วิเคราะห์แนวข้อสอบ CU-TEP Listening แบบเป็นช็อตๆ !!

ข้อสอบ cu-tep listening

วิเคราะห์แนวข้อสอบ CU-TEP Listening แบบเป็นช็อตๆ !!

 

สวัสดีคะวันนี้ก็มาเจอกับพี่อีกแล้วนะคะ อิอิ วันนี้พี่ว่าจะมาเมาท์กันในเรื่องของ Listening ในส่วนของ CU TEP กันบ้างว่าแต่ละส่วนเป็นอย่างไร จริง ๆ ก็ทราบอยู่แล้วว่ามันแบ่งเป็น 3 พาร์ทอะไรแบบนี้ ซึ่งเคยพูดไปแล้วในหลาย ๆ บทความ งั้นพี่เข้าประเด็นเลยดีกว่าคะ Get to the point !!

 

พาร์ทแรกเลยละกันนะคะ มันก็จะมีทั้งหมด 15 ข้อซึ่งจะถามแบบ มีคนพูดอย่างละ 1 ประโยค A กับ B แล้วให้เราตอบ ซึ่งประเด็นคือ พี่ได้ทำการเก็บ สถิติ จากการสอบหลาย ๆ รอบ แล้วกรั่นกรองมาเป็น pattern ที่เป็นรูปธรรมมากขึ้นให้เห็นดังต่อไปนะคะ ว่าวันสอบจริงจะโดนถามอะไรบ้าง แล้วต้องตอบแบบไหนอะไรยังงัย

 

1. ถามเกี่ยวกับ คนพูดคือใคร อยู่ที่ไหน และน่าจะทำอาชีพอะไร
Who are the two speakers?

Where are the two speakers?

What is the man’s occupation?

Where does this conversation most probably take place?

Who is the woman most likely to be?

Where does this conversation most probably take place?

คำแนะนำ : ส่วนใหญ่ถ้าเจอข้อสอบแนวนี้ให้ฟังพวก อุปกรณ์ สิ่งของ หรือ อาวุธ 555 ที่จะสื่อถึงสถานที่แห่งนั้น หรือ ตัวคนแบบนั้น เช่น มีคำว่า หยิบเครื่องมือแพทย์ หรือว่า มีคนไข้ ก็ต้องเดาว่า เป็นพวก หมอ คุยกับพยาบาล หรือ สถานที่คือ โรงพยาบาล อะไรทำนองนี้นะคะ
คำสำคัญ : who , where , speakers

 

2. ถามแนวตีความคำพูดจากคนพูดว่าต้องการจะสื่ออะไร หรือเป็นแนวสรุปความคิดคนพูด ส่วนใหญ่เป็นสำนวนนะ

? What does the woman mean

? How would the man describe the film

? What does the woman imply about Tom

? What does the woman imply about Stephen

? How would the man describe Richard

? What does the woman imply about the report

? What can be inferred from the end of the conversation

คำแนะนำ : สำหรับข้อสอบแนวนี้เป็นการตีความจากคำพูดของคนในบทสนทนานะคะ โดยสถิติพบว่า โจทย์ชอบถามคนที่พูดคนที่ สอง ! ค่ะ ดังนั้นต้องระวังดี ๆ อย่าให้หลุดกับคนที่สองเด็ดขาด แล้วก็นะคะ มักจะเป็นสำนวนคะ หมายถึงว่า เวลาเจอตัวเลือกที่มีคำว่า dog และในบทสนทนา พูดทำนองว่า raining cats and dogs ซึ่งจริงๆ หมายถึงว่า ฝนตกหนักมากกกกกกกกกกกกกก ทำให้เด็กผิดกันกระจาย ( นี่แหละ เทคนิคออกข้อสอบของ CU TEP ประเภทสำนวน >> คำที่ได้ยิน มักไม่ใช่คำตอบ !! )
คำสำคัญ : mean, describe, imply, infer

 

3. ถามเกี่ยวกับการ พยากรณ์ว่าจะมีอะไรเกิดขึ้นหลังจากที่จบบทสนทนา หรือเคยเกิดขึ้นไปแล้ว
What does the man want to do tonight ?

What does the man suggest that the woman do ?

When will the two speakers probably meet ?

What does the man ask the woman to do ?

What does the woman want the man to do ?

What are the two speakers probably going to do ?

Where is the man most likely going ?

คำแนะนำ : เป็นแนวข้อสอบที่เราต้องทำการพยากรณ์ว่าจะมีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้นต่อไป จากคำพูดเพียงแค่ไม่กี่ประโยคจากคนสองคน 555+ ส่วนตัวพี่แนะนำว่าให้น้องจินตนาการตามให้ทัน ผนวกกับประสบการณ์ของเรานะคะ ว่าถ้าเป็นเราจะทำอะไรต่อไปดี ?
คำสำคัญ : ask to do, suggest, going to do, next

 

4. ถามภาพรวมของเนื้อเรื่องว่าเกี่ยวกับอะไรบ้างที่คุยกันอยู่
What is the woman saying ?

What are the man and the woman talking about ?

What are these two people most probably discussing ?

What are the two people discussing ?

