จุฬา อินเตอร์

จุฬา อินเตอร์

หลักสูตรปริญญาตรี นานาชาติ มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์

ถือเป็นมหาวิทยาลัยที่เก่าแก่ด และมีชื่อเสียงที่สุดของประเทศไทย เปิดการเรียนการสอนมาแล้วร่วม 100 ปี ในวันนี้มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์ ยังคงรักษาอันดับ มาตรฐาน และคุณภาพไว้ได้เป็นลำดับที่หนึ่งของประเทศ และเป็นลำดับต้น ๆ ในภูมิภาคอาเซียน แม้จะเก่าแก่ยาวนาน แต่มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์แห่งนี้ ไม่เคยล้าหลังหรือก้าวไม่ทันยุคสมัย โดยเมื่อเล็งเห็นถึงความเป็นไปของโลกที่เปลี่ยนสู่ความเป็นสากลมากกว่าเดิม มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์ไม่เพียงแต่สนับสนุนให้นิสิตของตนมุ่งมั่นศึกษาวิชาการ ภาษาอังกฤษให้มากยิ่งกว่าเดิมเพื่อให้ได้ทันเทียมสากล แต่ยังได้เปิดหลักสูตรนานาชาติสำหรับนิสิตในทุกระดับมากมายหลายหลักสูตร ครอบคลุมเนื้อหาวิชาแบบที่เรียกได้ว่ากว้างขวางมากที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศไทย

สำหรับน้อง ๆ ที่ใฝ่ฝันอยากเป็นนิสิตแห่งรั้วจามจุรีโดยเฉพาะในหลักสูตรนานาชาตินั้น สำหรับบทความวันนี้ chulatutor รวบรวมหลักสูตรนานาชาติระดับปริญญาตรี พร้อมรายละเอียดที่น่าสนใจมาให้ไว้แล้ว ณ ที่นี้ค่ะ

 

The Bachelor of Business Administration or BBA International Program หลักสูตรบริหารธุรกิจ

เป็นหลักสูตรนานาชาติแรกของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่เปิดสอนมาร่วม 24 ปี โดยถือเป็นหลักสูตรนานาชาติที่มีจำนวนผู้สมัครที่ยื่นสมัครเข้าเรียนในแต่ละปีเป็นจำนวนมาก และยังเป็นเจ้าของสถิติของหลักสูตรนานาชาติที่รับผลคะแนน SAT สูงที่สุดในประเทศไทยติดต่อกันหลายปี ทั้งนี้ น้อง ๆ นิสิตหลักสูตรนี้ สามารถเลือกเรียนใน 4 สาขาเอกวิชา ได้แก่ International Business Accounting Financial Analysis and Investment และ Brand and Marketing Management สำหรับแนวทางการประกอบอาชีพในอนาคตเมื่อจบหลักสูตรก็ถือว่าค่อนข้างหลากหลายตามสาขาเอกวิชาที่นิสิตเลือกเรียน อย่างไรก็ดีด้วยชื่อเสียงและมาตรฐานของ BBA อินเตอร์แห่งนี้ บัณฑิตจากสาขานี้จึงมีอัตราการถูกจ้างงานสูงลิ่ว เนื่องจากเป็นที่ยอมรับจากองค์กร บริษัทในทุก ๆ วงการ

 

Aerospace Engineering (AERO) หลักสูตรวิศวกรรมศาสตร์สาขาวิศวกรรมอากาศยาน

สืบเนื่องจากนโยบายภาครัฐที่มุ่งผลักดันประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการขนส่งทางอากาศของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN) ซึ่งส่งผลให้วิศวกรในอุตสาหกรรมการบินเป็นที่ต้องการอย่างมาก โดยผู้ทำงานจะได้รับค่าตอบแทนสูง น้อง ๆ ผู้มีความชื่นชอบเกี่ยวกับเครื่องยนต์ กลไก วิศวกรรม จึงได้หันมาเล่าเรียนวิศวกรรมด้านนี้กันมากขึ้นในทุก ๆ ปี ซึ่งถือเป็นโชคดีที่ในประเทศไทยเราก็มีสถาบันที่เปิดการเรียนการสอนหลักสูตรอันเกี่ยวกับวิศวกรรมการบินด้านนี้อยู่โดยเฉพาะ และหนึ่งในนั้นก็คือ หลักสูตร AERO แห่งมหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์ นอกจากนี้ยังถือว่าโดดเด่นกว่าหลักสูตรประเภทเดียวกันในสถาบันอื่น ๆ เพราะที่นี่เปิดการสอนเป็นหลักสูตรนานาชาติ ให้โอกาสน้อง ๆ นิสิตได้เล่าเรียนวิชาการ และฝึกปฏิบัติ โดยใช้ภาษาอังกฤษตลอดหลักสูตร

