GED รวบรวมทุกเรื่องที่ต้องรู้ เกี่ยวกับ สอบเทียบ GED

GED คืออะไร

GED ย่อมาจาก General Educational Development เป็นวุฒิการศึกษาของประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการของประเทศไทยได้รับรองวุฒิการศึกษานี้ให้เทียบเท่าได้กับวุฒิการศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 ของประเทศไทย น้องๆ สามารถใช้วุฒิ GED นี้ในการเรียนต่อมหาวิทยาลัยได้ทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ

สอบเทียบ GED

สอบเทียบ GED คือ วุฒิการศึกษาระดับชั้นมัธยมปลายของสหรัฐอเมริกา ที่ได้รับการยอมรับทั่วโลก แม้กระทั่งประเทศไทยในการใช้ยื่นศึกษาต่อ ระดับปริญญาตรี สำหรับที่ประเทศไทย น้องที่สอบส่วนใหญ่ อายุระหว่าง 16-20 ปี โดยเลือกสอบ GED เพราะต้องการจบเร็วขึ้น หรือน้องบ้างคนไปแลกเปลี่ยนกลับมา ไม่อยากเรียนซ้ำชั้น ก็จะเลือกสอบ GED

GED สอบอะไรบ้าง

ข้อสอบ มี 4 วิชา คือ Math , Socail , Science , Reasoning Through Language Arts หรือ RLA

Math มี 46 ข้อ เวลาสอบ 115 นาที เรื่องที่ออกสอบ คือ Basic Math , Geometry , Basic Algebra , Graphs and Function

RLA หรือ Reasoning Through Language Arts ข้อสอบมี 2 พาร์ท ให้เวลาสอบ 150 นาที โดย Part 1 เป็นการอ่านและไวยากรณ์พื้นฐาน 45 ข้อ , Part 2 การเขียนเรียงความภาษาอังกฤษ

Social มีคำถาม 30 ข้อ ให้เวลาสอบ 70 ข้อ เรื่องที่ออกสอบ คือ Civic and Government , U.S. History , Economics , Geography and the world

Science มี 34 ข้อ เวลาสอบ 90 นาที เรื่องที่ออกสอบ คือ Using Numbers and Graphics in Science , Designing and Interpreting Science Experiments , Reading for Meaning in Science

ในปัจจุบันน้องที่จะสอบจะต้องสอบ GED Ready ก่อนถึงจะมีสิทธิ์มีสอบ GED Test

GED Mathematical Reasoning

ข้อสอบ มี 46 ข้อ

ให้เวลาสอบ 115 นาที

เรื่องที่ออกสอบ มีดังนี้ คือ

– Basic Math (คณิตศาสตร์พื้นฐาน)

– Geometry (เรขาคณิต)

– Basic Algebra (พีชคณิตพื้นฐาน)

– Graphs and function (กราฟและฟังก์ชั่น)

รูปแบบการสอบ มี 2 รูปแบบ

1. ข้อสอบหลายตัวเลือก (อัตนัย)

2. ข้อสอบถามตอบ (ปรนัย)

หมายเหตุ

– ในการสอบวิชา Math น้องๆ สามารถดู calculator reference sheet ได้ และ math formulo sheet ได้

– อนุญาติให้ใช้เครื่องคิดเลข TI-30XS ได้

GED Science

ข้อสอบ มี 34 ข้อ

เวลาสอบ 90 นาที

หัวข้อที่ออกสอบ คือ

– Using Numbers and Graphics in Science การอ่านตัวเลขและกราฟที่เกี่ยวข้องกับวิชาวิทยาศาสตร์

– Designing and Interpreting Science Experiments การออกแบบและทดลองทางวิทยาศาสตร์

– Reading for Meaning in Science การอ่านบทอ่านภาษาอังกฤษที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์

รูปแบบการสอบ มี 2 รูปแบบ

1. ข้อสอบหลายตัวเลือก (อัตนัย)

2. ข้อสอบถามตอบ (ปรนัย)

หมายเหตุ

– ในการสอบวิชา Science น้องๆ สามารถดู calculator reference sheet ได้ และ math formulo sheet ได้

