ปริญญาโท มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

ปริญญาโท มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

ทำไมถึงควรเรียนต่อ ปริญญาโท มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (บางมด – KMUTT)

  1. เป็นมหาวิทยาลัยของไทยที่ติดอันดับโลก โดยเป็นอันดับ 1 ของประเทศไทยด้านวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี 3 ปีซ้อน ในปี 2561 -2563 โดยการจัดอันดับมหาวิทยาลัยระดับโลกจาก Times Higher Education
  2. ถูกจัดอันดับให้เป็นมหาวิทยาลัยทางเทคโนโลยีอันดับที่ 1 ของประเทศไทย 2 ปีซ้อน ในปี พ.ศ. 2562 และ พ.ศ. 2563 โดยการจัดอันดับของ U.S. News & World Report
  3. เป็นมหาวิทยาลัยที่ประสบความสำเร็จในการเปลี่ยนสถานะจาก สถาบันอุดมศึกษาของรัฐ แห่งแรกของประเทศไทย
  4. มีความโดดเด่นทางด้าน SUSTAINABLE DEVELOPMENT GOALS (SDGS) ซึ่งเป็นการจัดอันดับมหาวิทยาลัยระดับโลกที่สร้างผลกระทบเชิงบวกต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม มีมหาวิทยาลัยทั่วโลกเข้าร่วม 788 แห่งจาก 85 ประเทศ และบางมดได้รับการจัดอันดับเป็นอันดับที่ 101-200 ของโลก และเป็นอันดับหนึ่งของประเทศร่วมกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  5. มีการเรียนการสอนที่โดดเด่นและนำเสนอหลากหลายหลักสูตร โดยทางมหาวิทยาลัยเองยังได้มีการร่วมพัฒนาหลักสูตรกับมหาวิทยาลัยดังๆ ระดับโลกอย่าง MIT อีกด้วย
  6. ติดอันดับมหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศไทย ได้รับเลือกจากรัฐบาลให้เป็น 1 ใน 9 มหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ (National Research University)
  7. ได้รับการสนับสนุนจากทางภาครัฐและเอกชน ทั้งทางด้านการวิจัย รวมไปถึงการเรียนรู้นอกตำรา โดยมีองค์กรใหญ่ๆ คอยสนับสนุน เช่น บริษัทปตท.

 


แนะนำคณะ ปริญญาโท พระจอมเกล้าธนบุรี ยอดนิยม

ที่บางมดมีทั้ง ปริญญาโท พระจอมเกล้าธนบุรี ในสายวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ รวมไปถึงการบริหารจัดการอย่าง KMUTT MBA มีหลากหลายสาขาให้เลือกเรียนกัน แถมมีหลักสูตรอินเตอร์อย่างหลักสูตรนานาชาติอีก ดังนั้นการเรียนต่อ ป.โท ที่บางมดนั้นถือว่าตอบโจทย์ได้ดีอย่างมาก

 

ปริญญาโท มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี คณะวิศวกรรมศาสตร์ :

สาขาวิชาวิศวกรรมเคมี, สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล, สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา, สาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม, สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้าและสารสนเทศ (หลักสูตรนานาชาติ), สาขาวิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมโยธา, สาขาวิชาวิศวกรรมยานยนต์ (หลักสูตรนานาชาติ), สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า, สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ (หลักสูตรนานาชาติ)

 

ปริญญาโท พระจอมเกล้าธนบุรี คณะวิทยาศาสตร์ :

สาขาวิชาคณิตศาสตร์ประยุกต์, สาขาวิชาเคมี, สาขาวิชาเคมีอุตสาหกรรม, สาขาวิชาฟิสิกส์, สาขาวิชาวิทยาศาสตร์นาโนและเทคโนโลยีนาโน (หลักสูตรนานาชาติ)

 

ปริญญาโท มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี :

สาขาวิชาคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ, สาขาวิชาเทคโนโลยีการเรียนรู้และสื่อสารมวลชน, สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า, สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ, สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล, สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา

 

ปริญญาโท พระจอมเกล้าธนบุรี คณะทรัพยากรชีวภาพและเทคโนโลยี :

