
CU-AAT คืออะไร สอบเมื่อไหร่ ข้อสอบยากไหม คะแนนสอบใช้ทำอะไร
CU-AAT ถือเป็นรูปแบบการสอบที่มีความสำคัญมาก สำหรับน้อง ๆ ที่วางแผนอยากเรียนต่อในระดับปริญญาตรีกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยภาคอินเตอร์ เนื่องจากต้องนำคะแนนดังกล่าวไปใช้เป็นส่วนหนึ่งสำหรับพิจารณาของทางสถาบัน ด้วยเหตุนี้การทำความรู้จักว่าคืออะไร ข้อสอบยากไหม เนื้อหาเป็นอย่างไรจึงสำคัญมากทีเดียว
CU-AAT คืออะไร
Chulalongkorn University Academic Aptitude Test หรือ CU-AAT คือ แนวทางการสอบที่ตัวข้อสอบถูกออกแบบมาเพื่อประเมินทักษะความรู้ของผู้สอบในวิชาคณิตศาสตร์และภาษาอังกฤษ หากคาดหวังอยากเข้าเรียนต่อในภาคอินเตอร์ หรือเรียนคณะนานาชาติของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คะแนน CU-AAT นับว่ามีความสำคัญและน้อง ๆ ทุกคนต้องใส่ใจมากเป็นพิเศษด้วย
ในส่วนของข้อมูลเกี่ยวกับ CU-AAT ข้อสอบที่ออกนั้นจะดำเนินการโดย ศูนย์ทดสอบทางวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (Chulalongkorn University Academic Testing Center) มีหน้าที่พัฒนาเพื่อให้เนื้อหามีความสมบูรณ์แบบมากที่สุดไม่ว่าจะเป็น CU-AAT คณิตศาสตร์ (Mathematics) หรือ ภาษาอังกฤษ (CU-AAT Verbal) ก็ตาม
ทั้งนี้เมื่อเจาะลึกลงไปจะพบว่ารูปแบบข้อสอบที่ใช้จะมีความใกล้เคียงกับข้อสอบ SAT ซึ่งถือเป็นแนวทางการสอบมาตรฐานเพื่อใช้คะแนนในการยื่นสมัครเรียนกับมหาวิทยาลัยหลายแห่ง อาจมีบางเนื้อหาที่แตกต่างบ้างแต่ก็ไม่ถือว่าเยอะจนเกินไป โดยหลายคนที่เคยสอบทั้ง 2 รูปแบบมักบอกว่า CU-AAT สอบยากกว่า
ข้อสอบ CU-AAT ออกเรื่องไหนบ้าง?
ข้อสอบ CU-AAT Math | |
เรื่องที่ออกสอบ | หัวข้อที่ออกสอบ |
Arithmetic (เลขคณิต) |
|
จำนวน | ตัวประกอบ , จำนวนเฉพาะ , จำนวนประกอบ , การแยกตัวประกอบ |
ตัวหารร่วมมากและตัวคูณร่วมน้อย | ตัวหารร่วมมาก , ตัวคูรร่วมน้อย , ความสัมพันธ์ระหว่าง ห.ร.ม. และ ค.ร.น. |
การปัดเศษ | การปัดเศษทศนิยม |
เลขยกกำลัง | สมบัติเลขยกกำลัง |
จำนวนเต็ม | |
การดำเนินการของจำนวนเต็ม | การบวกจำนวนเต็ม , การลบจำนวนเต็ม , การคูณจำนวนเต็ม , การหารจำนวนเต็ม |
สมบัติของจำนวนเต็ม | สมบัติการบวกและการคูณจำนวนเต็มบวก , สมบัติของศูนย์ , จำนวนคู่และจำนวนคี่ |
ทศนิยมและเศษส่วน | |
ทศนิยมและการเปรียบเทียบทศนิยม | การบวกและการลบทศนิยม , การคูณและการหารทศนิยม , การเปรียบเทียบเศษส่วน , การบวก ลบ เศษส่วน , การคูณและการหารเศษส่วน |
อัตราส่วนและเปอร์เซ็นต์ | อัตราส่วน , อัตราส่วนที่เท่ากัน , อัตราส่วนที่ต่อเนื่อง , สัดส่วน , ร้อยละ |
Algebra พีชคณิต |
|
เอกนาม | การบวกและการลบเอกนาม |
