CHULATUTOR.COM

ฟิสิกส์ ม.ปลาย การเคลื่อนที่แนวตรง

การเคลื่อนที่แนวตรง

สรุปเนื้อหา การเคลื่อนที่แนวตรง คืออะไร

การเคลื่อนที่ในแนวเส้นตรง (Rectilinear motion) คือ การเคลื่อนที่ของวัตถุที่เป็นแนวเส้นตรงซึ่งมีความสัมพันธ์ระหว่างความเร็ว เวลา ความเร่ง และระยะทางที่วัตถุเคลื่อนที่ไปได้ โดยการเคลื่อที่แนวตรงนั้นมีทั้งหมด 2 แบบ ได้แก่

  1. การเคลื่อนที่ในแนวราบ เป็นการเคลื่อนที่แบบไปซ้ายหรือขวา หรือไปข้างหน้าหรือหลัง ทิศทางหลัก ๆ จะเป็นเส้นตรง
  2. การเคลื่อนที่ในแนวดิ่ง หรือการตกแบบอิสระ

 

ปริมาณที่เกี่ยวกับการเคลื่อนที่

1. การกระจัดและระยะทาง เป็นปริมาณที่บ่งบอกถึงระยะห่างระหว่าง จุดเริ่มต้น และ จุดสุดท้าย ดังนั้น สิ่งนี้จะสามารถบอกได้ว่าวัตถุที่เราสนใจเคลื่อนที่จากจุดเริ่มต้นมาไกลแค่ไหน

ข้อควรรู้

  • ระยะทาง (Distance) คือ ระยะทั้งหมดของการเคลื่อนที่จริง ๆ จะเป็นปริมาณสเกลาร์ มีแค่ขนาด ไม่มีทิศทาง
  • การกระจัด (Displacement) คือ ปริมาณที่บอกระยะห่างของจุดเริ่มต้นและจุดสุดท้าย จะเป็นปริมาณเวกเตอร์ เพราะมีทั้งขนาดและทิศทาง
  • การกระจัดมีค่าน้อยกว่าหรือเท่ากับระยะทางเสมอ
  • การกระจัดส่วนใหญ่มักมีขนาดที่น้อยกว่าระยะทาง (โดยกรณีที่จุดเริ่มต้นกับจุดสุดท้ายห่างกันเป็นเส้นตรง การกระจัดและระยะทางจะมีขนาดเท่ากัน)
  • ระยะทางและการกระจัดจะมีหน่วยวัดเป็นเมตร (m)

2. ความเร็วและอัตราเร็ว เป็นปริมาณที่สามารถบ่งบอกว่า วัตถุที่เราสนใจนั้นเคลื่อนที่เร็วแค่ไหน” โดยหน่วยของความเร็วและอัตราเร็วจะเป็นเมตรต่อวินาที (m/s)

ข้อควรรู้

  • ความเร็ว (Velocity) จะเท่ากับ อัตราส่วนระหว่างการกระจัดต่อเวลา ความเร็วจึงเป็นปริมาณเวกเตอร์เหมือนกับการกระจัด และความเร็วก็สามารถบอกข้อมูลได้หลายแบบ ไม่ว่าจะเป็นความเร็วเฉลี่ย ความเร็วขณะใดขณะหนึ่ง และความเร็วคงที่
  • อัตราเร็ว หาได้จากอัตราส่วนระหว่างระยะทางต่อเวลา อัตราเร็วจึงเป็นปริมาณสเกลาร์เหมือนกับระยะทางโดยอัตราเร็วจะมี 3 แบบ คือ อัตราเร็วเฉลี่ย อัตราเร็วขณะใดขณะหนึ่ง และอัตราเร็วคงที่

3. ความเร่งและอัตราเร่ง เป็นปริมาณที่เกิดขึ้นในระหว่างการเคลื่อนที่ของวัตถุที่ความเร็วไม่สม่ำเสมอ

