ระบบไหลเวียนเลือด น้ำเหลือง และภูมิคุ้มกัน

ระบบหมุนเวียนเลือดของสิ่งมีชีวิต แบ่งเป็น 2 ชนิด คือ 1. ระบบหมุนเวียนเลือดแบบเปิด (open circulatory system) ระบบนี้บางช่วงเลือดจะไหลไปตามช่องว่างของลำตัวและช่องว่างระหว่างอวัยวะ กล่าวคือ เลือดไม่ได้ไหลอยู่ในเส้นเลือดตลอดเวลา เลือดออกจากหลอดเลือดเข้าสู่ฮีโมซีล ซึ่งอยู่รวมกับของเหลวอื่น ๆ (น้ำเหลือง) เรียกว่า ฮีโมลิมฟ์ ซึ่งระบบหมุนเวียนเลือดแบบนี้จะพบในสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังในไฟลัมอาร์โทรโพดาและมอลลัสกา (ยกเว้นหมึก หมึกยักษ์ และหอยงวงช้าง) 2. ระบบหมุนเวียนเลือดแบบปิด (Closed circulatory system) เลือดจะไหลอยู่ในเส้นเลือดตลอดเวลา มีหัวใจสูบฉีดเลือดไปยังหลอดเลือดต่าง ๆ ทั่วร่างกาย พบในไส้เดือนดินและสัตว์มีกระดูกสันหลัง ซึ่งมีจำนวนห้องหัวใจแตกต่างกันไป ระบบลำเลียงสารของคน ประกอบด้วย 2 ระบบที่สำคัญ คือ ระบบหมุนเวียนเลือดและระบบน้ำเหลือง ดังนี้   ระบบหมุนเวียนเลือดของมนุษย์ หัวใจ หัวใจห้องบนขวา (right atrium) ทำหน้าที่รับเลือกที่มี O2 ต่ำจากส่วนต่าง ๆ ของร่างกายเข้าสู่หัวใจทางหลอดเลือดซูพีเรียเวนาคาวาและอินฟีเรียเวนาคาวา ลิ้นพัลโมนารีเซมิลูนาร์ (pulmonary semilunar […]

ระบบต่อมไร้ท่อ

ระบบต่อมไร้ท่อ หรือ endocrine system ประกอบด้วยกลุ่มเซลล์ สร้างและหลั่งพวกฮอร์โมน (Hormones) แล้วส่งออกนอกตัวเซลล์โดยผ่านทางกระแสเลือด หรือน้ำเหลืองไปยังเป้าหมาย คือ อวัยวะต่างๆ ทั่วร่างกาย ต่อมไร้ท่อบางชนิดสร้างฮอร์โมน ออกมาร่วมทำงาน หรือถูกควบคุมการหลั่งโดยระบบประสาท เรียกว่า neuroendocrine system ระบบต่อมไร้ท่อ มีความสำคัญในการเปลี่ยนแปลงของร่างกายเกี่ยวกับกระบวนการเมตาบอลิซึมต่าง ๆ ในร่างกาย เช่น การควบคุมปฏิกิริยาเคมีภายในเซลล์ การขนส่งสารเข้าออกภายในเซลล์ อันมีผลต่อการเจริญเติบโต การใช้พลังงานการสืบพันธุ์ ตลอดจนการตอบสนองทางด้านอารมณ์อีกด้วย   อวัยวะที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการทํางานระบบต่อมไร้ท่อ 1. ต่อมพาราไทรอยด์ มีลักษณะเป็นก้อนกลมเล็ก ฝังอยู่ด้านหลังของเนื้อเยื่อไทรอยด์ในคนมีทั้งพมด 4 ต่อม ข้างละ 2 ต่อม เป็นต่อมขนาดเล็ก ฮอร์โมนสำคัญที่สร้างจากต่อมนี้ คือ พาราธอร์โมน ซึ่งทำหน้าที่เกี่ยวกับการ ควบคุมเมตาบอลิซึมของแคลเซียมและฟอสฟอรัสในร่างกาย การสร้างกระดูกและควบคุมบทบาทของวิตามินดีในร่างกาย โดยวิตามินดีจะรวมกับฮอร์โมนพาราธอร์โมนในการสลายแคลเซียมออก จากกระดูกเพื่อรักษาระดับปกติของแคลเซียมในพลาสมา 2. ต่อมหมวกไต (Adrenal gland) เป็นก้อนสีเหลือง ๆ อยู่เหนือไตข้างละ […]

