BMAT คืออะไร สมัครสอบ ทดลองทำข้อสอบ BMAT Free ติวตัวต่อตัว
การสอบ BMAT Test คือ สอบอะไร ? ค่าสอบ? สอบเมื่อไร? ทุกเรื่องที่น้องๆ กำลังจะสอบต้องรู้ ห้ามพลาด โดยเฉพาะคะแนนที่ควรได้ สำหรับการสอบติด หมอ อินเตอร์ เพราะในนี้ได้รวบรวมคะแนนเฉลี่ย คณะแพทย์ หลักสูตรนานาชาติ ยอดฮิต ว่า ควรได้คะแนน BMAT เท่าไร พร้อมทั้งอัพเดท ตารางสอบ มาไว้ที่นี้
BioMedical Admissions Test or BMAT is an English test used by universities around the world for those applicants who want to study in medical, dental, veterinary and science medical degree programs. The test is operated by Cambridge Assessment Admissions Testing. BMAT score is necessary for Thai and international program application in TCAS system (Portfolio) without taking TPAT (Students in Thai Medical program can use either BMAT or TPAT score).
BMAT Section 1- Thinking skills The test consists of problem solving (Aptitude) questions 16 questions and critical thinking (Critical analysis) 16 questions. The total questions are 32 questions in 60 minutes.
BMAT Section 2 – Physics Chemistry Biology and Math There are 27 questions in 30 minutes.
BMAT section 3 – Writing task – Description. You have to answer 1 questions from 3 given questions. This test will test your ability on systematic thinking and effective communication.
BMAT คืออะไร ?
BioMedical Admissions Test หรือ BMAT คือ ข้อสอบเฉพาะทางสำหรับผู้ที่ต้องการศึกษาต่อในสาขา แพทย์ ทันตแพทย์ สัตวแพทย์ วิทยาศาสตร์การแพทย์ จัดสอบโดย Cambridge Assessment Admissions Testing ทั้งนี้ คะแนน บีแมท จำเป็นสำหรับใช้ยื่นเข้ามหาลัยหลักสูตรอินเตอร์ และหลักสูตรไทย ในระบบ TCAS รอบ Portfolio โดยไม่ต้องสอบของ กสพท (แพทย์ หลักสูตรไทย สามารถใช้คะแนน BMAT หรือ กสพท ก็ได้)
การสอบ BMAT มีข้อดี อย่างไร?
การสอบ BMAT มีข้อดี ตรงที่ข้อสอบในหมวดวิชาวิทยาศาสตร์ คณิต เคมี ฟิสิกส์ ชีววิทยา จะง่ายกว่าและจำนวนข้อที่ต้องสอบก็น้อยกว่า ข้อสอบคัดเลือกเข้าแพทย์ จึงทำข้อสอบ BMAT เป็นที่นิยมในหมู่น้องๆ ที่สนใจเข้าแพทย์หลักสูตรอินเตอร์ หรือแม้กระทั่งแพทย์หลักสูตรไทย
BMAT สอบอะไรบ้าง ?