คำแนะนำ : เป็นข้อสอบที่เปอร์เซ็นต์การออกเริ่มเพิ่มมากขึ้นนะคะ แต่ยังไม่แรงเท่า 3 แบบด้านบนที่กล่าวมาแล้ว ส่วนใหญ่ออกน้อยเพราะว่าความยาวของบทสนทนาสั้นมาก ๆ ทำให้สร้างข้อสอบแบบนี้ยาก ส่วนใหญ่มันจะไปโผ่ใน part 2, 3 มากกว่าคะ
คำสำคัญ : mainly, discuss, talking about

 

ต่อไปพี่จะขอรวบพาร์ท 2 กับ 3 ไว้ด้วยกันนะคะ เพราะว่าข้อสอบออกแนวเดียวกับ เพียงความต่างคือ ถ้าเป็นพาร์ทสองนั้น จะเป็นการฟังบทสนทนาของคนสองคนคะซึ่งก็ยาวระดับที่มากกว่าพาร์ทแรก ขณะที่ในพาร์ทสามนั้นจะเป็นการฟังบทสนทนาของคนเพียง 1 คนเท่านั้นคะ แต่ตัวข้อสอบไม่ทิ้งแนวนะคะ คล้ายกันมาก อาจจะสลับกันมากกว่าในแต่ละรอบ เอาละมาดูเลยแล้วกันว่าพี่ grouping ข้อสอบได้กี่แบบอะไรบ้างคะ Chulatutor poll สำรวจมาแล้วพบว่า !!

 

1. แนวถาม main idea ว่าส่วนใหญ่แล้วเขาพูดเรื่องอะไรกันอยู่บ้างในเวลานั้น หรือแนวจุดประสงค์ของบทสนทนา
What is the talk about ?

What is the main topic of the talk ?

What is the woman’s problem ?

What is the purpose of the talk ?

What was the purpose of the program ?

คำแนะนำ : อย่างที่บอกว่าแนวนี้จะเป็นการเก็บภาพรวมได้ เพราะว่ามีความยาวของบทสนทนาที่ยาวพอสมควรทำให้สามารถที่จะถามเราในลักษณะใจความสำคัญได้นั่นเอง ดังนั้นอย่าพยายามโฟกัสทุกคำ แต่เปลี่ยนเป็นฟังคำที่กล่าวซ้ำ ๆ พูดซ้ำ ๆ น่าจะเป็นทางแก้ที่ดีกว่าจ้า
คำสำคัญ : talk about, main, purpose

 

2. แนวหาคำที่ไม่เข้าพวก หรือว่าเป็นลักษณะว่าข้อไหนเป็นจริง หรือเท็จ
Which of the following is not mentioned regarding Conservation ?

Which of the following aspects of the disease is the speaker sure about ?

According to the conversation, what is NOT true about kids today ?

The woman compares dogs to kids in terms of the following, except ___

Which of the following is not what people need ?

What is TRUE about the woman ?

Which of the following is NOT included in the program ?

คำแนะนำ : ถ้าถามถึงตัวข้อสอบนะคะ แนวนี้จะเป็นการเก็บ point มากกว่า ไม่ได้ถามละเอียด ยกตัวอย่างเช่น คนไทยชอบกินอะไรบ้าง ก็จะพูดเลย กล้วย ส้ม เงาะ แต่จะไม่เจาะลึกถึงว่า ส้มพันธุ์ไหนอะไรยังไงขนาดนั้น 55+
คำสำคัญ : following to, except, not, true

 

3. แนว detail ตีความเนื้อเรื่องว่ามีอะไรเป็นจุดเด่นบ้างรองจาก topic หรือเดาว่าจะมีอะไรเกิดขึ้นต่อไป
Why did the woman have red eyes ?

Why might the woman not follow his advice ?

What does she like about her job ?

What can be inferred from the end of the conversation ?

What does the woman ask at the end of the conversation ?

What does the man want to do ?

What is the woman probably going to do next ?

What are the two speakers likely to do next ?

คำแนะนำ : ข้อสอบแนวนี้จะมีลักษณะที่เป็นแบบว่า detail แต่ไม่ลึกถึงทุกอณูนะ แค่ผิวๆ 555+ จริงๆแล้วก็จะคล้ายๆ กับพาร์ทแรกเลย เพียงแต่มีข้อดีคือมีบริทบทหรือบทสนทนาที่ยาวกว่า ทำให้สามารถเดาเนื้อเรื่องได้ดียิ่งขึ้น
คำสำคัญ : tone, feeling at the end

 

4. แนวถาม tone หรือว่า feeling ที่มีต่อบทสนทนา
How does the woman feel ?

What is the tone of the talk ?

How does the woman feel at the end ?

What does the man probably feel towards the woman ?

What is the man probably feeling ?

คำแนะนำ : ส่วนใหญ่ข้อสอบแนวนี้พี่ว่าให้มองจาก โทนเสียงว่า เสียงเป็นในเชิงตื่นเต้น หรือเสียใจดีกว่านะคะ นึกถึงความเป็นจริงว่าเวลาเราจับความรู้สึกคน เราดูจากการใช้เสียงสูงต่ำอะไรทำนองนี้
คำสำคัญ : tone, feeling at the end

 

Related Posts