ข้อควรรู้

  • หน่วยของอัตราเร่งและความเร่งคือเมตรต่อวินาที2 (m/s2)
  • ความเร่ง (Acceleration) หาได้จาก ความเร็วที่เปลี่ยนไป หารด้วยเวลาที่เปลี่ยนไป ความเร่งจึงเป็นปริมาณเวกเตอร์เหมือนกับความเร็ว และความเร่งก็สามารถบอกข้อมูลได้หลายแบบ ไม่ว่าจะเป็นความเร่งเฉลี่ย ความเร่งขณะใดขณะหนึ่ง และความเร่งคงที่
  • ปกติความเร่งจะมีทิศทางเดียวกับทิศของการเปลี่ยนแปลงความเร็วเสมอ แต่หากความเร่งเป็นลบ ทิศทางของความเร่งจะตรงกันข้ามกับทิศของการเคลื่อนที่ ซึ่งความเร่งนี้ว่า ความหน่วง (Deceleration)
  • อัตราเร่ง (Acceleration) หาได้จาก อัตราเร็วที่เปลี่ยนไปหารด้วยเวลาที่เปลี่ยนไป เป็นปริมาณสเกลาร์ และอัตราเร่งก็สามารถบอกข้อมูลได้หลายแบบ ไม่ว่าจะเป็นอัตราเร่งเฉลี่ย อัตราเร่งขณะใดขณะหนึ่ง และอัตราเร่งคงที่
  • ในการคำนวณมักใช้ความเร่ง ซึ่งมีทั้งขนาดและทิศทางมากกว่าอัตราเร่งที่เป็นปริมาณสเกลาร์
ฟิสิกส์ ม.ปลาย การเคลื่อนที่แนวตรง
ฟิสิกส์ ม.ปลาย การเคลื่อนที่แนวตรง

ตัวอย่างข้อสอบ การเคลื่อนที่แนวตรง

1.ชายผู้หนึ่งขับรถยนต์บนถนนตรงด้วยความเร็ว 10 เมตร/วินาที เพิ่มความเร็วอย่างสม่ำเสมอเป็น 30 เมตร/วินาที ในเวลา 5 วินาที จงหาการกระจัดในวินาที่ที่ 2 นับตั้งแต่เพิ่มความเร็ว

ก. 20 เมตร
ข. 16 เมตร
ค. 12 เมตร
ง. 14 เมตร

2. รถยนต์คันหนึ่งออกจากจุดหยุดนิ่งไปตามถนนสายตรงด้วยความเร่งคงตัว และวิ่งได้ไกล 75 เมตร ภายใน 5 วินาที ขนาดความเร่งของรถยนต์คันนี้เป็นเท่าใด

ก. 15 เมตร/วินาที2
ข. 4 เมตร/วินาที2
ค. 6 เมตร/วินาที2
ง. 3 เมตร/วินาที2

3. ปังปอนด์ใช้หนังสติ๊กยิงก้อนหินขึ้นไปในอากาศตามแนวดิ่งจากหน้าผาแห่งหนึ่งด้วยความเร็วต้น 20 เมตร/วินาที จงหาว่าก้อนหินอยู่สูงจากจุดยิงเท่าใดเมื่อเวลาผ่านไป 1 วินาที

ก. 20 เมตร
ข. 10 เมตร
ค. 15 เมตร
ง. 5 เมตร

4. วัตถุชิ้นหนึ่งเคลื่อนที่ในแนวตรงด้วยความเร่งคงตัว เมื่อเวลาผ่านไป 10 s วัตถุมีความเร็ว 25 m/s และมีการกระจัด 50 m เมื่อเวลาผ่านไปเท่ากับ 5 s วัตถุนี้เคลื่อนที่ด้วยความเร่งเท่าใด

