เมนู
TBAT คืออะไร ?
TBAT ย่อมาจาก Thai Biomedical Admissions Test เป็นข้อสอบวัดความถนัดทางด้านวิทยาศาสตร์ ใช้ยื่นเข้าเรียนคณะสายวิทยาศาสตร์สุขภาพ หลักสูตรนานาชาติ ได้แก่ คณะแพทยศาสตร์ ทันตแพทยศาสตร์ เภสัชศาสตร์ สัตวแพทยศาสตร์ และสหเวชศาสตร์
ทำไมต้องสอบ ?
เพื่อประเมิน ความรู้ความเข้าใจ และ ทักษะการคิดวิเคราะห์ ใน เนื้อหาวิทยาศาสตร์ ที่เกี่ยวข้องกับ หลักสูตรแพทย์และสายสุขภาพ
ใครบ้างที่ต้องสอบ ?
ผู้ที่จะเข้าศึกษาต่อในหลักสูตรนานาชาติ ของ คณะแพทยศาสตร์ ทันตแพทยศาสตร์ เภสัชศาสตร์ สัตวแพทยศาสตร์ และสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
รูปแบบข้อสอบ TBAT
การสอบแบ่งออกเป็น 3 พาร์ท ดังนี้
- พาร์ท 1: ฟิสิกส์ จำนวน 30 ข้อ ใช้เวลา 60 นาที
- พาร์ท 2: เคมี จำนวน 55 ข้อ ใช้เวลา 60 นาที
- พาร์ท 3: ชีววิทยา จำนวน 55 ข้อ ใช้เวลา 60 นาที
รวมแล้ว ข้อสอบ มีทั้งหมด 140 ข้อ ผู้เข้าสอบมีเวลาทำข้อสอบ ทั้งหมด 3 ชั่วโมง
พาร์ท | วิชา | จำนวนข้อ | ระยะเวลา |
1 | ฟิสิกส์ | 30 | 60 นาที |
2 | เคมี | 55 | 60 นาที |
3 | ชีววิทยา | 55 | 60 นาที |
รูปแบบข้อสอบ
- ข้อสอบ เป็นแบบ ปรนัย ผู้เข้าสอบจะต้อง เลือกคำตอบ ที่ถูกต้องที่สุดจากตัวเลือกที่กำหนดให้ 4 ตัวเลือก
- ผู้เข้าสอบ ไม่สามารถ ย้อนกลับไปทำข้อสอบในพาร์ทก่อนหน้าได้
- ผู้เข้าสอบ ไม่ได้รับอนุญาตให้นำเครื่องคิดเลข หรือ อุปกรณ์อื่นๆ เข้าห้องสอบ
TBAT สอบอะไรบ้าง ?
- ฟิสิกส์: เน้นเนื้อหาเกี่ยวกับกลศาสตร์ แรงงาน ความร้อน เสียง แสง ไฟฟ้า และแม่เหล็ก
- เคมี: เน้นเนื้อหาเกี่ยวกับโครงสร้างอะตอม พันธะเคมี เทอร์โมไดนามิกส์ เคมีอินทรีย์ และเคมีวิเคราะห์
- ชีววิทยา: เน้นเนื้อหาเกี่ยวกับเซลล์ โครงสร้างและหน้าที่ของสิ่งมีชีวิต พันธุกรรม วิวัฒนาการ และระบบนิเวศ
Physics
- Kinetics and force 6-8 ข้อ
- Vibrations and Waves 5-6 ข้อ
- Electricity 4-5 ข้อ
- Magnetism 3-5 ข้อ
- Energy 3-4 ข้อ
- Atomic Structure 3-4 ข้อ
- Electromagnetic Waves 1-2 ข้อ
Chemistry
- Atomic structure, Properties of Element and compounds 7-9 ข้อ
- Bonding and intermolecular forces 5-6 ข้อ
- Laboratory and Safety Skills 3-5 ข้อ
- Reaction rates 3-5 ข้อ
- Stoichiometry 2-4 ข้อ
- Mole and Chemical formula 1-3 ข้อ
- Solutions 1-3 ข้อ
- Chemical Equilibrium 1-3 ข้อ
Biology
- Organ System 23-27 ข้อ
- Cell Theory 9-11 ข้อ
- Genetics and Evolution 9-11 ข้อ
- Disease and Body Defense 4-6 ข้อ
- Biological Diversity 2-4 ข้อ
- Plants 1-3 ข้อ
เจาะลึกข้อสอบ TBAT รอบล่าสุด
ข้อสอบพาร์ท ฟิสิกส์
ข้อสอบยาก เน้นการคำนวณ เรื่องที่ออกสอบเยอะ คือ การเคลื่อนที่ไฟฟ้า , แม่เหล็ก , แรงต่างๆ
ข้อสอบพาร์ท เคมี
ข้อสอบยาก เน้นการคำนวณ เนื้อหาของ ม.4 และ ม.5 เป็นหลัก เรื่องที่ออกสอบเยอะ คือ สมดุลเคมี , การเกิดปฎิกิริยาเคมี
ตัวอย่างข้อสอบ TBAT เคมี รอบล่าสุด
Which of the following organic compounds has the least number of hydrogen atoms in the formula ?
