เคมี พันธะเคมี

พันธะเคมี คืออะไร พันธะเคมี คือ แรงยึดเหนี่ยวที่เกิดขึ้นจากการดึงดูดเข้าหากันระหว่างอนุภาคมูลฐานหรืออะตอม (Atom) ทั้งนี้ ก็เพื่อสร้างเสถียรภาพในระดับโมเลกุล จนเกิดเป็นสสารหรือสารประกอบที่มีโครงสร้างขนาดใหญ่และมีความซับซ้อนมากขึ้นในธรรมชาติ   สรุปเนื้อหา พันธะเคมี อะตอมและธาตุต่าง ๆ ที่ถูกพบในธรรมชาติกว่า 90 ชนิด มักจะไม่มีความสเถียร (ยกเว้น ธาตุในหมู่ VIIIA หรือก๊าซเฉื่อยเท่านั้นที่มีความสเถียร สามารถคงรูปเป็นอะตอมอิสระได้ เพราะธาตุดังกล่าวมีอิเล็กตรอนวงนอกสุดเต็มตามจำนวนในแต่ละระดับชั้นของพลังงาน หรือเรียกง่าย ๆ ว่ามีเวเลนซ์อิเล็กตรอน (Valence Electron) ครบ 8 ตัว ทำให้โครงสร้างของอะตอมมีความเสถียรในตัวเองสูง) เมื่อธาตุหรืออะตอมมีความไม่เสถียร จึงทำให้เกิดเป็นแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาคมูลฐานหรืออะตอม (Atom) ขึ้น เพื่อทำให้โครงสร้างของตนมีเสถียรภาพ หรือมีเวเลนต์อิเล็กตรอนครบ 8 ตัว ตามกกฎออกเตต (Octet rule) ที่ว่า “อะตอมของธาตุต่าง ๆ ที่มีเวเลนซ์อิเล็กตรอนไม่เท่ากับ 8 มีแนวโน้มที่จะปรับตัวให้มีเสถียรภาพมากขึ้นโดยรวมตัวกันเองหรือรวมตัวกับอะตอมของธาตุอื่นในสัดส่วนที่ทำให้แต่ละอะตอมมีเวเลนซ์อิเล็กตรอนเท่ากับ 8 หรือมีจำนวนอิเล็กตรอนเท่ากับแก๊สเฉื่อย” โดยยกเว้นอะตอมของธาตุไฮโดรเจน (H) ที่ต้องการเวเลนต์อิเล็กตรอนเพียง […]