ตัวอย่าง ข้อสอบ cu-tep เรื่อง cloze test practice 1

cloze test

CU-TEP cloze test

 

หลังจากที่เราเห็นตัวอย่างข้อสอบ Error Identification มากันพอสมควรแล้ว เราจะมาเน้นกันต่อที่เรื่องข้อสอบ Cloze test ซึ่งจะปรากฏในส่วน Part Reading ของข้อสอบวัดความสามารถทางภาษาอังกฤษแทบทุกชนิด และ CU-TEP ก็เป็นข้อสอบหนึ่งที่ต้องมี Cloze Test รวมอยู่ด้วยทุกครั้ง ครั้งละ 10 – 15 ข้อ ต้องบอกก่อนเลยนะคะว่า Cloze Test เป็นข้อสอบปราบเซียน เพราะวัดทุกด้าน ทั้ง Grammar และ Vocab ผู้ที่จะทำได้ดีต้องอ่านเป็น เข้าใจเนื้อเรื่อง และเลือก Grammar มาเติมได้อย่างถูกต้อง เราจะเริ่มฝึกกันทีละ step นะคะ

 

ในช่วงแรก ๆ จะเน้นเรื่องการเลือกใช้ คำเชื่อม ให้ถูกต้อง หรือบางครั้งในทาง Grammar เรียกว่า Transition ( คำหรือวลีที่ใช้เชื่อมโยงความคิดและข้อมูล บอกวัตถุประสงค์ของผู้เขียนตามความหมายของ Conjunction แต่ละคำนั่นเองค่ะ) การวัดเรื่องการเลือกใช้คำเชื่อมเป็นการวัดผลในข้อสอบ Cloze Test ได้เป็นอย่างดี เพราะจะทำให้รู้ว่าผู้ทำข้อสอบเข้าใจเรื่องหรือไม่ สามารถเลือกใช้คำมาเชื่อมให้สอดคล้องกับใจความได้หรือเปล่า ดังนั้น อันดับแรก ผู้ทำข้อสอบต้องทำความเข้าใจเนื้อหาก่อน ก่อนที่จะมาเลือกตัวเลือกได้ว่าควรจะเป็นคำเชื่อมตัวไหนค่ะ

 

Transition

สามารถแบ่งได้เป็น 7 ประเภท คือ

1. คำที่เชื่อมแล้วให้ข้อมูลเพิ่มเติม

2. คำที่เชื่อมเพื่อเปรียบเทียบ

3. คำที่เชื่อมเพื่อแสดงความแตกต่าง ขัดแย้งกัน

4. คำที่เชื่อมเพื่อแสดงเหตุและผล

5. คำที่เชื่อมเพื่อแสดงลำดับเวลา

6. คำที่เชื่อมเพื่อให้ตัวอย่าง

7. คำที่เชื่อมเพื่อเน้นใจความ

เริ่มจากประเภทแรกก่อนเลยค่ะ

 

1. คำเชื่อมที่ให้ข้อมูลเพิ่มเติม เช่น and, also, next, then, moreover, furthermore, in addition, besides, first, second, finally, in fact, as well … etc

Brisk walking is good for the heart, which makes a lot of sense. The heart is a muscle ___ anything that makes the blood flow faster through a muscle helps keep it in shape. ________, regular walking lowers blood pressure and this decreases the stress on the arteries. It can____ boost the amount of HDL cholesterol (the good one) in the blood.

 

1. 1) but 2) and 3) because 4) so
2. 1) Besides 2) Although 3) So 4)Therefore
3. 1) also 2) despite 3) yet 4) though

 

 

จากข้อความข้างต้น มีคำถาม 2 ข้อ เป็นเรื่องคำเชื่อมทั้งหมด ทีนี้เรามาดูทีละข้อนะคะว่าควรเลือกอะไร

ข้อ 1 ใจความในข้อนี้พูดถึงตัวหัวใจว่าคือกล้ามเนื้อและเป็นส่วนที่ทำให้เลือดไหลผ่านอย่างรวดเร็วผ่านกล้ามเนื้อ ถ้าเราอ่านดีๆ จะสังเกตว่าเนื้อความคือการอธิบายความ ขยายความเพิ่มเติมกันมา ดังนั้น จะต้องตอบ ข้อ 2) and ได้ข้อเดียวค่ะ เพราะ 1) but จะทำให้ใจความขัดแย้ง 3) because จะทำให้ใจความเป็นเหตุเป็นผลกัน และ 4) so เป็นการบอกผลที่ตามมา

ข้อ 2 คำเชื่อมที่จะต้องเติมในข้อ 2 เป็นคำขึ้นต้นประโยค ใจความต่อจากประโยคก่อนหน้า เราก็ต้องดูข้อมูลว่าเนื้อหาในประโยคหลังคำเชื่อมสอดคล้องกับประโยคก่อนหน้าในแง่ใด เรื่องนี้สำคัญนะคะ จะตอบถูกตอบผิดก็อยู่ตรงนี้ ต้องแปลและทำความเข้าใจให้ได้ เนื้อความส่วนสุดท้ายบอกว่า การเดินอย่างเป็นปกติช่วยลดความดันเลือดและยังช่วยลดความดันในหลอดเลือดแดงอีกด้วย ซึ่งเนื้อความก็เป็นการกล่าวเสริมจากข้อมูลในประโยคก่อนหน้า เพราะพูดถึงเรื่องการเดินนั้นมีประโยชน์ต่อหัวใจ เพราะหัวใจเป็นกล้ามเนื้อที่ช่วยทำให้เลือดหมุนเวียน ดังนั้น การเลือกคำเชื่อมต้องเลือกที่เพิ่มเติมข้อมูล คือ ข้อ 1) Besides ที่แปลว่า นอกเหนือจากนั้น หรือ ยิ่งไปกว่านั้น (อ๊ะ!!!อย่าจำสลับกับคำว่า beside นะคะ เพราะถ้า no “s” ต่อท้าย จะเป็นคำบุพบท แปลว่า ข้างๆ นะจ๊ะ เด็กๆ ) ส่วนข้อ 2 ) Although แปลว่า แม้ว่า ข้อ 3) so และ 4) Therefore แปลว่า ดังนั้น เอาไว้บอกผลลัพธ์ค่ะ

ข้อ 3 ใจความของข้อนี้ก็ยังเป็นการเพิ่มเติมข้อมูลจากประโยคก่อนหน้าว่า การเดินเนี่ย ยังช่วยเพิ่มปริมาณของไขมัน HDL ในกระแสเลือดด้วย จึงต้องเลือกข้อ 1) also = อีกด้วย เพราะคำตอบข้ออื่น 2) despite = แม้ว่า 3) yet = อย่างไรก็ตาม 4) though = แม้ว่า จะเห็นว่าความหมายของคำเชื่อมที่เหลือไม่เข้ากับเรื่อง
“Brisk walking is good for the heart, which makes a lot of sense. The heart is a muscle and anything that makes the blood flow faster through a muscle helps keep it in shape. Besides, regular walking lowers blood pressure and this decreases the stress on the arteries. It can also boost the amount of HDL cholesterol (the good one) in the blood.”

แล้วรอพบกับแบบฝึกหัดต่อไปในฉบับหน้านะคะ เด็กๆ

Source : อุสุมา ชื่นชมภู. (2555). Writing through Reading = จากการอ่านสู่การเขียน. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

 

 

สนใจดูรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิชา CU-TEP ได้ที่ https://www.chulatutor.com/cu-tep/

 

 

Related Posts