เปรียบเทียบ CU-AAT คืออะไร VS SAT คืออะไร
CU-AAT คือ Chulalongkorn University Academic Aptitude Test ข้อสอบที่ใช้วัดความสามารถทางด้านคณิตศาสตร์ (Mathematics) และ ภาษาอังกฤษ (Verbal) ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ใช้เพื่อพิจารณาผู้ยื่นเข้าศึกษาในระดับปริญญาตรี หลักสูตรนานาชาติ
SAT คือ Scholastic Aptitude Test หรือ The Scholastic Assessment Test คือ การสอบมาตรฐานสากลที่วัดความถนัดในวิชาภาษาอังกฤษ และคณิตศาสตร์ในระดับอุดมศึกษา
โครงสร้างข้อสอบ CU-AAT VS SAT
โครงสร้างข้อสอบ CU-AAT
ประกอบด้วย 2 พาร์ท คือ Part Math , Part Verbal ข้อสอบมีทั้งหมด 110 ข้อ คะแนนเต็ม 1,600 คะแนน ระยะเวลาในการทำข้อสอบ 140 นาที (2 ชม 20 นาที)
1. CU-AAT Part Math (ใช้วัดความสามารถทางด้านคณิตศาสตร์) มีข้อสอบทั้งหมด 55 ข้อ ใช้เวลา 70 นาที คะแนนเต็ม 800 คะแนน เนื้อหาประกอบด้วย Arithmetic, Algebra, Geometry, Problem Solving
2. CU-AAT Part Verbal (ใช้วัดความสามารถทางด้านภาษาอังกฤษ) มีข้อสอบทั้งหมด 55 ข้อ ใช้เวลา 70 นาที คะแนนเต็ม 800 คะแนน ประกอบด้วย
– Section 1 : Critical Reading: Sentence completions, Passage-based reading- Problem Solving
– Section 2 : Writing : Improving sentences, Identifying sentence errors, Improving paragraphs
โครงสร้างข้อสอบ SAT
ข้อสอบ SAT มีทั้งหมด 2 ส่วนหลัก ๆ ได้แก่ ภาษาอังกฤษและคณิตศาสตร์ ซึ่งทั้ง 2 ส่วนนี้จะมีคะแนนรวมทั้งหมด 1,600 คะแนน คะแนนเต็มส่วนละ 800 คะแนน
1. ข้อสอบ SAT Evidenced-Based Reading & Writing
ข้อสอบส่วนนี้จะแบ่งออกเป็น 2 ชุด คือ Reading 5 passages ใช้เวลา 65 นาที และ Writing ใช้เวลา 35 นาที ซึ่งประกอบด้วย
Grammatical Errors – การแก้ไขไวยากรณ์ให้ถูกต้อง
Editing – การแก้ไขใจความประโยค
2. ข้อสอบ SAT Math
ข้อสอบส่วนนี้จะแบ่งออกเป็น 2 ชุด คือ ชุดที่สามารถใช้เครื่องคิดเลขได้ (Calculator Allowed) ใช้เวลา 25 นาที กับชุดที่ไม่สามารถใช้เครื่องคิดเลขได้ (No Calculator) ใช้เวลา 55 นาที ซึ่งประกอบด้วย
1. หัวข้อ Heart of Algebra (ออกทั้งชุด Calculator และ No Calculator)
สำหรับหัวข้อนี้จะออกสอบเยอะที่สุดประมาณ 33% ของข้อสอบทั้งหมด เช่น การแก้สมการเส้นตรง 1 ตัวแปร, ระบบสมการเส้นตรง 2 ตัวแปร, อสมการเส้นตรง, การตีความค่าคงในสมการและอสมการ, การแก้โจทย์ปัญหา, การวาดกราฟเส้นตรง
2. หัวข้อ Problem Solving and Data Analysis (ออกแค่ในชุด Calculator)
สำหรับหัวข้อนี้จะออกข้อสอบประมาณ 29% ในหัวข้อนี้นักเรียนจะต้องวิเคราะห์ข้อมูลรวมไปถึงอดทนอ่านโจทย์ที่มีความยาว เช่น เปอร์เซ็นต์, อัตราส่วน, ตารางข้อมูลหรือกราฟ, ความน่าจะเป็นที่ใช้ในชีวิตจริง, สถิติพื้นฐาน, ค่าเฉลี่ย, มัธยฐาน
