MBA CU

MBA CU

รีวิว MBA CU ปริญญาโท จุฬาฯ ที่ใครๆก็อยากเข้า

เพื่อโอกาสในการพัฒนาตนเองที่มากขึ้นกว่าเดิม MBA CU หรือ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี สาขาบริหารธุรกิจ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงได้มีการเปิดทำการเรียนการสอน MBA CU หรือ MBA จุฬา ขึ้นมา ซึ่งเป็นหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต ที่ไม่ใช่แค่การได้เรียนรู้เนื้อหาที่น่าสนใจในการนำไปปรับใช้เท่านั้น แต่ยังมีโอกาสแลกเปลี่ยนความรู้กับผู้สอน เพื่อน ๆ ที่เข้าเรียนไปด้วยกัน ต่อยอดความสำเร็จให้มากขึ้นกว่าเดิม ซึ่งในบทความนี้เราจะพูดในหลายๆประเด็น ไม่ว่าจะเป็น MBA จุฬา ใช้คะแนนอะไรบ้าง MBA จุฬา คุณสมบัติ CU-BEST รวมไปถึง MBA Chula ค่าเทอมด้วยค่ะ

บรรยากาศโดยรอบ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

MBA CU มีหลักสูตรอะไรบ้าง

MBA CU หลัก ๆ แล้วจะมีเปิดสอนทั้งสิ้น 4 หลักสูตร ได้แก่

  • MBA Regular หลักสูตรภาคปกติ เรียนวันธรรมดา มีระยะเวลาการเรียนทั้งสิ้น 2 ปี ผู้เรียนต้องมีประสบการณ์ทำงานอย่างน้อย 1 ปีขึ้นไป
  • MBA Young-Executive หลักสูตรนักบริหารระดับต้น เลือกเรียนได้ทั้งช่วงเย็นวันธรรมดา และวันเสาร์-อาทิตย์ ผู้เรียนต้องมีประสบการณ์ทำงานอย่างน้อย 3 ปีขึ้นไป
  • MBA Executive หลักสูตรนักบริหาร เรียนช่วงนอกเวลาราชการของวันศุกร์ และวันเสาร์ทั้งวัน ผู้เรียนต้องมีประสบการณ์ทำงานอย่างน้อย 8 ปีขึ้นไป และต้องอายุเกิน 30 ปีด้วย
  • MBA English Program หลักสูตรภาคภาษาอังกฤษ เรียนวันธรรมดาช่วงนอกเวลาราชการ ผู้เรียนต้องมีประสบการณ์ทำงานอย่างน้อย 1 ปีขึ้นไป

ความพิเศษของการเรียน MBA CU นั้นไม่ใช่แค่ตัวเลือกหลักสูตรที่มีหลากหลาย แต่ยังได้สัมผัสกับแนวคิดที่จะช่วยเพิ่มทักษะและความสามารถของผู้เรียนให้มากขึ้น ผ่านระบบต่าง ๆ อันแสนทันสมัย ซึ่งสิ่งนี้จะถูกเรียกว่า Innovative Learning Hub-3i ได้แก่

  • I-Approach เน้นการเรียนการสอนให้ทันต่อเหตุการณ์ใหม่ ๆ อยู่เสมอ มีการเวิร์คช็อปโดยเน้นผู้เรียนคือศูนย์กลางของความเข้าใจ มีการยกตัวอย่างเคสเพื่อสร้างแนวทางการคิด ฝึกทักษะด้านเหตุผล การสื่อสาร การแสดงความคิดเห็นของตนเอง
  • I-Experience เน้นให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์จริงกลับไปมากที่สุด เช่น การสร้างบทบาทสมมุติในด้านธุรกิจเพื่อให้ผู้เรียนมองเห็นภาพมากขึ้น รู้สถานการณ์ของธุรกิจในช่วงเวลานั้น ๆ ว่าเป็นอย่างไร เพื่อการเรียงลำดับความคิด การตัดสินใจ และการนำไปใช้อย่างเหมาะสม รวมถึงยังให้การสนับสนุนสำหรับคนที่อยากประกวดแผนธุรกิจทั้งในและต่างประเทศ เพื่อนำเอาความรู้ที่ได้มาพัฒนาต่อไปในอนาคต
  • I-Facility สิ่งที่จะทำให้คนเข้าเรียน MBA CU พิเศษมากกว่าที่อื่นคือ มีสิ่งที่เรียกว่า Financial Lab หรือฐานข้อมูลด้านการเงินระดับโลกแบบครบวงจรแห่งแรกและแห่งเดียวในเมืองไทย อาทิ Reuters, Datastream, Bloomberg, Morningstar, WRDS ฯลฯ ถือว่าเป็นช่องทางดี ๆ ที่บรรดาผู้เรียนจะได้นำเอาไปวิเคราะห์ให้ครบถ้วนในทุก ๆ ด้าน และอีกความพิเศษคือส่งที่เรียกว่า Management Theatre เป็นการสร้างทักษะเกี่ยวกับวิธีเจรจาต่อรอง ไม่ว่าจะเรื่องของธุรกิจหรือการเป็นผู้นำอย่างเหมาะสม