– อนุญาติให้ใช้เครื่องคิดเลข TI-30XS ได้

GED Social Studies

ข้อสอบสังคม มี 30 ข้อ

เวลาสอบ 70 นาที

หัวข้อที่ออกสอบ

– การเมืองการปกครอง (Civic and government)

– ประวัติศาสตร์อเมริกา (U.S. History)

– เศรษฐศาสตร์ (Economics)

– ภูมิศาสตร์และประวัติศาสตร์โลก (Geography and the world)

เทคนิคเตรียมสอบ Social Studies

1. ทำสรุปเนื้อหาเเละเชื่อมโยงเนื้อหาแต่ละบทเข้าด้วยกัน

2. เน้นอ่าน Passage จากโจทย์ให้เข้าใจ คำตอบมักจะอยู่ในนั้น

3. ฝึกอ่านเยอะๆ เพื่อให้น้องคุ้นเคยกับคำศัพท์ และ Grammar แบบ Old English

GED RLA หรือ Reasoning Through Language Arts

ข้อสอบภาษาอังกฤษ มี 2 ส่วน คือ

Part 1 การอ่านและไวยากรณ์พื้นฐาน มีประมาณ 45 ข้อ

Part 2 การเขียนเรียงความภาษาอังกฤษ

เวลาในการสอบ 150 ข้อ

หัวข้อในการสอบ

– Reading for Meaning

– Identifying and Creating Arguments

– Grammar and Language

รูปแบบข้อสอบ มี 3 รูปแบบ

1. เขียนเรียงความ 1 ฉบับ (extended)

2. ข้อสอบหลายตัวเลือก (อัตนัย)

3. ข้อสอบถามตอบ (ปรนัย)

เทคนิคเตรียมสอบ RLA

– Reading ข้อสอบเยอะ น้องควรฝึกอ่าน ทบทวนคำศัพท์ และ ฝึกแปล

– Grammar ควรทบทวน Grammar Rules แบบ American English

– Extended Response ฝึกเขียนตาม Structure ห้ามใส่ Opinion ของตัวเองในข้อสอบ

GED Ready คืออะไร

GED Ready เป็นข้อสอบเสมือนจริง โดยจะมีจำนวน ข้อสอบและระยะเวลา ในการสอบ ครึ่งหนึ่งของข้อสอบจริง ซึ่งวัตถุประสงค์ของการสอบ Ready เพื่อดูความพร้อมของน้องว่าพร้อมไหมที่จะสอบจริง สำหรับรูปแบบในการสอบ จะมีหน้าจอ ปุ่ม ระบบจับเวลา เครื่องคิดเลข เหมือนสอบจริงทุกประการ

ความแตกต่างระหว่าง GED Ready กับ GED Test
GED ReadyGED Test
สามารถทำข้อสอบออนไลน์ได้ผู้สอบจะต้องทำการสอบที่ศูนย์สอบเท่านั้น
เป็นแค่ตัวชี้วัดว่า น้องๆมีความพร้อมในการสอบจริงหากน้องสอบผ่านทั้ง 4 วิชา จะได้รับ Diploma และ Transcript
เกณฑ์คะแนนผ่าน 155/200 คะแนนต่อวิชาเกณฑ์คะแนนผ่าน 145/200 คะแนนต่อวิชา
สอบได้ไม่จำกัดจำนวนครั้งสอบได้ 3 ครั้ง ติดต่อกัน ถ้าน้องสอบไม่ผ่านจะต้องรออีก 60 วัน จึงจะสามารถสอบใหม่ได้
ค่าสอบ $6.99/วิชาค่าสอบประมาณ $80/วิชา
เวลาสอบประมาณ 35-90 นาทีเวลาสอบประมาณ 70-180 นาที

ค่าสอบ GED

ค่าสอบ มี 3 ส่วน คือ

สอบเทียบ GED Ready ราคา 6.99 USD / วิชา (ประมาณ 240 บาท ต่อวิชา)

ค่าสอบ GED Test ราคา 80 USD / วิชา (ประมาณ 2,700 บาท ต่อวิชา)

