แพทย์ทางเลือก

alternative medicine

แพทย์ทางเลือก การรักษาอีกช่องทางที่น่าสนใจ

หากบอกว่าการรักษาพยาบาลคือวิธีที่ทำให้หายป่วยจากโรคภัยต่าง ๆ นั่นคือสิ่งที่ถูกต้อง แต่ลำพังการรักษาด้วยวิธีทั่ว ๆ ไปเพียงอย่างเดียวอาจไม่ได้ตอบโจทย์หรือทำให้หายขาดได้ทั้งหมด ยุคนี้จึงมักได้ยินคำว่า แพทย์ทางเลือก กันอยู่บ่อย ๆ แต่ก็ยังมีคนอีกจำนวนมากที่ไม่ค่อยเข้าใจและอยากรู้จักกับการรักษาในรูปแบบนี้ให้มากขึ้นยิ่งกว่าเดิม บางทีการรักษาพยาบาลในรูปแบบเดิม ๆ เมื่อไม่ได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ หากมีโอกาสได้ลองกับรูปแบบใหม่ ๆ ของ แพทย์ทางเลือก อาจทำให้มีสิ่งดี ๆ ที่ช่วยรักษาให้อาการเป็นไปในเชิงบวกได้

 

การแพทย์ทางเลือก คืออะไร?

ด้วยชื่อที่บอกเอาไว้ หากอธิบายแบบพื้นฐานมันก็คืออีกทางเลือกหนึ่งในการรักษาพยาบาล ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับผู้ป่วยว่าสนใจที่จะเลือกแนวทางนี้หรือไม่ แต่ถ้ามองกันตามความหมายที่ชัดเจน การแพทย์ทางเลือก คือ แนวทางในการรักษาอาการป่วยที่ไม่ใช่การรักษาตามแบบแพทย์แผนปัจจุบัน ซึ่งปกติแพทย์เหล่านี้จะต้องเรียนจบและผ่านการรับรอง ได้รับใบประกอบโรคศิลปะไม่ว่าด้านใดก็ตาม เช่น อายุรกรรม, ศัลยกรรม, กุมารแพทย์ เป็นต้น ซึ่ง แพทย์ทางเลือก ที่กล่าวมานี้ก็ไม่ใช่ผู้ที่รักษาด้วยวิชาแพทย์แผนไทย หรือแพทย์แผนไทยพื้นบ้านด้วย

นั่นจึงสรุปได้ว่า แพทย์ทางเลือก คือ แนวทางการรักษาอีกรูปแบบหนึ่งที่มีการเอาพื้นฐานการใช้ชีวิต สภาพจิตใจ ความคิด ปัจจัยสังคมภายนอก มาผสมผสานรวมกันเพื่อให้ผู้ป่วยมีอาการโดยรวมดีขึ้น ไม่มีการใช้ยาของแพทย์แผนปัจจุบันเข้ามาเกี่ยวข้อง สำหรับคนที่จะมาเป็น แพทย์ทางเลือก ไม่จำเป็นต้องเรียนจบวิชาชีพแพทย์ แต่ต้องได้รับการอบรม ฝึกฝน จนเกิดความเชี่ยวชาญในด้านนั้น ๆ อย่างถ่องแท้ ซึ่งการตรวจรักษาเองมีความแตกต่างไปจากแพทย์ทั่ว ๆ ไป เท่ากับว่ารูปแบบการรักษาใด ๆ ก็ตามที่ไม่ใช่การรักษาด้วยแพทย์แผนปัจจุบัน, แพทย์แผนไทย หรือแพทย์แผนไทยพื้นบ้าน ถือเป็น การแพทย์ทางเลือก ทั้งหมด

อย่างไรก็ตามในทวีปอเมริกา ได้มีคำจำกัดความที่น่าสนใจของ แพทย์ทางเลือก เอาไว้ด้วย เมื่อแปลออกมาเป็นภาษาไทยได้ความประมาณว่า วิธีการรักษารูปแบบอื่น ๆ ที่ไม่ได้รับการยอมรับจากบุคลากรทางการแพทย์แผนปัจจุบัน รวมถึงบางคนอาจไม่รู้จักวิธีรักษานี้ เป็นเทคนิคหนึ่งในการดูแลร่างกาย ไม่เน้นเรื่องการรักษาด้วยความรุนแรง ไม่มีการใช้ยาหรือเวชภัณฑ์ต่าง ๆ ที่ผสมสารเคมี

