fbpx

สอบ ก.พ.

ก.พ. รับรองผล
Reading Time: 2 minutes

สอบ ก.พ. คือ ?

สำนักงาน ก.พ. มีชื่อเต็มๆคือ สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน เป็นองค์การกลางด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลในราชการพลเรือน ภายใต้ระบบคุณธรรมทำหน้าที่ส่งเสริมการพัฒนาข้าราชการ และเจ้าหน้าที่ของรัฐให้มีคุณภาพชีวิตและการทำงานที่ดี และพัฒนาระบบการบริหารกำลังคนในราชการให้เป็นกลไกการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งในการสอบ ก.พ. นั้นคือการคัดเลือกบุคคลในระดับวุฒิการศึกษา และสาขาวิชาชีพที่แตกต่าง เพื่อเข้ามาทำงานให้กับหน่วยงานราชการ หรือเรียกได้ว่า เป็นระบบกลาง ระหว่างผู้ที่ต้องการเข้าทำงานในระบบราชการ กับ หน่วยงานราชการที่ขาดแคลนบุคคลในการทำงานนั่นเองค่ะ

 

ระดับวุฒิการศึกษาที่รับสมัครสอบ ก.พ.

สำนักงาน ก.พ. จะรับสมัครสอบ จำนวน 4 ระดับ ดังนี้ค่ะ

– ระดับวุฒิประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)
– ระดับวุฒิประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิค (ปวท.) อนุปริญญา หรือ ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)
– ระดับวุฒิปริญญาตรี
– ระดับวุฒิปริญญาโท

 

การรับสมัครสอบ ก.พ.

การสมัครสอบ ก.พ. จะมีการจัดสอบเป็นประจำทุกปี ซึ่งจะรับสมัครทั้งผู้ที่จบการศึกษาแล้ว และผู้ที่กำลังศึกษาชั้นปีสุดท้าย โดยจะประกาศรับสมัครสอบประมาณเดือน ก.พ. – มี.ค. ของทุกปี สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://job.ocsc.go.th เมื่อสอบผ่านแล้ว สำนักงาน ก.พ. จะส่งหนังสือรับรองการสอบผ่านให้ตามที่อยู่ที่แจ้งไว้ในใบสมัครสอบเลยค่ะ

 

ขั้นตอนและวิธีสมัครสอบ ก.พ.

  1. สมัครผ่านทางเว็บไซต์ http://job2.ocsc.go.th แล้วเลือกหัวข้อ “สมัครสอบเพื่อวัดความรู้ความสามารถทั่วไปด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ ประจำปี ๒๕๖๔” หลังจากนั้นคลิก “สมัครสอบ”
  2. กรอกข้อมูลรายละเอียดต่างๆ
  3. เลือกรอบสอบและศูนย์สอบที่สะดวกในการสอบ ก.พ. หลังจากนั้นระบบจะกำหนดแบบฟอร์มสำหรับชำระเงินอัตโนมัติ
  4. ชำระเงินค่าธรรมเนียมในการสมัครสอบ 330 บาท “ภายในวันที่แบบฟอร์มชำระเงิน ระบุ” มิเช่นนั้นจะถือเป็นการสละสิทธิ์สอบ
  5. การสมัครสอบจะเรียบร้อยต่อเมื่อมีการชำระเงินเรียบร้อยแล้วเท่านั้น
  6. หลังจากชำระเงินแล้ว 1 วัน ให้ผู้สมัครเข้าตรวจสอบเว็บไซต์ http://job2.ocsc.go.th หากยังไม่มีรูปถ่ายของผู้สมัคร จะต้องอัพโหลดรูปก่อน
    หมายเหตุ : ผู้สมัครสอบจะต้อง upload รูปถ่ายหน้าตรง ขนาด 1*1.5 นิ้ว ขนาดไฟล์ 40-100 kb ประเภทไฟล์ .JPG ก่อน
  7. พิมพ์บัตรประจำตัวสอบ พร้อมลงลายมือชื่อ ให้เรียบร้อยแล้วนำไปในวันสอบ ก.พ.

 

แนวข้อสอบ ก.พ. ภาค ก

การสอบ ภาค ก. จะแบ่งเป็น 3 วิชา คือ

– ทดสอบวิชาความสามารถทั่วไป : ด้านการคิดคำนวณ และด้านการให้เหตุผล (คะแนนเต็ม 100 คะแนน)
– ทดสอบวิชาภาษาไทย : ด้านการเข้าใจภาษา ซึ่งจะทดสอบโดยการการอ่านและการทำความเข้าใจบทความ การเขียนประโยคให้ถูกต้องตามหลักภาษา จำนวน 40 ข้อ (คะแนนเต็ม 50 คะแนน)
– ทดสอบวิชาภาษาอังกฤษ : ทดสอบความรู้ในการใช้ภาษาอังกฤษเบื้องต้นจากการ ฟัง พูด อ่าน เขียน โดยแยกเป็นระดับ ปวช-ปวส / ปริญญาตรี-ปริญญาโท (คะแนนเต็ม 50 คะแนน)

เกณฑ์การผ่านคะแนนทุกวิชาจะต้องผ่านเกณฑ์ที่ 60 % และต้องสอบผ่านภาษาอังกฤษไม่ต่ำกว่า 50 % ผู้สอบสามารถยื่นคะแนนภาษาอังกฤษมาตรฐานต่อไปนี้ แทนได้ IELTS , TOEIC , TU-GET , CU-TEP ที่ยังไม่หมดอายุ และได้คะแนนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 50 % ของการทดสอบที่จะยื่นแทนนั่นเองค่ะ
** ซึ่งทุกคนที่ต้องการจะสอบบรรจุข้าราชการจำเป็นจะต้องสอบภาค ก **