- 3-ethyl-2-methylheptane
- 4-ethyloct-2-yne
- 3-ethyl-4,4-dimethylpent-2-ene
- 2,3-dimethylheptane
- 1-ethyl-2-methylcyclohexene
ข้อสอบพาร์ท ชีวะ
ข้อสอบไม่ยาก เนื้อหาของ ม.4 เป็นหลัก เรื่องที่ออกสอบเยอะ DNA RNA พันธุกรรม
Review ข้อสอบ TBAT Part: Biology แบบฉบับคนสอบเอง
สำหรับการสอบ TBAT ที่ผ่านมา มีหลายจุดในข้อสอบที่ต้องมาเล่าให้ฟัง เพื่อเป็นแนวทางการเตรียมตัวก่อนสอบในสนามสอบถัดไป ในแบบฉบับติวเตอร์ที่ไปเป็นคนสอบเอง
ก่อนลงสนามสอบ คาดว่า ข้อสอบจะออกมาแนว BMAT และ A-level เนื่องจากการสอบวัดผลความรู้เพื่อนำคะแนนไปใช้ในการเข้ามหาวิทยาลัย ดังนั้น การออกสอบประยุกต์เกินไปอาจจะไม่จำเป็นสำหรับการสอบในครั้งนี้
เมื่อลงสนามจริง พบว่า ข้อสอบออกทั้งพื้นฐานความรู้เรื่องทั่วไปของชีววิทยา และมีส่วนที่คิดวิเคราะห์เป็นส่วนมากของข้อสอบ ปริมาณข้อสอบเยอะ ต้องใช้ความเร็วในการตอบ ข้อละประมาณ 1 นาที หากทำเวลาไม่ดี งานนี้มีทิ้งดิ่งแน่นอน
หลังจากออกห้องสอบแล้ว พี่รีบมานั่งตกตะกอนในมุมมองของติวเตอร์ว่า น้อง ๆ ต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้างถึงจะสอบทันและรู้แนวทางในการออกสอบของสนามสอบถัดไป เพื่อนำมาติวน้อง ๆ ให้พร้อมก่อนลงสนามสอบในคอร์ส TBAT Biology
ดังนั้น สิ่งที่จะบอกต่อ หรือแบ่งปันนี้ มาจากประสบการณ์ที่ลงสนามสอบจริง และมาจากการตกผลึกหัวข้อที่แนะนำให้น้อง ๆ ไปอ่านเพิ่มเติมเพื่อพิชิตข้อสอบนี้ให้ได้
เรื่องที่ออกสอบ สามารถแบ่งได้เป็น 5 หมวดด้วยกัน ดังนี้
1. นิเวศวิทยาและวิวัฒนาการ 5% – สามารถเชื่อมโยงระหว่างสิ่งแวดล้อมและชีวิตของมนุษย์ และวิธีการปรับตัวต่างๆ เพื่อทำให้เกิดวิวัฒนาการ และเกิดการจัดหมวดหมู่ของสิ่งมีชีวิตใหม่ได้
วิธีการเตรียมตัว ทำความเข้าใจในเนื้อหาระบบนิเวศ กับความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิต รวมถึงสภาวะแวดล้อมที่ส่งผลต่อวิวัฒนาการ หรือการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ต่อสิ่งมีชีวิตทุกชนิด นำองค์ความรู้ที่มี ไปใช้ในการวิเคราะห์ข้อสอบ
ระดับความยาก **
ตัวอย่างโจทย์
นักนิเวศวิทยาต้องการศึกษาความจำนวนประชากรหลังจากเกิดเหตุไฟไหม้ป่า ซึ่งทำให้พื้นที่ทางการเกษตรเกิดความเสียหายหนัก ใช้ระยะเวลาหลายปีในการฟื้นฟูและทำให้เกิดระบบนิเวศป่าไม้โดยเริ่มจากมอส และค่อย ๆ เกิดสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ เข้ามาภายในพื้นที่ เหตุการณ์ทั้งหมดที่เกิดขึ้น เกิดจากสาเหตุใดและทำให้เกิดวิวัฒนาการได้อย่างไร?