 

Applied Chemistry (BSAC) หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเคมีประยุกต์

ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นหน่วยงานที่มีประวัติศาสตร์และความเป็นมาอันยาวนาน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2453 ซึ่งจัดเป็นภาควิชาที่มีการต่อยอดและพัฒนาหลักสูตรมาอย่างสม่ำเสมอ นอกจากจะมีเปิดสอนหลักสูตรภาคปกติที่สร้างบัณฑิตนักวิทย์ป้อนสู่ภาคอุตสาหกรรมต่าง ๆ จำนวนมากแล้วนั้น ในปัจจุบันยังมีหลักสูตรนานาชาติอย่าง วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเคมีประยุกต์ หรือ BSAC เป็นอีกหนึ่งตัวเลือกแก่นักศึกษาผู้สนใจล่ำเรียนวิชาเคมีที่ควบคู่ไปกับการเน้นทักษะทางภาษาอังกฤษด้วยเช่นกันค่ะ

 

Architectural Design (INDA) หลักสูตรการออกแบบสถาปัตยกรรม

แค่ได้ชื่อว่าเป็นเด็กสถาปัตย์ อินเตอร์ ก็ดูโก้ไม่น้อย แต่นอกจากจะฟังดูโก้เก๋ หลักสูตรนี้ยังมีดีกรีเรื่องชื่อเสียงและมาตรฐานแบบจัดเต็ม โดยเป็นหลักสูตร 4 ปี และเน้นการเรียนการสอนเรื่องการออกแบบภายในอาคารซึ่งสอนและบรรยายโดยคณาจารย์ผู้คร่ำหวอดในวงการจากทั้งในและต่างประเทศ

 

Arts and Science in Integrated Innovation (BAScii) หลักสูตรนวัตกรรมบูรณาการ

จัดเป็นหลักสูตรอินเตอร์น้องใหม่แห่งจุฬาลงกรณ์ เพิ่งเปิดทำการเรียนการสอนเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา โดยเนื้อหาวิชาที่น้อง ๆ จะได้ล่ำเรียนกันในหลักสูตรนี้ก็ถือว่าสมัยนิยมสมใจวัยรุ่นยุคใหม่ไม่น้อย ซึ่งเนื้อหาที่ว่าก็เกี่ยวกับเทคโนโลยี การพัฒนา รวมไปถึงการศึกษาเพื่อสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ และโลกอนาคต เหมาะสำหรับน้อง ๆ ที่อยากทำงานด้านเทคโนโลยี รวมไปถึงกิจกรรม start up ที่กำลังได้รับความนิยมด้วยค่ะ

 

Automotive Design and Manufacturing Engineering (ADME) หลักสูตรวิศวกรรมการออกแบบและการผลิตยานยนต์

วิศวกรรมการออกแบบและการผลิตยานยนต์ คือ อีกหนึ่งหลักสูตรนานาชาติ แห่งคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์ โดยถือเป็นหนึ่งในหลักสูตรที่ตอบโจทย์ความต้องการของตลาดแรงงานเพื่อรองรับอุตสาหกรรมด้านนี้ที่กำลังเป็นที่เติบโตในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งนี้ ในหลักสูตรนี้ นอกจากน้อง ๆ นิสิตจะได้เรียนวิชาพื้นฐานทางวิศวกรรมศาสตร์แล้วนั้น ยังมีโอกาสได้เรียนเนื้อหาด้านธุรกิจ และการบริหารจัดการเพื่อให้สามารถทำงานในระดับผู้บริหาร หรือเจ้าของกิจการตัวเองได้ด้วยเช่นกัน ทั้งนี้ ตัวหลักสูตรยังมีความร่วมมือกับบริษัทผู้ผลิตยานยนต์หลากหลายบริษัท ซึ่งนับเป็นข้อดีเนื่องจากน้อง ๆ นิสิตจะได้ศึกษาภาคปฏิบัติ ร่วมฝึกงาน และเข้ารับการฟังบรรยายจากผู้นำด้านอุตสาหกรรมประเภทนี้โดยตรง