 

ประเภทของการแพทย์ทางเลือก

เมื่อเข้าใจถึงความหมายไปแล้ว ก็ยังมีการแบ่งประเภทของ การแพทย์ทางเลือก เพื่อให้ผู้ที่สนใจเข้ารับการรักษาสามารถตัดสินใจได้ว่า อาการป่วยของตนเองเป็นแบบใด เหมาะกับการเข้ารักษาใน แพทย์ทางเลือก ประเภทไหน ซึ่งหลัก ๆ แล้วจะถูกแบ่งโดย ศูนย์การแพทย์ทางเลือก สหรัฐฯ มีทั้งหมด 5 ประเภท ประกอบไปด้วย

1. Alternative Medical Systems

ประเภทแรกเป็น แพทย์ทางเลือก ที่ใช้แนวทางรักษาอันหลากหลายขึ้นอยู่กับอาการของผู้ป่วยรายนั้น ซึ่งการตรวจวินิจฉัย หรือ การบำบัดอาการเจ็บป่วยต่าง ๆ สามารถทำได้ทั้งการให้ยา การรักษาด้วยเครื่องมือหรือหัตถการต่าง ๆ ยกตัวอย่างเช่น การแพทย์อายุรเวชที่พบเจอได้ในประเทศอินเดีย, การแพทย์รูปแบบแผนโบราณของประเทศจีน, การใช้ธรรมชาติบำบัด, การแพทย์ตามแนวทางของชาวตะวันออก, การบำบัดด้วยรูปแบบโฮมีโอพาธี มักใช้กันในแถบยุโรปโดยเฉพาะในเยอรมนี ฯลฯ ขณะที่รูปแบบการรักษาก็อย่างที่กล่าวไปว่าอาจใช้เป็นเครื่องมือหรือยาบางตัวก็ได้ อาทิ การเลือกใช้สมุนไพรมาทำการรักษา, การฝังเข็ม เป็นต้น

2. Mind-Body Interventions

การรักษาที่ใช้เรื่องของร่างกายกับจิตใจเป็นตัวฟื้นฟูสำคัญ พยายามสร้างสภาพจิตใจที่ดีเพื่อให้ส่งผลเชิงบวกไปยังร่างกาย หรืออาจสร้างร่างกายให้แข็งแรงเพื่อให้สภาพจิตใจแข็งแรงตามไปด้วย เรียกว่าเป็นการรักษาที่ต้องอาศัยความสัมพันธ์ระหว่างร่างกายกับจิตใจเป็นสำคัญ วิธีนี้เชื่อว่าจะช่วยให้เกิดปัญญา มีความคิดในเชิงบวกมากขึ้น ส่งผลให้มีสุขภาพที่ดีขึ้น ยกตัวอย่างเช่น การทำโยคะที่ได้ใช้ร่างกายในการออกท่าทางต่าง ๆ แต่ไม่ต้องใช้แรงเยอะ พร้อมกันนี้ยังช่วยให้จิตใจสงบมากขึ้น, การสร้างสมาธิบำบัดให้กับตนเอง, ซี่กง (การรักษาตามศาสตร์ของจีนที่จะฝึกฝนทั้งร่างกายกับจิตใจด้วยท่ากายบริหาร) เป็นต้น

3. Biologically Based Therapies

แพทย์ทางเลือก วิธีนี้จะใช้สารชีวภาพเป็นตัวช่วยในการรักษา ซึ่งสารเหล่านี้ต้องมีต้นกำเนิดมาจากธรรมชาติไม่ว่าจะเป็นสมุนไพร, อาหาร, วิตามินต่าง ๆ เช่น การใช้สมุนไพรในการแก้อาการเจ็บป่วย, การทานอาหารเพื่อสุขภาพทำให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกัน มีสุขภาพแข็งแรงมากยิ่งขึ้น, มีการให้อาหารเสริมเพื่อสร้างสุขภาพที่ดี, การให้วิตามินป้องกันโรคหรือบรรเทาอาการเจ็บป่วยของโรคนั้น เป็นต้น