สอบ BMAT คือ ข้อสอบจะมี 3 ส่วน ประกอบด้วย
ส่วนที่ 1 Thinking Skills มีคะแนนเต็ม 9.0 มีทั้งหมด 32 ข้อ ให้เวลาสอบ 60 นาที
ส่วนที่ 2 จะเป็นวิชา คณิต ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา
ส่วนที่ 3 Writing Task มี 1 ข้อ เวลาสอบ 30 นาที
สำหรับเวลา การสอบ BMAT ใช้เวลา 2 ชั่วโมง
BMAT Part 1 Thinking skills ( ความถนัด และทักษะ 60 นาที)
พาร์ทนี้ข้อสอบจะเป็นแนว problem solving (หรือที่เรียกกันว่า Aptitude) จำนวน 16 ข้อ และ ข้อสอบแนว critical thinking (หรือที่เรียกกันว่า Critical analysis) จำนวน 16 ข้อ รวมทั้งหมด ข้อสอบพาร์ท Thinking skills มี 32 ข้อ ให้เวลาในการสอบ 60 นาที
BMAT Part 2 Scientific Knowledge and Applications ( ความรู้และการประยุกต์ด้านวิทยาศาสตร์ 30 นาที )
พาร์ทนี้ข้อสอบจะเป็นส่วนเนื้อหาของวิชา Physics Chemistry Biology และ Math ข้อสอบปรนัย 27 ข้อ ให้เวลาในการสอบ 30 นาที
สอบ BMAT Chemistry
Question : ออกเรื่อง
Atomic Structure | The Periodic Table | Metals | Chemical reactions |
functional groups | Chemical bonding | structure and properties | Oxidation |
Energetics | Separation techniques | Chemical tests | Acids |
เคมีวิเคราะห์ | Electrolysis | Rates of reaction | Kinetic |
Carbon | Air and water | เคมีอินทรีย์ | bases and salts |
Formulae and equations | reduction and redox | Particle theory |
สอบ BMAT Physics
ออกเรื่อง Electricity , Thermal physics , Matter , Magnetism , Mechanics , Radioactivity , Waves
สอบ BMAT Biology
ออกเรื่อง
Biomedical Science | Cells | Inheritance | DNA |
Movement across membranes | Cell division and sex determination | Gene technologies | Variation |
Enzymes | Animal physiology | Ecosystems |
สอบ BMAT Math
ออกเรื่อง Geometry , Algebra , Probability , Number , Word Problem , Statistic
BMAT section 3 Writing Task ( งานเขียน 30 นาที )
พาร์ทนี้จะเป็นการเขียนบรรยาย โดยข้อสอบจะให้เลือกตอบคำถาม 1 ข้อ จาก 3 ข้อที่ ข้อสอบให้มา โดยข้อสอบส่วนนี้จะเป็นการวัดความสามารถในการจัดการความคิดและสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ
ข้อสอบในส่วนของ Thinking skills และ Scientific Knowledge and Applications จะมีคะแนนอยู่ที่ ข้อละ 1 คะแนน โดยคะแนนสอบของทั้งสอง 2 พาร์ท จะถูกนำมาคิดคำนวนรวมกันอยู่ระหว่าง 1 คะแนน (น้อยสุด) ถึง 9 คะแนน (สูงสุด) โดยส่วนมากแล้ว นักเรียนจะได้คะแนน อยู่ที่ 5-7 คะแนน
ข้อสอบ Writing Task จะมีผู้ตรวจ 2 ท่าน โดยจะถูกแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ 1) คะแนนคุณภาพเนื้อหา จะอยู่ที่ 0 – 5 คะแนน 2) คะแนนความรู้และการใช้ภาษาอังกฤษ คะแนนจะถูกคิดเป็น A , C , E