 

Biotechnology (BBTech) หลักสูตรเทคโนโลยีชีวภาพ

จัดเป็นอีกหนึ่งหลักสูตรนานาชาติ แห่งคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เน้นการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับการประยุกต์ทางเทคโนโลยีโดยใช้ระบบชีวภาพ สิ่งมีชีวิต หรือสิ่งที่ได้จากสิ่งมีชีวิตเพื่อนำไปสร้าง ดัดแปรงเป็นผลิตภัณฑ์หรือกระบวนการต่าง ๆ เพื่อการใช้ประโยชน์ ทั้งนี้ ตัวหลักสูตรออกแบบมาให้สอดคล้องกับความสนใจที่แตกต่างกันของนักศึกษาแต่ละคน อีกทั้งยังเน้นการศึกษาผ่านการเรียนรายวิชาและโอกาสการทำวิจัยที่หลากหลาย

 

Communication Design (CommDe) หลักสูตรการออกแบบนิเทศศิลป์

หากน้อง ๆ ใฝ่ฝันจะเป็นนักออกแบบ เพื่อสร้างสรรค์ผลงาน สื่อสิ่งพิมพ์ ผลิตภัณฑ์ หรือสื่อคอมพิวเตอร์ ที่ตอบโจทย์ยุคสมัยใหม่ แล้วละก็ CommDe แห่งภาควิชาออกแบบอุตสาหกรรม ของคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่เน้นการเรียนการสอนด้านการออกแบบ +นิเทศ+ศิลปะ โดยการการใช้คอมพิวเตอร์ และโปรแกรมต่าง ๆ เพื่อสร้างสรรค์ผลงาน น่าจะเป็นสาขาที่ตอบโจทย์แก่น้อง ๆ ผู้สนใจค่ะ เพราะถ้าเลือกลงเรียนหลักสูตรนี้ เชื่อเลยว่าจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับขั้นตอนการออกแบบ และเทคนิคการใช้อุปกรณ์ออกแบบต่าง ๆ แบบรอบด้านจัดเต็ม

 

Communication Management (COMMARTS) หลักสูตรการจัดการการสื่อสาร

นอกเหนือจากคณะทางวิศวกรรม หรือสถาปัตยกรรมที่มีชื่อเสียงของมหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์แล้วนั้น อีกหนึ่งคณะที่เป็นที่หมายปองของน้อง ๆ หลายคนก็คือคณะทางนิเทศศาสตร์ ซึ่งหนึ่งในหลักสูตรของคณะนิเทศศาสตร์ที่น่าสนใจก็คือ หลักสูตรการจัดการการสื่อสาร ภาคอินเตอร์หลักสูตรนี้นั่นเองค่ะ โดยตัวหลักสูตรเน้นสอนให้นิสิตได้เรียนรู้เกี่ยวกับการจัดการสื่อในรูปแบบต่าง ๆ รวมไปถึงฝึกทักษะทางด้านบริหารที่จำเป็นซึ่งสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ระหว่างทำงานภายหลังการศึกษา

 

