fbpx

TGAT คืออะไร สรุปทุกเรื่องที่ต้องรู้

คอร์ส TGAT
Reading Time: 5 minutes

Menu

TGAT คืออะไร

TGAT คืออะไร

TGAT หรือ Thai General Aptitude Test คือ การสอบวัดความถนัดทั่วไป รูปแบบใหม่ ใช้แทน GAT ในระบบ TCAS

ทำไมน้อง ต้องรู้เรื่อง TGAT ?

  • สำคัญต่อการสมัครมหาวิทยาลัย: คะแนน TGAT ใช้ยื่นสมัคร TCAS ทุกช่องทาง
  • เนื้อหาครอบคลุม: วัดทักษะที่จำเป็นสำหรับการเรียนต่อ เช่น
    • การสื่อสารภาษาอังกฤษ
    • การคิดวิเคราะห์
    • การแก้ปัญหา
    • การทำงานเป็นทีม

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม ได้ที่ https://www.chulatutor.com/tgat-คืออะไร/

แนวข้อสอบ TGAT

  • เน้นการใช้ภาษาอังกฤษสื่อสารในชีวิตประจำวัน
  • ข้อสอบเป็นแบบปรนัย 4 ตัวเลือก 100 คะแนน
  • ระยะเวลาในการทำข้อสอบ 60 นาที
  • เนื้อหาที่ต้องสอบ
    • ทักษะการพูด (30 ข้อ)
    • การถาม-ตอบ (10 ข้อ)
    • เติมบทสนทนาแบบสั้น (10 ข้อ)
    • เติมบทสนทนาแบบยาว (10 ข้อ)
  • ทักษะการอ่าน (30 ข้อ)
    • เติมข้อความเนื้อเรื่องให้สมบูรณ์ (15 ข้อ)
    • อ่านเพื่อจับใจความ (15 ข้อ)

TGAT สอบอะไรบ้าง?

การสอบ TGAT แบ่งออกเป็น 3 พาร์ท ดังนี้

  1. ภาษาอังกฤษ (English Communication): เน้นทักษะการอ่าน ฟัง เขียน พูด ภาษาอังกฤษ
  2. การคิดอย่างมีเหตุผล (Critical & Logical Thinking): เน้นการวิเคราะห์ สังเคราะห์ แก้ปัญหา ตัดสินใจ
  3. สมรรถนะการทำงาน (Working Competencies): เน้นทักษะการคิดวิเคราะห์ แก้ปัญหา ทำงานเป็นทีม สื่อสาร เรียนรู้ ปรับตัว

 

คะแนน TGAT ใช้ทำอะไร?

คะแนน TGAT ใช้ยื่นสมัครเข้าศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัยผ่านระบบ TCAS แต่ละคณะ แต่ละหลักสูตร จะกำหนดสัดส่วนคะแนน TGAT ที่ใช้แตกต่างกันไป

แนวข้อสอบ TGAT

TGAT1 การสื่อสารภาษาอังกฤษ ​

แนวข้อสอบ TGAT พาร์ทภาษาอังกฤษ จะมีความคล้ายคลึงกับ GAT เดิม แต่จะมีพาร์ทสมรรถนะการทำงานเพิ่มเข้ามาด้วย

  • เน้นการใช้ภาษาอังกฤษสื่อสารในชีวิตประจำวัน
  • ข้อสอบเป็นแบบปรนัย 4 ตัวเลือก 100 คะแนน
  • ระยะเวลาในการทำข้อสอบ 60 นาที
  • เนื้อหาที่ต้องสอบ
    • ทักษะการพูด (30 ข้อ)
    • การถาม-ตอบ (10 ข้อ)
    • เติมบทสนทนาแบบสั้น (10 ข้อ)
    • เติมบทสนทนาแบบยาว (10 ข้อ)
  • ทักษะการอ่าน (30 ข้อ)
    • เติมข้อความเนื้อเรื่องให้สมบูรณ์ (15 ข้อ)
    • อ่านเพื่อจับใจความ (15 ข้อ)
ตัวอย่างข้อสอบ TGAT 1 พร้อมเฉลย
ตัวอย่างข้อสอบ TGAT1 ภาษาอังกฤษ