BMAT ยากไหม?
การสอบ BMAT ไม่มีรอบไหนยากหรือง่าย เพราะข้อสอบเป็นมาตราฐานเดียวกัน แต่ทั้งนี้ พาร์ทที่น้องทำคะแนนได้ดีที่สุดคือ พาร์ทที่ 2 วิทยาศาสตร์ ส่วน พาร์ทที่ 3 เป็นพาร์ทที่ยากที่สุด
สมัครสอบ Registration Biomedical Admissions Test BMAT
1. เข้าเว็บไซต์ capwise
2. “Sign Up” ด้วย E-mail และตั้งค่า Password และกดที่ “Register”
3. กรอก Personal Info
4. ผู้สมัคร เลือกสถาบันที่จะสมัคร
5. Access Arrangement สำหรับผู้ที่มีความบกพร่องหรือพิการ
6. เลือกสนามสอบ
7. ชำระเงิน
สมัครโดยการกรอก BMAT Registration form (แบบฟอร์ม)
หน้าแรก – เป็นกรอกข้อมูลส่วนตัว
หน้าสอง – เลือกชื่อสถาบันที่ต้องการจะสอบ
หน้าสาม – สำหรับกรณีที่ไม่มีชื่อสถาบันที่จะสอบในหน้าที่2 ผู้สมัคร สามารถระบุชื่อสถาบันสอบได้เลยในหน้าที่3
หน้าสี่ – เป็นการแจ้งรายละเอียดค่าใช้จ่ายในการสอบ โดย ค่าสอบ จะอยู่ที่ 6,950 บาท (ชำระผ่านบัตรเครดิตเท่านั้น) กรณีสมัครเลย กำหนด จะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มอีก 2,000 บาท
หน้าห้า – Data Protection และการยินยอมในการตรวจสอบข้อมูลของผู้สมัครว่าเป็นความจริงหรือไม่
ค่าสอบ BMAT Test จะอยู่ที่ 6,950 บาท กรณีสมัครล่าช้า จะมีค่าใช้จ่ายอีก 2,000 บาท
ดูวิธีสมัคร สมัครสอบ BMAT แบบละเอียด
ค่าสมัครสอบ BMAT
ค่าสมัครสอบ 6,950 บาท
ตารางสอบ BMAT 2566
ตารางสอบ BMAT จะมีเปิดสอบ 3 รอบต่อปี แต่น้องจะมีโอกาสสอบได้เพียง 1 ครั้งเท่านั้น และ น้องต้องดูรายละเอียดด้วยว่า คณะที่สนใจเข้านั้นใช้ ได้ประกาศว่าใช้คะแนนสอบของเดือนไหน เช่น จุฬาฯ คณะทันตะ ใช้คะแนน รอบสอบ เดือนตุลาคม แสดงว่า แม้มีการจัดสอบหลายครั้ง แต่น้องมีโอกาสสอบเพียงแค่ 1 ครั้ง/ปี เท่านั้น
รับสมัครสอบ : 1 – 15 กันยายน 2566
ปิดรับสมัครรอบล่าช้า : 29 กันยายน 2566 (ภายใน 18.00 น.)
วันสอบ BMAT : 18 ตุลาคม 2566
ประกาศผลสอบ : 24 พฤศจิกายน 2566
BMAT Results คะแนนเต็มเท่าไหร่ ?
คะแนนเต็ม 9 โดยมีรายละเอียด ดังนี้ การคิดคะแนน จะแยกเป็น 2 ส่วน คือ
ส่วนที่ 1 Section 1 และ Section 2
ส่วนที่ 2 Section 3 สำหรับคะแนนที่สามารถใช้ยื่นเข้ามหาลัยได้ น้องควรได้คะแนน อยู่ที่ช่วง 10.6 – 15.3
ข้อมูล BMAT Results สถิติเก่าที่ สอบติด แพทย์ จุฬา คะแนนเฉลี่ย 15.5 , แพทย์ รามา คะแนนเฉลี่ย 14.7, แพทย์ มข. (MDX) คะแนนเฉลี่ย 9.8 , แพทย์ มข. (MDO2) คะแนนเฉลี่ย 9.5 , แพทย์-ทันตะ CICM คะแนนเฉลี่ย 11.3 , แพทย์ มศว คะแนนเฉลี่ย 12.6 แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่คะแนนที่สอบของแต่ละปี ด้วย ข้อมูลูที่กล่าวมาเป็นสถิติของอดีต ส่วนการคิดคะแนนมีวิธีคิดังนี้