การสุ่มประชากรเพื่อตรวจสอบทรัพยากรสัตว์กลุ่มหนึ่งในสภาวะโลกเดือด โดยมีข้อมูลจำนวนประชากรก่อนที่จะเกิดสภาวะโลกเดือด ข้อใดคือกลุ่มตัวอย่างสิ่งมีชีวิตที่ควรนำมาเก็บศึกษา (โจทย์จะให้ภาพแปลงที่ดินมา เพื่อหากลุ่มประชากรที่เหมาะสม)
2. พื้นฐานของโครงสร้างและหน้าที่ของเซลล์ 5% – การแสดงภาพและการจดจำโครงสร้างเซลล์ที่ถูกต้องพร้อมกับบทบาทของเซลล์ในระบบร่างกายมนุษย์
วิธีการเตรียมตัว ทำความเข้าใจกระบวนการต่าง ๆ ภายในเซลล์ และหน้าที่ของออแกเนลล์ที่อยู่ภายในเซลล์ เพื่อนำมาวิเคราะห์หาคำตอบที่ถูกต้องที่สุด
ระดับความยาก **
ตัวอย่างโจทย์
จากภาพเซลล์เม็ดเลือดขาวที่จับกินเชื้อโรค โครงสร้างใดที่ทำหน้าที่ในการย่อยเชื้อโรคที่ถูกกินจากเซลล์ macrophage เพื่อใช้กลไกแบบใดในการย่อยหรือทำลายเชื้อโรค
3. การคิดวิเคราะห์และวิพากษ์วิจารณ์ในระบบร่างกายมนุษย์ 70% – การวิเคราะห์สภาวะหรือโรคที่เกิดขึ้น เพื่อทำความเข้าใจกับโรคและระบุกลไกพื้นฐานที่สามารถแก้ไขปัญหาได้ การคิดวิเคราะห์เกี่ยวกับการสื่อสารระหว่างเซลล์ การแสดงออกของโปรตีนในสภาวะที่แตกต่างกันกับเชื้อโรคในร่างกายของเรา และการตัดสินใจโดยอาศัยความรู้พื้นฐานของระบบร่างกายมนุษย์ถือเป็นสิ่งสำคัญ
วิธีการเตรียมตัว ทำความเข้าใจเกี่ยวกับระบบร่างกายมนุษย์ให้เพียงพอที่จะสามารถนำไปใช้ในการวิเคราะห์ได้ โดยให้เตรียมตัวหาเนื้อหาที่เกี่ยวกับโรคต่าง ๆ ที่อาจทำให้เกิดโรคต่อระบบร่างกายนั้น ๆ ได้ รวมถึงกลไกของการเกิดการหายใจระดับเซลล์และผลิตภัณฑ์ที่เกิดขึ้น แม้ว่าโจทย์จะอธิบายความหมายมาให้แล้ว แต่ตัวเลือกมีตัวหลอก
ระดับความยาก ****
ตัวอย่างโจทย์
โรค Neuromuscular เกิดจากความผิดปกติของระบบกล้ามเนื้อของร่างกายโดยมีเกิดจาก……… ข้อใดคือผลที่ได้รับจากโรคนี้ และแนวทางวิธีการรักษาตามหลักของสารชีวโมเลกุล
โรคใดคือโรคทางด้านพันธุกรรม?
