IGCSE คืออะไร มีวิชาอะไรบ้าง สมัครสอบ และ ตารางสอบ

IGCSE คืออะไร
igcse คืออะไร

IGCSE คืออะไร

International General Certificate of Secondary Educational หรือ  IGCSE คือ ข้อสอบเทียบของระบบการศึกษาอังกฤษ สำหรับน้องที่สอบเทียบ จะได้วุฒิเทียบเท่ากับ ม.4 ของประเทศไทย น้องที่จะสมัครสอบ ต้องมี อายุ 14 -16 โดย จะมีสอบ ปีละ 2 ครั้งรอบแรก ช่วงเดือนพฤษภาคม และ รอบที่2 ช่วง เดือนตุลาคม

IGCSE สอบอะไรบ้าง

IGCSE มีวิชาอะไรบ้าง

ข้อสอบ IGCSE มี 2 ระดับ คือ Core และ Extended

จะเลือกสอบแบบไหนดี ระหว่าง Core และ Extended ?

การจะเลือกสอบแบบไหน อยู่ที่น้องๆ คาดหวังเกรดอะไร

หากเลือบสอบแบบ Core เนื้อหาการสอบจะค่อนข้างง่าย เกรดที่น้องจะได้สูงสุด คือ C

หากเลือกสอบแบบ Extended เนื้อหาข้อสอบค่อนข้างยาก แต่น้องจะได้เกรดสูงสุด คือ A*

 

IGCSE มีวิชา 70 วิชา แบ่งเป็น 6 กลุ่มวิชา ดังนี้

1. กลุ่มวิชาทักษะภาษาอังกฤษ ( English language and literature )

2. กลุ่มวิชาทักษะวิชาชีพ ( Creative and professional ) เช่น Accounting, Art & Design, Music, Accounting, Business Studies, Drama, Enterprise, Physical Education, Computer Science, Design & Technology, Food & Nutrition, Information & Communication, Enterprise

3. กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์  ( Humanities and Social Sciences ) เช่น History, Business Studies, Travel and Tourism, Geography, Religious Studies, Economics, Sociology

4. กลุ่มวิชาภาษาศาสตร์ ( Language ) เช่น Thai, English (First or Second Language), Japanese, Korean, German, French, Arabic, Italian, Russian, Turkish, Hindi, Greek, Indonesian

5. กลุ่มวิชาคณิตศาสตร์ ( Mathematics ) เช่น Mathematics, Additional Mathematics, Cambridge International Mathematics

6. กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์ กลุ่ม วิทยาศาสตร์ ( Sciences ) เช่น Physical Science, Physics Science – Combined, Agriculture, Biology, Chemistry, Environmental Management

เทคนิคการเลือกวิชา IGCSE

เทคนิคการเลือกวิชา IGCSE

1. เลือกตอน Year 9 กำลังจะขึ้น Year 10

2. ควรเลือกวิชาบังคับ Math , English , Science และ Thai

3. เลือกขั้นต่ำ 5 วิชา

4. ควรเลือกวิชาให้หลากหลายครอบคลุมทุกหมวดวิชา

5. การที่น้อง ไม่ได้เลือกลงบ้างวิชา อาจจะส่งผลให้ไม่สามารถเรียน A-Level วิชานั้นต่อได้

6. ควรเลือกเรียนวิชาหลักแบบ Extended เพราะจะทำให้น้องมีโอกาสได้เกรด A*

7. อย่าเลือกวิชาตามเพื่อน แต่ควรเลือกวิชาที่น้องสนใจจริง

IGCSE เข้าคณะอะไรได้บ้าง

คณะบริหารธุรกิจ (BBA)

คณะวิศวกรรมศาสตร์ (ISE)

คณะอักษรศาสตร์ (BALAC)

สาขาการจัดการสื่อสาร (CommArts)

คณะเศรษฐศาสตร์ (EBA)

สาขาออกแบบนิเทศศิลป์ (CommDe)

สาขาการออกแบบสถาปัตยกรรม (INDA)

สาขาเคมีประยุกต์ (BSAC)

สาขาวิทยาศาสตร์จิตวิยา (JIPP)

คณะรัฐศาสตร์ (BMIR)

คณะเศรษฐศาสตร์ (BE)

สาขานโยบายสังคมและการพัฒนา (SPD)

สาขาอังกฤษ-อเมริกันศึกษา (BAS)

สาขาภาษาอังกฤษเชิงธุรกิจ (BEC)

สาขาสื่อมวลชนศึกษา (BJM)

สาขานวัตกรรมการบริการ (MSI)

สาขากฎหมายธุรกิจ (LL.B.)

คณะบริหารธุรกิจ (BBA)

สาขาการออกแบบเชิงนวัตกรรมดิจิทัล (IDD)

สาขาเทคโนโลยีดิจิทัลแนวสร้างสรรค์ (CDT)

สาขาวิทยาศาสตร์อุตสาหการและการจัดการ (ISC)

สาขาการออกแบบพัฒนาชุมชนเมือง (UDDI)

วิทยาลัยโลกคดีศึกษาและผู้ประกอบการสังคม (GSSE)

เทคโนโลยีหัวใจและทรวงอก เทคโนโลยีทางคลินิก (CICM)

สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร (SIIT)

คณะวิศวกรรมศาสตร์ (TEP,TEPPE)

คณะวิทยาศาสตร์ (B.Sc.)