ค่าใบ Diploma และ Transcript ราคา 15 USD / ใบ (ประมาณ 500 บาท ต่อใบ)

ข้อสอบ GED ยากไหม

ข้อสอบไม่ยาก เพราะข้อสอบจะถามแบบตรงๆ ไม่ได้มีคำถามลวง เหมือนข้อสอบ SAT หรือข้อสอบอินเตอร์อื่น และ ข้อสอบส่วนมากเป็นแบบเลือกตัว ยกเว้นวิชาเดียวที่ต้องเขียนคือ RLA จึงทำให้น้องส่วนมากรู้สึกว่า ข้อสอบเทียบ GED ง่ายกว่า IGCSE เพราะข้อสอบ IGCSE เป็นการเขียนตอบหมดทุกวิชา

การสอบ GED

การสอบ ไม่ได้จำกัดวุฒิการศึกษาขั้นต่ำ เพียงแต่ผู้สอบต้องมีอายุ 16 ปีขึ้นไป โดยเปิดให้สอบได้ตลอดปี

การสอบ มี 4 วิชา คะแนนเต็มวิชาละ 200 คะแนน เกณฑ์ผ่านอยู่ที่ 145 คะแนน สอบแล้วทราบผลสอบได้ทันที หากสอบไม่ผ่าน สามารถสอบซ้ำได้ถึง 3 ครั้ง แต่หากสอบไม่ผ่านครั้งที่ 4 จะต้องเว้นระยะไป 30 วัน

ข้อสอบ เน้นการคิดวิเคราะห์ และการนำมาประยุกต์ มากกว่าท่องจำหรือการแก้โจทย์

สมัครสอบ GED

1. ในการสมัคร สอบครั้งแรก จะต้องเข้าไป Registration ที่เว็บไซต์ของ ศูนย์สอบ โดยตรง GED Testing service

2. ให้เลือกเมนู “Sign up” เพื่อกรอกอีเมลและรหัสผ่านที่เราจะต้องใช้สำหรับการเข้าสู่ระบบทุกครั้ง

3. ระบบจะเข้าสู่ขั้นตอนของการกรอกข้อมูลทั่วไป เช่น เชื่อ-นามสกุล วัน เดือน ปี เกิด และอื่น ๆ (ข้อมูลชื่อ-นามสกุลและวัน เดือน ปี เกิดนั้นจะต้องตรงตามพาสปอร์ตทุกอย่าง ซึ่งขั้นตอนนี้เป็นส่วนที่สำคัญมาก ๆ )

4. สำหรับใครที่อายุต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์จะต้องดาวน์โหลดแบบฟอร์มแสดงความยินยอมของผู้ปกครองสำหรับการสอบ

5. ให้เลือกวันสอบ

6. ในการสมัครครั้งต่อไป น้องๆ สามารถเข้าหน้า Login โดยตรงได้ที่หน้า my ged

สอบ GED ไม่ผ่าน ต้องทำอย่างไร ?

สำหรับการสอบ ครั้งที่2 และ ครั้งที่ 3 ของแต่ละวิชาสามารถสมัครสอบใหม่ได้เลยแต่ ครั้งที่ 4 เป็นต้นไป น้องจะต้องเว้นระยะเวลาสอบ 60 วัน นับจากวันที่สอบล่าสุด

สอบ GED ผ่านแล้ว แต่อยากสอบใหม่ ทำอย่างไร?

สำหรับน้องที่สอบได้คะแนนเกิน 140 คะแนน ถือว่าผ่านแล้วในวิชานั้น แต่หากอยากจะเพิ่มคะแนน โดยต้องการสอบใหม่ จะไม่สามารถสมัครสอบได้ผ่านทางเว็บไซต์เหมือนการสอบปกติ แต่น้องจะต้องยื่นคำร้องสอบใหม่ ไปที่ Email : help@ged.com (ซึ่งจะใช้เวลาพิจารณา 14-21 วัน)

รายละเอียดสำหรับส่ง E-Mail เพื่อต้องการสอบใหม่ (กรณี สอบผ่านแล้ว แต่อยากจะเพิ่มคะแนน)

