IGCSE Literature คืออะไร? แจกแนวข้อสอบ English Literature

IGCSE Literature คืออะไร?

IGCSE Literature คือข้อสอบวรรณกรรม เป็นข้อสอบ IGCSE อ่าน คิดวิเคราะห์และวิจารณ์วรรณกรรม บทกวีและบทละคร อธิบายง่ายๆคือ คล้ายๆกับเรียนวรรณคดีของสุนทรภู่ แล้วต้องมาวิเคราะห์กันว่า ฉากนี้หมายถึงอะไร คำๆนี้สื่ออารมณ์ใดของตัวละคร

ก่อนสอบ เราจะต้องรู้อยู่แล้วว่าเราสอบข้อสอบประเภทไหน เพราะโรงเรียนจะต้องกำหนดมาให้เรา โดยข้อสอบจะแบ่งออกเป็น 3 ประเภทคือ option A, option B และ option C โดยข้อสอบแต่ละประเภทจะต่างกันที่สัดส่วนคะแนน และส่วนประกอบของข้อสอบ คือ

Option A ต้องทำข้อสอบ IGCSE สองชุด คือ

ชุดที่ 1 (เรียกว่า component 1) ต้องอ่านบทร้อยแก้ว(ความเรียง)และร้อยกรอง(กลอน)แล้วตอบคำถาม

ชุดที่ 2 (เรียกว่า component 2) อ่านบทละคร แล้วตอบคำถาม โดยเนื้อหาที่ออกสอบจะมาจากหนังสือที่โรงเรียนเราและเราควรจะต้องรู้อยู่แล้วว่าปีนี้จะสอบหนังสือเล่มไหนบ้างและควรจะต้องได้อ่านก่อนสอบ แต่เราไม่สามารถนำหนังสือของตัวเองเข้าห้องสอบได้ สัดส่วนคะแนนแบ่งเป็น 50%ทั้งสองชุด

Option B ต้องทำข้อสอบ IGCSE สามชุด คือ

ชุดที่ 1(เรียกว่า component 1) ต้องอ่านบทร้อยแก้ว(ความเรียง)และร้อยกรอง(กลอน)แล้วตอบคำถาม คะแนน 50%

ชุดที่ 2 (เรียกว่า component 3) ตอบคำถามจากบทละครที่เราอ่านมาก่อนสอบ โดยสามารถเอาหนังสือตัวเองเข้าห้องสอบได้ คะแนน 25%

ชุดที่ 3 (เรียกว่า component 4) อ่านเรื่องที่เราไม่เคยเห็นมาก่อนแล้วตอบคำถาม คะแนน 25%-

Option C ต้องทำข้อสอบ IGCSE สองชุดเหมือนกับ Option B ต่างกันที่ส่วนที่ 3 (เรียกว่า component 5) 

ที่ต้องทำรายงานส่งแทน มีคะแนน 25%

นอกจากนี้ก็ยังต้องรู้โครงสร้างของข้อสอบแต่ละส่วน(component)ด้วย

ชุดข้อสอบเวลาต้องทำอะไรคะแนน %
Component 1:
Poetry and Prose
ร้อยแก้วร้อยกรอง
1.30 ชม.ข้อสอบจะมีคำถามสำหรับร้อยกรองสองข้อ ร้อยแก้วอีกสองข้อ เราต้องเลือกทำ ร้อยแก้วหนึ่งข้อ ร้อยกรองหนึ่งข้อ รวมเป็นสองข้อ50%
Component 2: Drama บทละคร1.30 ชม.ข้อสอบจะมีคำถามสองข้อต่อหนึ่งบทละคร โดยมีบทละครให้อ่านสองเรื่อง เราต้องเลือกตอบเรื่องละหนึ่งคำถาม รวมเป็นสองข้อ50%
Component 3: Drama (open text) บทละคร (ใช้หนังสือตัวเอง)45 นาทีมีคำถามสองคำถาม ให้เลือกทำแค่หนึ่งคำถาม25%
Component 4: Unseen เรื่องที่ไม่เคยอ่านมาก่อน1.15 ชมมีสองคำถามให้เลือก คำถามแรกให้เราวิเคราะห์วิจารณ์ความเรียงที่ให้อ่าน อีกคำถามหนึ่งให้เราวิเคราะห์บทกวี25%
Component 5: Courseworkจะต้องทำรายงานส่ง (สองชิ้นงาน จากสองเรื่องที่ต่างกัน)25%

 