คนไข้คนหนึ่งมาด้วยอาการหายใจไม่ออก ……..(อธิบายอาการทางระบบหมุนเวียนโลหิต)….. เมื่อแพทย์ต้องตรวจค่าคลื่นไฟฟ้าหัวใจพบว่า มี 1 พีคที่เกิดความผิดปกติ ข้อใดอธิบายได้ถูกต้องเกี่ยวกับกราฟที่ผิดปกติบนพื้นฐานการทำงานของระบบหมุนเวียนโลหิต
เมื่อมีการสลายได้สาร Pyruvate 3 โมเลกุล เมื่อเข้าสู่ขั้นตอนถัดไป จะได้ผลิตภัณฑ์เป็นตัวใดบ้าง?? กี่โมเลกุล
โจทย์ให้ภาพ negative feedback ของฮอร์โมน thyroxin แล้วถามคำถามเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่หลั่งฮอร์โมนมากเกินไป รวมถึงถามเรื่องการควบคุมระดับแคลเซียม การเจริญเติบโตของร่างกายหากมี T3,T4 ที่น้อยลง
4. การนำความรู้ด้านสารชีวโมเลกุลมาประยุกต์ใช้ในการวิเคราะห์เกี่ยวกับระบบร่างกายมนุษย์ (ในเชิงระบบภูมิคุ้มกัน) 10% – การอธิบายการค้นพบสารชีวโมเลกุล หรือออแกเนลล์ภายในร่างกาย และพื้นฐานจากการป้องกันของร่างกายมนุษย์ การอธิบายกระบวนการฉีดวัคซีน กลไกการออกฤทธิ์ในระบบภูมิคุ้มกัน และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
วิธีการเตรียมตัว พื้นฐานของการจับกันระหว่างแอนติเจนกับแอนติบอดี และเอนไซม์ที่เกี่ยวข้อกับกลไกการออกฤทธิ์ภายในเซลล์ รวมถึงหลักการจับกันของแอนติเจนและแอนติบอดี การนำเสนอแอนติเจนบนผิวของเม็ดเลือดขาว
ระดับความยาก ****
ตัวอย่างโจทย์
การผลิตวัคซีนในครั้งๆ หนึ่ง จะต้องอาศัยงานวิจัยในห้องปฏิบัติการ โดยทำการทดลองโดยการฉีดวัคซีนกับคนไข้ที่เป็นโรค 1 ครั้ง ทิ้งไว้ 1 สัปดาห์มาฉีดครั้งที่ 2 แล้วเก็บเลือดไปตรวจสอบระดับภูมิคุ้มกัน คำถามคือ ข้อใดต่อไปนี้เหมาะสมที่จะเป็นตัวควบคุมลบในการทดลองนี้ และการทดสอบระดับภูมิคุ้มกันมีหลักการอย่างไร
โจทย์ให้สายพอลิเพปไทด์สั้น ๆ แล้วเชื่อมด้วยพันธะเพปไทด์ และสอบถามความเข้าใจในด้านโครงสร้าง และวิธีการตอบว่ากรดอะมิโนที่มาเกี่ยวข้องในโครงสร้างมีด้วยกันกี่โมเลกุล
5. ยีน สารพันธุกรรมและโรคที่เกี่ยวข้อง 10% – การคิดวิเคราะห์เชิงวิพากษ์เกี่ยวกับประเภทและรูปแบบของการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมเป็นลูกหลาน และการอธิบายความแตกต่างระหว่างโรคทางพันธุกรรมและโรคที่ไม่ใช่ทางพันธุกรรม
วิธีการเตรียมตัว ศึกษา pedigree ให้แตกฉาน รวมถึงการคำนวณการแสดงออกตามโจทย์กำหนด ทั้งเรื่องที่เป็นไปตามกฎของเมนเดล และไม่เป็นไปตามกฎของเมนเดล
ระดับความยาก ****
ตัวอย่างโจทย์
จากพงศาวลีของครอบครัวหนึ่งที่ให้มา พบการแสดงออกในลักษณะ…………. เป็นยีนเด่น ลักษณะ…..เป็นยีนด้อย จงคำนวณความเป็นไปได้ที่เกิดรุ่นต่อไปเป็น………………………?
