เคมีกับการแก้ปัญหา

เคมีกับการแก้ปัญหา

เคมีกับการแก้ปัญหา คืออะไร

เคมีกับการแก้ปัญหา คือ การนำความรู้ทางเคมีที่เราได้เรียนมานำไปประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหา โดยอาศัยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยมี 5 ขั้นตอน ได้แก่

  1. การสังเกตุและระบุปัญหา ซึ่งแน่นอนว่าจะต้องมีปัญหาเกิดขึ้นก่อน เช่น ปลาในแหล่งน้ำตายเป็นจำนวนมากผิดปกติ
  2. ตั้งสมมติฐาน ซึ่งก็คือ การทำนายหรือการคาดคะเนคำตอบของปัญหานั้นล่วงหน้าแล้วว่าคืออะไร ซึ่งแน่นอนว่าในขั้นตอนนี้ หากเรามีความรู้ทางด้านเคมีอย่างครบถ้วน ก็จำทพให้คาดคะเนได้อย่างมีเหตุมีผล เช่น ที่ปลาในแหล่งน้ำตายเป็นจำนวนมาก น่าจะมาจากอากาศ โรคติดต่อ หรือสภาพของน้ำที่เน่าเสีย
  3. ทดลองหรือการตรวจสอบสมมติฐาน เป็นขั้นตอนที่ต้องมีการเก็บรวบรวมข้อมูล เพื่อที่จะนำไปหาคำตอบต่อไป วิธีการทดลองหรือการทดสอบ เช่น การตรวจคุณภาพน้ำ
  4. วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการทดลองต่าง ๆ ว่าสาเหตุของปัญหานั้นคืออะไร
  5. สรุปผล

ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เป็นทักษะที่นักวิทยาศาสตร์มักนำมาใช้ในการศึกษา ค้นคว้าหาความรู้ และใช้แก้ไขปัญหาต่าง ๆ ซึ่งจะประกอบไปด้วยทักษะต่าง ๆ ได้แก่

  • การสังเกต โดยไม่ใส่ความคิดเห็นหรือความรู้สึกของผู้สังเกตลงไป
  • การลงความเห็นจากข้อมูล ซึ่งต้องใช้ความรู้หรือประสบการณ์เดิม โดยแม้ว่าจะเพิ่มความคิดเห็นส่วนตัวลงไปได้ แต่การลงความเห็นก็ควรเป็นไปอย่างมีเหตุมีผล
  • การจำแนก แบ่งหรือเรียงลำดับสิ่งต่าง ๆ ออกเป็นหมวดหมู่ได้
  • การวัด ซึ่งรวมไปถึงการเลือกใช้เครื่องมือต่าง ๆ ในการวัดหาปริมาณของสิ่งต่าง ๆ ด้วย
  • การคำนวณ
  • การหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับสเปส หรือสเปสกับเวลา ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว สเปสของวัตถุจะมี 3 มิติ คือ ความกว้าง ความยาวและความสูง
  • การจัดข้อมูลและการสื่อความหมาย คือ การนำข้อมูลที่ได้จากการสังเกต การวัด การทดลอง และ จากแหล่งอื่นๆ มาจัดกระทำเสียใหม่ โดยอาศัยวิธีการต่างๆ เช่น การจัดลำดับ การจัดกลุ่ม หรือการคำนวณหาค่าใหม่
  • การพยากรณ์ โดยอาศัยข้อมูลที่ได้จากการสังเกต หรือปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นซ้ำๆ หรือ ความรู้ที่เป็นความจริง หลักการ กฎ หรือทฤษฎีที่มีอยู่แล้วในเรื่องนั้นมาช่วยสรุป
  • การตั้งสมมติฐาน เป็นการคิดหาคำตอบล่วงหน้าก่อนที่จะทำการทดลอง ซึ่งจะช่วยเป็นเครื่องมือกำหนดแนวทางในการออกแบบการทดลอง ช่วยบอกความสัมพันธ์ของตัวแปร ซึ่งสมมติฐานอาจจะถูกหรือผิดก็ได้
  • การกำหนดนิยามเชิงปฏิบัติการ หรือเรียกง่าย ๆ ว่าเป็นการให้ความหมายของคำเพื่อให้เข้าใจตรงกัน
  • การกำหนดและควบคุมตัวแปร สามารถบอกได้ว่า สิ่งใดเป็นตัวแปรต้น ตัวแปรตาม และตัวแปรควบคุมคืออะไร
  • การทดลอง ซึ่งเป็นทักษะในชเิงปฏิบัติเพื่อหาคำตอบและตรวจสอบสมติฐนที่ได้ตั้งไว้
  • การตีความหมายข้อมูลและการสรุปข้อมูล
  • การสร้างแบบจำลอง หมายถึง การนำเสนอข้อมูล แนวความคิด เพื่อให้ผู้อื่นเข้าใจ เช่น กราฟ รูปภาพ ภาพเคลื่อนไหว เป็นต้น
Related Posts