สิ่งที่ควรและไม่ควรทำขณะสอบ IGCSE Literature

– ก่อนสอบต้องรู้จักเรื่องที่เราอ่านอย่างขึ้นใจ
– อย่าอ่านไปเรื่อยๆ ควรอ่านไปและวงคำสำคัญไปด้วยพร้อมๆกัน
– คำถามถามอะไร ต้องการอะไร คำสำคัญของคำถามคืออะไร
– ห้ามมโน ห้ามคิดไปเอง ห้ามเขียนเองเข้าใจเองอยู่คนเดียว ต้องยกประโยคจากเนื้อเรื่องมาเป็นเหตุผลประกอบด้วย เช่น ฉากนี้สือถึงความโดดเดี่ยวของตัวละครและความปรารถนาที่จะแยกตัวออกมา เพราะบรรทัดที่ 3 พูดไว้ว่า “……………………” โดย กำแพงดอกไม้หน้าบ้านที่ตัวละครสร้างขึ้นมาเปรียบเหมือนเป็นสัญลักษณ์ของกำแพงในใจ … อะไรก็ว่าไป เป็นต้น
– เค้าให้ตีความ เพราะฉะนั้นไม่ต้องไปแปลมาทื่อๆจากอังกฤษเป็นอังกฤษอีกที เขียนไปก็เสียเวลาและไม่ได้คะแนน
– ใช้ตัวอย่างซ้ำกันก็ไม่ได้คะแนนนะ
– บอกแค่วิธีหรือสไตล์ของผู้เขียนก็ไม่ได้คะแนนนะ ต้องบอกว่าพอมันเขียนด้วยวิธีนี้แล้วเนี่ยมันสะท้อนให้เห็นถึงอะไร เช่น ผู้เขียนใช้ลักษณะประโยคที่สั้นๆ ติดๆกัน และรูปแบบไวยกรณ์ง่ายๆซ้ำๆกัน แสดงให้เห็นถึง- ลักษณะของตัวละครเอกที่เป็นคนไม่ซับซ้อน ใช้ชีวิตซ้ำๆซากๆ เป็นต้น
– อย่าเหวี่ยงแหเวลาจะเลือกประโยคจากเนื้อเรื่องมาสนับสนุน ให้เลือกเขียนเฉพาะที่มันสื่อความหมายตามที่เราวิเคราะห์ไปจริงๆ เพราะถ้าเราลอกมายาวๆ มันเสี่ยงว่าเค้าจะมองว่าเราตีความไม่ได้
– เค้าให้ตอบสองข้อ ก็ทำแค่สองข้อ ไม่ต้องทำเกิน ทำเกินก็ไม่ได้คะแนนเพิ่ม
– ให้เรียกผู้เขียนด้วยนามสกุลของเค้า เช่น William Shakespeare ก็เรียก Shakespeare อย่าเรียก William เค้าไม่ใช่เพื่อนเรา ไม่สนิทกันขนาดนั้น

อยากได้คะแนนดี IGCSE Literature ต้องทำยังไง ?

– ต้องรู้ลึก รู้จริง ข้าใจเรื่องที่เราอ่านอย่างแท้จริง ต้องตีความได้ ผู้ตรวจข้อสอบอ่านแล้วควรจะรู้สึกว่าเราเข้าใจคุณค่าของความงามทางภาษาที่อยู่ในงานเขียนนั้นๆ
– ข้อสอบ IGCSE-Literature เป็นข้อสอบอ่านที่ค่อนข้างลึกซึ้ง อาจจะไม่ให้คำตอบมาตรงตัว ถึงแม้จะแปลออก บ่อยครั้งก็จะพบว่าความหมายที่แท้จริงนั้นลึกกว่าความหมายตรงตัวที่เราแปลออกมา โดยส่วนตัว ผู้เขียนรีวิวเห็นว่าข้อสอบ IGCSE-Literature เป็นข้อสอบวิเคราะห์ ตีความ ที่อ่านแล้วต้องมาขบและเคี้ยว เป็นข้อสอบที่ท้าทายที่นอกจากจะพัฒนาทักษะการอ่านเชิงวิเคราะห์แล้วยังช่วยยกระดับกระบวนการคิดอย่างมีเหตุผล – ใครที่ชอบอ่านอยู่แล้วก็จะช่วยพัฒนากระบวนการคิดวิเคราะห์ ใครที่ไม่ชอบอ่านก็จะช่วยให้ความคิดมีระบบ ช่วยให้ไม่คิดเองเออเองอยู่คนเดียว

Scroll to Top