ใบประกอบวิชาชีพ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ใบประกอบวิชาชีพ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควบคุม คืออะไร

ใบประกอบวิชาชีพ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควบคุม คือ ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควบคุม แบ่งได้เป็น 4 สาขา คือ สาขานิวเคลียร์ สาขาวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมด้านวิทยาศาสตร์ สาขาการผลิต การควบคุมและการจัดการสารเคมีอันตราย และสาขาการเพาะเลี้ยงจุลินทรีย์และการใช้จุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโรค

 

ความสำคัญของใบประกอบวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควบคุม

บุคคลที่จะประกอบวิชาชีพที่ต้องใช้ความรู้และทักษะทางวิทยาศาตร์และเทคโนโลยี มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีควบคุมจากสภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควบคุม (สวทช.) ทั้งนี้ เพื่อให้มาตรฐานการประกอบอาชีพเป็นไปตามหลักสากล และเพิ่มความน่าเชื่อถือในการประกอบอาชีพอีกด้วย

 

คุณสมบัติและการสมัครสอบขอใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควบคุม

ผู้ที่มีสิทธิ์จะสมัครสอบใบประกอบวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควบอันดับแรกต้องเป็นสมาชิกของสภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควบคุมก่อน การสมัครสมาชิก มี2 ประเภท คือ การสมัครสมาชิกแบบรายปี มีค่าธรรมเนียมการสมัคร 200 บาท และการสมัครสมาชิกแบบตลอดชีพ มีค่าธรรมเนียมในการสมัคร 1,500 บาท มีอายุไม่ตำกว่า 20 ปีบริบูรณ์ มีสัญชาติไทย จบการศึกษาระดับปริญญาตรี หรือวุฒิเทียบเท่าปริญญาตรีในสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่สภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีรับรอง โดยการสมัครผ่านเว็บไซค์ และแนบไฟล์เอกสารตามที่กำหนด โดยทั้ง 4 สาขา มีรายละเอียด ดังนี้

สาขานิวเคลียร์ จะจัดสอบประมาณปีละ 1 ครั้ง ผู้สมัครต้องผ่านการอบรมระดับกลางเกี่ยวกับความรู้เบื้องต้นทั้งภาคทฤษฏีและปฏิบัติทางด้านรังสีนิวเคลียร์ ปฏิกิริยานิวเคลียร์ หลักการวัดรังสีและการป้องกันอันตรายจากรังสี จากสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ สำนักปรมาณูเพื่อสันติ ตั้งอยู่ในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เลขที่ 16 ถนนวิภาวดี แขวงลาดยาว เขตจตุจักร เบอร์โทรศัพท์ 02-596-7600 หรือเป็นผู้ผ่านการสอบและการอบรมระดับ2 จากสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ หรือ สทน. เบอร์โทรศัพท์ 02-401-9885 หรือ 02-401-9889 หลังจากได้ใบผ่านการอบรมแล้วสามารถโทรมาสมัครเพื่อนัดสอบสัมภาษณ์กับทางสภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อให้ได้ใบประกอบวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควบคุม โดยมีค่าธรรมเนียมการสอบสัมภาษณ์ จำนวน 1,500 บาท

สาขาการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมด้านวิทยาศาสตร์และการควบคุมมลพิษ ซึ่งสถานที่จัดสอบจะสอบที่ม.ราชภัฎสวนสุนันทา มี 2 กลุ่มหลักๆ ที่จะขอใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ กลุ่มแรกคือ Environmental Impact Assessment หรือเรียกสั้นๆ ว่า EIA เป็นผู้ชำนาญการดูแล เซ็นควบคุมการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม เป็นการศึกษาเพื่อคาดการณ์ผลกระทบทั้งในทางบวกและทางลบจากการพัฒนาโครงการ เพื่อกำหนดมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมใช้ในการประกอบการตัดสินใจพัฒนาโครงการ กลุ่มที่ 2 คือ ผู้ควบคุมมลพิษ มีสาขาย่อย ได้แก่ ผู้ควบคุมมลพิษทางน้ำ, ผู้ควบคุมมลพิษทางอากาศ, ผู้ควบคุมมลพิษเสียงและความสั่นสะเทือน, ผู้ควบคุมของเสียอันตราย, ผู้ควบคุมขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล และผู้ควบคุมอื่นตามที่คณะอนุกรรมการกำหนด