สาขาวิชาเทคโนโลยีการจัดการพลังงาน, สาขาวิชาเทคโนโลยีวัสดุ, สาขาวิชาเทคโนโลยีอุณหภาพ, สาขาวิชาเทคโนโลยีพลังงาน, สาขาวิชาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม, สาขาวิชาการออกแบบและผลิตแบบบูรณาการ

 

ปริญญาโท มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี บัณฑิตวิทยาลัยการจัดการและนวัตกรรม :

สาขาวิชาการจัดการ, สาขาวิชาการจัดการสำหรับการเป็นผู้ประกอบการเชิงนวัตกรรม, สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน

 


ทำไมถึงควรเรียน KMUTT MBA ( บางมด )

ต้องบอกเลยว่าถ้าใครคิดว่าที่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (บางมด) จะเด่นแค่เรื่องวิศวกรรมศาตร์ คิดผิดถนัด เพราะที่นี่เค้ามีหลักสูตรบัณฑิตวิทยาลัยการจัดการและนวัตกรรม ซึ่งคอยดูแลหลักสูตร KMUTT MBA การบริหารจัดการเป็นหลัก ซึ่งเปิดมานานหลายสิบปีแล้ว โดยเริ่มเปิดดำเนินการครั้งแรกในปี 2545 ดังนั้นเนื้อหาความเข้มข้นของหลักสูตรนั้นยอดเยี่ยมอย่างแน่นอน

โดยหลักสูตร KMUTT MBA ของบางมดนั้นมีสาขาวิชาให้เลือกเรียนกันถึง 8 สาขา เน้นการจัดการเฉพาะทาง และผลิตมหาบัณฑิตออกไปรับใช้สังคมแล้วกว่า 1,500 คน ซึ่งแต่ละสาขาวิชาที่เปิดนั้นผ่านการคัดสรรไว้แล้วเป็นอย่างดีว่าเหมาะกับเทรนด์ธุรกิจในปัจจุบัน

เนื่องจากที่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ( บางมด ) นั้นเป็นมหาวิทยาลัยที่มุ่งเน้นการเรียนการสอนและการวิจัยในสาขาวิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาเป็นเวลากว่า 50 ปี พอมีการเปิดคณะบริหาร ทางมหาวิทยาลัยจึงต้องการสร้างหลักสูตรที่มีประสิทธิภาพเพื่อพัฒนาบุคลากรให้ได้มากที่สุด โดยรวมแล้ว KMUTT MBA ของที่นี่จะให้ความสำคัญและประโยชน์ของศาสตร์ทางด้านการจัดการ ที่มีต่อความสำเร็จขององค์กรให้สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจที่ใช้เทคโนโลยีและความรู้เข้มข้น (Technology and Knowledge Based Economy) เพื่อให้เกิดความสอดคล้องระหว่างวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี งานวิศวกรรม และศาสตร์ทางด้าน การบริหารจัดการอย่างจริงจัง

โดย KMUTT MBA ของที่นี่ต้องการการผลิตบัณฑิตที่มีทักษะการบริหารเฉพาะทางที่มีความรู้และความสามารถ และต้องการปลูกฝังองค์ความรู้ รวมไปถึงแนวคิดเชิงการทำงานร่วมกับผู้อื่น (Collaboration) นวัตกรรม (Innovation) ความเป็นผู้นำ (Leadership) และความเป็นผู้ประกอบการสมัยใหม่ (Entrepreneurship)

 

จุดเด่นของ KMUTT MBA ( บางมด )

✔︎ เนื่องจากบางมดได้รับการยกย่องว่าเป็นมหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ (National Research University) ทำให้หลักสูตร KMUTT MBA ของที่นี่มีความพร้อมทั้งทางด้านข้อมูลจากฐานวิจัยที่ใหญ่ระดับชาติ รวมถึงยังมีทุนวิจัยต่างๆ จากทั้งภาครัฐและเอกชนคอยสนับสนุนอีกด้วย

✔︎ ได้รับการยกย่องว่าเป็นมหาวิทยาลัยทางเทคโนโลยีอันดับที่ 1 ของประเทศไทย และเป็นอันดับ 1 ของประเทศไทยด้านวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี ทำให้มั่นใจได้ว่าหลักสูตร KMUTT MBA นั้นได้สร้างสรรค์ให้สอดคล้องกับเทคโนโลยีและเทรนด์โลกในปัจจุบัน