 

แนวข้อสอบ สอบ ก.พ. ภาค ข

การสมัครสอบรอบนี้ ทางผู้เข้าสมัครจะต้องนำหนังสือรับรองมายืนยันว่าตนได้สอบผ่าน ภาค ก. แล้วจึงสามารถสมัครได้ และการสอบในภาค ข. นี้ จะเป็นการสอบวิชาเฉพาะในแต่ตำแหน่งนั้นๆ และเป็นการสอบข้อเขียน โดยเปิดสอบในหน่วยงานที่เราต้องการสมัครค่ะ เช่น นักวิเคราะห์นโยบายและแผนปฏิบัติการ ,นักวิชาการเงินและบัญชีปฏิบัติการ ,นายช่างไฟฟ้าปฏิบัติงาน,เจ้าพนักงานสาธารณสุขปฏิบัติงาน

 

แนวข้อสอบ สอบ ก.พ. ภาค ค

เป็นรอบของการสอบสัมภาษณ์ การจะสอบภาค ค. ได้นั้น ผู้เข้าสอบจำเป็นต้องผ่านการสอบ ภาค ก. และ ภาค ข. มาก่อน และในการสอบ ภาค ค. จะเป็นการสอบสัมภาษณ์ หรืออาจมีการทดสอบอย่างอื่นเพิ่มก็ได้เช่นเดียวกัน อาทิเช่น ทดสอบร่างกาย หรือ ทดสอบจิตวิทยา

 

ความแตกต่างข้อสอบ สอบ ก.พ. ภาค ก , ภาค ข , ภาค ค

สำหรับความแตกต่างจะเป็นในส่วนของความเฉพาะด้านที่มากขึ้นในแต่ละรอบที่เราจะต้องผ่านเข้ามาเพื่อที่จะได้สอบรอบถัดไปนั่นเองค่ะ หากมีการเตรียมตัวและความพร้อมที่ดี ก็สามารถที่จะมีโอกาสที่มากขึ้นนั่นเองค่ะ เพราะในรอบแรกหรือภาค ก. นั้นจะเป็นการสมัครสอบโดยทั่วไปที่ผู้สอบจะต้องเจอกันทุกคน ถ้าหากผ่านแล้วจึงจะสอบในรอบของภาค ข.ได้ ซึ่งเป็นในส่วนของข้อเขียนในแต่ละตำแหน่งที่มีหลากหลายเฉพาะจึงไม่ใช่ข้อสอบชุดเดียวกันหรือสามารถใช้ร่วมกันได้นั่นเองค่ะ ส่วนสำหรับภาค ค. จะเป็นในส่วนของการสัมภาษณ์และการพิจารณาของทางหน่วยงานต้นสังกัดเราเป็นหลัก ถ้าหากผ่านทุกรอบแล้วจะก็เตรียมตัวบรรจุเข้ารับข้าราชการได้เลยนั่นเองค่ะ

 

กำหนดการสอบ สำหรับผู้ที่สมัครสอบ ก.พ. 64

กิจกรรม กำหนด วัน-เวลา สถานที่
1. ประกาศข่าวรับสมัครสอบ ม.ค. 64 https://www.ocsc.go.th
2. กรอกใบสมัคร เลือกวันสอบ และเลือกศูนย์สอบ 8 ม.ค. 64 – 28 ม.ค. 64 http://job2.ocsc.go.th
3. ชำระเงินค่าธรรมเนียมสอบ ชำระเงินภายใน 22.00 น. ของวันถัดจากวันที่ยืนยันการสมัคร – ที่ เคาน์เตอร์ ของธนาคารกรุงไทย
– ที่เครื่อง ATM ของธนาคารกรุงไทย
– ที่ http://job2.ocsc.go.th เมนู NETBANK
4. อัพโหลดรูปถ่าย 10 ก.พ. 64- 2 เม.ย. 64 http://job2.ocsc.go.th
5 ประกาศรายชื่อผู้สมัครสอบ และพิมพ์บัตรประจำตัวสอบ 10 ก.พ. 64 http://job2.ocsc.go.th
6. สอบเพื่อวัดความรู้ความสามารถทั่วไปด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ ระดับปริญญาโท
รอบที่1 ส.3 เม.ย. 64ระดับปริญญาตรี
รอบที่2 อา.4 เม.ย. 64
รอบที่3 จ.5 เม.ย. 64
รอบที่4 อ.6 เม.ย. 64
รอบที่5 พ.7 เม.ย. 64
รอบที่6 พฤ.8 เม.ย. 64
1. สำนักงาน ก.พ.
2. มรภ. พระนคร
3. ม.เกษตรศาสตร์
4. มรภ.สวนสุนันทา
5. ม.ธรรมศาสตร์ รังสิต
6.ม.แม่ฟ้าหลวง
7.มรภ.พิบูลสงคราม
8.ม.อุบลราชธานี
9.มรภ.บุรีรัมย์
10.มรภ.สุราษฎร์ธานี
11.ม.วลัยลักษณ์
12.ม.ทักษิณ
7.ประกาศรายชื่อผู้สอบผ่าน 28 พ.ค. 64 http://job2.ocsc.go.th
8. พิมพ์หนังสือรับรองผลการสอบผ่าน 8 มิ.ย. 64 http://job2.ocsc.go.th

 

Related Posts