3. หัวข้อ Passport to Advanced Math (ออกทั้งชุด Calculator และ No Calculator)
สำหรับหัวข้อนี้จะออกข้อสอบประมาณ 28% ส่วนมากจะเป็น Nonlinear และในหัวข้อนี้นักเรียนจะต้องหมั่นฝึกฝนท่องจำสูตรให้ขึ้นใจ
สมการกำลัง 2 หรือสมการกำลัง 3, กราฟพาราโบลา, เอกซ์โพเนนเชียล, แก้สมการติดรูท, การตีความค่าคงที่ในสมการ, ติดยกกำลัง, ติดเศษส่วน, พหุนาม, กราฟ, ฟังก์ชั่น
4. หัวข้อ Additional Topic
สำหรับหัวข้อนี้จะออกข้อสอบประมาณ 10% หรือประมาณ 6 ข้อนั้นเอง เช่น การหามุม, เรขาคณิต, เส้นรอบรูป, การหาพื้นที่ของรูปทรงต่าง ๆ เช่น สี่เหลี่ยม วงกลม ฯลฯ, ตรีโกณมิติ, รูป 3 มิติ, ปริมาตร
เปรียบเทียบ ค่าสอบ CU-AAT VS ค่าสอบ SAT
ค่าสอบ CU-AAT คือ 1,300 บาท หน่วยงานที่รับผิดชอบในการจัดสอบ CU-AAT คือ ศูนย์ทดสอบทางวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย หรือหากสอบแบบ E-Testing (สอบกับคอมพิวเตอร์ที่ศูนย์สอบและทราบผลสอบทันที) จะมีค่าสอบ 2,900 บาท
ค่าสอบ SAT อยู่ที่ $105 หรือ ประมาณ 3,500 บาท
สรุป เปรียบเทียบ CU-AAT VS SAT เหมือนหรือต่างกันตรงไหนบ้าง
หัวข้อ | CU-AAT | SAT |
โครงสร้างข้อสอบ | ภาษาอังกฤษและคณิตศาสตร์ | ภาษาอังกฤษและคณิตศาสตร์ |
ลักษณะข้อสอบคณิตศาสตร์ | Arithmetic Algebra Geometry Problem Solving | Heart of Algebra Problem Solving and Data Analysis Passport to Advanced Math Additional Topic
|
ลักษณะข้อสอบ ภาษาอังกฤษ | – Section 1 : Critical Reading includes: Sentence completions, Passage-based reading- Problem Solving – Section 2 : Writing includes: Improving sentences, Identifying sentence errors, Improving paragraphs | Reading 5 passages Editing Grammatical Errors |
ค่าสอบ | 1,300 บาท และ 2,900 บาท สำหรับ E-Testing | 3,500 บาท |
ความยากง่าย | คณิตศาสตร์ยากกว่า SAT | ภาษาอังกฤษยากกว่า CU-AAT |
การใช้คะแนน | สามารถยื่นได้ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเท่านั้น | ยื่นได้ทุกมหาวิทยาลัยภาคอินเตอร์ในไทย |
จำนวนครั้งในการสอบ | 5 ครั้งต่อปี | 4 ครั้งต่อปี |
ควรเลือกสอบอะไรระหว่าง CU-AAT VS SAT
ข้อสอบทั้ง 2 วิชามีโครงสร้างและลักษณะที่ใกล้เคียงกัน แต่ความยากง่ายของข้อสอบทั้ง 2 วิชามีความแตกต่างกันเพียงเล็กน้อย หากนักเรียนถนัดคณิตศาสตร์อาจะเลือกสอบ CU-AAT เพื่อเพิ่มโอกาสในการทำคะแนน
แต่หากถนัดภาษาอังกฤษอาจเลือกสอบ SAT เพราะคณิตของ SAT จะง่ายกว่า จะได้เพิ่มคะแนนจากวิชาภาษาอังกฤษได้ด้วย หากพิจารณาถึงการยื่นเข้ามหาวิทยาลัย CU-AAT จะจำกัดไว้เพียงแค่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แต่ SAT จะยื่นได้หลากหลายมหาวิทยาลัยกว่า