ก. 8 เมตร/วินาที2
ข. 4 เมตร/วินาที2
ค. 6 เมตร/วินาที2
ง. 10 เมตร/วินาที2

5. รถบรรทุกคันหนึ่งแล่นด้วยความเร็วคงตัว 20 m/s ผ่านรถยนต์คันหนึ่งซึ่งกำลังเริ่มออกวิ่งด้วยความเร่งคงตัว 4 m/s ในทิศทางเดียวกัน จงหาว่ารถยนต์ต้องใช้ เวลานานเท่าใดจึงจะแล่นทันรถบรรทุก

ก. 5 s
ข. 15 s
ค. 20 s
ง. 10 s

 

 

ฟิสิกส์ ม. ปลาย ต้องเรียนเรื่องอะไรบ้าง

การเรียนฟิสิกส์ ม.ปลาย ตั้งแต่ฟิสิกส์ ม.4 ฟิสิกส์ ม.5 หรือ ฟิสิกส์ ม.6 นอกจากเรื่องการเคลื่อนที่แนวตรงที่จะต้องเจอแล้ว การเรียนวิชานี้ยังครอบคลุมไปถึงเรื่องอื่น ๆ ด้วย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องกฎนิวตัน, การเคลื่อนที่แบบต่างๆ, งานและพลังงาน, โมเมนตัม, การหมุน, แรงและกฏการเคลื่อนที่, การเคลื่อนที่แนวโค้ง, การเคลื่อนที่แบบฮาร์มอนิกอย่างง่าย, สมดุลกล, คลื่นกล, คลื่นเสียง, คลื่นแสง, ของไหล, ความร้อน, ของแข็งและของไหล , ไฟฟ้าสถิต, ไฟฟ้ากระแสตรง, สนามแม่เหล็ก สนามไฟฟ้า, ไฟฟ้ากระแสสลับ, ฟิสิกส์อะตอม, ฟิสิกส์นิวเคลียร์ และอื่น ๆ ดังนั้น ใครที่กำลังเตรียมตัวจะเลือกเรียนสายวิทย์ หรือกำลังเรียนสายวิทย์อยู่ ก็จะต้องเจอกับการเรียนเรื่องต่าง ๆ เหล่านี้อย่างแน่นอน

 

ครู ฟิสิกส์

 

คอร์สเรียน ฟิสิกส์ การเคลื่อนที่แนวตรง ตัวต่อตัว

เป็นคอร์สเรียนที่ผู้เรียนสามารถออกแบบการเรียนให้เหมาะกับตัวเองได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเรียนเพื่อติวสอบปลายภาค, ติวเพิ่มเกรด, กวดวิชาเข้ามหาวิทยาลัย ก็สามารถเลือกได้ตามแบบที่เราต้องการได้ด้วยหลักสูตรจำนวน 10 ชม. แต่หากใครที่พื้นฐานอ่อนหรืออยากมาเรียนเนื้อหาล่วงหน้าก็สามารถเพิ่มชั่วโมงเรียนให้เหมาะสมกับเราได้

 

เรียน ติว ฟิสิกส์ การเคลื่อนที่แนวตรง ตัวต่อตัว
จำนวนนักเรียน จำนวนชั่วโมง

10 ชม.
recommemded
20 ชม.

30 ชม.

40 ชม.
1 คน 8,000 ฿ 16,000 ฿ 24,000 ฿ 32,000 ฿
2 คน
( ประหยัดถึง 25% )
12,000 ฿ 24,000 ฿ 36,000 ฿ 48,000 ฿
3 คน
( ประหยัดถึง 40% )
14,400 ฿ 28,800 ฿ 43,200 ฿ 57,600 ฿
แถมฟรี 2 ชม. แถมฟรี 4 ชม.
หมายเหตุ :
คอร์สเรียนส่วนตัวออนไลน์ ผ่านทาง Zoom ผู้เรียนสามารถเลือกวันและเวลา เรียนเองได้

 

PHP Code Snippets Powered By : XYZScripts.com