน ไม่มี 3 สิ่งนี้ ให้ตัดทิ้งก่อนเลย

การสมัครสอบ TGAT

1. เเข้าสู่ระบบที่ URL https://student.mytcas.com และไปที่หน้า “ข้อมูลการสมัครสอบ” จากนั้นเลือก “ดูรายละเอียดและสมัครสอบ”

2. เลือกวิชาที่ต้องการสอบ และสนามสอบ – ระบบจะแสดงวันสอบของแต่ละวิชา ให้เลือกวิชาและสนามสอบตามวันที่ต้องการสอบ

3. เมื่อเลือกวิชาสอบเสร็จ ให้คลิก “ไปหน้าถัดไป”

4. เลือกประเภทข้อสอบว่าต้องการสอบแบบกระดาษหรือคอมพิวเตอร์

สมัครสอบ TGAT แบบกระดาษ

1. กรณีที่เลือกสอบแบบกระดาษ จะต้องทำการเลือกสนามสอบทั้ง 5 สนาม

2. กรณีที่ค้นหาสนามสอบไม่เจอ อาจเป็นเพราะเลือกความต้องการพิเศษอยู่ ซึ่งจะมีจำนวนสนามสอบที่รองรับไม่มากนัก ให้ดูรายชื่อสนามสอบทั้งหมด ที่ ค้นหาสนามสอบ

สมัครสอบ TGAT แบบคอมพิวเตอร์

1. หากเลือกสอบแบบคอมพิวเตอร์ จะต้องทำการเลือกสนามสอบแบบกระดาษเพื่อการสำรองสำหรับกรณีที่สนามสอบคอมพิวเตอร์เต็ม จากนั้นคลิก “ไปหน้าถัดไป”

2. เมื่อเลือกวิชาสอบและสนามสอบเสร็จ ระบบจะแสดงข้อมูลการสมัครสอบและสนามสอบ ให้ตรวจสอบข้อมูลให้ถูกต้องก่อนคลิก “บันทึกรายการ”

3. เมื่อบันทึกข้อมูลการสมัครสอบและสนามสอบเรียบร้อย ระบบจะแสดงสถานะ รอยืนยันการสมัคร หากต้องการเพิ่มหรือแก้ไขรายวิชาสอบ ให้คลิกที่ไอคอนลูกศรในวันที่ต้องการแก้ไข

4. เมื่อเสร็จสิ้นเลือกวิชาสอบและสนามสอบ ระบบจะสรุปวิชาสอบที่เลือกทั้งหมดและยอดเงินที่ต้องชำระ ให้คลิก “ยืนยันการสมัครสอบ”

5. ตรวจสอบข้อมูลและเลือกช่องทางการรับรหัส OTP

6. กรอกรหัส OTP ที่ได้รับ

7. ระบบจะแสดงสถานะ รอการชำระเงิน และข้อมูลวิชาสอบและสนามสอบทั้งหมด จากนั้นคลิก “พิมพ์ใบแจ้งชำระเงิน”

ตารางสอบ TGAT TPAT A-Level 2567

วันที่วันสอบ TGAT TPAT A-Level
กันยายน 2567สมัครรอบ Portfolio
กันยายน 2567สมัครสอบ TPAT 1
ตุลาคม 2567ลงทะเบียน TCAS68
ตุลาคม 2567สมัครสอบ TGAT/TPAT2-5
ธันวาคม 2567

สอบ TGAT/TPAT2-5

ธันวาคม 2567สอบ TPAT1
ธันวาคม 2567ประกาศผลสอบ TGAT/TPAT2-5 (คอมพิวเตอร์)
มกราคม 2568ประกาศผลสอบ TGAT/TPAT2-5 (กระดาษ)
กุมภาพันธ์ 2568สมัครรอบ Quota
กุมภาพันธ์ 2568สมัครสอบ A-Level
กุมภาพันธ์ 2568ประกาศผลสอบ TPAT1
กุมภาพันธ์ 2568ประกาศผลรอบ Portfolio
มีนาคม 2568วันสอบ A-Level
มีนาคม 2568ประกาศผลสอบ TGAT/TPAT2-5 (คอมพิวเตอร์)
เมษายน 2568ประกาศผลสอบ TGAT/TPAT2-5 (กระดาษ)
พฤษภาคม 2568ประกาศผลสอบ Quota
พฤษภาคม 2568สมัครสอบ Admission
พฤษภาคม 2568ประกาศผลรอบ Admission
พฤษภาคม 2568สมัครสอบ Direct Admission
มิถุนายน 2568ประกาศผลรอบ Direct Admission

 

รายละเอียดเพิ่มเติม
Scroll to Top