✔︎ หลักสูตร KMUTT MBA มีศูนย์ความรู้อย่าง “GMI Executive Education Center”เพื่อเชื่อมโยงกับภาคธุรกิจ เกิดการรวบรวม บูรณาการ และถ่ายทอดแนวความคิดใหม่ๆ ในด้านการจัดการ ส่งเสริมพันธกิจ (Craft professional leaders) ด้วยการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาธุรกิจให้มีการเติบโตอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน

✔︎ หลักสูตรเน้นการเรียนการสอนในด้านการสร้างนวัตกรรม (Innovation) ผ่านการทำการวิจัยและพัฒนาร่วมกัน (Co-R&D) การผลิตร่วมกัน (Co-Manufacturing) รวมถึงการจดทะเบียนตราสินค้าร่วมกัน (Co-Branding) นอกจากกระบวนการที่กล่าวมาแล้ว ยังเน้นแนวทางในการเฟ้นหาพันธมิตรทางธุรกิจอีกด้วย

✔︎ เน้นการฝึกฝนและสร้างผู้นำที่มีวิสัยทัศน์ (Visionary Leader) ที่สามารถสร้างนวัตกรรมองค์กร (Organizational innovation) และนำไปปฏิบัติองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ (Organizational revolutionist)

✔︎ มีพันธมิตรใหญ่ระดับโลกอย่าง PTT และ AABPS ที่พร้อมจะส่งเสริมความรู้และขับเคลื่อนนวัตกรรมใหม่ๆ ผ่านการถ่ายทอดให้นักศึกษา MBA

 

KMUTT MBA บางมด เปิดรับสมัครอะไรบ้าง? และเปิดรับสมัครเมื่อไร ?

ในส่วนของ บัณฑิตวิทยาลัยการจัดการและนวัตกรรม มีการสร้างหลักสูตร KMUTT MBA ที่น่าสนใจและทันสมัยอยู่หลายสาขาดังนี้

1. หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (MSc)

  • การจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน (Logistics and Supply Chain Management: LGM)

2.หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (MBA)

  • สาขาการจัดการสำหรับการเป็นผู้ประกอบการเชิงนวัตกรรม (Innovative Entrepreneurship Management: EPM)

3. หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ (MBA)

  • การจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (Technology and Innovation Management: TIM)
  • การจัดการธุรกิจดิจิทัล (Digital Business Management: DBM)
  • การบริหารโครงการ (Project Management: PJM)
  • การบริหารจัดการองค์กร (Organization Management: OGM)
  • การจัดการอสังหาริมทรัพย์ (Real Estate Management: REM)

 

MBA KMUTT เปิดรับสมัคร : เปิดรับสมัครช่วงพฤษภาคม – กรกฎาคม

 

รูปแบบหลักสูตร MBA KMUTT: จะแบ่งเป็นแผน ก และ ข โดยแผน ก เป็นแบบทำวิทยานิพนธ์ 12 หน่วยกิต ส่วนแผน ข จะมีแบบ การค้นคว้าอิสระ 6 หน่วยกิต หรือแบบการค้นคว้าอิสระ 3 หน่วยกิต

 

ค่าเล่าเรียน MBA KMUTT: แต่ละหลักสูตรจะมีค่าเล่าเรียนที่ต่างกัน โดยค่าหน่วยกิตเริ่มต้นที่ราวๆ 3,000 บาท/หน่วยกิต

 

ระยะเวลาเรียน MBA KMUTT: 2 ปี

 

การพิจารณา MBA KMUTT: มีการสอบสัมภาษณ์ และใช้คะแนนสอบภาษาอังกฤษ TOEFL ไม่ต่ำกว่า 500 (Paper-Based) หรือ 173 (Computer Based) หรือ 61 (Internet-Based), IELTS ไม่ต่ำกว่าระดับ 5, TETET ผลการทดสอบของ มจธ.รวมแล้ว ไม่ต่ำกว่าระดับ 4(ผลคะแนนการทดสอบต้องมีอายุไม่เกิน 2 ปี นับถึงวันสมัคร) ถ้าไม่มีผลการทดสอบภาษาอังกฤษ ต้องทำการทดสอบกับมหาวิทยาลัย

 


ทำไมถึงควรเรียน ปริญญาโท มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี คณะวิศวกรรมศาสตร์ ที่บางมด