Economics (EBA) หลักสูตรเศรษฐศาสตร์

เพื่อให้ก้าวทันเศรษฐกิจโลกยุคโลกาภิวัฒน์ให้ทันการ การศึกษาเศรษฐศาสตร์จึงต้องเลือกหลักสูตรที่เปิดสอนแบบหลักสูตรนานาชาติ นอกจากจะได้คุ้นชินกับศัพท์เฉพาะทางวิชาการเป็นภาษาอังกฤษแล้วนั้น สิ่งแวดล้อมและบรรยากาศของการเรียนการสอนแบบนานาชาติยังช่วยหล่อหลอมนิสิตให้คุ้นเคยกับการทำงานในรูปแบบที่เป็นสากล เพื่อเตรียมบัณฑิตให้พร้อมสำหรับการทำงานในองค์กรระดับสากล นอกจากนี้ การเลือกหลักสูตรที่มีชื่อเสียง เป็นที่ยอมรับ คืออีกหนึ่งใบเบิกทางสำหรับบัณฑิตสู่โลกแห่งการทำงานด้วยค่ะ ซึ่งน้อง ๆ ที่กำลังเสิร์ชหาใบเบิกทางเช่นว่า chulatutor คงต้องบอกเลยว่า หลักสูตร EBA แห่งมหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์นี้ล่ะ คือใบเบิกทางชิ้นเอก เพราะเป็นหลักสูตรเศรษฐศาสตร์ภาคนานาชาติ ที่ครองแชมป์มาตรฐานอันดับ 1 ของประเทศไทย และเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางในแวดวงธุรกิจโลก

 

Information and Communication Engineering (ICE) หลักสูตรวิศวกรรมสารสนเทศและการสื่อสาร

ในยุคที่งานด้านดิจิทัลกำลังได้อยู่ในช่วงขาขึ้น ที่ทุก ๆ กิจกรรมในชีวิตประจำวันล้วนมีระบบซอร์ฟแวร์ และแอพลิเคชั่นเข้ามาเกี่ยวข้อง จึงไม่น่าแปลกใจค่ะ ที่น้อง ๆ หลายคนหมายมั่นปั้นมืออยากเข้าเรียนในหลักสูตรวิศวกรรมสารสนเทศและการสื่อสาร หลักสูตรนานาชาติ หรือ ICE แห่งมหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์ โดยหลักสูตรนี้จะเน้นไปทางด้านเทคโนโลยี เรียนรู้เกี่ยวกับการสร้าง เทคโนโลยีต่างๆ ทั้งแอพพลิเคชัน การเขียนโปรแกรม ไปพร้อม ๆ กับการสอนให้นิสิตได้เรียนรู้ผลกระทบของเทคโนโลยีที่สร้างต่อสิ่งแวดล้อมต่างๆรอบตัวเราอีกด้วยค่ะ

 

Language and Culture (BALAC) หลักสูตรภาษาและวัฒนธรรม

หลักสูตรภาษาและวัฒนธรรม หรือที่รู้จักกันในชื่อ อักษร จุฬาอินเตอร์ ไม่ได้มีการเรียนการสอนเฉพาะภาษาเท่านั้นนะคะ แต่เนื้อหาของหลักสูตรยังครอบคลุมศาสตร์วิชาที่ค่อนข้างหลากหลาย ทั้งสังคม วัฒนธรรม มนุษย์ ความเป็นมาของสิ่งรอบ ๆ ตัว โดยตัวหลักสูตรเน้นการคิดวิเคราะห์ในประเด็นต่าง ๆ ร่วมกับอาจารย์และเพื่อนร่วมคลาส ส่งเสริมการถกเถียงทางวิชาการมาก ๆ นอกจากนี้ยังเป็นหลักสูตรที่เปิดโอกาสให้นิสิตได้ทำกิจกรรมในระดับสากล ทั้งการแลกเปลี่ยนที่ต่างประเทศ การฝึกงาน และมีการให้ทุนการศึกษาเพื่อเรียนต่อในต่างประเทศเป็นจำนวนมาก

 

Nano-Engineering (NANO) หลักสูตรวิศวกรรมนาโน

ถือว่าเป็นหนึ่งในหลักสูตรที่คุ้มน่าลงทุนค่ะ สำหรับหลักสูตรวิศวกรรมนาโน ภาคอินเตอร์ เพราะถูกมองกันว่าเป็นสาขาวิชาแห่งอนาคต ซึ่งองค์กรต่าง ๆ รวมถึงภาครัฐของนานาประเทศต่างกำลังให้ความสนใจ และต้องการผู้เชี่ยวชาญรวมไปถึงนักวิจัยด้านนี้โดยเฉพาะเป็นจำนวนมาก เพื่อสร้างสรรค์ผลงาน นวัตกรรม และงานวิจัย