4. Manipulative and Body-Based Methods

เป็นลักษณะของ แพทย์ทางเลือก ที่ใช้การบำบัดผ่านวิธีหัตถการต่าง ๆ โดยเฉพาะใช้มือของผู้รักษาเป็นสำคัญ เน้นเพิ่มความแข็งแรงของอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกาย โครงสร้างภายนอก จัดรูปแบบการเคลื่อนไหวของร่างกายให้เป็นไปอย่างถูกต้อง ยกตัวอย่างเช่น การดัดกระดูก, การจัดกระดูกส่วนต่าง ๆ ให้เข้าที่, การนวด เป็นต้น

5. Energy Therapies

ประเภทสุดท้ายเป็นวิธีรักษาด้วยการใช้พลังงาน โดยสามารถแยกออกได้เป็นอีก 2 ประเภทย่อย ๆ ประกอบไปด้วย

  • การรักษาด้วยวิธีพลังงานชีวภาพ เป็นวิธีรักษาด้วยการใช้พลังงานชีวภาพทั่ว ๆ ไปรอบตัว หรือพลังงานที่มาจากร่างกายของคนเรา เป็นพลังงานที่อาจวัดค่าไม่ได้แต่สามารถช่วยให้เกิดผลดีกับร่างกาย เช่น ซี่กง, การสวดมนต์บำบัดอาการเจ็บป่วย, ศาสตร์ทางด้านเรกิ (การเยียวยาให้พลังงานสนามแม่เหล็กมนุษย์ดีขึ้น) เป็นต้น
  • การรักษาด้วยวิธีพลังแม่เหล็กไฟฟ้าชีวภาพ จะใช้พลังสนามแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีอยู่ในตัวของคนเรา และพลังสนามแม่เหล็กไฟฟ้าที่ไม่ได้เกิดจากการแพทย์แผนปัจจุบันมาประยุกต์เข้าด้วยกัน เช่น ระดับชีพจรสนามแม่เหล็ก เป็นต้น

 

ทำไมถึงควรใช้แพทย์ทางเลือก?

จริง ๆ ต้องเข้าใจก่อนว่าการรักษาด้วยวิธีใดก็ตามหากทำให้อาการเจ็บป่วยต่าง ๆ ทุเลาลงหรือหายไปได้นั่นคือเรื่องดีทั้งหมด แต่ก็เข้าใจว่าบางโรคบางอาการลำพังเพียงแค่รักษาด้วยวิธีแพทย์แผนปัจจุบันอาจไม่ได้ช่วยให้หายป่วยจากโรคนั้นได้เต็มร้อย การตัดสินใจมองหา แพทย์ทางเลือก จึงเป็นอีกคำตอบที่น่าสนใจมากทีเดียว เพราะบางอาการแพทย์ทั่ว ๆ ไปไม่ได้มีแนวทางการรักษาที่ตรงจุด แต่ แพทย์ทางเลือก จะใช้รูปแบบที่น่าสนใจในการรักษา เช่น ใช้โยคะรักษาโรค, ใช้สมุนไพรในการแก้อาการเจ็บป่วย เป็นต้น ทั้งนี้ยังมีอีกหลาย ๆ คนที่ไม่ได้เจ็บป่วยอะไรแต่ก็เอาแนวทางต่าง ๆ ของ แพทย์ทางเลือก ไปใช้ดูแลตนเองให้มีสุขภาพดียิ่งขึ้นกว่าเดิม และนี่คือเหตุผลที่บอกว่าทำไมถึงควรใช้แพทย์ทางเลือกในการรักษาอาการเจ็บป่วย

