ลำดับและอนุกรม คืออะไร ตัวอย่างข้อสอบ ลำดับและอนุกรม

ลำดับและอนุกรม

สรุปเนื้อหา ลำดับและอนุกรม คืออะไร

ลำดับ หมายถึง ฟังก์ชันที่มีโดเมนเป็นเซตของจำนวนเต็มบวกที่เรียงจากน้อยไปมากโดยเริ่มตั้งแต่ 1 ซึ่งลำดับนั้น เป็นจำนวนหรือพจน์ที่เขียนเรียงกันภายใต้กฏเกณฑ์อย่างใดอย่างหนึ่งเป็นลำดับทั่ว ๆ ไป โดยแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่

  • ลำดับจำกัด คือ ลำดับซึ่งมีจำนวนพจน์จำกัด โดยฟังก์ชันจะเป็นลำดับที่มีโดเมนเป็น { 1, 2, 3, …, n }
  • ลำดับอนันต์ คือ ลำดับซึ่งมีจำนวนพจน์ไม่จำกัด โดยฟังก์ชันเป็นลำดับที่มีโดเมนเป็น { 1, 2, 3, … }

ลำดับ คือ กลุ่มของตัวเลขที่มีความสัมพันธ์กัน ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบใหญ่ ๆ คือ

  • ลำดับเลขคณิต คือ ลำดับที่มีผลต่างของพจน์ที่ n+1 กับพจน์ที่ n โดยมีค่าคงที่เป็นผลต่างร่วม (d)
    ตัวอย่าง
    1, 3, 5, 7, 9 …. มี d = 2
    9, 6, 3, 0, …. มี d = -3
  • ลำดับเรขาคณิต คือ ลำดับที่มีอัตราส่วนของพจน์ที่ n+1 กับพจน์ที่ n โดยมีค่าคงที่เป็นอัตราส่วนร่วม (r)
    ตัวอย่าง
    3, 6, 12, 24 …. มี r = 2
    2, -4, 8, -16 … มี r = -2

ลำดับหลายชั้น เป็นลำดับเลขอนุกรม มีค่าความแตกต่างระหว่างตัวเลขมีลักษณะเป็นเลขอนุกรมด้วย

ลำดับเว้นระยะ เป็นลำดับเลขอนุกรม ซึ่งประกอบด้วยอนุกรมมากกว่า 1 ซ้อนกันอยู่ภายในโจทย์เดียวกัน

ลำดับแบบมีค่าแตกต่างเป็นชุด เป็นลำดับอนุกรมที่เกิดจากค่าความแตกต่างที่เป็นชุด คือหลายตัวประกอบขึ้นมาและใช้ค่าแตกต่างที่เป็นชุดดังกล่าวในการพิจารณาเลขอนุกรมลำดับถัดไป

ลำดับยกกำลัง เป็นลำดับเลขอนุกรม ซึ่งเกิดจากการยกกำลังของตัวเลขต่าง ๆ หรืออาจเกิดจากค่าความแตกต่างที่อาจเป็นเลขยกกำลัง

 

อนุกรม คือ ผลจากการบวกสมาชิกทุกตัวของลำดับไม่จำกัดเข้าด้วยกัน โดยที่

  • ถ้า  a1,   a2,   a3,   …,   an   เป็น ลำดับจำกัด ที่มี n พจน์ เราจะเรียกการเขียนแสดงผลบวกของพจน์ทุกพจน์ของลำดับในรูป a1  +  a2  +  a3 +  …  +  an  ว่า  อนุกรมจำกัด 
  • และ ถ้า a1, a2, a3, …, an, … เป็น ลำดับอนันต์ จะเรียกการเขียนแสดงผลบวกในรูป a1 + a2 + a3 + … + an + … ว่า อนุกรมอนันต์

จากอนุกรม a1 + a2 + a3 + … + an + … โดยทั่วไปจะเรียก

  • a1 ว่าพจน์ที่ 1 ของอนุกรม
  • a2 ว่าพจน์ที่ 2 ของอนุกรม
  • a3 ว่าพจน์ที่ 3 ของอนุกรม
  • an ว่าพจน์ที่ n ของอนุกรม

 