ถ้าพูดถึง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี จะไม่พูดถึงคณะวิศวกรรมศาสตร์ได้อย่างไรกัน เพราะต้องบอกเลยว่าวิศวะของที่นี่โด่งดังและมีหลักสูตรที่เข้มข้นมากที่สุดเป็นอันดับต้นๆ ของประเทศไทยเลยทีเดียว โดยหลักสูตรนี้เปิดสอนมาตั้งแต่ปี 2503 แล้ว จากนั้นก็มีการพัฒนาปรับปรุงหลักสูตรกันเรื่อยมา หลักสูตรวิศวกรรมศาสตร์บางมดนั้นติดท็อป 3 ที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศ

ที่สำคัญมหาวิทยาลัยยังได้มุ่งเน้นความเข้มข้นทางด้านการสร้างนวัตกรรมและงานวิจัยให้อยู่ในระดับชาติ และได้สร้างความแข็งแกร่งทางด้านวิชาการสอน โดยทำการร่วมมือด้านวิชาการและการวิจัยอย่างจริงจังกับมหาวิทยาลัยระดับโลกอย่าง MIT และอีกหลายประเทศทั่วโลก เช่น หลักสูตรสำหรับบัณฑิตศึกษา สาขา Chemical Engineering Practice School (ChEPS) และสาขาวิชาวิศวกรรมระบบการผลิต (Leaders in Manufacturing competitiveness (LMC) กับ Massachusetts Institute of Technology (MIT) ประเทศสหรัฐอเมริกา สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์กับมหาวิทยาลัย Regina และมหาวิทยาลัย Waterloo ประเทศแคนาดา

งานวิจัยของที่นี่ไม่เป็นรองใคร ที่สำคัญหากคุณเข้าศึกษาต่อ ป.โท มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มีเครื่องไม้เครื่องมือในการทำงานวิจัยมีรอไว้อย่างเพียบพร้อม โดยในปัจจุบันคณะวิศวะได้สนับสนุนงานวิจัย ทั้งในประเทศและระดับนานาชาติ อาทิ ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องมือและวัสดุ ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล และภาควิชาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม มีโครงการวิจัยร่วมกันกับ Nippon Institute of Technology (NIT) , Tokyo Institute of Technology (Tokyo Tech) , Tokai University , Kanazawa University และ University of Tsukuba จากประเทศญี่ปุ่น

นอกจากนี้ที่บางมดยังมีโครงการแลกเปลี่ยนนักศึกษาที่สำคัญๆ เช่น โครงการความร่วมมือจากอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง โดยเปิดหลักสูตรสากล วิศวกรรมศาตร์บัณฑิตร่วมกับมหาวิทยาลัยในต่างประเทศอย่าง University of Queensland ประเทศออสเตรเลีย ส่วนใครที่ฝันจะต่อยอดการทำงานด้วยการร่วมงานกับองค์กรระดับโลก หลักสูตร ป.โท ของบางมดก็ยังมีหลักสูตรภาคอินเตอร์ที่สอนเป็นภาษาอังกฤษให้คุณเลือกเรียนอีกด้วยเช่นกัน

 

จุดเด่นของ ปริญญาโท มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี คณะวิศวกรรมศาสตร์

✔︎ คณะวิศวกรรมศาตร์ของบางมดเก่าแก่เป็นอันดับ 3 ของประเทศ และมีการปรับปรุงหลักสูตรเรื่อยมา ทำให้เนื้อหาการเรียนป.โท เข้มข้นตลอดหลักสูตร นอกจากนี้ยังมีบุคลากรและคณะอาจารย์ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านวิศวกรรมมาให้ความรู้แก่นักศึกษาโดยเฉพาะ

✔︎ ได้รับการยกย่องว่าเป็นมหาวิทยาลัยทางเทคโนโลยีอันดับที่ 1 ของประเทศไทย และเป็นอันดับ 1 ของประเทศไทยด้านวิศวกรรมศาสตร์ ทำให้มั่นใจได้ว่าหลักสูตร วิศวกรรมศาสตร์ นั้นได้สร้างสรรค์ให้สอดคล้องกับเทคโนโลยีและเทรนด์โลกในปัจจุบันอย่างแน่นอน