1. ใส่ใจกับการดูแลผู้ป่วยครบทุกด้าน

หากสังเกตแนวทางของการรักษาด้วย แพทย์ทางเลือก แต่ละประเภทจะเห็นว่ามีวิธีรักษาโดยอาศัยการทำความเข้าใจกับอาการป่วยพร้อมมีแนวทางรักษาแบบครอบคลุม คือ ให้ความสนใจในทุก ๆ ส่วนของร่างกาย จิตใจ ปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น แนะนำอาหารที่เหมาะสมกับร่างกาย, แนะนำการออกกำลังกาย, การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม, ปรับเปลี่ยนความคิด นั่นเท่ากับกว่าไม่ใช่แค่ดูแลให้หายจากอาการเจ็บป่วยเท่านั้น แต่ยังใส่ใจกับชีวิตความเป็นอยู่ การดูแลสภาพจิตใจให้แข็งแรงมากขึ้น นั่นส่งผลให้โอกาสที่จะหายและใช้ชีวิตต่อไปได้อย่างปกติสุขมีสูง ต่างกับแพทย์แผนปัจจุบันที่จะเน้นเรื่องอาการของโรคเพียงอย่างเดียว ไม่ได้สนใจองค์รวมของผู้ป่วย

2. ตัวผู้ป่วยเองมีส่วนร่วมกับทุกการรักษา

ปกติถ้าเป็นการรักษาแพทย์แผนปัจจุบันผู้ป่วยจะถูกเลือกให้รักษาโดยแพทย์เป็นผู้ระบุ แต่ถ้ากรณี แพทย์ทางเลือก หลายครั้งจะมีการปรึกษาผู้ป่วยก่อนว่าต้องการรักษาแบบใด มีตัวเลือกการรักษาให้เยอะ เช่น รักษาด้วยการฝังเข็ม, การทำสมาธิบำบัด เป็นต้น

3. ค่าใช้จ่ายถูกกว่าแพทย์แผนปัจจุบัน

ตรงนี้ปฏิเสธไม่ได้จริง ๆ ว่าเรื่องของค่าใช้จ่ายในการรักษาก็มีผลต่อผู้ป่วย ด้วยลักษณะของการรักษาที่เน้นสภาพร่างกาย จิตใจ จึงทำให้มีค่าใช้จ่ายที่ต่ำกว่า ทุกอย่างไม่จำเป็นต้องใช้เงินเสมอไป รวมถึงการรักษาบางอย่างผู้ป่วยสามารถทำด้วยตนเองได้ ไม่ต้องเสียเงิน เช่น โยคะ, สมาธิบำบัด, ซี่กง ส่วนที่เสียเงินก็อาจเป็นส่วนน้อยแต่ใช้เพื่อดำรงชีวิตอยู่แล้ว เช่น การทานอาหารเพื่อสุขภาพ เป็นต้น

4. มีวิธีให้เลือกเยอะ ได้ผลจริง

หลาย ๆ คนที่พึ่งรู้จัก แพทย์ทางเลือก อาจคิดว่าวิธีเหล่านี้จะได้ผลจริงหรือ เพราะมันดูมันค่อยทันสมัย แถมยังเป็นวิธีที่ไม่ได้มีตัวยาใด ๆ เข้ามาเกี่ยวข้องมากนัก แต่ถ้ามองย้อนกลับไปตามประวัติรักษาจะเห็นว่าวิธีต่าง ๆ ของ แพทย์ทางเลือก มีการใช้งานมาอย่างยาวนาน บางสูตร บางตำรา วิชาการรักษาเหล่านี้สืบทอดต่อ ๆ กันมาเป็นร้อยปี รวมถึงไม่ได้เป็นการรักษาที่ดูล้าสมัยเสียทีเดียว เพราะก็มีการนำเอาวิทยาศาสตร์สมัยใหม่เข้ามาประยุกต์ด้วยเสมอ เช่น การฝังเข็มที่เป็นต้นตำรับรักษาของชาวจีนมายาวนาน มีการเพิ่มเติมด้วยหลักทางวิทยาศาสตร์คือ ฝังบริเวณจุดไหนได้ผลอย่างไร, การทานสมุนไพรที่หลักวิทยาศาสตร์ช่วยวิเคราะห์ได้ดียิ่งขึ้นว่าสมุนไพรชนิดไหนให้คุณค่ากับร่างกายตามอาการเจ็บป่วยบ้าง นั่นทำให้มีตัวเลือกในการรักษาเยอะมาก แถมมั่นใจได้ว่าปลอดภัย ไม่มีผลข้างเคียงใด ๆ ที่เป็นอันตรายต่อชีวิตแน่ ๆ