การถอดรหัสพันธุกรรมโดยเริ่มจากรหัส DNA แล้วเกิดภาวะแทนที่เบส ให้หาคำตอบว่าจะได้กรดอะมิโนตัวไหนบ้างหลังการเกิดการเพิ่มของเบสบนสาย DNA
โจทย์ทั้งหมด 55 โจทย์ 60 นาที เป็นความท้าทายมาก ๆ สำหรับการสอบโดยที่มีโจทย์ที่ค่อนข้างยาว และมีวิเคราะห์แทบทุกข้อ ดังนั้น การฝึกฝนให้พร้อม และมีความรู้พื้นฐานที่แน่น จะสามารถผ่านการสอบนี้ไปได้แบบข้ามข้อที่ทำไม่ทันได้น้อยที่สุด
Review ข้อสอบ TBAT Part: Chemistry แบบฉบับคนสอบเอง จุฬาติวเตอร์
สำหรับการสอบ TBAT ที่ผ่านมา มีหลายจุดในข้อสอบที่ต้องมาเล่าให้ฟัง เพื่อเป็นแนวทางการเตรียมตัวก่อนสอบในสนามสอบถัดไป ในแบบฉบับติวเตอร์ที่ไปเป็นคนสอบเอง
ก่อนลงสนามสอบ คาดว่า ข้อสอบจะออกมาแนว A-level เนื่องจากการสอบวัดผลความรู้เพื่อนำคะแนนไปใช้ในการเข้ามหาวิทยาลัย ดังนั้น การออกสอบประยุกต์เกินไปอาจจะไม่จำเป็นสำหรับการสอบในครั้งนี้
เมื่อลงสนามจริง พบว่า ข้อสอบออกทั้งพื้นฐานความรู้เรื่องทั่วไปของชีววิทยา และมีส่วนที่คิดวิเคราะห์เป็นส่วนมากของข้อสอบ ปริมาณข้อสอบเยอะ ต้องใช้ความเร็วในการตอบ ข้อละประมาณ 1 นาที หากทำเวลาไม่ดี งานนี้มีทิ้งดิ่งแน่นอน
ดังนั้น พี่จะมาบอกต่อถึง Tips แบบไม่ลับกันว่าต้องเตรียมตัวอย่างไรในการสอบเคมีให้ผ่านไปได้อย่างรวดเร็ว
โดยข้อสอบแบ่งเป็น 4 part หลัก ๆ โดยแต่ละส่วนมีความเชื่อมโยงกันในเนื้อหา และออกสอบในเรื่องที่เกี่ยวข้องกัน ดังนี้
1. อะตอม ตาราธาตุ พันธะเคมี เคมีที่เป็นพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต รูปร่างพันธะของโมเลกุล สารกัมมันตภาพรังสี 50% – เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกันโดยพื้นฐานทางเคมี โดยเน้นไปที่ความจำและความเข้าใจล้วน ๆ
วิธีการเตรียมตัว ฝึกทำโจทย์การจัดเรียงอิเล็กตรอนแบบ S,P,D,F การจัดระดับพลังงาน รูปร่างพันธะเมื่อกำหนดสูตรโมเลกุล รวมถึงคุณสมบัติของธาตุต่าง ๆ บนตารางธาตุ ค่า EN, IE ขนาดอะตอมหากเรียงตามหมู่ ตามคาบเดียวกัน เพื่อนำมาวิเคราะห์กับที่โจทย์ให้มา
ระดับความยาก ****
ตัวอย่างโจทย์
SF6 คือโครงสร้างของสารชนิดหนึ่งโดยอธิบายความเป็นในการเกิดสารประกอบตัวนี้ (ตัวเลือกมีหลอกว่าคือ สาร Sulfur กับ Fluorine จับกัน) ซึ่งจริง ๆ นั้นมันคือการถามโครงสร้างเคมีว่าเป็นแบบใด
7d10 คือการจัดเรียงอิเล็กตรอนของสารประกอบตัวใด และหมายถึงแรงที่กระทำด้วยแรงอะไร
พันธะในข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับหลักการทางพันธะเคมี (จะมีแรงต่าง ๆ มาให้พิจารณาความถูกต้อง)