BMAT Section 1 และ Section 2 มีคะแนนเต็ม 9 โดย 1 = ต่ำสุด , 9 = สูงสุด น้องๆส่วนใหญ่จะได้คะแนนประมาณ 5 ซึ่งเป็นคะแนนระดับเฉลี่ย ในการสอบ น้องที่สามารถทำได้ 6 ถือว่าค่อนข้างสูง และน้อยคนมากที่่จะได้มากกว่า 7
BMAT Section 3 จะมีคะแนนสองแบบคือคะแนน 0-5 และคะแนนที่ระบุเป็น A, C, E โดยกรรมการที่ตรวจข้อสอบและให้คะแนนจะมีสองคน แต่ละคนจะให้คะแนนคนละ 2 แบบ คือให้ทั้งแบบตัวเลขและตัวอักษร จากนั้นจึงนำคะแนนดังกล่าวมาเฉลียออกมาเป็นหนึ่งคะแนนสุดท้าย ยกตัวอย่างเช่น คนหนึ่งให้คะแนน 4C ส่วนอีกคนให้คะแนน 4A คะแนนเฉลี่ยที่สรุปได้คือ 4B นั่นเองค่ะ
หลักการคิดคะแนน BMAT Writing
หลักการคิด คะแนน Writing คุณภาพของเนื้อหา Quality of Content จะให้คะแนนเป็นตัวเลข 0 – 5 (0=ต่ำสุด, 5=สูงสุด)
1 คือ การเขียนเนื้อหาพอได้ แต่ตอบไม่ตรงประเด็น
2 คือ การเขียนตรงประเด็นตามโจทย์ แต่ขาดใจความสำคัญที่ชัดเจน
3 คือ การเขียนที่ตอบทุกแง่มุมของคำถาม มีการสร้างข้อโต้แย้งที่สมเหตุผล แต่มีข้อโต้แย้งทางแนวคิดที่ไม่เชื่อมโยงกัน
4 คือ คำตอบที่มีการผิดพลาดเพียงเล็กน้อย ตอบตรงประเด็น มีการสร้างข้อโต้แย้งที่ดี การโต้แย้งแบบเป็นเหตุเป็นผล มีการจัดเรียงประโยคทีดี สอดคล้องกับโจทย์และเรื่องโต้แย้ง
5 คือ คำตอบที่เยี่ยมที่สุด ชัดเจน ตรงประเด็นตามโจทย์ ไม่มีจุดบกพร่อง มีการเรียบเรียงประโยคแสดงแนวความคิดอย่างชัดเจน มีเหตุผล โดยพิจารณาจากประเด็นที่เกียวข้องอย่างกว้างๆ และนำไปสู่การสังเคราะห์หรือข้อสรุปที่น่าสนใจ
หลักการคิดคะแนน Writing คุณภาพของการใช้ภาษาอังกฤษ Quality of English จะให้คะแนนเป็นตัวอักษร A, C, E (E=ต่ำสุด, A=สูงสุด)
Band A หมายถึง การใช้ภาษาอังกฤษในระดับที่ดี โครงสร้างประโยคดี หลักไวยกรณ์ถูกต้อง เลือกใช้คำศัพท์ มีการสะกดคำได้ดี และมีเครื่องหมายวรรคตอน โดยรวมแล้วมีข้อผิดพลาดน้อยที่สุด
Band C หมายถึง การใช้ภาษาอังกฤษในระดับพอใช้ โครงสร้างประโยคเรียบง่ายไม่คลุมเคลือ การใช้คำศัพท์ หลักไวยกรณ์ การสะกดคำ และเครื่องหมายวรรคตอนที่เหมาะสม สมเหตุสมผล
Band E หมายถึง การใช้ภาษาอังกฤษที่คอนข้างอ่อน อ่านยาก โครงสร้างประโยคและหลักไวยกรณ์ไม่ถูกต้อง รวมไปถึงการใช้คำศัพท์และสะกดคำนั้นไม่ถูกต้องเช่นเดียวกัน
BMAT Scale
Section | Marking | Final score |
Section 1: Thinking Skills | 1 mark per question | Raw marks are converted to BMAT’s scale: 1.0 (low) to 9.0 (high) |
Section 2: Scientific Knowledge and Applications | 1 mark per question | Raw marks are converted to BMAT’s scale: 1.0 (low) to 9.0 (high) |
Section 3: Writing Task | One score for quality of content One score for quality of written English | Scale of 0.0 (low) to 5.0 (high) Scale of A (high) to E (low) |
ศูนย์สอบ BMAT Test