ภาพรวมของ MBA CU จะมีแนวทางการสอนที่ถูกเลือกมาอย่างเหมาะสมในรายวิชาหรือเนื้อหานั้น ๆ เช่น การอภิปราย, บรรยายความ, โครงการ รายงาน, case study, การค้นคว้าเพิ่มเติมที่ผู้สอนมอบหายให้ ดังนั้นใครที่สนใจอยากเข้าเรียนห้ามพลาดเด็ดขาด ถือเป็นอีกแนวทางดี ๆ ที่จะต่อยอดความสำเร็จในอนาคตให้เกิดขึ้นและเห็นผลจริงดังที่ใจต้องการ

 

สมัครเรียน MBA CU ทำอย่างไร

สำหรับคนที่สนใจอยากสมัครเรียน MBA CU จริง ๆ แล้วขั้นตอนเบื้องต้นไม่ใช่เรื่องยาก แต่อย่างไรก็ตาม ผู้สมัครจะต้องมีคะแนนสอบตามที่ MBA CU กำหนดด้วย และแนะนำมากๆว่าควรจะต้องอยู่ในเกณฑ์ที่ดีด้วย ทั้งนี้ มารู้จักกับขั้นตอนการสมัครก่อนดีกว่า

  • เข้าไปสมัครได้กับช่องทาง grad.chula.ac.th เมื่อเข้าไปแล้วสามารถเลือกได้ว่าต้องการสมัครในหลักสูตรใด
  • ทำการสมัครตามขั้นตอนที่เว็บไซต์ได้ระบุเอาไว้ กรอกข้อมูลต่าง ๆ ให้ชัดเจน ครบถ้วน และถูกต้อง
  • เมื่อสมัครผ่านหน้าเว็บไซต์เสร็จ ทางคณะฯ จะมีการเรียกสัมภาษณ์เพื่อทดสอบความรู้ ทัศนคติต่าง ๆ ก่อนตัดสินให้เข้าเรียน

 

คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา MBA CU

MBA จุฬา ใช้คะแนนอะไรบ้าง คงเป็นคำถามที่หลายคนอยากรู้คำตอบอยู่แน่ๆ เพราะการจะเข้าเรียนระดับ MBA CU ให้ได้ การรู้ถึงคุณสมบัติเบื้องต้นที่ถูกต้องก็ย่อมเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดไม่แพ้ขั้นตอนอื่นๆ  เพื่อจะได้พิจารณาตนเองอย่างเหมาะสมว่า เมื่อเราไปสมัครแล้วมีโอกาสติดมากน้อยเพียงใด ซึ่งคุณสมบัติของ MBA มีดังนี้

  • ผู้ที่สมัครเรียนต้องมีวุฒิการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับปริญญาตรีจากสถาบันที่มีความน่าเชื่อถือ ผ่านการรับรองโดย กพ. หรือทบวงมหาวิทยาลัย
  • ทุกสาขาวิชาสามารถสมัครเรียน MBA CU ได้
  • ไม่มีการกำหนดเกรดเฉลี่ยรวมใด ๆ
  • ต้องมีผลคะแนน ดังนี้
 

หลักสูตร

 

ประสบการณ์การทำงาน

คะแนนสอบ
ภาษาอังกฤษ

(เลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง)