TGAT 2 การคิดอย่างมีเหตุผล

TGAT 2 หรือ Critical & Logical Thinking เป็นการสอบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ตัดสินใจ แก้ปัญหาและการใช้เหตุผล

การสอบ TGAT 2 แบ่งออกเป็น 4 พาร์ท ดังนี้

  1. ความสามารถทางภาษา (ภาษาไทย): เน้นทักษะการอ่าน เขียน และเข้าใจภาษาไทย
  2. ความสามารถทางตัวเลข (คณิตศาสตร์): เน้นทักษะการคิดวิเคราะห์ แก้ปัญหา และใช้ตรรกะ เกี่ยวกับตัวเลข
  3. ความสามารถทางมิติสัมพันธ์ (คณิตศาสตร์): เน้นทักษะการคิดวิเคราะห์ แก้ปัญหา และใช้ตรรกะ เกี่ยวกับรูปทรง
  4. ความสามารถทางเหตุผล (ภาษาไทย + คณิตศาสตร์): เน้นทักษะการคิดวิเคราะห์ ตัดสินใจ แก้ปัญหา และใช้เหตุผล

 

เตรียมตัวสอบ TGAT 2 อย่างไร?

  • ฝึกฝนทักษะการคิดวิเคราะห์ ตัดสินใจ แก้ปัญหา และใช้เหตุผล
  • ฝึกฝนทักษะการอ่าน เขียน และเข้าใจภาษาไทย
  • ฝึกฝนทักษะการคิดวิเคราะห์ แก้ปัญหา และใช้ตรรกะ เกี่ยวกับตัวเลข
  • ฝึกฝนทักษะการคิดวิเคราะห์ แก้ปัญหา และใช้ตรรกะ เกี่ยวกับรูปทรง
  • ฝึกทำข้อสอบเก่า
ตัวอย่างข้อสอบ TGAT 2 พร้อมเฉลย
ตัวอย่างข้อสอบ TGAT

TGAT 3 สมรรถนะการทำงานในอนาคต

TGAT 3 หรือ Future Workforce Competencies เป็นการสอบวัดทักษะที่จำเป็นสำหรับการทำงานในอนาคต เน้นการคิดวิเคราะห์ แก้ปัญหา ตัดสินใจและทำงานเป็นทีม

การสอบ TGAT 3 แบ่งออกเป็น 4 พาร์ท ดังนี้

  1. การสร้างคุณค่าและนวัตกรรม: เน้นทักษะการคิดเชิงวิเคราะห์ แก้ปัญหา และคิดสร้างสรรค์
  2. การแก้ไขปัญหาที่ซับซ้อน: เน้นทักษะการระบุปัญหา วิเคราะห์ หาทางออก และประเมินผล
  3. การบริหารจัดการอารมณ์: เน้นทักษะการควบคุมตนเอง เข้าใจผู้อื่น และสร้างความสัมพันธ์ที่ดี
  4. การเป็นพลเมืองที่มีส่วนร่วมของสังคม: เน้นทักษะการรับผิดชอบต่อสังคม สิ่งแวดล้อม และชุมชน

 

เตรียมตัวสอบ TGAT 3 

  • ฝึกฝนทักษะการคิดวิเคราะห์ แก้ปัญหา ตัดสินใจ และทำงานเป็นทีม
  • ฝึกฝนทักษะการคิดสร้างสรรค์
  • ฝึกฝนทักษะการควบคุมตนเอง เข้าใจผู้อื่น และสร้างความสัมพันธ์ที่ดี
  • ฝึกฝนทักษะการรับผิดชอบต่อสังคม สิ่งแวดล้อม และชุมชน
  • ฝึกทำข้อสอบเก่า
ตัวอย่างข้อสอบ TGAT 3 พร้อมเฉลย
ตัวอย่างข้อสอบ TGAT
TGAT TPAT A-Level