 

Politics and Global Studies (PGS) หลักสูตรการเมืองและโลกสัมพันธ์ศึกษา

ไม่ว่าโลกจะเปลี่ยนแปลง หรือก้าวเข้าสู่ยุคแห่งดิจิทัลมากเพียงไร ศาสตร์พื้นฐานที่เป็นฐานสำคัญของสังคมและชาติอย่าง วิชาการเมืองและโลกสัมพันธ์ยังคงจำเป็นที่จะต้องมีเยาวชนรุ่นใหม่ให้ความสำคัญ สำหรับ PGS แห่งมหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์นี้ น้อง ๆ จะได้เรียนรู้สังคมผ่านบรรยากาศแบบพหุวัฒนธรรม เพื่อหล่อหลอมให้คุ้นเคยกับสภาพแวดล้อมแบบนานาชาติ ให้เข้าใจเนื้อหาวิชาโลกสัมพันธ์และสังคมให้ได้อย่างถี่ถ้วนมากขึ้น และที่สำคัญที่สุดคือ ตัวหลักสูตรเป็นภาคอินเตอร์ ที่การเรียนการสอนจัดทำขึ้นเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด น้อง ๆ นิสิตสาขาวิชานี้ จึงได้เรียนรู้บริบทสังคม ไปพร้อม ๆ กับการพัฒนาทักษะทางภาษาของตนเองอีกด้วยค่ะ

 

Psychological Science (JIPP) หลักสูตรวิทยาศาสตร์จิตวิทยา

ไม่เพียงแต่งานด้านสายจิตวิทยา อาทิ งานที่ปรึกษา พัฒนาฝึกอบรม ฝ่ายพัฒนาบุคลากร แล้วนั้น น้อง ๆ ที่เป็นบัณฑิตหลักสูตรจิตวิทยา ภาคอินเตอร์ ยังสามารถประกอบอาชีพด้านอื่น ๆ ที่หลากหลาย เช่น งานเกี่ยวกับการตลาด การวางแผนทางธุรกิจ ได้อีกด้วย เพราะศาสตร์แห่งจิตวิทยามนุษย์ สามารถนำมาปรับใช้กับการวิเคราะห์เทรนด์ ความคิดผู้บริโภค รวมไปถึงพฤติกรรมของคน ที่เป็นทักษะสำคัญสำหรับงานในแวดวงธุรกิจ ทั้งนี้ หลักสูตร JIPP แห่งมหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์ ยังมีความร่วมมือกับ University of Queensland เพื่อให้นิสิตได้มีโอกาสเข้าศึกษาจริง ร่วมกับมหาวิทยาลัยชั้นนำในต่างประเทศอีกด้วย

 

Robotics and Artificial Intelligence Engineering (RAIE) หลักสูตรวิศวกรรมหุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์

สำหรับหลักสูตรสุดท้ายที่จะกล่าวถึงกันในวันนี้ คืออีกหนึ่งหลักสูตรชื่อดังจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ นั่นก็คือ หลักสูตรวิศวกรรมหุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์ หรือ RAIE นั่นเอง ซึ่ง RAIE นับเป็นหลักสูตรน้องใหม่ที่มีความน่าสนใจ โดยเป็นหลักสูตรที่เน้นผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านหุ่นยนต์ หรือAI ให้มีความเพียงพอเท่ากับความต้องการของประเทศ อีกทั้งยังเป็นหลักสูตรที่มีการร่วมมือกับสถาบันในต่างประเทศ เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ทางวิชาการ พร้อมให้นิสิตได้มีโอกาสเดินทางไปศึกษา ฝึกปฏิบัติในสถาบันอื่น ๆ อีกด้วย

