สมัครสอบ SAT
- เข้าเว็บไซต์ https://www.collegeboard.org/ หากมีแอคเคาน์แล้วให้ทำการกรอก Username และ Password เพื่อเข้าสู่ระบบการสมัครสอบ แต่หากยังไม่มีแอคเคาน์ ให้คลิกที่เมนู “Sign up”
- คลิกที่เมนู “I am a student”
- กรอกข้อมูลส่วนตัว ได้แก่ ชื่อ นามสกุล เพศ วันเดือนปีเกิด และอีเมล โดยข้อมูลส่วนนี้จะต้องตรงตามบัตรประชาชนหรือพาสปอร์ต ซึ่งต้องรอบคอบเป็นพิเศษในการกรอกข้อมูลนี้ เนื่องจากหากเราทำการยืนยันความถูกต้องแล้ว ข้อมูลเหล่านี้จะไม่สามารถแก้ไขได้นั่นเอง
- กรอกข้อมูลปีที่เราจบการศึกษาในระดับชั้นม.ปลาย และดำเนินการดังต่อไปนี้
– คลิกที่ “Outside the U.S.”
– ใส่ชื่อโรงเรียนของเรา หรือหากใครที่จบม.ปลายมานานแล้ว ก็สามารถเลือกเมนู “I am no longer in high school / My school is not listed.” ได้
– ตั้ง Username และ Password สำหรับใช้เข้าระบบในครั้งต่อ ๆ ไป ซึ่งข้อมูลนี้มีความสำคัญมาก ๆ แนะนำว่าควรจดโน้ตไว้เพื่อป้องกันการลืม
– เลือกคำถามที่และคำตอบสำหรับไว้ใช้ในการยืนยันตัวตนในอนาคต โดยแนะนำเลือกคำถามและคำตอบที่เราจำได้ดี
- คลิกที่เมนู “Outside the U.S.” จากนั้นกรอกข้อมูลที่อยู่ โดยให้ใส่ข้อมูลที่อยู่ของเรากระจายไปให้ครบ 3 บรรทัด และหลีกเลี่ยงการใส่เครื่องหมายพิเศษต่าง ๆ เช่น ( / ) ( , ) เพราะหากเราใส่เครื่องหมายเหล่านี้ ระบบจะไม่ให้ผ่าน ต่อมาระบบจะถามว่าเราต้องการการแจ้งเตือนต่าง ๆ หรือไม่ หากเรามีความต้องการ ก็ให้คลิกตรงคำว่า “Get text messages from the College Board…..” ได้เลย
- คลิกตรง “Send me information about College Board programs” หากเราต้องการรับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับโปรแกรมต่าง ๆ ของ College Board แต่หากไม่ต้องการก็สามารถข้ามไปในส่วนของ Parent Information ได้เลย โดยข้อมูลส่วนนี้จะสอบถามชื่อ นามสกุล และอีเมลของผู้ปกครอง เพื่อที่หากมีอีเมลส่งมาแจ้งเตือนเรา เราก็สามารถเลือกได้ว่าต้องการให้ส่งถึงผู้ปกครองเราด้วยหรือไม่ แม้ข้อมูลส่วนนี้จะไม่ได้บังคับให้กรอก แต่หากใครเป็นคนไม่ค่อยเช็คอีเมล แนะนำว่าให้ใส่ข้อมูลนี้ไปด้วยค่ะ จากนั้นคลิกที่ “I agree with the Terms & Conditions.” แล้วคลิก “Next”
- ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล โดยหากข้อมูลถูกต้อง ให้คลิกตรงช่องสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ จากนั้นคลิก “Confirm”
- เข้าสู่หน้า Registration ให้เราคลิกที่เมนู “Continue” ตรงมุมด้านล่างขวา