– First and Last name

– Date of Birth

– Subject to retest

– Passing Score

– วันที่ทำ GED Ready วิชานั้นครั้งล่าสุด

– Score ล่าสุดของ GED Ready

– เหตุผลที่อยากสอบใหม่

– สถาบันที่จะใช้ GED new score ยื่นเข้า และข้อมูลสำหรับติดต่อ

GED สอบที่ไหน ศูนย์สอบ และ สถานที่สอบ

สถานที่สอบ กรุงเทพ

– Pearson VUE ( pearson professional centers ) : BB Building 10th fl, 54 สถานที่สอบ ถนน อโศกมนตรี แขวง คลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร 10110 โทรศัพท์: 02 115 2015

– อาคาร อัลม่า ลิงค์ 25 สถานที่สอบ ซอย ชิดลม แขวง ลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330

ศูนย์สอบ ต่างจังหวัด

– Thabyay Education Foundation อ.แม่สอด จ. ตาก

– Movaci Technology 420/11-13, Changklan Rd, Muang, เชียงใหม่ 50100

– Phuket Academic Language School 66, 19 ถนน วิชิตสงคราม ตำบล กะทู้ อำเภอกะทู้ ภูเก็ต 83120 โทรศัพท์: 081 417 0978

– King Mongkut’s University of Technology Thonburi จ.กรุงเทพ

– Assumption University จ.สมุทรปราการ

– Thammasat Competency Test Center จ.ปทุมธานี

– Greater Good Education Co., Ltd. จ.ขอนแก่น

– Payap University จ.เชียงใหม่

แจก ข้อสอบ GED ฟรี

GED สอบได้กี่ครั้ง

หากสอบใน 3 ครั้งแรกไม่ผ่านจะต้องรออีก 60 ถึงจะสามารถสอบครั้งถัดไปได้ และหากวิชาที่สอบยังไม่ผ่านอีก จะต้องรออีก 60 วัน

GED สอบออนไลน์ ได้ไหม

สอบออนไลน์ ที่บ้าน ได้เฉพาะ GED Ready เท่านั้น ส่วนการสอบจริง จะต้องสอบที่ศูนย์สอบเท่านั้น

ตารางสอบ GED

มีรอบสอบทุก วันจันทร์-อาทิตย์ และ รู้ผลสอบทันทีหลังสอบ

ยกเว้นวิชา RLA รอผลประมาณ 1 สัปดาห์

ติวสอบ GED

คอร์สติวสอบ ของทาง CHULATUTOR มี 3 คอร์สคือ

1. คอร์สติวรับรองผล สอนสดที่สถาบัน

2. คอร์สออนไลน์ สมัครแล้วสามารถเริ่มเรียนได้เลยทันที

3. คอร์สติว ตัวต่อตัว โดยผู้เรียนสามารถเลือกวันและเวลาเรียนได้ สำหรับสถานที่เรียน จะเรียนที่สถาบัน มีห้องเรียนส่วนตัว บรรยากาศเงียบสงบ หรือกรณีที่จะเรียนติวตัวต่อตัวออนไลน์ ก็ได้เช่นกัน

private

ข้อดี ของการสอบ GED

– สามารถเข้ามหาวิทยาลัยได้ ตั้งแต่อายุ 16 ปี

– ประหยัดค่าเทอมได้ถึง 3 ปี

– มีวิชาที่ต้องสอบแค่ 4 วิชา

– สามารถสอบได้ทุกวันและรู้ผลสอบทันที หลังสอบเสร็จ

– สามารถใช้วุฒิ ยื่นเข้าศึกษาต่อที่ มหาวิทยาลัยในไทยและต่างประเทศได้

เทคนิคเตรียมตัวสอบ GED

1. น้องๆต้องตั้งเป้าหมายคะแนนที่อยากได้ โดยศึกษาคณะที่อยากเข้าว่ามีเกณฑ์คะแนนขั้นต่ำไหม

2. ศึกษารูปแบบข้อสอบให้ชัดเจน ว่าข้อสอบเป็นแบบไหน ข้อสอบชอบออกหัวข้อไหน เป็นพิเศษ