เกณฑ์การขอใบอนุญาตเป็นผู้ชำนาญการ คือต้องจบการศึกษาขั้นต่ำปริญญาตรีด้านวิทยาศาสตร์สาขาสิ่งแวดล้อม นิเวศวิทยา อนามัยสิ่งแวดล้อม สุขาภิบาลหรือสาขาที่เกี่ยวข้อง และมีประสบการณ์ในการปฏิบัติงานเกี่ยวกับการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม ไม่น้อยกว่า 3 ปี ส่วนการขอใบอนุญาตสำหรับผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน มีวุฒิการศึกษาขั้นต่ำระดับปริญญาตรีทางด้านวิทยาศาสตร์ มีผลการเรียนที่เกี่ยวกับเรื่องที่จะทำการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมไม่ต่ำกว่า 3 หน่วยกิต ส่วนผู้ชำนาญเฉพาะด้านการประเมินผลกระทบทางสุขภาพ ต้องมีผลการเรียนในเรื่องที่จะทำการวิเคราะห์ ไม่ต่ำกว่า 12 หน่วยกิต และการขอใบอนุญาตการควบคุมมลพิษในด้านใดนั้น ต้องจบการศึกษาระดับปริญญาตรี หรือเทียบเท่าในสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เรียนเกี่ยวกับการควบคุมมลพิษไม่ต่ำกว่า 6 หน่วยกิต โดยผู้ขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควบคุม ต้องผ่านการอบรม การจัดสอบ ของทางสภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควบคุม และมีค่าใช้จ่ายในการอบรม จำนวน 1,500 บาท

สาขาการผลิต การควบคุมและการจัดการสารเคมีอันตราย ผู้ขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพต้องจบการศึกษาระดับปริญาตรีด้านวิทยาศาสตร์เคมีหรือสาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง การสมัครเข้าอบรมและสอบขอใบอนุญาต แบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ กรณีที่ผู้ขอใบอนุญาตมีประสบการณ์น้อยกว่า 8 ปี จะมีการอบรม 4 วัน และสอบข้อเขียนในช่วงเช้าวันถัดไป ส่วนอีกกลุ่มคือผู้ที่มีประสบการณ์มากกว่า 8 ปี ใช้ระยะเวลาเพียง1 วัน ในการอบรมและสอบข้อเขียน

สาขาการเพาะเลี้ยงจุลินทรีย์และการใช้จุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโรค ผู้สมัครต้องจบการศึกษาระดับปริญญาตรีด้านวิทยาศาตร์ สาขาจุลชีววิทยา ชีววิทยา ชีวเคมี เทคโนโลยีชีวภาพ โรคพืชวิทยา สถานที่จัดสอบและอบรม ส่วนใหญ่จะจัดที่มหาวิทยาลัยของภาครัฐ ใช้ระยะเวลาทั้งหมดประมาณ 5 วัน โดยแบ่งเป็น การอบรม 4 วัน วันที่ 5 ช่วงเช้าเป็นการสอบข้อเขียน เปิดให้ลงทะเบียนเวลา 08.30 น. และช่วงบ่ายเป็นการสอบภาคปฏิบัติในห้องแล็ป

อนึ่ง ผู้ขอรับใบประกอบวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควบคุมทุกสาขา เมื่อผ่านกระบวนการ ข้อกำหนดของแต่ละสาขาแล้ว ขั้นตอนต่อไปต้องเข้ารับการอบรมจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีค่าใช้จ่ายในการอบรมจำนวน 300 บาท จะได้ใบผ่านการอบรม จึงจะสามารถขอใบอนุญาตได้ โดยการกรอกข้อมูลผ่านเว็บไซค์ ใช้ระยะเวลาในการพิจารณา ประมาณ 1 เดือน

 

ช่วงระยะเวลาในการรับสมัครสอบใบประกอบวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควบคุม

แต่ละสาขาจะถูกกำหนดโดยสภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควบคุม โดยจัดสอบประมาณปีละ 1-2 ครั้ง ในช่วงกลางปี และปลายปี โดยผู้สนใจสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซค์ www.cstp.or.th เบอร์โทรศัพท์ 02-333-3700 หรือผ่านทาง Facebookของสภา www.facebook.com/cstp.or.th/

 

คอร์สเรียนรับรองผล สำหรับการเตรียมตัวสอบใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควบคุม

สำหรับผู้ที่จะสอบขอใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควบคุม บางสาขาจะต้องมีประสบการณ์การทำงาน อาจจะทำให้ห่างหายจากบทเรียนไปนาน ทำให้เกิดความกังวลในบทเรียน การทำข้อสอบ ให้จุฬาติวเตอร์เป็นอีกหนึ่งตัวช่วยที่จะทำให้การเรียน การสอบไม่ยุ่งยาก ซับซ้อน ด้วยคอร์สเรียนที่จะได้เรียนกับติวเตอร์ที่มีประสบการณ์การสอน มีความชำนาญเฉพาะด้าน คอยช่วยแนะแนวทางการทำข้อสอบ ตั้งแต่เริ่มต้นสำหรับผู้ที่มีพื้นฐานน้อยไปจนถึงการตะลุยข้อสอบ

Related Posts