การสมัครสอบ TGAT

การสอบ TGAT มี 2 รูปแบบให้เลือก

1. สอบแบบกระดาษ:

  • สนามสอบจะเป็นการสอบในโรงเรียน
  • เหมาะสำหรับคนที่คุ้นเคยกับการทำข้อสอบแบบกระดาษ
  • ข้อสอบจะแจกเป็นแผ่นกระดาษ และใช้ดินสอหรือปากกาในการทำข้อสอบ

2. สอบแบบคอมพิวเตอร์:

  • ศูนย์สอบจะเป็นมหาวิทยาลัย ที่มีคอมพิวเตอร์รองรับ
  • เหมาะสำหรับคนที่คุ้นเคยกับคอมพิวเตอร์
  • ทำข้อสอบบนหน้าจอคอมพิวเตอร์
  • รู้ผลสอบได้รวดเร็ว

เลือกแบบไหนดี?

  • ชอบความคุ้นเคย: เลือกสอบแบบกระดาษ
  • ชอบความทันสมัย: เลือกสอบแบบคอมพิวเตอร์

ปฎิทินการสอบ TGAT TPAT ปีการศึกษา 2567

 

วันเวลารหัสและชื่อวิชา
วันเสาร์ 9 ธ.ค. 6609:00-12:00 น.TPAT5 ความถนัดครุศาสตร์ ศึกษาศาสตร์
 13:00-16:00 น.TPAT2 ความถนัดทางศิลปกรรมศาสตร์
วันอาทิตย์ 10 ธ.ค. 6609:00-12:00 น.ความถนัดทั่วไป
 13:00-16:00 น.TPAT3 ความถนัดทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์
วันจันทร์ 11 ธ.ค. 6609:00-12:00 น.TPAT4 ความถนัดทางสถาปัตยกรรมศาสตร์
วันเสาร์ 16 ธ.ค. 6608:30-12:30 น.TPAT1 วิชาเฉพาะ กสพท

สนามสอบ

  • เลือกสนามสอบได้ไม่เกิน 5 แห่ง
  • ระบบจะจัดที่นั่งสอบให้กับทุกคน
  • ตอนสมัครสอบ สามารถเลือกสอบทั้ง 2 แบบ คือ สอบกับคอมและกระดาษสลับกันได้
  • สอบแบบคอมพิวเตอร์:
    ศูนย์สอบจะเป็นมหาวิทยาลัย ที่มีคอมพิวเตอร์รองรับ
  • สอบแบบกระดาษ:
    สนามสอบจะเป็นโรงเรียน
สถิติคะแนน TGAT

คะแนน TGAT

คะแนน TGAT ใช้เพื่อวัดความถนัดทั่วไป สำหรับนักเรียนชั้น ม.6 ที่ต้องการศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัย

คะแนน TGAT มีคะแนนเต็ม 300 คะแนน แบ่งเป็น 3 พาร์ท ดังนี้:

  1. ภาษาอังกฤษ (English Communication) : 100 คะแนน วัดทักษะภาษาอังกฤษ การอ่าน การฟัง การเขียน ไวยากรณ์ คำศัพท์
  2. การคิดอย่างมีเหตุผล (Critical and Logical Thinking) : 100 คะแนน วัดทักษะการคิดวิเคราะห์ แก้ปัญหา ตัดสินใจ
  3. สมรรถนะการทำงาน (Future Workforce Competencies) : 100 คะแนน วัดทักษะการทำงานเป็นทีม สื่อสาร แก้ปัญหา ความคิดสร้างสรรค์

การใช้คะแนน TGAT:

