ภาพรวมข้อสอบ TOEFL Reading Comprehension

TOEFL Reading Comprehension

TOEFL Reading Comprehension คืออะไร

TOEFL Reading Comprehension คือ ข้อสอบพาร์ทการอ่านของ TOEFL ITP โดยเป็นส่วนที่ต้องการวัดความสามารถในการอ่านและทำความเข้าใจเนื้อหาการอ่านเชิงวิชาการที่เขียนเป็นภาษาอังกฤษ

 

TOEFL Reading Comprehension มีกี่ข้อ

โดยปกติแล้วการสอบ TOEFL ITP จะมี 2 ระดับ คือ Level 1 (Intermediate to Advanced) และ Level 2 (High-beginner to Intermediate) จำนวนข้อของ Reading Comprehension ในข้อสอบแต่ละ Level ก็จะมีไม่เท่ากัน ดังนี้

  • Level 1 (Intermediate to Advanced) มีข้อสอบทั้งหมด 50 ข้อ ให้เวลาทำข้อสอบ 55 นาที
  • Level 2 (High-beginner to Intermediate) มีข้อสอบทั้งหมด 40 ข้อ ให้เวลาทำข้อสอบ 31 นาที

หมายเหตุ :

  • การสอบ TOEFL ITP ในประเทศไทย มักจะใช้ข้อสอบระดับ Level 1 (Intermediate to Advanced) เป็นส่วนใหญ่
  • ข้อสอบพาร์ทการอ่านของ Level 2 จะใช้ชื่อพาร์ทว่า Reading and Vocabulary

 

TOEFL Reading Comprehension สอบอะไรบ้าง

ข้อสอบ TOEFL ITP พาร์ทนี้ได้ถูกออกแบบมาเพื่อวัดความสามารถในการอ่านและทำความเข้าใจข้อความสั้นๆ ที่คล้ายคลึงกับการอ่านในหลักสูตรที่สอนในมหาวิทยาลัย โดยจะได้อ่านบทความที่หลากหลาย แต่ละตอนจะตามด้วยคำถามจำนวนหนึ่งเกี่ยวกับเนื้อหานั้นๆ และนอกจากนี้ยังออกแบบให้ข้อสอบไม่เอื้อต่อคนที่เชี่ยวชาญสาขาวิชาใดสาขาวิชาหนึ่งเป็นพิเศษอีกด้วย

ข้อสอบ Reading Comprehension จะมีบทความมาให้ผู้สอบอ่าน แล้วให้ตอบคำถาม ตัวอย่างดังรูป

TOEFL Reading Comprehension

TOEFL Reading Comprehension หัวข้อที่ให้อ่าน มักเกี่ยวกับเรื่องอะไรบ้าง

  • หัวข้อเชิงวิชาการ ที่ครอบคลุมหลากหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็น
    • ด้านศิลปะ ได้แก่ วิจิตรศิลป์, งานฝีมือ, โรงละคร, เต้นรำ, สถาปัตยกรรม, วรรณกรรม, ดนตรี, ภาพยนตร์, การถ่ายภาพ
    • ด้านมนุษยศาสตร์ ได้แก่ ประวัติศาสตร์ รัฐศาสตร์ รัฐบาล ปรัชญา กฎหมาย
    • ด้านวิทยาศาสตร์ ได้แก่ ซากดึกดำบรรพ์, ชีวเคมี, พฤติกรรมสัตว์, นิเวศวิทยา, กายวิภาคศาสตร์, สรีรวิทยา, พันธุศาสตร์, วิทยาศาสตร์สุขภาพ, ชีววิทยา, เกษตรกรรม
    • ด้านวิทยาศาสตร์กายภาพ ได้แก่ ธรณีวิทยา ดาราศาสตร์ เคมี ธรณีศาสตร์ วิศวกรรม อุตุนิยมวิทยา พลังงาน เทคโนโลยี สมุทรศาสตร์ ฟิสิกส์
    • ด้านสังคมศาสตร์ ได้แก่ มานุษยวิทยา สังคมวิทยา การศึกษา ภูมิศาสตร์ โบราณคดี จิตวิทยา เศรษฐศาสตร์ ธุรกิจ การจัดการ การตลาด การสื่อสาร
  • หัวข้อเชิงการใช้ชีวิตในมหาวิทยาลัย ได้แก่ ตารางเรียน, ข้อกำหนดของชั้นเรียน, การอ้างอิงห้องสมุด, งานที่ได้รับมอบหมาย (เอกสาร, การนำเสนอ, การอ่าน), อาจารย์, การเรียน, การทัศนศึกษา, การลงทะเบียน, ที่พักอาศัยในและนอกวิทยาเขต, เรียนต่อต่างประเทศ, การฝึกงาน, นโยบายของมหาวิทยาลัย, สโมสร, คณะกรรมการ, งานสังคมสงเคราะห์
  • หัวข้อทั่วไป เช่น ธุรกิจ, สิ่งแวดล้อม, ภาษาและการสื่อสาร, สื่อ, เรื่องส่วนตัว, สันทนาการ, การเดินทาง, ขับรถ, จอดรถ, ขนส่งสาธารณะ, จองการเดินทาง เป็นต้น

หัวข้อเหล่านี้จะทำให้ผู้สอบรู้ว่า เนื้อหาที่จะได้เจอในข้อสอบนั้นจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไรได้บ้าง และคำศัพท์ที่เราต้องรู้นั้นควรเน้นไปที่เรื่องอะไร