คะแนน

CU-BEST / GMAT

MBA Regular ไม่ต้องมีประสบการณ์การทำงาน
  • CU-TEP 60 คะแนน
  • TOEFl iBT 60 คะแนน
  • IELTS 5.5 คะแนน
  • CU-BEST

(ไม่กำหนดคะแนนขั้นต่ำ)

MBA Young-Executive

 

อย่างน้อย 3 ปี
  • CU-TEP 65 คะแนน
  • TOEFl iBT 65 คะแนน
  • IELTS 6.0 คะแนน
  • CU-BEST

(ไม่กำหนดคะแนนขั้นต่ำ)

MBA Executive

 

อย่างน้อย 8 ปี
  • CU-TEP 45 คะแนน
  • TOEFl iBT 45 คะแนน
  • IELTS 3.5 คะแนน

ไม่ต้องใช้

MBA English Program อย่างน้อย 1 ปี
  • CU-TEP 70 คะแนน
  • TOEFl iBT 70 คะแนน
  • IELTS 6.5 คะแนน
  • CU-BEST English

(ไม่กำหนดคะแนนขั้นต่ำ) หรือ

  • GMAT 600 คะแนน
  • CU-BEST คือ ข้อสอบสำหรับสอบเข้า MBA CU ประกอบไปด้วย 2 พาร์ท คือ คณิตศาสตร์และการอ่านวิเคราะห์ธุรกิจ โดยข้อสอบเวอร์ชันภาษาไทยจะมีคะแนนเต็ม 500 คะแนน และ เวอร์ชันภาษาอังกฤษจะมีคะแนนเต็ม 400 คะแนน
  • GMAT คือ ข้อสอบที่ใช้วัดความสามารถของผู้ที่ต้องการเข้าศึกษาในระดับปริญญาโทและปริญญาเอกสาขาบริหารธุรกิจ หรืออาจจะรวมทั้ง M.S. Marketing, M.S. Finance, MIS ทั้งในไทยและต่างประเทศ ข้อสอบประกอบไปด้วย การเขียนเชิงวิเคราะห์ Math และ Verbal ข้อสอบเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด

 

MBA CU ค่าเทอมเท่าไหร่

มาถึงเรื่องของค่าใช้จ่ายของ MBA CU ที่เชื่อว่าเป็นอีกสิ่งที่ทางผู้สนใจเรียนคงต้องพิจารณากันมากพอสมควร ด้วยรูปแบบการเรียนที่เข้มข้น บวกกับปัจจัยต่าง ๆ จึงอยากมาแนะนำค่าใช้จ่ายของหลักสูตร MBA CU แต่ละกลุ่มว่าประมาณเท่าไหร่บ้าง เพื่อให้ได้นำไปตัดสินใจอย่างถี่ถ้วน ดังนี้

  • หลักสูตร Regular มีค่าใช้จ่ายราว 23, 000 บาท / เทอม
  • หลักสูตร Young Executive มีค่าใช้จ่ายราว 58, 000 บาท / เทอม
  • หลักสูตร Executive มีค่าใช้จ่ายราว 93, 000 บาท / เทอม
  • English Program มีค่าใช้จ่ายราว 63, 000 บาท / เทอม

ทั้งนี้หากประมาณคร่าว ๆ สำหรับค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตรในการเลือกเรียน MBA CU จะตกราว 138, 000 – 573, 000 บาท ซึ่งถ้ามองในด้านความคุ้มค่าก็ไม่ถือว่าราคาสูงมากจนเกินไปนัก

ด้วยชื่อเสียงของ MBA CU ที่คุ้นเคยกันเป็นอย่างดีแล้ว หากใครเลือกเรียนกับที่นี่โอกาสประสบความสำเร็จในอนาคตมีสูงมาก ด้วยชื่อสถาบันที่ใคร ๆ ต่างก็ยอมรับเป็นเสียงเดียวกันถึงความเก่ง ใครที่อยากเรียนต่อในหลักสูตรนี้อย่าลืมเตรียมความพร้อมให้เยอะ ศึกษาข้อมูลดี ๆ ว่าตนเองมีความพร้อมและคุณสมบัติมากน้อยเพียงใด เพื่อไม่ให้เกิดข้อผิดพลาดในการสมัคร หรือเรียนแล้วไม่เป็นดังที่คิดต้องเสียเงินเปล่า ๆ

Related Posts