3. ทำข้อสอบเก่า ทั้ง 4 วิชา พยายามฝึกทำข้อสอบเก่า ,จำศัพท์ , อ่านประวัติศาสตร์อเมริกา และ ฝึกเขียน Essay

4. สอบ General Educational Development Ready เพื่อทดสอบความพร้อมก่อนไปสอบจริง

5. สอบข้อสอบจริง

เปรียบเทียบ GED VS IGCSE / A-Level

หลักสูตรGeneral Educational Development IGCSE / A-Level
ระดับของวุฒิม.6ม.6
หน่วยงานที่จัดสอบGeneral Educational Development Test SeriveCambridge Assessment International Education
รายวิชาในหลักสูตร

– Mathematical Reasoning

– Science

– Social Studies

– RLA หรือ Reasoning Through Language Arts

มีวิชาให้เลือกมากกว่า 70 วิชา
เกณฑ์ในการสอบผ่านแต่ละวิชาได้คะแนนไม่ต่ำกว่า 145 คะแนน

– IGCSE อย่างน้อย 5 วิชา

– A-Level อย่างน้อย 3 วิชา

รอบสอบมีสอบทุกวันเปิดสอบปีละ 2 ครั้ง
ระยะเวลารอผลสอบรู้ผลสอบทันทีหลังสอบเสร็จรอผลสอบประมาณ 2 – 3 เดือน
ค่าสอบ$756,000 – 9,000 บาท/วิชา

สอบเทียบ GED เข้าคณะอะไรได้บ้าง? เข้ามหาลัยไหนได้บ้าง ?

คณะวิศวกรรมศาสตร์

คณะอักษรศาสตร์

คณะนิติศาสตร์

คณะครุศาสตร์

คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี

คณะเศรษฐศาสตร์

คณะวิศวกรรมศาสตร์เฉพาะสาขาเทคโนโลยียานยนต์ : V-TECH และซอฟต์แวร์ : SOFT-EN

คณะศิลปศาสตร์ยกเว้นสาขาเยอรมัน รัสเซีย และภาษาไทย

คณะศิลปกรรมศาสตร์

คณะวิทยาลัยนวัตกรรม

วิทยาลัยสหวิทยาการ

วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ป๋วยอึ้งภากรณ์

คณะสหเวชศาสตร์ สาขาการจัดการกีฬาและการฝึกสอนกีฬา

คณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์สาขาวิทยาการเรียนรู้

คณะนิติศาสตร์

คณะวิทยาศาสตร์

คณะมนุษยศาสตร์

คณะศึกษาศาสตร์

คณะพลศึกษา

คณะเศรษฐศาสตร์

คณะสังคมศาสตร์ วิทยาลัยนวัตกรรมสื่อสารสังคม

วิทยาลัยนานาชาติเพื่อศึกษาความยั่งยืน

คณะบริหารธุรกิจเพื่อสังคม

คณะศิลปกรรมศาสตร์

คณะวัฒนธรรมสิ่งแวดล้อมและการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

คณะวิศวกรรมศาสตร์

คณะพยาบาลศาสตร์

คณะเกษตร

คณะประมง

คณะวนศาสตร์

คณะวิทยาศาสตร์

คณะวิศวกรรมศาสตร์

คณะศึกษาศาสตร์

คณะเศรษฐศาสตร์

คณะสังคมศาสตร์

คณะสัตวแพทยศาสตร์

คณะอุตสาหกรรมเกษตร

คณะเทคนิคการสัตวแพทย์

คณะมนุษยศาสตร์

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์

คณะสิ่งแวดล้อม

วิทยาลัยการชลประทาน

วิทยาลัยบูรณาการศาสตร์

คณะบริหารธุรกิจ

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์

คณะศิลปศาสตร์

คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี

วิทยาลัยอุตสาหกรรมการบินนานาชาติ

คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์

คณะวิศวกรรมศาสตร์

คณะศิลปศาสตร์

คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

คณะวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา

เปรียบเทียบ เรียน GED กับ เรียนในโรงเรียน แบบไหนดีกว่ากัน ?

Scroll to Top