พหุนาม | การคูณและหารพหุนาม |
การแยกตัวประกอบของพหุนามดีตรีสูง | |
สมการและอสมการ | สมการ , อสมการ |
การแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสอง | การแยกตัวประกอบโดยสมบัติการแจกแจง , การแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสองตัวแปรเดียว , การแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสองด้วยวิธีกำลังสองสมบูรณ์ , การแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสองที่เป้นผลต่างกำลังสอง |
การแก้สมการกำลังสองโดยการใช้สูตร | |
การดำเนินการของเศษส่วนของพหุนาม | |
การบวกและการลบเศษส่วนของหหุนาม | |
การแก้สมการเศษส่วนของพหุนาม | |
Geometry เรขาคณิต |
|
จุดและเส้นตรง | |
ส่วนของเส้นตรง | |
รังสี | |
มุม | ชนิดของมุม |
เส้นขนาด | สมบัติของเส้นขนานกับมุมภายใน |
ทฤษฎีบทพีทาโกรัส | |
Word Problems ปัญหาโจทย์ข้อความ |
สมัครสอบ CU-AAT ตอนไหน สอบเมื่อไหร่
ใครที่วางเป้าหมายของตนเองเกี่ยวกับการสอบเข้าเรียนภาคอินเตอร์ของ ม.จุฬาฯ เอาไว้แล้ว ก็ควรรู้ว่า CU-AAT สมัครได้เมื่อไหร่ และมีขั้นตอนอย่างไรบ้าง จึงขออธิบายข้อมูลเบื้องต้น ดังนี้
สำหรับคนที่สนใจสามารถสมัครออนไลน์ คลิกไปที่ http://atc.chula.ac.th/Main/aat_th/ จากนั้นทำตามขั้นตอนที่ระบุเอาไว้ได้เลย โดยทางศูนย์สอบเองก็มีการอธิบายถึงเนื้อหาเบื้องต้นเอาไว้ให้พอสมควร มีค่าใช้จ่ายในการสมัครสอบอยู่ที่ 1,300 บาท ใช้เวลาประมาณ 2 สัปดาห์ในการประกาศผล
แต่สำหรับใครที่เลือกสอบผ่านช่องทางออนไลน์ สามารถรู้ผลสอบของตนเองได้ทันที แต่ต้องมีค่าใช้จ่ายเพื่อสมัครแพงกว่านั่นคือ 2,900 บาท ผลคะแนน CU-AAT มีอายุการใช้งาน 2 ปี สามารถนำไปยื่นเพื่อเข้าเรียนกับหลายคณะได้ เช่น
- The Bachelor of Business Administration or BBA International Program หลักสูตรบริหารธุรกิจ
- Aerospace Engineering (AERO) หลักสูตรวิศวกรรมศาสตร์สาขาวิศวกรรมอากาศยาน
- Applied Chemistry (BSAC) หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเคมีประยุกต์
- Architectural Design (INDA) หลักสูตรการออกแบบสถาปัตยกรรม
- Arts and Science in Integrated Innovation (BAScii) หลักสูตรนวัตกรรมบูรณาการ
- Automotive Design and Manufacturing Engineering (ADME) หลักสูตรวิศวกรรมการออกแบบและการผลิตยานยนต์
- Communication Management (COMMARTS) หลักสูตรการจัดการการสื่อสาร
- Psychological Science (JIPP) หลักสูตรวิทยาศาสตร์จิตวิทยา
- Politics and Global Studies (PGS) หลักสูตรการเมืองและโลกสัมพันธ์ศึกษา
