Parts of Speech คืออะไร มีอะไรบ้าง ตัวอย่างประโยค และตัวย่อ

Parts of Speech

Parts of Speech คืออะไร

Parts of Speech คือ ชนิดของคำในภาษาอังกฤษ มีทั้งหมด 8 ชนิด ซึ่งหากสามารถทำความเข้าใจกับประเภทของคำทั้งหมดนี้ได้ ก็จะช่วยให้เข้าใจประโยคในภาษาอังกฤษได้ดีมากยิ่งขึ้น โดยคำในแต่ละชนิดจะมีหน้าที่ที่แตกต่างกันไป

Part of Speech มีอะไรบ้าง

1. คำนาม (Noun)

2. คำสรรพนาม (Pronoun)

3. คำกริยา (Verb)

4. คำคุณศัพท์ (Adjective)

5. คำกริยาวิเศษณ์ (Adverb)

6. คำบุพบท (Preposition)

7. คำเชื่อม (Conjunction)

8. คำอุทาน (Interjection)

1. คำนาม (Noun) คืออะไร

คือ คำที่ใช้เรียกแทนชื่อคน (Person), สัตว์ (Animal), สิ่งของ (Thing), สถานที่ (Place), ความคิด (Idea) ซึ่ง

คำที่ใช้เรียกแทนชื่อคน เช่น Mark, Teacher, Boy, Girl

คำที่ใช้เรียกแทนชื่อสัตว์ เช่น Dog, Cat, Lion, Elephant

คำที่ใช้เรียกแทนชื่อสิ่งของ เช่น Pen, Car, Book, Shirt, Music

คำที่ใช้เรียกแทนชื่อสถานที่ เช่น Hospital, School, Office, Restaurant

คำที่ใช้เรียกแทนชื่อความคิด เช่น Love, Democracy, Strength, Encourage

ตัวอย่างประโยค Part of Speech ประเภท คำนาม

โดยคำนามทำหน้าที่เป็นได้ทั้งประธาน กรรม และส่วนเติมเต็มในประโยค เช่น

Mark is very strong. (มาร์กแข็งแรงมาก)

I ate pork last night. (ฉันกินเนื้อหมูเมื่อคืนนี้)

We live in Bangkok. (พวกเราอาศัยอยู่ในกรุงเทพ)

2. คำสรรพนาม (Pronoun) คืออะไร

คือ คำที่ใช้แทนคำนาม เพื่อช่วยให้เราไม่ต้องพูดนามนั้นซ้ำ ๆ ซึ่งทำหน้าที่เป็นได้ทั้งประธานและกรรม เช่น I, You, He, She, It, They, We, His, Her, Some

ตัวอย่างประโยค Part of Speech ประเภท คำสรรพนาม (Pronoun)

Noon is very strong. He can lift the heavy box. (นุ่นแข็งแรงมาก เขาสามารถยกกล่องหนัก ๆ ได้)

The professor advised me to go to the library. (ศาตราจารย์แนะนำให้ฉันไปห้องสมุด)

 

3. คำกริยา (Verb) คืออะไร

คือ คำที่แสดงอาการหรือการกระทำในประโยค เช่น Play, Sing, Be, Have, Do, Can, Must

ตัวอย่างประโยค Part of Speech ประเภท คำกริยา (Verb)

I have a lot of work. It makes me tired. (ฉันมีงานมากมายเลย มันทำให้ฉันเหนื่อย)

My father is a teacher. (พ่อของฉันเป็นครู)

4. คำคุณศัพท์ (Adjective) คืออะไร

คือ คำที่ทำหน้าที่ขยายคำนาม โดยตำแหน่งจะอยู่หน้าคำนามเสมอ หรือตามหลัง Verb to be และ Linking Verb เช่น Big, Small, Fast, Green, Red

ตัวอย่างประโยค Part of Speech ประเภท คำคุณศัพท์ (Adjective)

I like big dogs. (ฉันชอบหมาตัวใหญ่)

Jack’s girlfriend is so beautiful. (แฟนของแจ็คสวยมาก ๆ)

The children seem tired. (เด็ก ๆ ดูเหมือนเหนื่อย)

5. คำกริยาวิเศษณ์ (Adverb) คืออะไร

คือ คำที่มีหน้าที่ขยายกริยา ขยายคุณศัพท์ และขยายกริยาวิเศษณ์ด้วยกันเอง เช่น Very, Badly, Quickly, Well

ตัวอย่างประโยค Part of Speech ประเภท คำกริยาวิเศษณ์ (Adverb)

Nui speaks English very well. (นุ้ยพูดภาษาอังกฤษเก่งมาก)

He looked at me suspiciously. (เขาจ้องมองฉันอย่างหวาดระแวง)

6. คำบุพบท (Preposition) คืออะไร

คือ คำที่ใช้บอกตำแหน่ง วันเวลา ทิศทาง สถานที่ หรือบอกความสัมพันธ์ระหว่างนามหรือสรรพนามกับคำอื่น ๆ เช่น To, At, With, In, After, On

ตัวอย่างประโยค Part of Speech ประเภท ประเภท คำบุพบท (Preposition)

I will arrive at Suvarnabhumi Airport at 5 am. (ฉันจะมาถึงสนามบินสุวรรณภูมิตอนตีห้า)

He complains about not feeling appreciated at work. (เขาบ่นเกี่ยวกับความรู้สึกไม่พอใจที่ทำงาน)

Mark argued with the taxi driver about the fare. (มาร์กเถียงกับคนขับแท็กซี่เกี่ยวกับค่าโดยสาร)

7. คำเชื่อม (Conjunction) คืออะไร

คือ คำที่ใช้เชื่อมคำกับคำ กลุ่มคำกับกลุ่มคำ หรือประโยคกับประโยค เช่น And, But, When, Or, So

ตัวอย่างประโยค Part of Speech ประเภท คำเชื่อม (Conjunction)

I speak English and Chinese. (ฉันพูดภาษาอังกฤษและจีน)

Nina will come here, but Tuk will not. (นีน่าจะมาที่นี่ แต่ตุ๊กจะไม่มา)

Would you like tea or coffee? (คุณต้องการชาหรือกาแฟ)

8. คำอุทาน (Interjection) คืออะไร

คือ คำที่ใช้บ่งบอกอารมณ์ ความรู้สึกที่เกิดขึ้นในตอนนั้น โดยมักจะเป็นภาษาพูด เช่น Oh!, Ouch! Well!

ตัวอย่างประโยค Part of Speech ประเภท คำอุทาน (Interjection)

Ahh. This bed is so comfortable. (อ้า เตียงนี้นอนสบายชะมัด)

Oops! I forgot to attach the file. (โอ๊ะ! ฉันลืมแนบไฟล์อะ)

นอกจาก Interjection จะมีเป็นคำแล้ว Interjection ยังสามารถอยู่ในรูปแบบของประโยคหรือวลีได้ด้วย

ตัวย่อ Part of Speech

Noun = นาม คำย่อ n.

Pronoun = สรรพนาม คำย่อ pro.

Verb = กริยา คำย่อ v.

Adverb = วิเศษณ์ (กริยาวิเศษณ์) คำย่อ adv.

Adjective = คุณศัพท์ คำย่อ adj.

Preposition = บุรพบท คำย่อ pre.

Conjunction = สันธาน คำย่อ con.

Interjection = อุทาน คำย่อ in.

Related Posts