  • คะแนน TGAT ใช้ยื่นสมัครเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัย ผ่านระบบ TCAS
  • มหาวิทยาลัยส่วนใหญ่ ใช้คะแนน TGAT เป็นเกณฑ์ในการคัดเลือกผู้เข้าศึกษาต่อ
  • แต่ละคณะ แต่ละสาขา กำหนดสัดส่วนคะแนน TGAT ที่ใช้ในการพิจารณา แตกต่างกันไป

วิธีการตรวจสอบคะแนน TGAT:

  • นักเรียนสามารถตรวจสอบคะแนน TGAT ได้ที่เว็บไซต์ของ TCAS
  • https://www.mytcas.com/doc/student-exam-tgat-tpat/

หมายเหตุ:

  • คะแนน TGAT มีอายุการใช้งาน 2 ปี

คณะ/มหาลัยฯ ไหนใช้คะแนน TGAT อย่างเดียว

– คณะรัฐศาสตร์ สาขาวิชาการเมืองการปกครอง

– คณะรัฐศาสตร์ สาขาวิชาการระหว่างประเทศ

– คณะรัฐศาสตร์ สาขาวิชาบริหารรัฐกิจ

– คณะศิลปกรรมศาสตร์ สาขาวิชาศิลปะการออกแบบพัสตราภรณ์ เอกออกแบบสิ่งทอ

– คณะศิลปกรรมศาสตร์ สาขาวิชาศิลปะการออกแบบพัสตราภรณ์ เอกออกแบบแฟชั่น

– คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ หลักสูตรสังคมเคราะห์ศาสรบัณฑิต

– คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ หลักสูตรสังคมเคราะห์ศาสรบัณฑิต ศูนย์ลำปาง

– คณะมนุษยศาสตร์ สาขาวิชาภาษาจีนธุรกิจ (ภาคพิเศษ)

– คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ (กำแพงแสน) สาขาวิชาการบัญชี

– คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ (กำแพงแสน) สาขาวิชาการบัญชี ภาคพิเศษ

– คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ (กำแพงแสน) สาขาวิชาการตลาด

– คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ (กำแพงแสน) สาขาวิชาการตลาด ภาคพิเศษ

– คณะอุตาสาหกรรมบริการ (กำแพงแสน) สาขาวิชาการจัดการธุรกิจการบิน

– คณะอุตาสาหกรรมบริการ (กำแพงแสน) สาขาวิชาการจัดการธุรกิจการบิน ภาคพิเศษ

– คณะอุตาสาหกรรมบริการ (กำแพงแสน) สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรมการบริการ เอกการจัดการการท่องเที่ยวร่วมสมัย ภาคพิเศษ

– คณะอุตาสาหกรรมบริการ (กำแพงแสน) สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรมการบริการ เอกการจัดการโรงแรม ภาคพิเศษ

– คณะวิทยาศาสตร์ สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ (โครงการพิเศษ)

– คณะวิทยาศาสตร์ สาขาวิชาวิเทคโนโลยีสารสนเทศ (โครงการพิเศษ)

– คณะวิทยาการจัดการ ทุกสาขาวิชา (โครงการเด็กดี อยากเรียน)

– คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์

– คณะวิศวกรรมศาสตร์ ทุกสาขาวิชา

– คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์

– คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สาขาวิชานิเทศศาสตร์

– คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สาขาวิชาสารสนเทศศึกษา

– คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สาขาวิชาประวัติศาสตร์

– คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สาขาวิชาศาสนาและปรัชญา

– คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรวัฒนธรรม

– คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สาขาวิชาการจัดการบริหารสังคม