ส่วนคำถามที่ว่า CU-AAT สอบเมื่อไหร่ ตารางสอบในแต่ละปีก็จะแตกต่างกันออกไป ซึ่งปกติแล้วจะสอบปีละ 5 ครั้ง ได้แก่ช่วงเดือนมกราคม, กุมภาพันธ์, มีนาคม, กรกฎาคม, ตุลาคม, ธันวาคม ส่วนเวลาในการสอบขึ้นอยู่กับการประกาศในแต่ละรอบ
CU AAT สอบอะไรบ้าง
มาถึงข้อมูลที่น้อง ๆ หลายคนสนใจและอยากรู้กันมากที่สุดนั่นคือ CU-AAT ข้อสอบเกี่ยวข้องกับเรื่องอะไรบ้างทั้งวิชาคณิตศาสตร์และภาษาอังกฤษ เพื่อจะได้ซื้อ CU-AAT หนังสือดี ๆ ไว้อ่าน รวมถึง หาคอร์ส CU-AAT ติวให้กับตนเองด้วย จึงขออธิบายแยกเป็นรายวิชา ดังนี้
- Math Section
การสอบวิชาคณิตศาสตร์ จะมีทั้งหมด 55 ข้อ ให้เวลา 70 นาที เนื้อหาการสอบแบ่งออกเป็น Arithmetic, Algebra, Geometry และ Problem solving สมัยก่อนสามารถใช้เครื่องคิดเลขได้แต่ถ้าตอบผิดคะแนนจะติดลบ ทว่าปัจจุบันห้ามใช้งาน แต่ไม่มีการติดลบคะแนน
- Verbal Section
ข้อสอบวิชาภาษาอังกฤษ จะมีทั้งหมด 55 ข้อ ให้เวลา 70 นาที แบ่งออก 2 section คือ
- Section 1 : Critical Reading includes ออกสอบเรื่อง Sentence completions, Passage-based reading, Problem solving
- Section 2 Writing includes ออกสอบเรื่อง Improving sentences, Identifying sentence errors, Improving paragraphs
ด้านคะแนนเต็มของ CU-AAT จะแยกเป็นพาร์ทละ 800 คะแนน รวมแล้ว 1,600 คะแนน ซึ่งแต่ละคณะจะมีระดับคะแนนในการผ่านเกณฑ์แตกต่างกันออกไป น้อง ๆ ต้องศึกษาข้อมูลก่อนสอบให้ดี
คอร์สเตรียมตัวสอบ CU-AAT เรียนสดที่สถาบัน
คอร์สเรียน CU-AAT เป็นลักษณะการเรียนกับทางสถาบัน ทุกห้องมีจำนวนผู้เรียนไม่เกิน 10 คน ด้วยรูปแบบการสอนลักษณะ Hybrid Learning เพิมความเข้าใจมากขึ้น ถ้าไม่สะดวกเข้าเรียนก็สามารถเรียนออนไลน์ผ่านโปรแกรม Zoom พร้อมกับเพื่อนคนอื่นได้ ไม่พลาดเนื้อหาสำคัญ ส่วนกรณีมีคำถาม ข้อสงสัยต่าง ๆ สามารถสอบถามกับติวเตอร์ได้ทันที ได้ความรู้กลับไปเต็ม ๆ
คอร์สเตรียมตัวสอบ ติว CU-AAT ตัวต่อตัว
คอร์สเรียน CU-AAT สำหรับน้อง ๆ ที่เน้นเจาะลึกข้อมูล อยากได้เทคนิคเด็ด ๆ จากติวเตอร์ชนิดตัวต่อตัว แนะนำคอร์สนี้ได้เลย กรณีเลือกเข้าเรียนกับสถาบันจะมีห้องเรียนแยกต่างหาก เพิ่มความเป็นส่วนตัว ถ้าวันไหนไม่สะดวกก็เรียนออนไลน์ผ่านโปรแกรม Zoom ได้ด้วยเช่นกัน มั่นใจว่าการเลือกเรียนคอร์สนี้จะช่วยเพิ่มทักษะชั้นเยี่ยม และนำมาซึ่งคะแนน CU-AAT ไม่ยาก
ติวตัวต่อตัว | |||
จำนวนนักเรียน | จำนวนชั่วโมง | ||
20 ชม. | 30 ชม. | 40 ชม. | |
1 คน | 22,000 ฿ | 33,000 ฿ | 44,000 ฿ |
2 คน ( ประหยัดถึง 25% ) |
33,000 ฿ | 49,500 ฿ | 66,000 ฿ |
3 คน ( ประหยัดถึง 40% ) |
39,600 ฿ | 59,400 ฿ | 79,200 ฿ |
แถมฟรี 2 ชม. | แถมฟรี 4 ชม. | ||
หมายเหตุ :
|