ค่าครึ่งชีวิตของสารชนิดหนึ่งโดยมีอายุ 24 วัน โดยมีสารเริ่มต้นที่ …… กรัม และเหลือ …..กรัม หาเวลาทั้งหมดในการสลายตัว
จากปฏิกิริยากัมมันตภาพรังสีต่อไปนี้ ที่เว้นว่างไว้คือสารตัวใด (เช่น อิเล็กตรอน โปรตอน โฟตอน นิวตรอน)
2. ส่วนที่เป็นคำนวณ (45%) เช่น ปริมาณสารสัมพันธ์ กรดเบส ไฟฟ้าเคมี – เน้นคำนวณและให้อธิบายความเข้าใจในหลักการของบทดังกล่าวร่วมด้วย ซึ่งอยู่ในตัวเลือก
วิธีการเตรียมตัว ฝึกทำโจทย์ปริมาณสารสัมพันธ์เบื้องต้น ไม่ได้ลงลึกถึงการรบกวนสมดุล กรดเบส จะถามเรื่องสูตร Ka, Kb, pH + pOH = 14 และการหาค่า E0 ของเซลล์ไฟฟ้า รวมถึงการวิเคราะห์ว่า สารตัวไหนเหมาะสำหรับเป็นขั้วของไฟฟ้าเคมีนี้
ระดับความยาก ***
ตัวอย่างโจทย์
ให้ปฏิกิริยากรดเบสมา แล้วให้สูตรคำนวณ Ka = [H+][A-] / [HA] เรียบร้อย จากนั้นมีตัวเลือกให้หาความเข้มข้นของสารตั้งต้นตัวนึ่งโดยให้ค่า Ka มาแล้ว
ให้สมการไฟฟ้าเคมีมาแบบครึ่งเซลล์ และค่า E0 เซลล์โดยถามว่า ข้อใดเป็นตัวที่สูญเสียอิเล็กตรอน
ปริมาณสารสัมพันธ์ในเชิงเศษส่วนโดยมวล และให้หาสูตรโมเลกุลของสารจากที่โจทย์ให้น้ำหนักมา
การคำนวณความเข้มข้นหน่วย ร้อยละโดยมวลต่อปริมาตร โดยมวล โดยปริมาตร และ Molar
คำถามเกี่ยวกับเกลือของกรดอ่อน ว่าเกี่ยวข้องอย่างไรกับกรด เบส ค่า pH ของการละลายของเกลือที่เกิดขึ้นหลังเกิดปฏิกิริยา รวมถึงคุณสมบัติของเกลือดังกล่าว
คำถามการเตรียมสารละลายโดยบอกความเข้มข้นของสารในหน่วยโมล/ โมลต่อลิตร ให้อธิบายวิธีการหาน้ำหนักของสาร (กรัม) แล้วบอกวิธีการเตรียมสารละลาย
3. เคมีอินทรีย์ ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมและเรื่องอื่นๆ 5% – เนื้อหาทางด้านความจำเป็นส่วนใหญ่และเรื่องเคมีทั่วไปในชีวิตประจำวัน
วิธีการเตรียมตัว ทำความเข้าใจในการอ่านชื่อสารประกอบเคมีอินทรีย์ การวิเคราะห์โครงสร้างของหมู่ฟังกชัน และปฏิกิริยายาที่เกิดขึ้นว่าได้สารใดเป็นผลิตภัณฑ์ รวมไปถึงการออกสอบชื่อเครื่องมือวิทยาศาสตร์ และความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการ
ระดับความยาก ***
ตัวอย่างโจทย์
ข้อใดต่อไปนี้ เหมาะสำหรับใช้ในการตวงวัดที่ถูกต้อง (ให้ตัวเลือกเป็นชื่อภาชนะตวงที่มีบิดคำเล็กน้อย)
จากภาพโครงสร้าง เมื่อทำปฏิกิริยาแล้วจะเกิดเป็นสารประกอบเคมีอินทรีย์ใดได้บ้าง?
ข้อใดคือการเตรียมตัวที่ถูกต้องที่สุดเมื่อต้องเข้าห้องปฏิบัติการ?