- ระบบจะขึ้นข้อมูลส่วนตัวมาให้อีกครั้ง โดยในขั้นตอนนี้จะไม่สามารถแก้ไขชื่อ นามสกุลได้ แต่ยังสามารถแก้ไขเพศและวัน เดือน ปี เกิดได้อยู่ ซึ่งระบบก็จะมีแจ้งเตือนให้เราตรวจสอบข้อมูลเหล่านี้อีกครั้ง เพราะหลังจากนี้จะไม่สามารถแก้ไขได้แล้ว
- กรอกข้อมูลเกี่ยวกับโรงเรียนระดับชั้นม.ปลายของเรา ดังนี้
– ตรงคำว่า “Your Expected Graduation Date” ให้ใส่เดือนปีที่คาดว่าเราจะจบม.6หรือเทียบเท่า
– ตรงคำว่า “Current Grade Level” คือให้ใส่ระดับชั้นปัจจุบัน โดยในระบบจะให้ตัวเลือกมาเป็น Grade ซึ่งเป็นการแบ่งระดับชั้นของอเมริกา หากใครอยู่โรงเรียนไทยหรือระบบอื่น ๆ ให้เทียบระดับชั้นได้เลย เช่น Grade 12 จะเทียบเท่ากับ ม.6 ส่วน Grade 11 จะเทียบเท่ากับ ม.5 เป็นต้น จากนั้นย้อนขึ้นมาบรรทัดแรก ๆ แล้วคลิก “Find Your School” เพื่อค้นหารายชื่อโรงเรียนของเรา
- คลิกตรงคำว่า “Outside the United States” แล้วทำการเลือกประเทศ จากนั้นคลิกตรงเมนู “Search for High School” ระบบจะมีรายชื่อโรงเรียนในประเทศของเราขึ้นมาให้เลือก เราก็สามารถคลิกเมนู “Select” ตรงชื่อโรงเรียนเราได้เลย แต่เนื่องจากระบบจะมีเฉพาะรายชื่อโรงเรียนนานาชาติเท่านั้น ใครที่เรียนโรงเรียนไทยหรือเรียน Home School ให้คลิกเมนู “Can’t find your high school?” จากนั้น ….
– ให้คลิกเมนู “Select” ตรงคำว่า “My high school is not listed” สำหรับคนที่เรียนโรงเรียนไทย
– ให้คลิกเมนู “Select” ตรงคำว่า “I am home-schooled” สำหรับคนที่เรียน Home School
- กรอกข้อมูลส่วนตัวของผู้สอบ ได้แก่ เชื้อชาติ/สัญชาติ ระดับการศึกษาของผู้ปกครอง ภาษา ศาสนา จากนั้นคลิกที่ “Continue”
- ระบบจะสอบถามเกี่ยวกับการเลือกบริการเสริม Student Search Service โดยเป็นบริการทางด้านข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการศึกษา วิทยาลัย/มหาวิทยาลัย ทุนการศึกษา หรืออื่น ๆ และสอบถามถึงแพลนการเรียน Advance Placement ให้ทำการเลือกตามคำแนะนำดังนี้ เสร็จแล้วคลิก “Continue”
– กรณี Student Search Service ให้คลิก “Yes, definitely!” หากเราต้องการ หรือคลิก “No, thanks.” หากเราไม่ต้องการ
– กรณี Advance Placement ให้คลิก “Yes,….” definitely!” หากเรามีแผนว่าจะเรียน หรือคลิก “No, ……” หากเราไม่มีแผนที่จะเรียน
- กรอกข้อมูล GPA โดยประมาณ รวมไปถึงระดับผลการเรียนอย่างคร่าว ๆ ในรายวิชา Mathematics, Science และ Writing จากนั้นคลิกที่ “Continue”