5. เป็นช่องทางรักษาให้หายขาดจากโรค

สมัยนี้อาการป่วยเรื้อรังจากโรคต่าง ๆ มีเยอะขึ้น รักษาเท่าไหร่ก็ไม่หายขาด เช่น โรคมะเร็ง, โรคเอดส์ ที่ทุกวันนี้แพทย์แผ่นปัจจุบันยังหาวิธีรักษาไม่ได้ การใช้ แพทย์ทางเลือก เหมือนเป็นการกระตุ้นกำลังใจให้ผู้ป่วยเอาใจใส่ในการดูแลร่างกายมากขึ้น ซึ่งมันก็มีโอกาสเห็นผลดีในเชิงบวก อย่างน้อย ๆ ก็ทำให้พวกเขามีกำลังใจในการดูแลตนเองมากกว่าเดิม พออาการดีขึ้นแม้ไม่หายขาดแต่ก็ทำให้มีชีวิตอยู่ต่อไปได้

 

ข้อจำกัดของแพทย์ทางเลือก?

แม้ว่า แพทย์ทางเลือก จะเป็นอีกวิธีที่น่าสนใจในการรักษาผู้ป่วยแต่ก็เป็นเรื่องปกติที่จะมีข้อจำกัดต่าง ๆ เกิดขึ้น หากไร้ซึ่งวิธีควบคุมคุณภาพด้านความปลอดภัย ไม่มีแนวทางการจัดการผลิตภัณฑ์ที่ใช้รักษาอย่างถูกต้องโอกาสที่จะเกิดความเสี่ยงกับผู้ป่วยหรือคนที่เลือกรักษาด้วยวิธีนี้ก็ย่อมเกิดขึ้นได้

นอกจากที่กล่าวไปแล้วก็ยังมีความเสี่ยงด้านต่าง ๆ เช่น การขายสมุนไพรที่ผิดไปจากการรักษาจริง, สมุนไพรที่ใช้ไม่ได้ช่วยรักษาอย่างถูกต้อง, มีการปนเปื้อนของสารเคมี สารอันตรายจากตัวยาที่ใช้ มีโลหะหนักซึ่งส่งผลเสียโดยตรงต่อสุขภาพ มีการรมควันเพื่อฆ่าเชื้อจนเกิดสารที่เป็นอันตราย มีจุลินทรีย์ปนเปื้อนมากจนเกินไป สารเคมีบางอย่างใส่เยอะจนกลายเป็นพิษ ฯลฯ

ผู้ที่ให้การรักษา แพทย์ทางเลือก มีคุณสมบัติไม่เพียงพอ ขั้นตอนการรักษาไม่ได้มาตรฐาน หรือบางรายอาจเกิดผลข้างเคียงจากการใช้วิธีรักษาเพราะมีการรักษาทั้งแพทย์แผนปัจจุบันและ แพทย์ทางเลือก สาเหตุอาจเป็นไปได้ที่ผู้ป่วยไม่แจ้งรายละเอียดต่าง ๆ อย่างชัดเจนกับแพทย์ทั้ง 2 ฝ่าย

อีกประเด็นที่ยังถูกมองว่าเป็นข้อจำกัดนั่นคือ แพทย์ทางเลือก ยังไม่สามารถหาข้อพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ได้มากพอเกี่ยวกับการรักษาโรคนั้น ๆ ด้วยเหตุนี้หลายฝ่ายที่เกี่ยวข้องจึงต้องพยายามศึกษาข้อมูล พัฒนา ปรับปรุง การรักษา มีการวิจัยอย่างเป็นขั้นตอนมากขึ้นเพื่อให้การรักษาน่าเชื่อถือ มีประสิทธิภาพ และได้รับการยอมรับจากคนทั่ว ๆ ไป

 

เลือกใช้ แพทย์ทางเลือก อย่างไร?