– คณะนิติศาสตร์

– คณะสังคมศาสตร์ สาขาวิชารัฐศาสตร์

– คณะสังคมศาสตร์ สาขาวิชาจิตวิทยา

– คณะสังคมศาสตร์ สาขาวิชาประวัติศาสตร์

– คณะมนุษยศาสตร์ สาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น

– คณะมนุษยศาสตร์ สาขาวิชาภาษาไทย

– คณะมนุษยศาสตร์ สาขาวิชาภาษาฝรั่งเศส

– คณะมนุษยศาสตร์ สาขาวิชาพม่าศึกษา

– คณะมนุษยศาสตร์ สาขาวิชาภาษาจีน

– คณะมนุษยศาสตร์ สาขาวิชานาฏศิลป์ไทย

– คณะบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์ และการสื่อสาร สาขาวิชานวัตกรรมและการตลาดเชิงสร้างสรรค์

– คณะบัญชีและการจัดการ สาขาการเงิน

สถิติคะแนน TGAT

ความถนัดทั่วไป

  • คะแนนเฉลี่ย 47.15
  • คนส่วนใหญ่ทำคะแนนได้ 40.001-50 คะแนน

การสื่อสารภาษาอังกฤษ

  • คะแนนเฉลี่ย 37.60
  • คนส่วนใหญ่ทำคะแนนได้ 20.001-30 คะแนน

การคิดอย่างมีเหตุผล

  • คะแนนเฉลี่ย 42.38
  • คนส่วนใหญ่ทำคะแนนได้ 30.001-40 คะแนน

สมรรถนะการทำงาน

  • คะแนนเฉลี่ย 61.47
  • คนส่วนใหญ่ทำคะแนนได้ 60.001-70 คะแนน

วิเคราะห์เพิ่มเติม:

  • พาร์ทสมรรถนะการทำงาน มีคะแนนเฉลี่ยสูงสุด
  • พาร์ทการสื่อสารภาษาอังกฤษ มีคะแนนเฉลี่ยต่ำสุด

เตรียมตัวสอบ TGAT

ติว TGAT ฟรี! พิชิตข้อสอบแบบง่ายๆ กับ ครูพี่หลิง CHULATUTOR

ติว TGAT Online

เรียน TGAT CHULA TUTOR Online

สอนครบทั้ง 3 พาร์ท:

  • ภาษาอังกฤษ
  • การคิดอย่างมีเหตุผล
  • สมรรถนะการทำงานในอนาคต

 

หลักสูตร

  • สรุปเนื้อหาเข้มข้น ชัดเจน เข้าใจง่าย
  • ตัวอย่างข้อสอบ
  • เทคนิคการคิดวิเคราะห์

 

ทำไมต้องเรียนกับ TGAT Online ครูพี่หลิง CHULATUTOR ?

  • ครูพี่หลิงสอนแบบเข้าใจง่าย เน้นเนื้อหาที่จำเป็นต่อการสอบ TGAT
  • ครูพี่หลิง สอน GATตั้งแต่ข้อสอบรุ่นแรก ถึง ข้อสอบ TGAT รอบล่าสุด จึงทำให้เข้าใจโครงสร้างข้อสอบ อย่างลึกซิ้ง
  • บรรยากาศสนุกสนาน เรียนออนไลน์แบบไม่มีเบื่อ

พร้อมหรือยังที่จะคว้าคะแนน TGAT ให้สูงปรี๊ด?

ติว TGAT ตัวต่อตัว

เตรียมพร้อมลุย TGAT ให้มั่นใจกว่าที่เคย กับคอร์สติวตัวต่อตัว ที่ออกแบบมาเพื่อตอบโจทย์ทุกความต้องการของน้อง!

 

คอร์สเรียน TGAT ตัวต่อตัวเหมาะกับใคร?