- กรอกข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับด้านต่าง ๆ ดังนี้
– ข้อมูลเกี่ยวกับการเรียนวิชา Math, English, Science, Social Studies และ Languages โดยให้ข้อมูลว่าแต่ละหัวข้อของแต่ละรายวิชา เราได้เรียนอะไรมาบ้าง เรียนมาตั้งแต่ระดับชั้นใด หรือมีการวางแผนว่าจะเรียนในช่วงใด โดยกรอกไปทีละวิชา โดยหากกรอกเสร็จในวิชาใดแล้วให้คลิก “Continue” เพื่อกรอกข้อมูลในวิชาถัดไปจนครบ 5 วิชา
– ข้อมูลเกี่ยวกับกิจกรรมหรือเรื่องที่เราสนใจ
– ข้อมูลเกี่ยวกับมหาวิทยาลัยที่เราวางแผนที่จะศึกษาต่อ
โดยข้อมูลเหล่านี้เป็นข้อมูลที่ไม่ได้มีผลกับคะแนนสอบ เราสามารถกรอกอย่างคร่าว ๆ ได้ เมื่อกรอกเสร็จแต่ละหัวข้อให้คลิก “Continue” ไปเรื่อย ๆ หรือหากเรามีเวลาน้อย เราสามารถคลิก “Update Later” เพื่อข้ามขั้นตอนเหล่านี้ไปก่อนได้ แต่ก็ต้องหาเวลามากรอกข้อมูลให้ครบอีกครั้งนะคะ - คลิก “I agree to the SAT Terms and Conditions.” จากนั้นคลิก “Continue”
- คลิกตรงคำว่า “Outside the United States” จากนั้นเลือกประเภทข้อสอบว่าจะสอบ
- เลือกรอบสอบที่เราต้องการ ซึ่งจะมีรอบสอบใดบ้างจะขึ้นอยู่กับช่วงที่เราเข้าไปสมัคร โดยระบบจะขึ้นให้เฉพาะรอบสอบที่สามารถสมัครได้เท่านั้น จากนั้นให้เลือกว่าเราจะสอบ Essay ด้วยหรือไม่ ซึ่งหากสอบจะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มจำนวน $16 หรือจะไม่สอบก็ได้ ทั้งนี้ การจะใช้คะแนน Essay หรือไม่นั้น จะขึ้นอยู่กับคณะที่เราต้องการสมัครเรียนเป็นหลักค่ะ
- คลิกคำว่า “No” ในหัวข้อ Testing Accommodations และ Fee Waiver ยกเว้นหากใครที่มีความพิการหรือความบกพร่องทางด้านร่างกาย จะต้องเลือก “Yes” ในหัวข้อ Testing Accommodations เพื่อให้ทางศูนย์สอบจดเตรียมบริการที่เหมาะสมให้ต่อไป ส่วนหัวข้อ Question-and-Answer Service นั้นจะแล้วแต่ทางผู้สมัครสอบว่าต้องการบริการเกี่ยวกับคำถาม คำตอบหลังสอบเสร็จหรือไม่
- เข้าสู่ขั้นตอนของการเลือกสนามสอบ โดยให้ทำการเลือกประเทศเป็น Thailand จากนั้นคลิกตรงคำว่า “Search by Country or Region” แล้วทำการเลือกสนามสอบที่เราต้องการ ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วสนามสอบจะเป็นโรงเรียนนานาชาติทั้งในกรุงเทพและต่างจังหวัด หากเราเลือกได้แล้วให้คลิกคำว่า “Select”ตรงชื่อสนามสอบที่เราต้องการได้เลย แต่หากกรณีศูนย์สอบเต็ม ไม่มีเมนูให้เรากดเลือกสนามสอบ ให้เราทำการคลิกที่คำว่า “Let us find you a test center” เพื่อให้ทาง