จริง ๆ แล้วเรื่องการรักษาโดย แพทย์ทางเลือก ไม่ได้เกิดขึ้นแค่คนบางกลุ่มแต่องค์การอนามัยโลกเองก็เห็นความสำคัญในด้านการรักษาพอสมควร จึงมีการทำข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับ แพทย์ทางเลือก เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกัน รวมถึงยังเป็นอีกแนวทางการพัฒนาเพื่อให้การรักษาแนวนี้ได้รับความนิยมมากขึ้นแต่ไปไปตามวิธีที่เหมาะสม โดยการเลือกใช้ แพทย์ทางเลือก ที่ถูกต้องคือ

  • ต้องมั่นใจว่าวิธีรักษาดังกล่าวเหมาะสมกับอาการป่วยจริงหรือไม่
  • วิธีรักษา บำบัดที่ใช้อยู่มีความสามารถมากพอในการรักษา บำบัด บรรเทาอาการเจ็บป่วย หรือมีส่วนช่วยในด้านสุขภาพจริงหรือไม่
  • การรักษาที่เกิดขึ้นถูกกระทำจากผู้ที่มีความสามารถ มีความรู้ มีประสบการณ์ครบถ้วน (แนะนำว่าต้องไดรับใบอนุญาตและมีการขึ้นทะเบียนที่ถูกต้อง)
  • ผลิตภัณฑ์ที่ต้องใช้สมุนไพรเป็นส่วนประกอบต้องมั่นใจว่ามีคุณภาพ ต้องรู้ว่ามีข้อห้ามใด ๆ หรือไม่ในการใช้งาน มีการรับรองจากการแพทย์ว่าน่าเชื่อถือ มีข้อบ่งชี้การใช้งานชัดเจน มีข้อควรระวัง
  • เรื่องราคามีความเหมาะสมหรือไม่ ทั้งการใช้สมุนไพรหรือวิธีอื่น ๆ ในการรักษา

จากที่กล่าวมาทั้งหมดยังมีแนวทางการเลือกใช้ แพทย์ทางเลือก ที่ควรพิจารณาเอาไว้สำหรับคนที่สนใจหรือคิดจะรักษาทางด้านนี้ด้วย

1. มีความน่าเชื่อถือเพียงพอก่อนเข้ารับการรักษา

เรื่องความน่าเชื่อถือคือสิ่งสำคัญ เพราะนี่เป็นการรักษาโรค หากผิดพลาดอาจเกิดความเสียหายถึงชีวิต ดังนั้นต้องสังเกตและศึกษามาพอสมควรว่า ดูว่า แพทย์ทางเลือก ผู้นั้นมีมาตรฐานการรักษามากเพียงใด มีการยอมรับจากผู้คนหรือประเทศต้นกำเนิดการรักษาด้วยวิธีดังกล่าวหรือไม่ ระยะเวลาที่เคยรักษามา รวมถึงบันทึกรายละเอียดต่าง ๆ เกี่ยวกับการรักษาในอดีต

2. ความปลอดภัยคือสิ่งสำคัญที่สุด

ต้องรู้ว่าเมื่อรักษาด้วยวิธีต่าง ๆ แล้วจะเกิดผลอย่างไรบ้างกับผู้ป่วย เกิดพิษขึ้นโดยเฉียบพลันหรือไม่ เกิดพิษเรื้อรังในระยะยาวมากน้อยเพียงใด มีอันตรายกับร่างกายและจิตใจแค่ไหน ทั้งหมดต้องตรวจสอบความปลอดภัยให้ชัดเจนเพื่อจะได้มั่นใจว่าเลือกรักษาด้วยวิธีนี้แล้วไม่มีปัญหาตามมา

3. ประสิทธิภาพของการรักษา

เรื่องนี้ แพทย์ทางเลือก ยังคงต้องพิสูจน์ให้คนอื่น ๆ ได้เห็นต่อไปว่าช่วยรักษาได้จริง มีข้อมูลการันตีว่าเห็นผลในเชิงบวก ตรงนี้อาจต้องใช้เวลาในการพิสูจน์นานหน่อยกว่าที่จะได้รับการยอมรับ ทั้งนี้อาจต้องเลือกใช้ผลวิจัยเชิงวิชาการเข้ามาเสริมน้ำหนักให้ดูมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นกว่าเดิม