  • น้อง ๆ ม.ปลายที่ต้องการเตรียมสอบ TGAT
  • ต้องการเสริมทักษะภาษาอังกฤษ (English Communications)
  • ต้องการพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ (Critical and Logical Thinking)
  • ต้องการฝึกฝนทักษะการทำงานในอนาคต (Future Workforce Competencies)
  • ต้องการติวข้อสอบ TGAT แบบเข้มข้น เน้นจุดอ่อน พัฒนาจุดแข็ง

 

จุดเด่นของคอร์สติว TGAT ตัวต่อตัว :

  • ติวแบบตัวต่อตัว: เน้นการสอนที่ปรับให้เหมาะกับแต่ละบุคคล
  • เนื้อหาครบถ้วน: ครอบคลุมทุกพาร์ทของ TGAT
  • ติวเตอร์มากประสบการณ์: เข้าใจแนวข้อสอบ เทคนิคการทำโจทย์
  • เจาะลึกเนื้อหาที่จำเป็นต่อการสอบ TGAT
  • ปรับหลักสูตรคอร์สเรียนให้ตรงกับพื้นฐานน้อง
  • บรรยากาศการเรียนสนุกสนาน: เรียนรู้แบบไม่มีเบื่อ
private

⭐️รีวิวจริง! ประสบการณ์การสอบ TGAT จากนักเรียน จุฬาติวเตอร์

FAQ

TGAT TPAT A Level คืออะไร ❓

TGAT TPAT A-Level คือระบบการสอบเพื่อวัดศักยภาพในการเข้าเรียนต่อระดับมหาวิทยาลัยรูปแบบใหม่ ประกอบไปด้วย 3 ส่วน ดังนี้

TGAT (Thai General Aptitude Test): สอบวัดความถนัดทั่วไป เน้นทักษะการคิดวิเคราะห์ การแก้ปัญหา การสื่อสารภาษาอังกฤษ และสมรรถนะการทำงานในอนาคต

TPAT (Thai Professional Aptitude Test): สอบวัดความถนัดวิชาชีพ แบ่งออกเป็น 5 กลุ่ม ดังนี้

  • กลุ่มแพทย์
  • กลุ่มวิทยาศาสตร์
  • กลุ่มเทคโนโลยี
  • กลุ่มวิศวกรรมศาสตร์
  • กลุ่มครุศาสตร์และสถาปัตยกรรมศาสตร์

A-Level (Applied Knowledge Level): สอบวัดความรู้เชิงวิชาการ เน้นการประยุกต์ใช้ความรู้

ช่วงเวลาการสอบ TGAT TPAT A-Level

  • TGAT/TPAT: สอบช่วงเดือนธันวาคมของทุกปี
  • A-Level: สอบช่วงเดือนมีนาคมของทุกปี

ใครสอบ TGAT TPAT ได้บ้าง❓

  • จะต้องเป็น นักเรียนชั้น ม.6 หรือเทียบเท่า
  • ปวช. ปวส.
  • นักเรียนที่จบมัธยมปลายจากต่างประเทศ
  • สำหรับเด็กซิ่ว ไม่สามารถใช้คะแนนของปีเก่าได้ จะต้องสอบใหม่ (คะแนนมีปีอายุเพียง 1 ปี)

TGAT สอบเป็นภาษาอะไร❓

ส่วนที่ 1: การสื่อสารภาษาอังกฤษ (English Communication)

  • ข้อสอบเป็นภาษาอังกฤษ

ส่วนที่ 2: Critical and Logical Thinking และ ส่วนที่ 3: Future Workforce Competencies

  • ข้อสอบมีให้เลือกทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
  • ผู้สอบสามารถเลือกภาษาของข้อสอบได้ตามถนัด

สรุป

TGAT เป็นการทดสอบวัดความสามารถทั่วไป ข้อสอบมี 200 ข้อ 300 คะแนน ผลสอบสำหรับใช้ยื่นเข้าศึกษาต่อระดับมหาวิทยาลัย การสอบ TGAT ให้ได้คะแนนดีไม่ใช่เรื่องยาก หากน้องๆ เตรียมตัวตั้งแต่เนิ่น โดย มั่นอ่านหนังสือ ทำข้อสอบเก่า สุดท้ายน้องก็จะประสบความสำเร็จได้เข้ามหาลัย คณะที่ฝัน

See also

Related Posts