college board ทำการหาศูนย์สอบให้เราภายหลัง จากนั้นจะมีหน้าต่าง “We’ll Find a Test Center For you” ขึ้นมา ให้เราอ่านรายละเอียดให้เรียบร้อยแล้วคลิก “Continue” ระบบจะขึ้นตารางสนามสอบมาให้เราเลือกอีกครั้ง โดยให้เราเลือกสนามสอบที่เราต้องการ แล้วคลิก “My Ideal Test Center” ระบบจะขึ้นสรุปเรื่องสนามสอบให้เราอีกครั้ง หากข้อมูลถูกต้องให้คลิก “Continue”
หมายเหตุ : เราจะทราบผลว่าเราได้สนามสอบที่ใดประมาณ 1 สัปดาห์หลังจากที่เราสมัครและชำระเงินเรียบร้อยแล้ว ซึ่งสนามสอบที่ได้นั้นอาจจะเป็นที่เดียวกันกับที่เราเลือกไว้หรือไม่ก็ได้ - อัพโหลดรูปถ่ายของผู้สอบลงไป โดยจะต้องเป็นรูปตามลักษณะที่ทาง college board กำหนด ให้เราคลิกคำว่า “Upload Photo” เลือกช่องทางที่จะนำรูปเข้า จากนั้นปรับครอปรูปตามความเหมาะสม แล้วคลิก “Save Image” และ “Continue”
- ระบบจะนำเสนอหนังสือเตรียมสอบต่าง ๆ ให้เรา หากใครสนใจอยากซื้อหนังสือเตรียมสอบจากทาง college board ก็สามารถสั่งซื้อได้จากขั้นตอนนี้ แต่หากไม่ต้องการสามารถคลิก “Continue” ได้เลย ซึ่งหลังจากนั้นระบบจะขึ้นสรุปข้อมูลพร้อมรูปถ่ายที่เรากรอกไปมาให้ตรวจสอบความถูกต้องอีกครั้ง ตามรูปตัวอย่างที่แนบมานี้ แต่ขออนุญาตเบลอไว้เล็กน้อย เนื่องจากอาจจะมีข้อมูลส่วนบุคคลอยู่นั่นเอง
- หลังจากนั้นให้ทำการตรวจสอบค่าใช้จ่ายและเตรียมบัตรเครดิตให้พร้อมสำหรับการชำระเงิน จากนั้นคลิก Make Payment ตรงหัวข้อ Submit Your Order ซึ่งเมื่อเราคลิกแล้ว ระบบจะแสดงหน้าต่าง Confirm Your Information ขึ้นมา ให้เราคลิกตรงคำว่า “I agree with this information.” จากนั้นคลิก “Continue”
- เลือกช่องทางการชำระเงิน จากนั้นคลิก “Submit”
- กรอกรายละเอียดการชำระเงินตามช่องทางที่เราเลือกไว้ จากนั้นคลิก “Submit” ถือเป็นอันสิ้นสุดขั้นตอนการสมัครสอบ และเราจะได้รับอีเมลยืนยันจากทาง college board ด้วย
หลังจากทำการชำระเงินเรียบร้อย หากใครที่สมัครสอบตอนที่สนามสอบยังว่าง ไม่ต้องรอสนามสอบภายหลังจะสามารถ Print Admission Ticket ออกมาได้เลย แต่หากอยู่ระหว่างการรอสนามสอบ จะสามารถ Print Admission Ticket ได้อีกครั้งเมื่อเราได้สนามสอบเรียบร้อยแล้ว โดย Admission Ticket นั้น มีไว้สำหรับยืนยันการสมัครสอบกับเจ้าหน้าที่คุมสอบ โดยยื่นควบคู่กับบัตรประชาชนหรือพาสปอร์ตในวันสอบจริง ดังนั้นเราจะ Print Admission Ticket เมื่อไหร่ก็ได้ ขอเพียงแค่ให้ทันวันสอบจริงก็พอค่ะ
แนะนำหนังสือเตรียมสอบ SAT