อนุกรมเลขคณิต คือ ผลบวกของลําดับเลขคณิต อธิบายได้ว่า

เมื่อ a1, a1 + d, a1 + 2d, …, a1 + (n – 1)d เป็นลำดับเลขคณิต

จะได้ a1 + (a1 + d) + (a1 + 2d) + … + (a1 + (n – 1)d) เป็นอนุกรมเลขคณิต

ซึ่งมี a 1 เป็นพจน์แรกของอนุกรม และ d เป็นผลต่างร่วมของอนุกรมเลขคณิต ซึ่งจากบทนิยามจะได้ว่า

ถ้า a1, a2, a3, …, an เป็น ลำดับเลขคณิต ที่มี n พจน์ เราจะเรียกการเขียนแสดงผลบวกของพจน์ทุกพจน์ของลำดับ a1 + a2 + a3 + … + an ว่า อนุกรมเลขคณิต และผลต่างร่วม ( d ) ของลำดับเลขคณิต เป็นผลต่างร่วมของอนุกรมเลขคณิตด้วย

 

บทความยอดนิยม

Click เรียน ม.ปลาย ควร สอบ CU-TEP ดีไหม

Click ควรสอบ IELTS ต้อง ม.5 หรือ ม.6

Click ควรเลือกเรียน GED จะได้จบ ม.ปลาย ใน 1 เดือน หรือ จะเรียนใน โรงเรียน 3 ปี อันไหนดีกว่ากัน

Click สอบ SAT ดีไหม

Click CU-BEST เตรียมความสู่ ปริญญาโท บริหาร

 

อนุกรมเรขาคณิต คือ ผลบวกของลําดับเรขาคณิต โดยอนุกรมที่ได้จากลำดับเรขาคณิตจะเรียกว่า อนุกรมเรขาคณิต และอัตราส่วนร่วมของลำดับเรขาคณิตจะเป็นอัตราส่วนร่วมของอนุกรมเรขาคณิตด้วย

กำหนด a1, a1r, a1r2, …, a1r n-1 เป็นลำดับเรขาคณิต

จะได้ a1 + a1r + a1r2 + … + a1r n-1 เป็นอนุกรมเรขาคณิต

ซึ่งมี a1 เป็นพจน์แรก และ r เป็นอัตราส่วนร่วมของอนุกรมเรขาคณิต โดยจากบทนิยามจะได้ว่า

ถ้า a1, a2, a3, …, an เป็นลำดับเรขาคณิตที่มี n พจน์ จะเรียกการเขียนแสดงผลบวกของพจน์ทุกพจน์ของลำดับในรูป a1 + a2 + a3 + … + an ว่า อนุกรมเรขาคณิต และอัตราส่วนร่วมของลำดับเรขาคณิต จะเป็นอัตราส่วนร่วมของอนุกรมเรขาคณิตด้วย

ลำดับและอนุกรม ลำดับและอนุกรม ลำดับและอนุกรม ลำดับและอนุกรม

ตัวอย่างข้อสอบเรื่อง ลำดับและอนุกรม

1. พจน์ทั่วไปของลำดับจำกัด 1/5 , 4/7 , 7/9 , 10/ 11,13/13 คือข้อใด

ก. an =(3n-2)/(2n+3) เมื่อ n ={1, 2, 3, 4, 5}
ข. an =(3n-2)/(3n+2) เมื่อ n={1, 2, 3, 4, 5}
ค. an = (4n-3)/(2n+3)เมื่อ n ={1, 2, 3, 4, 5}
ง. an = (3n-2)/(2n-3)เมื่อ n ={1, 2, 3, 4, 5}

2. พจน์ที่เท่าไรของลำดับ 1, 2, 4, 8, … เท่ากับ 128

ก. 8
ข. 9
ค. 10
ง. 11

3. ถ้าจำนวน 5 จำนวนอยู่ในลำดับเลขคณิต มีพจน์แรกคือ 5 และพจน์ที่ห้าคือ 13 จงหาสามพจน์ตรงกลาง

ก. 7,9,11
ข. 8,10,12
ค. 7,9,12
ง. 8,11,13

4. ถ้า 5 + 8 + 11 + 14 + … n พจน์ เท่ากับ 2,665 แล้ว n มีค่าเท่าไร

ก. 10
ข. 11
ค. 12
ง. 14

5. ถ้า 12 + 9 + 6 + 3 + … + x = -600 แล้วค่า x ตรงกับข้อใด

ก. -60
ข. -65
ค. -70
ง. -75

 

 

Related Posts