✔︎ ได้รับการยกย่องว่าเป็นมหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ (National Research University) ทำให้หลักสูตรของที่นี่มีความพร้อม รวมถึงมีแหล่งข้อมูลให้นักศึกษาได้ค้นคว้าเพราะมีฐานวิจัยที่ใหญ่ระดับชาติ รวมถึงยังมีทุนวิจัยต่างๆ จากทั้งภาครัฐและเอกชนคอยสนับสนุนอีกด้วย

✔︎ มีการร่วมมือด้านวิชาการและการวิจัยอย่างจริงจังกับมหาวิทยาลัยระดับโลกอย่าง MIT ซึ่งถือเป็นมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีระดับท็อปของโลก ดังนั้นมั่นใจได้ว่าหลักสูตรอัดแน่นไปด้วยคุณภาพ แถมยังยกระดับองค์ความรู้ใหม่ๆ ให้แก่นักศึกษาได้อย่างดีเยี่ยม

✔︎ หลักสูตร ปริญญาโท มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มีความหลากหลาย ซึ่งในคณะวิศวกรรมศาตร์ของบางมดเอง ก็มีสาขาให้เลือกเรียนถึง 18 สาขา อีกทั้งยังมีหลักสูตรอินเตอร์ที่สามารถช่วยให้นักศึกษามีโอกาสสร้าง Career Path จากการพัฒนาภาษาอังกฤษได้อีกด้วย

✔︎ ได้รับมาตรฐานการประกันคุณภาพการศึกษาตามที่สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษากำหนด โดยมีองค์ประกอบและดัชนีชี้วัดที่ชัดเจนทั้งเกณฑ์ของสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา (ทบวงมหาวิทยาลัย) และของสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา มั่นใจได้ว่าหลักสูตรและองค์ความรู้ที่ได้รับนั้นดีเยี่ยมอย่างแน่นอน

 

ปริญญาโท มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี คณะวิศวกรรมศาสตร์ บางมด และเปิดรับสมัครเมื่อไร ?

ปริญญาโท วิศวกรรมศาสตร์ มีให้เลือกถึง 18 สาขาวิชา นอกจากนี้ยังมีหลักสูตรภาษาอังกฤษให้เลือกอีกด้วย

สาขาวิชาวิศวกรรมเคมี
สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล
สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา
สาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้าและสารสนเทศ (หลักสูตรนานาชาติ)
สาขาวิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมโยธา
สาขาวิชาวิศวกรรมการเชื่อม
สาขาวิชาวิศวกรรมโลหการ
สาขาวิชาวิศวกรรมชีวภาพ
สาขาวิชาวิศวกรรมยานยนต์ (หลักสูตรนานาชาติ)
สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า
สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการและระบบการผลิต
สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ (หลักสูตรนานาชาติ)
สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้าและสารสนเทศ
สาขาวิชาวาริชวิศวกรรม
สาขาวิชาวิศวกรรมและการบริหารการก่อสร้าง
สาขาวิชาวิศวกรรมอาหาร
สาขาวิชาเทคโนโลยีการขึ้นรูปวัสดุและนวัตกรรมการผลิต

เปิดรับสมัคร ป.โท บางมด วิศวะ : เปิดรับสมัครช่วง กรกฎาคม – พฤศจิกายน

รูปแบบหลักสูตร ป.โท บางมด วิศวะ : จะแบ่งเป็นแผน ก และ ข ซึ่งแบ่งย่อยเป็นรูปแบบต่างๆ ตามแต่ละสาขา

ค่าเล่าเรียน ป.โท บางมด วิศวะ : แต่ละหลักสูตรจะมีค่าเล่าเรียนที่ต่างกัน โดยค่าหน่วยกิตเริ่มต้นที่ราวๆ 1,000 บาท/หน่วยกิต

ระยะเวลาเรียน ป.โท บางมด วิศวะ : 2 ปี

การพิจารณา ป.โท บางมด วิศวะ : มีการสอบสัมภาษณ์ และต้องมีคะแนนภาษาอังกฤษเช่น TOELF ยื่นไปด้วย หากไม่มีจะต้องสอบภาษาตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด ส่วนหลักสูตรอินเตอร์จะมีการใช้คะแนนสอบภาษาอังกฤษ TOEFL ไม่ต่ำกว่า 500 คะแนน ทั้งนี้แต่ละสาขามีกฎเกณฑ์ในการพิจารณาที่ต่างกันไป

Related Posts