“อยากอ่านหนังสือเตรียมสอบ SAT ควรอ่านเล่มไหนดี” คำถามที่น้อง ๆ หลายคนต่างสงสัย เพราะแทบจะปฏิเสธไม่ได้เลยว่า หนังสือเตรียมสอบทุกวันนี้มีเยอะมาก มีทั้งหนังสือที่เน้นตะลุยโจทย์ หนังสือที่เน้นการอธิบายเนื้อหาอย่างละเอียดแล้วมาพร้อมกับชุดแนวข้อสอบแบบ one stop service นอกจากนี้ยังมีหนังสือ แยกเป็นพาร์ท ๆ มาให้อีกด้วย มีเยอะจนตาลายขนาดนี้ ถึงเวลาต้องเลือกอ่านกันหน่อยแล้ว ซึ่งวันนี้ พี่ ๆ จุฬาติวเตอร์จะมาแนะนำหนังสือเตรียมสอบให้น้อง ๆ ที่ยังเลือกไม่ถูกกันค่ะ ว่าเราควรจะอ่านเล่มไหนดี
1. Collage Board; The Official SAT Study Guide
หนังสือเตรียมสอบเล่มแรกที่อยากแนะนำ เนื่องจากเป็นหนังสือที่จัดทำโดย Collage Board ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ดำเนินการเรื่องการสอบโดยตรง ดังนั้น เรื่องของแนวข้อสอบและข้อมูลจะเป็นทางการและค่อนข้างใกล้เคียงข้อสอบจริง ในหนังสือเตรียมสอบเล่มนี้ จะมีทั้งส่วนที่เป็นเคล็ดลับการเตรียมสอบ ตัวอย่างข้อสอบและข้อสอบจริง อีกทั้งยังมีการอธิบายเฉลยอย่างละเอียดให้อีกด้วย สำหรับใครที่เพิ่งเริ่มเตรียมตัว หรือยังไม่เคยสอบมาก่อน หนังสือเล่มนี้ ช่วยได้เยอะทีเดียวค่ะ
2. The Princeton Review; Crack the SAT PREMIUM
เป็นหนังสือเตรียมสอบอีกหนึ่งเล่มที่จะเน้นการตะลุยโจทย์ค่อนข้างเยอะ โดยหากเปรียบเทียบเล่มนี้กับ Cracking the Scholastic Assessment Tests ธรรมดา หนังสือเล่มนี้จะพิเศษตรงที่จะมีข้อสอบเพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ยังมีการทบทวนในหัวข้อต่าง ๆ ที่มีการออกสอบอีกด้วย และที่พลาดไม่ได้เลยคือ หนังสือเตรียมสอบเล่มนี้มีอธิบายเฉลยอย่างละเอียดให้ด้วย
3. KAPLAN SAT Prep 2020
หนังสือเตรียมสอบที่มีครบทั้งการทบทวนพื้นฐานในหัวข้อที่ออกสอบ และอัดแน่นไปด้วยโจทย์อีกหลายร้อยข้อ ที่ไม่เพียงแต่จะให้เราได้เห็นแนวข้อสอบเท่านั้น แต่จะให้กลยุทธ์และเทคนิคการทำข้อสอบอีกด้วย แต่สำหรับใครที่ยังไม่แม่นคณิตศาสตร์มากนัก อาจจะเก็บเล่มนี้ไว้ฝึกทำตอนที่พื้นฐานเริ่มดีแล้วจะเหมาะกว่าค่ะ
4. BARRON’S SAT PREMIUM STUDY GUIDE
หนังสือเตรียมสอบเล่มสุดท้ายที่เราอยากแนะนำคือ BARRON’S; Scholastic Assessment Tests PREMIUM STUDY GUIDE ค่ะ โดยปกติแล้วหนังสือจาก BARRON’S จะทำโจทย์ออกมาค่อนข้างยาก จึงอาจจะเหมาะกับน้อง ๆ ที่ผ่านการฝึกทำข้อสอบมาเยอะแล้ว หรือมีพื้นฐานที่ดีมาก ๆ แล้ว แต่อยากทำโจทย์เพิ่มเพื่อความมั่นใจที่มากขึ้นนั่นเองค่ะ