จำนวนจริง

จำนวนจริง

สรุปเนื้อหาเรื่อง จำนวนจริง

  • จำนวนอตรรกยะ
  • จำนวนตรรกยะ
    • จำนวนเต็ม
      • จำนวนเต็มลบ
      • จำนวนเต็มศูนย์
      • จำนวนเต็มบวก
    • ไม่ใช่จำนวนเต็ม

จำนวนอตรรกยะ คือ จำนวนที่ไม่สามารถเขียนให้อยู่ในรูปเศษส่วนของจำนวนเต็ม หรือทศนิยมซ้ำได้

จำนวนตรรกยะ คือ จำนวนที่สามารถเขียนให้อยู่ในรูปเศษส่วนของจำนวนเต็มหรือทศนิยมซ้ำได้ แบ่งได้เป็น

  • จำนวนตรรกยะที่ไม่ใช่จำนวนเต็ม เช่น -1.5, 3,22/7
  • จำนวนตรรกยะที่เป็น
    • จำนวนเต็มบวก เช่น 1, 2, 3, 4, 5, … , 7/7 , 14/7
    • จำนวนเต็มศูนย์ เช่น 0, 0/5
    • จำนวนเต็มลบ เช่น -1 , -2, -3, -4, …, – 7/7 , – 14/7

 

สมบัติของจำนวนจริง

กำหนด a, b, c เป็นจำนวนจริงใดๆ

 

สมบัติการเท่ากัน

  • สมบัติการสะท้อน a = a
  • สมบัติการสมมาตร ถ้า a = b แล้ว b = a
  • สมบัติการถ่ายทอด ถ้า a = b และ b = c แล้ว a = c
  • สมบัติการบวกด้วยจำนวนที่เท่ากัน ถ้า a = b แล้ว a + c = b + c
  • สมบัติการคูณด้วยจำนวนที่เท่ากัน ถ้า a = b แล้ว ac = bc

 

สมบัติการบวก

  • สมบัติปิด ถ้า a ϵ R และ b ϵ R แล้ว a + b ϵ R
  • สมบัติการสลับที่ จะได้ a + b = b + a
  • สมบัติการเปลี่ยนกลุ่ม จะได้ a + (b + c) = (a + b) + c
  • สมบัติมีเอกลักษณ์การบวก คือ 0 จะได้ 0 + a = a + 0 = a
  • สมบัติมีอินเวอร์สการบวก a มีอินเวอร์สการบวกคือ -a และ -a มีอินเวอร์สการบวก คือ a จะได้ a + (-a) = (-a) + a = 0

 

สมบัติการคูณ

  • สมบัติปิด ถ้า a ϵ R และ b ϵ R แล้ว a.b ϵ R
  • สมบัติการสลับที่ จะได้ a.b = b.a
  • สมบัติการเปลี่ยนกลุ่ม จะได้ a.(b.c) = (a.b).c
  • สมบัติมีเอกลักษณ์การคูณ คือ 1 จะได้ 1.a = a.1 = a
  • สมบัติมีอินเวอร์สการคูณ (ยกเว้น 0 เพราะ 1/0 ไม่มีความหมาย) a มีอินเวอร์สการคูณคือ 1/a และ 1/a มีอินเวอร์สการคูณ คือ a จะได้ a. 1/a = 1/a .a=1

 

สมบัติการคูณและการบวก

  • สมบัติการแจกแจง จะได้ a(b+c)=a.b+a.c

 

เอกลักษณ์ที่ถูกนำไปใช้บ่อยในการแก้สมการพหุนาม หรือ อสมการพหุนาม

  • (a +b)2= a2+2ab+b2
  • (a-b)2=a2-2ab+b2
  • a2-b2=(a-b) (a+b)
  • (a+b)3-a3 +3a2b + 3ab2 + b3
  • (a-b)3=a3-3a2b+3ab2– b3
  • a3+ b3=(a+b) (a2-ab+b2)
  • a3– b3=(a-b) (a2+ab+b2)

พหุนามคือ พจน์ติดตัวแปรที่เขียนได้ในรูป anxn + an−1 xn−1 + an−2xn−2 + … + a1+a0 โดย

  • nคือ ดีกรี หรือ กำลังของพหุนาม
  • anคือ สัมประสิทธิ์ของพจน์แรก

 

การแก้สมการพหุนามรูปทั่วไป

  1. ย้ายข้างให้ข้างหนึ่งของสมการมี่ค่าเป็น 0 และอีกข้างให้ ส.ป.ส. หน้าตัวแปรยกกำลังสูงสุดมีค่าเป็นบวก
  2. หากพหุนามมีตัวร่วมให้ดึงออกมา และหากเป็นค่าคงตัวให้หารตลอดสมการ (ยกเว้นตัวแปรที่ห้ามหารตลอดสมการ เนื่องจาก ตัวแปรมีค่าเป็น 0 ได้ ซึ่งตัวส่วนเป็น 0 จะไม่สามารถหาค่าได้)
  3. แยก Factor ซึ่งหลังจากแยกแล้ว ส.ป.ส. หน้าตัวแปรต้องมีค่าบวก)