หน่วยงานที่จัด สนามสอบ BMAT Thailand จะมี 3 อยู่ 3 ที่คือ Capwise , CICM Thammasat University , British Council Bangkok โดยหน่วยงานที่จัดสอบจะมีสนามสอบให้กับน้องๆ ใน กรุงเทพ และตามต่างจังหวัด เช่น เชียงใหม่ , ขอนแก่น , นครราชสีมา , สงขลา , ปทุมธานี , ภูเก็ต
ติว BMAT ตัวต่อตัว
เตรียมสอบ BMAT Preparation แบบ ติว BMAT ตัวต่อตัว กับ รุ่นพี่ ที่มากประสบการณ์ ที่เชี่ยวชาญใน Section ของข้อสอบนั้นโดยตรง พร้อมทั้งนำ past papers มาติวให้กับน้องเพื่อเพิ่มความมั่นใจ และคุ้นเคยกับข้อสอบ
น้องสามารถเลือก เรียน คอร์ส BMAT ตัวต่อตัวได้ที่ สถาบัน มาบุญครอง ชั้น4 มีห้องส่วนตัวให้ สามารถเลือกวันและเวลาเรียน หรือ จะ ติวออนไลน์ ผ่านทาง Zoom กับ พี่ที่เชี่ยวชาญข้อสอบโดยตรง ที่จะนำ ตัวอย่าง ข้อสอบ รอบล่าสุด มาให้ติวให้กับน้องๆ
ติวตัวต่อตัว | ||||
จำนวนนักเรียน | จำนวนชั่วโมง | |||
10 ชม. | 20 ชม. | 30 ชม. | 40 ชม. | |
1 คน | 14,000 ฿ | 22,000 ฿ | 33,000 ฿ | 44,000 ฿ |
2 คน (ประหยัดถึง 25%) | 21,000 ฿ | 33,000 ฿ | 49,500 ฿ | 66,000 ฿ |
3 คน (ประหยัดถึง 40%) | 29,680 ฿ | 39,600 ฿ | 59,400 ฿ | 79,200 ฿ |
แถมฟรี 2 ชม. | แถมฟรี 4 ชม. | |||
หมายเหตุ : คอร์สส่วนตัว ห้องเรียนส่วนตัว เรียนที่สถาบัน กับ ติวเตอร์มากประสบการณ์ สามารถเลือกวันและเวลา เรียนเองได้ |
ขั้นตอนสู่การ เป็นหมอ
สำหรับน้องที่อยากเรียนต่อทางด้านแพทย์ ควรเตรียมตัวตั้งแต่เนิ่นๆ หากสามารถเตรียมตัวได้ตั้งแต่ ม.5 ยิ่งดี เพราะการยื่นคะแนนรอบ Portfolio จะต้องใช้คะแนนหลายวิชา ดังนี้
1. GPA มัธยมปลาย 3.0-3.5 ขึ้นไป
2. คะแนน BMAT ควรทำได้ 12c
3. คะแนนภาษาอังกฤษ IELTS หรือ TOEFL
4. Portfolio หรือผลงานและกิจกรรมต่างๆ
มหาวิทยาลัยที่รับคะแนน BMAT
1. หลักสูตรไทย (ยื่นคะแนนแบบอินเตอร์ เรียนแบบไทย)
แพทย์ มข. 98 ที่นั่ง
ทันตะ จุฬา 4 ที่นั่ง
ทันตะ มหิดล 3 ที่นั่ง
แพทย์ จุฬา 18 ที่นั่ง
แพทย์ รามา 25 ที่นั่ง
แพทย์ มช. 5 ที่นั่ง
รามา-จุฬาภรณ์ 9 ที่นั่ง
2.International Program (ยื่นคะแนนแบบอินเตอร์ เรียบแบบอินเตอร์)
แพทย์/ทันตะ ธรรมศาสตร์ 48 ที่นั่ง
แพทย์ ลาดกระบัง 45 ที่นั่ง
MIDS(ทันตะ มหิดลอินเตอร์) 30 ที่นั่ง
3. Joint Program
แพทย์ มศว – Nottingham(โครงการร่วม ฯ) 20 seat
BMAT FAQ
Q : ติว BMAT ตัวต่อตัว กับ CHULA TUTOR
A : คอร์สติว BMAT ตัวต่อตัว น้องๆ สามารถเลือกวันและเวลาเรียนได้ ด้วยรูปแบบคอร์ส hybrid Learning จะเรียนสดตัวต่อตัวที่สถาบัน หรือ จะเรียนสดออนไลน์ หรือ จะเรียนแบบคละกันก็ได้ ตอบโจทย์ทุก Lifestyle ของผู้เรียน
Q : BMAT คืออะไร
A : BMAT คือ Admissions Test หรือข้อสอบเฉพาะทางเพื่อเข้าศึกษาต่อในคณะแพทย์ศาสตร์ หรือวิทยาศาสตร์การแพทย์อื่นๆ
Q : สมัครสอบ BMAT
A : สามารถสมัครได้ที่ capwise