ครบทุกคำตอบ SEPT คืออะไร ? สมัครสอบ

SEPT คืออะไร?

SEPT ย่อมาจาก Silpakorn English Proficiency Test คือการทดสอบความรู้ความสามารถทาง ภาษาอังกฤษของนักศึกษา และผู้ที่สนใจเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาโทและปริญญาเอก ของมหาวิทยาลัยศิลปากร SEPT เป็นแบบทดสอบที่บัณฑิตวิทยาลัยร่วมกับคณาจารย์ของมหาวิทยาลัยศิลปากร จัดทำขึ้นเพื่อวัดความรู้ความสามารถทางภาษาอังกฤษ ซึ่งวัดทักษะทางด้านการฟัง การอ่าน และการเขียนค่ะ

 

ทำไมถึงต้องมี SEPT

เนื่องจากต้องการพัฒนาการสอบภาษาอังกฤษให้เป็นมาตรฐาน ซึ่งผลการสอบความรู้ความสามารถทางภาษาอังกฤษนี้ สามารถนำมาใช้เป็นหลักฐานประกอบการสมัครเขาศึกษาต่อในระดับปริญญาโทและปริญญาเอก ของมหาวทยาลัยศิลปากรได้ ทั้งนี้บัณฑิตวิทยาลัยจะยกเลิกการสอบภาษาอังกฤษทั่วไปในการสอบคัดเลือก โดย จะใช้ผลการสอบความรู้ความสามารถทางภาษาอังกฤษนี้แทน สำหรับนักศึกษาที่มีผลการสอบภาษาอังกฤษ ตามเกณฑ์ที่กำหนดสามารถใช้เป็นหลักฐานยกเว้นไม่ต้องสอบ

 

การสมัคร SEPT

ผู้สนใจสมัครสอบเข้าไปลงทะเบียนสมัครออนไลน์ ที่ www.sept.su.ac.th โดยปฏิบัติตามขั้นตอนที่ ระบุ และพิมพ์ใบแจ้งการชำระเงินค่าธรรมเนียมการสมัคร จำนวน 400 บาท และชำระเงินที่ธนาคารทหารไทย ทุกสาขา และหรือที่บัณฑิตวิทยาลัย กรุงเทพฯ และนครปฐม ภายในวันที่กำหนดของแต่ละรอบการสอบ การชำระเงินค่าสมัครนอกจากช่วงเวลาที่ระบุในแต่ละรอบจะถือว่าการสมัครเป็นโมฆะ ผู้สมัครไม่สามารถขอรับ เงินค่าสมัครคืนหรือเลื่อนรอบการสอบหรือโอนเงิน/สิทธิ์ให้ผู้อื่นเข้าสอบแทนได้

 

ตรวจสอบรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบ

ผู้สมัครสอบที่ลงทะเบียนและชำระเงินค่าสมัครแล้ว สามารถตรวจสอบรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบได้ที่ www.sept.su.ac.th ภายใน 3 วันทำการ

 

ประกาศสถานที่สอบ

บัณฑิตวิทยาลัยจะประกาศสถานที่สอบทาง www.sept.su.ac.th ก่อนวันสอบ 1 วันทำการ ทั้งนี้ สถานที่สอบจะเป็นไปตามที่ผู้สมัครเลือกเมื่อลงทะเบียนสมัครสอบ (กรุงเทพฯ หรือนครปฐม) ซึ่งไม่สามารถ เปลี่ยนแปลงสถานที่สอบภายหลังการลงทะเบียนได้

 

ประกาศผลการสอบ

ประกาศผลการสอบทางเว็บไซต์ www.sept.su.ac.th โดยให้ผู้สมัครสอบ login เข้าสู่ระบบเพื่อตรวจสอบและพิมพ์ผลคะแนนด้วยตนเอง หลังจากวันสอบประมาณ 2 สัปดาห์

เป็นข้อสอบที่ใช้เป็นวัดมาตราฐานทางภาษาอังกฤษของผู้ที่ต้องการเรียนต่อ สอบตรง เข้าหมาวิทยาลัยศิลปากร ทุกคณะ
โดยมีคะแนนเต็ม 100 (ข้อละคะแนน) เป็นการวัดความแม่นยำทางภาษา ใช้เวลาในการสอบ 2 ชม. 30 นาที

 

เกณฑ์เบื้องต้น :

เข้าระดับปริญญาตรี 30-40 คะแนน (Inter ต้องมากกว่า 45 คะแนน – 50 คะแนน) แล้วแต่บางคณะ
เข้าระดับปริญญาโท 40-50 คะแนน แล้วแต่บางคณะ
เข้าระดับปริญญาเอก 60 คะแนนขึ้นไป
คะแนนเต็ม 100 แบ่ง คือ Listening 30 , Reading 40 คะแนน และ Writing 30 คะแนน

1. Listening 30 คะแนน : วัดทักษะการฟัง แบ่งเป็น Short Dialogues ฟังบทสนทนาจำลองเหตุการณ์ , Short Converstion สนทนา และจับประเด็น

2. Reading 40 คะแนน : ** เป็นพาร์ทที่สำคัญเพราะมีผลกับคะแนนรวม และเป็นพาร์ทที่มีคะแนนเยอะสุด แบ่งคือ ข้อ 31 – 70

PART II : Reading
Section 1 : Vocabulary
Section 2 : Reading Passages
Section ที่ 2 วัดการจับประเด็น มีทั้งหมด 3 เรื่อง

3. Writing 30 คะแนน : เป็นพาร์ทสุดท้าย การเขียน หรือ Gammar (อันนี้จะคล้ายข้อสอบ Eror ของ จุฬา) ค่อนข้างยาก เพราะให้มาเป็นประโยค และจับผิด ซึ่ง เป็นช้อย จะง่ายกว่า (แบบTOEIC)

Scroll to Top