MED Engineering RAMA

MED Engineering RAMA คืออะไร

MED Engineering RAMA (M.D. – M.Eng) หรือ หลักสูตรวิศวกรรมชีวการแพทย์ (Biomedical Engineering) ซึ่งเป็นโครงการร่วมกันระหว่าง 2 หลักสูตรด้วยกันคือ แพทยศาสตรบัณฑิต (พ.บ.) และ วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (วศ.ม.) มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อผลิตแพทย์ที่มีความรู้ความสามารถในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางการแพทย์ สามารถประยุกต์ใช้เครื่องมือและเทคโนโลยีทางการแพทย์กับการรักษาผู้ป่วยได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพสูงสุด โดยมุ่งเน้นการสร้างแพทย์นวัตกรและความเป็นนักวิจัย เพื่อพัฒนาศักยภาพการเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีทางการแพทย์ในอนาคต

 

MED Engineering RAMA รูปแบบการเรียนเป็นอย่างไร ?

สำหรับการเรียนในหลักสูตร MED Engineering RAMA จะใช้ระยะเวลาในการศึกษาทั้งหมด 7 ปีด้วยกัน แบ่งช่วงออกเป็น 3 ช่วงดังนี้

  • ชั้นปีที่ 1-3 (พรีคลินิก) การเรียนเกี่ยวกับทางด้านพรีคลินิกเช่นเดียวกับหลักสูตรแพทย์ปกติ
  • ชั้นปีที่ 4 (วิศวกรรมชีวการแพทย์) การเรียนเกี่ยวกับการดำเนินงานวิจัยในหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิศวกรรมชีวการแพทย์
  • ชั้นปีที่ 5-7 (คลินิก) การเรียนเกี่ยวกับความรู้ทางด้านคลินิกเช่นเดียวกับหลักสูตรแพทย์ปกติ พร้อมทั้งมีการทดลองและดำเนินงานวิจัยอย่างต่อเนื่อง

เมื่อเรียนครบทั้ง 7 ปีและจบการศึกษาแล้วจะได้รับปริญญาทั้ง 2 ใบ ดังนี้

  • ปริญญาตรี แพทยศาสตร์บัณฑิต (พบ.)
  • ปริญญาโท วิศวกรรมศาสตร์มหาบัณฑิต (วศ.ม. วิศวกรรมชีวการแพทย์)

 

หลักสูตร MED Engineering RAMA ต้องเรียนที่ไหนบ้าง ?

แอบสงสัยกันใช่หรือเปล่าคะ ว่าหลักสูตรนี้ต้องเรียนที่ใดกันบ้าง มาดูกันเลยค่ะว่าในแต่ละชั้นปีนั้นผู้เรียนต้องไปเรียนกันที่ไหนตามกำหนดการดังนี้ค่ะ

  • ชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตศาลายา
  • ชั้นปีที่ 2 – 3 สถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์
  • ชั้นปีที่ 4 คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตศาลายา
  • ชั้นปีที่ 5 – 6 สถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์ และโรงพยาบาลรามาธิบดี
  • ชั้นปีที่ 7 สถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี และโรงพยาบาลสมทบ

 

อยากเข้า MED Engineering RAMA ต้องมีคุณสมบัติอย่างไรบ้าง ?

สำหรับในหลักสูตร MED Engineering RAMA จะเปิดรับสมัครรอบที่ 1 Fortfolio เท่านั้น ในส่วนของคุณสมบัติและคะแนนต่างๆ ที่ต้องใช้คัดเลือกมีดังนี้

คุณสมบัติของผู้สมัคร MED Engineering RAMA
ระดับการศึกษา มัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือ เทียบเท่า
คะแนนภาษาอังกฤษ TOEFL iBT หรือ IELTS
คะแนนกลุ่มวิทยาศาสตร์ GPAX / SAT II / A-Level / IB
(Biology: Molecular, Chemistry และ Math level 2 หรือ Physics)
แบบทดสอบเฉพาะ BMAT
Portfolio
  • Personal statement
  • กิจกรรมทางวิชาการ, กิจกรรมการบำเพ็ญประโยชน์และความสามารถพิเศษ
  • หนังสือรับรองจากอาจารย์ 2 ท่าน

 

และเมื่อเราผ่านการคัดเลือกจากผลคะแนนในเบื้องต้นแล้วจะมาตัดสินกันในส่วนของการสัมภาษณ์นั่นเองค่ะ ในหลักสูตรนี้จะเป็นการสัมภาษณ์แบบ Multiple Mini Interview (MMIs) มีความสำคัญในการตัดสินการคัดเลือกถึง 70% ซึ่งถือว่าค่อนข้างสูงเลยทีเดียวค่ะ มาถึงในส่วนนี้แล้วใครที่ยังไม่ได้เริ่มเตรียมตัว ก็ต้องรีบบ้างแล้วนะคะ ทางสถาบันจุฬาติวเตอร์ก็มีคอร์สเรียนที่จะเป็นส่วนช่วยให้การเตรียมตัวเข้า MED Engineering RAMA เป็นเรื่องง่ายขึ้น ด้วยรูปแบบการสอนสไตล์ easy to be expert ที่เอื้อประโยชน์ให้กับผู้เรียนเป็นหลัก และเพิ่มความมั่นใจในการสอบให้เป็นไปตามที่หวัง หรือต้องการปรึกษาการวางแผนการเตรียมความพร้อมก็ติดต่อเข้ามาได้ที่ Line ID : @chulatutor ได้เลยนะคะ

Related Posts