คะแนนสอบวัดความถนัดทางภาษาอังกฤษ และ Attitude คะแนนสอบวัดความถนัดทางคณิตศาสตร์ คะแนนสอบวัดความถนัดทางวิทยาศาสตร์ ค่าเล่าเรียน
The Bachelor of Business Administration บริหารธุรกิจ -TOEFL (internet-based) 79
-IELTS 6.5
-CU-TEP 101
– SAT (Math & Evidence-Based Reading & Writing) 1270 251,250 บาทตลอดหลักสูตร
Aerospace Engineering (AERO) วิศวกรรมศาสตร์สาขาวิศวกรรมอากาศยาน -TOEFL (Paper-based) 550
-TOEFL (Internet-based)79
-IELTS not lower than 6.0
-CU-TEP not lower than 80
– SAT I (Math Level 2) ไม่ต่ำกว่า 600 หรือ
– CU-AAT ไม่ต่ำกว่า 480
– CU-ATS 800 ไม่ต่ำกว่า 800 หรือ
– SAT II (Physics and Chemistry) แต่ละวิชา ไม่ต่ำกว่า 600
84,000 บาท ต่อภาคการศึกษา
Applied Chemistry (BSAC) เคมีประยุกต์ -TOEFL (Paper-based)550
-TOEFL (Internet-based) 79
-IELTS 6.0
-SAT (Evidence-Based Reading and Writing) 500
-CU-TEP 80
– SAT I (Math) 490
– SAT II (Math Level 2) 600
– CU-AAT ไม่ต่ำกว่า 450
– CU-ATS 380
– SAT II ( Chemistry) แต่ละวิชา ไม่ต่ำกว่า 560
70, 000 บาท ต่อภาคการศึกษา
Architectural Design (INDA) การออกแบบสถาปัตยกรรม – TOEFL (Paper-based) 550
– TOEFL (Internet-based) 79
– IELTS 6.0
– SAT (Evidence-Based Reading and Writing) 450
– CU-AAT (Verbal) 400
– CU-TEP 80
-CU-AAT (Math) 550
-SAT (Math) 570
135,500 บาท ต่อภาคการศึกษา
Arts and Science in Integrated Innovation (BAScii) นวัตกรรมบูรณาการ – TOEFL (Paper-based) 550
– TOEFL (Internet-based) 80
– IELTS 6.5
– SAT (Evidence-Based Reading and Writing) 500
– CU-TEP 100
– SAT I (Math) 640
– SAT II (Math Level 2) 600
442,000 บาท ต่อปี
Automotive Design and Manufacturing Engineering (ADME) วิศวกรรมการออกแบบและการผลิตยานยนต์ – TOEFL (Internet-based) 80
– IELTS not lower than 6.0
– CU-TEP not lower than 80
– CU-AAT (Math) 480
– SAT (Math) 600
– A Level (Math) B
– IB (Math) 6
– CU-ATS 800
– SAT (Physics and Chemistry) 600
– A Level (Physics and Chemistry) B
– IB (Physics HL and Chemistry HL) 6
84,000 บาท ต่อภาคการศึกษา
Biotechnology (BBTech) เทคโนโลยีชีวภาพ – TOEFL (Paper-based) 550
– TOEFL (Internet-based) 79
– IELTS 6.0
– SAT (Evidence-Based Reading and Writing) 450
– CU-TEP 180
– CU-AAT 400
– CU-AAT (Math) 450
– SAT (Math) 490
– SAT II (Math Level 2) 600
70, 000 บาท ต่อภาคการศึกษา
Communication Design (CommDe) การออกแบบนิเทศศิลป์ – TOEFL (Paper-based) 550
– TOEFL (Internet-based) 79
– IELTS 6.0
– SAT (Evidence-Based Reading and Writing) 450
– CU-TEP 80
– CU-AAT 400
– CU-AAT (Math) 450
– SAT (Math) 490
– A-Level (Math) B
95,500 บาท ต่อภาคการศึกษา
Communication Management (COMMARTS) การจัดการการสื่อสาร – CU-AAT (Verbal) 440 และได้คะแนนรวมกับ Math 1020
– SAT (Evidence-Based Reading and Writing) 500 และได้คะแนนรวมกับ Math ไม่ต่ำกว่า 1100