ข้อควรระวัง- เคมีมีส่วนที่หลอกเยอะมาก โดยเฉพาะตัวเลือกที่ทำให้เกิดความลังเลได้ง่าย นำสัญลักษณ์ภาษาอังกฤษมาถามให้เป็นสูตรโมเลกุล หรือทำให้เกิดการคาดเดาไปในสองเรื่อง คือ สูตรโมเลกุลหรือโครงสร้างของโมเลกุลเมื่อเกิดพันธะกัน หน่วยในการคำนวณปริมาณสารสัมพันธ์ต้องให้เป็นไปตามหน่วย SI หรือหน่วยสากล
โจทย์ทั้งหมด 55 โจทย์ 60 นาที พี่แนะนำให้น้อง ๆ ต้องจัดการการทำโจทย์ดีดี แบ่งส่วนที่คิดว่าใช้เวลาเยอะเอาไว้ทำภายหลัง ไล่เปิดอ่านทุกหน้าให้ครบ ข้อไหนที่ทำได้ให้รีบกาไปก่อน ไม่กาในตัวข้อสอบ แล้วค่อยมาระบายคำตอบทีหลัง อาจทำให้เวลาไม่พอในการระบายคำตอบจนเสียผลประโยชน์ได้
คะแนน TBAT
คะแนนสอบมีอายุ 2 ปี
วิธีการคิดคะแนน
- คะแนน ของแต่ละข้อจะ เท่ากัน
- ไม่มีคะแนนลบ
- ผู้เข้าสอบ ที่ตอบถูก จะได้คะแนน 1 คะแนน
- ผู้เข้าสอบ ที่ตอบผิด จะไม่ได้คะแนน
ตัวอย่างการคิดคะแนน
สมมติว่า ผู้เข้าสอบคนหนึ่ง ตอบถูกทั้งหมด 120 ข้อ ตอบผิด 20 ข้อ
คะแนนดิบ ของผู้เข้าสอบคนนี้ จะเท่ากับ:
(120 ข้อ x 1 คะแนน/ข้อ) – (20 ข้อ x 0 คะแนน/ข้อ) = 120 คะแนน
เกณฑ์การผ่าน
คะแนนสอบ TBAT นั้น ใช้ประกอบการพิจารณา ร่วมกับ ผลการเรียน และ ผลสอบ CU-AAT ใน การคัดเลือกผู้เข้าศึกษาต่อ
มหาวิทยาลัยแต่ละแห่ง กำหนดคะแนนขั้นต่ำ ของการสอบที่ แตกต่างกัน
การสมัครสอบ TBAT
คุณสมบัติผู้สมัคร
ผู้มีคุณสมบัติสมัครสอบ ดังนี้:
- เป็นผู้สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือเทียบเท่า
- มีผลการเรียนเฉลี่ยสะสม (GPA) ไม่ต่ำกว่า 2.50 จาก 4.00
- ไม่เคยสอบ เกิน 2 ครั้ง
- ไม่เคยถูกตัดสิทธิ์สอบ
- มีสุขภาพร่างกายสมบูรณ์ แข็งแรง
ขั้นตอนการสมัคร
- เข้าสู่ระบบ สมัครสอบ TBAT
- กรณียังไม่มี Account ให้ทำการ “สมัครใช้งาน” ก่อน
- คลิกเมนู “การสมัครสอบ”
- เลือก “การสอบ TBAT”
- อ่านรายละเอียดการสมัครสอบ
- คลิก “สมัครสอบ”
- กรอกข้อมูล ให้ครบถ้วนถูกต้อง
- แนบเอกสาร ที่ต้องใช้
- ชำระค่าธรรมเนียมการสมัคร
- คลิก “ยืนยันการสมัคร”
- พิมพ์ใบสมัคร เก็บไว้เป็นหลักฐา
เอกสารที่ใช้สมัคร
- ใบสมัครสอบ (กรอกข้อมูลทางออนไลน์)
- สำเนาบัตรประชาชน หรือ บัตรประจำตัวนักเรียน
- รูปถ่ายขนาด 2 นิ้ว หน้าตรง ฉากหลังสีฟ้า ไม่สวมหมวก
- สำเนาทะเบียนบ้าน
- ใบรับรองผลการเรียน ม.6 หรือเทียบเท่า
ค่าสอบ TBAT
ค่าธรรมเนียมการสมัครสอบ 1,600 บาท
ช่องทางการชำระค่าธรรมเนียม:
- ชำระผ่านเคาน์เตอร์ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ทุกสาขา
- ชำระผ่านตู้ ATM ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ทุกสาขา
- ชำระผ่านระบบ e-Payment บนเว็บไซต์
กำหนดเวลาสมัคร
การสมัครสอบ TBAT เปิดรับสมัคร 2 รอบต่อปี คือ เดือนกรกฎาคม และเดือนตุลาคม
Update ตารางสอบ TBAT 2025
วันสอบ | เวลา | ช่วงเวลารับสมัคร |
6 ก.ค. 68 | 13:00-16:00 | 23-29 มิ.ย. 68 |
5 ต.ค. 68 | 13:00-16:00 | 22-28 ก.ย. 68 |
ข้อมูลอ้างอิง https://atc.chula.ac.th/Main/calendar_68_th/