4. คุ้มค่ามากแค่ไหนหากนำไปใช้

เรื่องค่าใช้จ่ายเป็นสิ่งสำคัญที่ห้ามมองข้าม ต้องพิจารณาว่ามีความคุ้มค่ากับการลงทุนรักษาด้วยวิธีนี้มากน้อยแค่ไหน เช่น ถ้าต้องจ่ายเงินแลกกับความเจ็บปวดทรมานมายาวนานแล้วหายจริงก็ถือว่าคุ้มค่า แต่ก็ต้องดูสถานะทางการเงินของผู้ป่วยรายนั้น ๆ ด้วย

 

แพทย์ทางเลือกที่นิยมในประเทศไทย?

สำหรับ แพทย์ทางเลือก ในประเทศไทยเอง ถือว่ามีคนให้ความสนใจเยอะพอสมควร ทั้งในแง่การเป็นผู้รักษาและผู้เข้ารับการรักษา โดยวัดจากการสำรวจสถานประกอบการที่ให้บริการด้าน แพทย์ทางเลือก ถือว่ามีจำนวนมากระดับหนึ่ง โดยประเภทที่ได้รับความนิยมหลัก ๆ จะเป็น การฝังเข็ม ขณะที่ลำดับอื่น ๆ รองลงมาก็จะมี การทำดุลยภาพบำบัด, ดนตรีบำบัดในเด็กออทิสติก, ซี่กง, วารีบำบัด, การฝึกสมาธิ, การวางโปรแกรมอาหารเพื่อสุขภาพ เป็นต้น ทั้งนี้จะขออธิบายการแพทย์ทางเลือกยอดนิยมในเมืองไทยว่ามีแบบใดบ้างจากการศึกษาของกระทรวงสาธารณสุขและหน่วยงานเอกชนที่มีส่วนเกี่ยวข้อง

1. นวด, ออกกำลังกาย, การดูแล ฟื้นฟูสุขภาพพืชผัก ผลไม้, การทำสมาธิ, พยายามผ่อนคลายความเครียด และการเล่นโยคะ

2. การหยุดบริโภคอาหารเพื่อให้มีสุขภาพดีขึ้น, การเปลี่ยนพฤติกรรมตนเอง, การทานอาหารที่มาจากธรรมชาติ, ฝึกจังหวะของการหายใจ, แนะนำ ให้คำปรึกษาหรือแนวทางที่เหมาะสม, การใช้ดนตรีบำบัด และการใช้สมุนไพรเพื่อรักษา

3. การฝังเข็ม, การสวนเพื่อล้างลำไส้, ดีท็อกซ์ ล้างพิษ, รักษาด้วยการใช้อาหาร, ใช้อาหารเสริมเพื่อการบำบัด ฟื้นฟู, แมคโครไบโอติกส์ (การทานอาหารอย่างสมดุลตามกฎหยิน-หยาง) และการใช้จินตภาพบำบัด
ทั้งหมดนี้จะทำให้หลาย ๆ คนเข้าใจเกี่ยวกับ แพทย์ทางเลือก มากยิ่งขึ้นกว่าเดิม แต่เหนือสิ่งอื่นใดการดูแลร่างกายตนเองเป็นสิ่งสำคัญมาก คงไม่มีใครอยากเจ็บป่วยจนต้องหาหมอ เข้าโรงพยาบาลกันอยู่แล้ว แต่ถ้าหากหลีกเลี่ยงไม่ได้ แพทย์ทางเลือก ก็ถือเป็นอีกตัวช่วยดี ๆ ที่จะเพิ่มโอกาสในการหายป่วยจากโรคที่เป็นอยู่ แต่ทั้งนี้ต้องมีการศึกษาข้อมูลอย่างละเอียด เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าการรักษาด้วยวิธีนั้น ๆ ไม่มีผลข้างเคียงใด ๆ กลับมา มีความคุ้มค่ากับเงินที่จ่ายไป หรือบางคนจะรักษาด้วยแพทย์ทั้ง 2 ทาง ก็จำเป็นต้องบอกรายละเอียดให้ครบถ้วน เพื่อไม่ให้การรักษาสวนทางกันจนทำให้เกิดอันตรายกับร่างกายนั่นเอง

 

Related Posts