70, 000 บาท ต่อภาคการศึกษา
Economics (EBA) หลักสูตรเศรษฐศาสตร์ – TOEFL (Internet-based) 79
– IELTS 6.0
– SAT (Evidence-Based Reading and Writing) 450
– CU-TEP 79
– CU-AAT 400
– CU-AAT (Math) 600
– SAT (Math) 650
– A Level (Math) B
– IB (Math) 6
– SAT II (Math Level 2) 650
105, 000 บาท ต่อภาคการศึกษา
Information and Communication Engineering (ICE) วิศวกรรมสารสนเทศและการสื่อสาร – TOEFL (Paper-based) 550
– TOEFL (Internet-based) 79
– IELTS 6.0
– CU-TEP 80
– CU-AAT (Math) 600
– SAT (Math) 620
– A Level (Math) B
– IB (Math) 6
– SAT II (Math Level 2) 600
– CU-ATS 800
– SAT II (Physics and Chemistry) 600
– A Level (Physics and Chemistry) B
– IB (Physics HL and Chemistry HL) 6
84,000 บาท ต่อภาคการศึกษา
Language and Culture (BALAC) ภาษาและวัฒนธรรม – TOEFL (Internet-based) 95
– IELTS 7.0
– SAT (Evidence-Based Reading and Writing) 480
– CU-TEP 90
– CU-AAT 480
– ACT 34
91,000 บาท ต่อภาคการศึกษา
Nano-Engineering (NANO) วิศวกรรมนาโน – TOEFL (Paper-based) 550
– TOEFL (Internet-based) 79
– IELTS 6.0
– CU-TEP 80
– CU-AAT (Math) 600
– SAT (Math) 620
– A Level (Math) B
– IB (Math) 6
– SAT II (Math Level 2) 600
– CU-ATS 800
– SAT II (Physics and Chemistry) 600
– A Level (Physics and Chemistry) B
– IB (Physics HL and Chemistry HL) 6
84,000 บาท ต่อภาคการศึกษา
Politics and Global Studies (PGS) การเมืองและโลกสัมพันธ์ศึกษา – TOEFL (Internet-based) 87
– IELTS 6.5
– SAT 550
499,000 บาทตลอดหลักสูตร
Psychological Science (JIPP) วิทยาศาสตร์จิตวิทยา – TOEFL (Internet-based) 88
– IELTS 6.5
– CU-TEP 104
– CU-AAT 1030
– New SAT 1100
162,000 บาท ต่อปี
Robotics and Artificial Intelligence Engineering (RAIE) วิศวกรรมหุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์ – TOEFL (Paper-based) 550
– TOEFL (Internet-based) 79
– IELTS 6.0
– CU-TEP 80
– CU-AAT (Math) 600
– SAT (Math) 620
– A Level (Math) B
– IB (Math) 6
– SAT II (Math Level 2) 600
– CU-ATS 800
– SAT II (Physics and Chemistry) 600
– A Level (Physics and Chemistry) B
– IB (Physics HL and Chemistry HL) 6
84,000 บาท ต่อภาคการศึกษา

 

และทั้งหมดนี้คือ หลักสูตรนานาชาติ ระดับปริญญาตรีของมหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์ค่ะ แต่ละหลักสูตรล้วนขึ้นชื่อว่า “ท็อปฟอร์ม” หรือเป็นตัวพ่อ ตัวแม่แห่งวงการเรื่องการศึกษาเลยจริง ๆ สำหรับ น้อง ๆ คนไหนใฝ่ฝันอยากเป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรระดับท็อปเหล่านี้ chulatutor ก็ต้องเน้นย้ำเลยว่า ต้องเตรียมตัวแต่เนิ่น ๆ และเตรียมตัวแบบแน่น ๆ เพราะการแข่งขันโดยเฉพาะส่วนของบรรดาผลสอบภาษาอังกฤษ และคณิตศาสตร์ ของเค้าสูงไม่ใช่เล่นเลยจริง ๆ ว่าแล้ว พร้อมแล้วยังคะ ถ้าพร้อม เรามาเข้าคลาสติวแน่น ๆ เจาะลึกข้อสอบปังๆ ให้ความฝันครั้งนี้ สำเร็จไปพร้อมกันกับ chulatutor ดีกว่าค่ะ

 

Related Posts