ผลสอบ TBAT
วิธีการดูผลสอบ
ผู้เข้าสอบสามารถตรวจสอบผลสอบ ได้ทางเว็บไซต์ https://www.chula.ac.th/cu-services/academic-services/chulalongkorn-university-academic-testing-center/
กำหนดเวลาประกาศผล
ผลสอบ จะประกาศ ภายใน 2 อาทิตย์ หลังจาก สิ้นสุดการสอบ แต่ละรอบ
🔥 เตรียมพร้อมสอบ TBAT ด้วยการติวตัวต่อตัว
การสอบ TBAT เปรียบเสมือนประตูสู่คณะในฝันของคุณ หลายคนมุ่งมั่นทุ่มเทเพื่อคว้าคะแนนสูงสุด แต่การเดินทางนี้ใช่ว่าจะง่ายเสมอไป การติวตัวต่อตัวจึงกลายเป็นตัวเลือกยอดนิยมที่ช่วยให้น้องพิชิตเป้าหมายได้อย่างมั่นใจ
ทำไมติวตัวต่อตัวจึงเป็นคำตอบสำหรับน้องๆ
- เพิ่มประสิทธิภาพการเรียนรู้: ติวเตอร์จะทุ่มเทเวลาให้คุณอย่างเต็มที่ ตอบทุกคำถาม แก้ไขข้อสงสัยทันที ช่วยให้น้องเรียนรู้เนื้อหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดเวลาการทบทวนด้วยตัวเอง
- เสริมสร้างความมั่นใจ: ติวเตอร์จะคอยให้กำลังใจ กระตุ้น และสร้างแรงบันดาลใจ ช่วยให้น้องรู้สึกมั่นใจ พร้อมลุยกับโจทย์ยากๆ
- ฝึกฝนเทคนิคการทำข้อสอบ: ติวเตอร์จะสอนเทคนิคการวิเคราะห์โจทย์ การจัดการเวลา การตอบคำถามอย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยให้น้องทำข้อสอบได้อย่างเฉียบคม ตรงเวลา
- Click ดูข้อมูล ติวเตอร์ที่ TBAT
คะแนนสอบ TBAT ใช้ยื่นคณะแพทย์ ที่ไหนได้บ้าง ?
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- คณะแพทย์ศาสตร์
- คณะทันตแพทย์ศาสตร์
- คณะเภสัชศาสตร์
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
- คณะแพทย์ศาสตร์ (ใช้คะแนน TBAT + CU-AAT)
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- คณะแพทย์ศาสตร์ (ใช้คะแนน TBAT 20%)
มหาวิทยาลัยมหิดล
- คณะทันตแพทยศาสตร์อินเตอร์ (MIDS)
- คณะเภสัชศาสตร์อินเตอร์
Requirement แพทย์จุฬา อินเตอร์
- กำลังศึกษาอยู่ชั้น ม.6 หรือเทียบเท่า
- GPAX
- คะแนนภาษาอังกฤษ IELTS 7.0+ / TOEFL100+ / CU-TEP & Speaking 110+
- คะแนนสอบ TBAT (Biology 35% / Chemistry 25% / Physics 15%)
- คะแนนสอบ CU-AAT ( CU-AAT Math 15% / CU-AAT Verbal 10%)
เกณฑ์การยื่นคะแนนเข้าแพทย์
TBAT ยื่นสมัคร MED/DENT CU , MED KU , TU , MIDS
CU-AAT ยื่นสมัคร MED/DENT CU , MED KU
MCAT ยื่นสมัคร MED/DENT CMU , KKU , KU , MIDS , RSU
UCAT ยื่นสมัคร MED/DENT CICM , MIDS , RSU
AKAT ยื่นสมัคร MED/DENT SWU-NOTT
เปรียบเทียบ TBAT กับ UCAT แตกต่างกันอย่างไร ?
TBAT | UCAT | |
APTITUDE (วัดความถนัด) | – Verbal Reasoning – Decision Making – Quantitative Reasoning – Abstact Reasoning | |
SUBJECT KNOWLEDGE (วัดทักษะทางวิชาการ) | – Biology – Chmistry – Physics | |
ATTITUDE (วัดทัศนคติ) | Situational Judgement |
สรุป ความแตกต่างระหว่างข้อสอบ TBAT กับ UCAT คือ ข้อสอบ TBAT จะเน้นวัดความรู้ทางวิชาการ โดยเน้นความรู้ทางวิทยาศาสตร์เป็นหลัก ส่วน ข้อสอบ UCAT จะเน้นวัดความถนัดและทัศนคติ