 

การแก้สมการพหุนามรูปพิเศษ

พหุนามรูปพิเศษ คือ √กลุ่มตัวแปร หรือ เศษ/กลุ่มตัวแปร

โดยก่อนจะแก้สมการนั้น ให้ทำการเขียนเงื่อนไขของกลุ่มตัวแปรก่อน เช่น

√กลุ่มตัวแปร  (กลุ่มตัวแปร ≥ 0)

เศษ/กลุ่มตัวแปร (กลุ่มตัวแปร ≠ 0)

หลังจากเขียนเงื่อนไขดังกล่าวแล้ว ให้ทำพหุนามรูปพิเศษเป็นรูปทั่วไป แล้วแก้สมการตามขั้นตอนการแก้สมการพหุนามรูปทั่วไป และก่อนจะสรุปคำตอบ ต้องนำคำตอบที่ได้ตรวจสอบดูว่าเป็นไปตามเงื่อนไขหรือไม่ และให้เลือกคำตอบที่เป็นไปตามเงื่อนไขเท่านั้น

 

การแก้อสมการ

ข้อควรรู้

  • ถ้านำค่าลบมาคูณหรือหารทั้งสองข้างของอสมการ เครื่องมหายอสมการต้องกลับข้าง
  • การยกกำลังสองทั้งสองข้างของอสมการให้ a < bจะได้ a2 < b2 ถ้า a และ b เป็นค่าบวกทั้งคู่ (a เป็น 0 ก็ได้)จะได้ a2 > b2 ถ้า a และ b เป็นค่าลบทั้งคู่ (b เป็น 0 ก็ได้)แต่หาก a เป็นลบ และ b เป็นบวก จะบอกไม่ได้ว่า a2 < b2 หรือ a2 > b2

 

การแก้อสมการพหุนามรูปทั่วไป

ให้ทำขั้นตอนเหมือนกับการแก้สมการพหุนามรูปทั่วไปจนแยก Factor เสร็จ (ส.ป.ส. หน้าตัวแปรต้องเป็นบวกทั้งหมด) หากเจอกรณีที่แยกแล้วมีบางวงเล็บยกกำลังเลขคู่ (x – a) 2,4,6,… ให้ใส่เครื่องหมายซ้ำเดิมจากขวาไปซ้ายที่จุด a แต่หากยกกำลังเลขคี่ (x – a) 2,4,6,… ให้คิดเหมือน (x – a) ได้เลย

 

การแก้อสมการพหุนามรูปพิเศษ

พหุนามรูปพิเศษ คือ √กลุ่มตัวแปร หรือ เศษ/กลุ่มตัวแปร

โดยก่อนจะแก้อสมการนั้น ให้ทำการเขียนเงื่อนไขของกลุ่มตัวแปรก่อน เช่น

√กลุ่มตัวแปร  (กลุ่มตัวแปร ≥ 0)

เศษ/กลุ่มตัวแปร (กลุ่มตัวแปร ≠ 0)

หลังจากเขียนเงื่อนไขดังกล่าวแล้ว ให้ทำพหุนามรูปพิเศษเป็นรูปทั่วไป แล้วแก้สมการตามขั้นตอนการแก้อสมการพหุนามรูปทั่วไป และก่อนจะสรุปคำตอบ ต้องนำคำตอบที่ได้ตรวจสอบดูว่าเป็นไปตามเงื่อนไขหรือไม่ และให้เลือกคำตอบที่เป็นไปตามเงื่อนไขเท่านั้น

 

ทฤษฎีเศษเหลือ

f(X) หารด้วย (x-c) เศษเหลือเท่ากับ f(c)
และหาก
f(X) หารด้วย (x-c) เศษเหลือเท่ากับ 0
f(c) = 0 แสดงว่า (x-c) เป้นตัวประกอบนึงของ f(X) หรือ (x-c) หาร f(X) ลงตัว

 

ตัวอย่างข้อสอบเรื่อง จำนวนจริง

  1. อินเวอร์สการคูณของ √3 – 1 คือข้อใด
    ก.  + 1
    ข. 1-
    ค.
    ง.  = b

2. ให้ a และ b เป้นจำนวนจริงใด ๆ และ a * b = 5 + 2ab แล้วค่าของ 4*5 ตรงกับข้อใด

ก. 45
ข. 40
ค. 30
ง. 35

3. ตัวประกอบของ x3 + 2x – x – 2 เท่ากับข้อใด
ก. (x – 1) (x + 1) (x – 2)
ข. (x – 1) (x – 1) (x – 2)
ค. (x – 1) (x + 1) (x + 2)
ง. (x + 1) (x + 1) (x + 2)

4. x4 + 2×3 – 3×2 + x – 5 หารด้วย x – 1 มีเศษเหลือเท่ากับเท่าใด
ก. 5
ข. -5
ค. -4
ง. 4

5. พหุนามในข้อใดต่อไปนี้หาร x3 + 4×2 + x – 6 ไม่ลงตัว
ก. x + 2
ข. x – 1
ค. x + 1
ง. x + 3

 

Related Posts