 

TOEFL Reading Comprehension ตัวอย่างข้อสอบ

ตัวอย่างข้อสอบ TOEFL Reading Comprehension

ตัวอย่างข้อสอบ TOEFL Reading Comprehension

ตัวอย่างข้อสอบ TOEFL Reading Comprehension

ตัวอย่างข้อสอบ TOEFL Reading Comprehension

TOEFL Reading Comprehension มีคะแนนเต็มเท่าไหร่

TOEFL ITP จะมี 2 ระดับ คือ Level 1 (Intermediate to Advanced) และ Level 2 (High-beginner to Intermediate) นอกจากจำนวนข้อจะไม่เท่ากันแล้ว ระบบการคิดคะแนนก็ไม่เหมือนกันด้วย ดังนี้

Level 1 (Intermediate to Advanced) Testing time: Approximately 2 hours

Section Number of Questions Admin. Time Score Scale
Listening Comprehension 50 35 minutes 31–68
Structure and Written Expression 40 25 minutes 31–68
TOTAL 140 115 minutes 310–677

Level 2 (High-beginner to Intermediate) Testing time: Approximately 1 hour and 10 minutes

Section Number of Questions Admin. Time Score Scale
Listening Comprehension 30 22 minutes 20–50
Structure and Written Expression 25 17 minutes 20–50
TOTAL 95 70 minutes 200–500

 

TOEFL Reading Comprehension เทคนิควิธีเตรียมตัวสอบ

1. ฝึกทำข้อสอบเก่าเยอะ ๆ

โดยในช่วงแรก ๆ ของการฝึก แนะนำว่ายังไม่ต้องจับเวลาจริง ๆ ก็ได้ แต่ให้เน้นไปที่การทำความเข้าใจข้อสอบเป็นหลักว่าข้อสอบเป็นแบบไหน เรื่องที่นำมาให้อ่านมีความยาวมากน้อยเพียงใด คำถามมักถามถึงเรื่องที่อ่านยังไง และเมื่อเราฝึกเยอะขึ้นจนจับทางข้อสอบได้ รู้แล้วว่ารูปแบบข้อสอบเป็นแบบไหน ก็ค่อยลองจับเวลาจริง ๆ ดู เพื่อให้รู้ว่าเราทำข้อสอบเร็วพอหรือยัง หรือเราอ่านช้าไปหรือเปล่านั่นเอง

2. อ่านแบบให้เห็นภาพรวม

แนะนำให้อ่าน Paragraph แรกคร่าว ๆ ก่อน จากนั้นให้อ่าน 1-2 ประโยคแรกของ Paragraph ต่อ ๆ มา และอ่าน Paragraph สุดท้ายคร่าว ๆ อีกครั้ง เพื่อให้เราเห็นภาพรวมของบทความนั้นโดยที่เราไม่ต้องเสียเวลาอ่านมากจนเกินไป

3. เลือกทำพาร์ทที่ตนเองถนัดไว้ก่อน อันไหนไม่ได้ให้ข้าม

อย่าไปติดอยู่กับข้อใดข้อหนึ่งนานจนเกินไป แต่ให้เลือกทำข้อที่เราเห็นแล้วว่าถนัดมากกว่าหรือสามารถทำได้เลย หากข้อไหนยังไม่ใช่ก็ปล่อยผ่านไปแล้วค่อยย้อนกลับมาทำทีหลัง วิธีนี้จะช่วยให้เราทำข้อสอบได้ตรงเวลา และอย่างน้อยก็มั่นใจถึงข้อที่ทำไปแล้วว่ามีคะแนนแน่ ๆ

4. วางแผนการเดินทางที่จะไปสอบของตนเองให้ดี

เพราะถ้าไม่วางแผนเดินทาง แล้ววันสอบเดินทางไปไม่ทันเวลาหรือเข้าห้องช้ากว่ากำหนด นั่นคือการเสียโอกาสของตนเอง แทนที่จะทำคะแนนให้ดีก็ยิ่งแย่ลงไป แล้วถ้าต้องรีบร้อน ไม่มีสมาธิ ผลลัพธ์ก็จะไม่เป็นดังคาดหวัง ดังนั้น ก่อนวันสอบต้องอย่าลืมวางแผนการเดินทางให้เรียบร้อย เดินทางยังไง ใช้เวลากี่นาที เผื่อเวลารถติดไปบ้าง และควรถึงสถานที่สอบอย่างน้อย 30 นาที

5. นำเทคนิคจากติวเตอร์ไปใช้ให้เยอะที่สุด

สำหรับใครที่เรียนติวอย่างจริงจัง พยายามนำทริคต่าง ๆ ที่ได้จากติวเตอร์ไปใช้งานให้เยอะที่สุด เพราะโดยปกติแล้ว ติวเตอร์มักเป็นคนที่มีประสบการณ์ เคยศึกษาแนวข้อสอบ เคยสอบมาก่อน จึงสามารถแนะนำวิธีการดี ๆ ที่จำทำให้เราทำข้อสอบได้ง่ายขึ้นได้ โดยที่เราไม่ต้องลองผิดลองถูกเอง ซึ่งหากทำเทคนิคต่าง ๆ ไปใช้ได้หมด ก็จะยิ่งเพิ่มโอกาสให้ได้คะแนนดีมากขึ้นตามไปด้วยนั่นเอง

Related Posts