คณะวิศวกรรมศาสตร์ (B.Eng.)

สาขาเทคโนโลยีสร้างสรรค์ (Creative Technology)

คณะบริหารธุรกิจ (MBA)

สาขาสื่อและการสื่อสาร (Media and Communication)

สาขาผู้ประกอบการด้านธุรกิจการเดินทางและธุรกิจบริการ (THM)

วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยศิลปากร

มหาวิทยาลัยแสตมฟอร์ด

วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล

วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี

พระจอมเกล้าพระนครเหนือ

วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยนเรศวร

วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยบูรพา

วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยศรีปทุม

วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

วิทยาลัยนานาชาติ

มหาวิทยาลัยรังสิต

มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ

มหาวิทยาลัยเบอร์มิงแฮม (University of Birmingham)

มหาวิทยาลัยบริสตอล (University of Bristol)

มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ (University of Cambridge)

มหาวิทยาลัยคาร์ดิฟฟ์ (Cardiff University)

มหาวิทยาลัยเดอรัม (University of Durham)

มหาวิทยาลัยเอดินบะระ (University of Edinburgh)

มหาวิทยาลัยเอ็กซิเตอร์ (University of Exeter)

มหาวิทยาลัยกลาสโกว์ (University of Glasgow)

อิมพีเรียลคอลเลจ ลอนดอน (Imperial College London)

ราชวิทยาลัยแห่งลอนดอน (King’s College London)

มหาวิทยาลัยนาโกยา (Nagoya University)

มหาวิทยาลัยเมลเบิร์น (University of Melbourne)

มหาวิทยาลัยในเครือ Ivy League และ Ivy Plus

ตารางสอบ IGCSE

จะมีการจัดสอบ 2 ครั้งต่อปี เท่านั้น

รอบที่ 1 รับสมัครสอบ ธันวาคม – กุมภาพันธ์ ( December – February) และ สอบช่วงเดือน พฤษภาคม – มิถุนายน (May – June) ประกาศผลสอบ เดือนสิงหาคม (August)

รอบที่ 2 รับสมัครสอบ กรกฎาคม – สิงหาคม ( July – August) และ สอบช่วงเดือน ตุลาคม – พฤศจิกายน (October – November) ประกาศผลสอบ เดือนมกราคม (January)

สมัครสอบ IGCSE

สมัครสอบได้ที่ : https://schoolexams.britishcouncil.org/

ค่าสอบ IGCSE

ค่าสอบ อยู่ที่ประมาณ 5,000 – 8,000 บาทต่อวิชา ซึ่งจะขึ้นอยู่แต่ละวิชาที่น้องเลือกสอบ

IGCSE สอบที่ไหน ?

สนามสอบปัจจุบันมีอยู่ 3 แห่งด้วยกัน คือ

1. โรงเรียนนานาชาติ ที่ใช้ระบบการศึกษาอังกฤษ

2. British Council โดยปัจจุบันใช้สนามสอบที่ชั้น 8 อาคารเวฟเพลส ถนนเพลินจิต

3. Harrow International School

เทียบวุฒิ ม.6 ด้วย IGCSE ยังไง

เทียบวุฒิ ม.6 ด้วย IGCSE ยังไง?

ขั้นแรก : น้องต้องสอบ IGCSE 5 วิชาให้ผ่านก่อน โดยคะแนนแต่ละวิชา ต้องได้ A*-C

ขั้นที่สอง : น้องต้องมีคะแนน AS Level จำนวนอย่างน้อย 3 วิชา เกรดไม่ต่ำกว่า C หรือ A-Level จำนวนอย่างน้อย 3 วิชา เกรด A*-E

โดย AS และ A-Level ในข้อ 1-2 นำมาใช้ยื่นเทียบวุฒิรวมกันได้ จำนวนไม่ต่ำกว่า 3 วิชา

private

IGCSE กับ GED ต่างกันยังไง

IGCSE เป็นตัวช่วยในการเทียบวุฒิมัธยมศึกษาตอนปลาย ของประเทศอังกฤษ โดยวุฒิที่ได้เทียบเท่า วุฒิ ม.4 ของประเทศไทย ส่วน GED คือ การเทียบวุฒิการศึกษามัธยมปลายตามหลักสูตรการศึกษานอกโรงเรียน (กศน.) ของประเทศสหรัฐอเมริกา วุฒิ GED ที่ได้คือ วุฒิจบมัธยมปลาย

IGCSE กับ GED อันไหนดีกว่า

จุดเด่นของการสอบ IGCSE คือสามารถเลือกวิชาเรียนได้ตามความสนใจและเป็นเนื้อหาเชิงลึกคล้ายกับการเรียนการสอนของชั้นปีที่ 1 ในระดับมหาวิทยาลัย ส่วนการสอบ GED จะเน้นการคิดวิเคราะห์ การอ่าน และการตีความหรือการให้เหตุผลตามเนื้อหาสอบที่กำหนด จึงขึ้นอยู่กับว่าน้อง ๆ มีความถนัดแบบไหนและวางแผนการศึกษาต่อของตนเองอย่างไรในอนาคต

Scroll to Top