การแบ่งเซลล์

การแบ่งเซลล์ คืออะไร การแบ่งเซลล์ หรือ Cell Division คือ การเพิ่มจำนวนของเซลล์ (cell) ในสิ่งมีชีวิต เพื่อการเจริญเติบโตและรักษา ซ่อมแซมร่างกายส่วนที่สึกหรอ รวมถึงสร้างเซลล์สืบพันธุ์ที่คงไว้ซึ่งสารพันธุกรรม ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมลักษณะ และการแสดงออกที่เป็นเอกลักษณ์ของชนิดพันธุ์ ซึ่งกระบวนการแบ่งเซลล์สามารถแบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอน ได้แก่ การแบ่งนิวเคลียส (Karyokinesis) การแบ่งตัวของไซโทพลาซึม (Cytokinesis)   การแบ่งนิวเคลียส (Karyokinesis) ประกอบด้วย 2 ลักษณะ คือ 1. การแบ่งเซลล์แบบไมโทซิส (Mitosis) เป็นการแบ่งเซลล์เพื่อเพิ่มจำนวนเซลล์ของร่างกาย สำหรับการ เจริญเติบโตของสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์หรือเพื่อสืบพันธุ์ในสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว โดยการแบ่งเซลล์แบบนี้มีลักษณะสำคัญ คือ เมื่อสิ้นสุดการแบ่งเซลล์จะได้เซลล์ใหม่ 2 เซลล์ ที่มีจำนวนชุดโครโมโซมเท่ากันและเท่ากับเซลล์ตั้งต้น ซึ่งจะพบบริเวณเนื้อเยื่อเจริญปลายยอด ปลายรากของพืช หรือเนื้อเยื่อบุผิว ไขกระดูกของสัตว์ การแบ่งเซลล์แบบไมโทซิสสามารถจำแนกออกเป็น 5 ระยะหรือที่เรียกกันว่า “วัฏจักรเซลล์” (Cell Cycle) ดังนี้ ระยะอินเตอร์เฟส (interphase) […]

การศึกษาทางชีววิทยาและกล้องจุลทรรศน์

กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ (Scientific method) กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ คือ วิธีการและขั้นตอนที่ใช้ดำเนินการค้นคว้าหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ วิธีการทางวิทยาศาสตร์วิทยาศาสตร์ (scientific method) ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ (science process skill) จิตวิทยาศาสตร์ (scientific mind) โดยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นั้นประกอบด้วยขั้นตอนต่าง ๆ สามารถสรุปเป็นแผนผังดังนี้ ในขั้นตอนของการตั้งสมมติฐานนั้น การควบคุมปัจจัยถือเป็นสิ่งที่สำคัญ เพราะจะมีผลต่อการทดลอง นั่นก็คือตัวแปรนั่นเอง ตัวแปร (Variable) มีอยู่ 3 ประเภท คือ ตัวแปรต้นหรือตัวแปรอิสระ (Independent Variable) หมายถึง ตัวแปรที่ต้องการศึกษาหรือเป็น สาเหตุของสิ่งที่ต้องการตรวจสอบ ตัวแปรตาม (Dependent Variable) หมายถึง ตัวแปรที่เป็นผลที่เกิดจากตัวแปรต้น ตัวแปรควบคุม (Controlled Variable) หมายถึง ตัวแปรอื่นๆ ที่อาจมีผลต่อการ ทดลองและไม่ ต้องการศึกษาผลของตัวแปรเหล่านี้จึงตองควบคุมให้คงที่ การควบคุมตัวแปรเหล่านี้ต้องจัดชุดทดลองเป็น 2 ชุด […]

วิวัฒนาการ

วิวัฒนาการ คืออะไร วิวัฒนาการ คือ การเปลี่ยนแปลงของสิ่งมีชีวิตที่มีลักษณะเปลี่ยนไปจากบรรพบุรุษ และสามารถ ถ่ายทอดลักษณะนี้ไปยังรุ่นต่อไป ท าให้ลูกหลานที่เกิดขึ้นมีลักษณะแตกต่างจากบรรพบุรุษ และถูก คัดเลือกให้มีชีวิตอยู่รอดในสภาพแวดล้อมที่ต่างกันในระยะเวลาที่ยาวนาน   หลักฐานที่บ่งบอกถึงวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต ซากดึกดำบรรพ์ / ฟอสซิล หลักฐานจากกายวิภาคเปรียบเทียบ ได้แก่ โครงสร้างที่มีลักษณะคล้ายกัน แต่ทำหน้าที่ต่างกัน เรียกว่า homologous structure โครงสร้างที่ทำหน้าที่เดียวกัน แต่มีโครงสร้างต่างกัน เรียกว่า analogous structure หลักฐานจากวิทยาเอ็มบริโอเปรียบเทียบ หลักฐานด้านชีววิทยาระดับโมเลกุล หลักฐานทางชีวภูมิศาสตร์   แนวคิดเกี่ยวกับวิวัฒนาการของนักวิทยาศาสตร์ 1. ชอง ลามาร์ก (Jean Lamarck) กฎการใช้และไม่ใช้ (law of use and disuse) คือ อวัยวะส่วนใดที่มีการใช้งานมากจะมี ขนาดใหญ่และแข็งแรงขึ้น ขณะที่อวัยวะที่ไม่ค่อยได้ใช้งานจะอ่อนแอและเสื่อมลงไป กฎแห่งการถ่ายทอดลักษณะที่เกิดขึ้นใหม่ (law of inheritance of acquired characteristic) […]

ความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต

สรุปเนื้อหาเรื่อง ความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต นักวิชาการได้ แบ่งความหลากหลายบนโลกใบนี้ไว้ใน 3 ระดับคือ ความหลากหลายในระดับนิเวศ (Ecological diversity) กล่าวคือ สิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกัน มีพันธุกรรมแบบเดียวกัน แต่เมื่ออาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน ก็ทำให้มีความแตกต่างกันได้ เช่น แบคทีเรีย E. coli ที่มียีน LacZ เมื่อ เลี้ยงในอาหารที่มีกลูโคสสูงผสมสารโครงสร้างคล้าย (analog) กาแลคโตส (x-gal) และสารกระตุ้นสีฟ้า (IPCT) กับกลุ่มที่เลี้ยงในอาหารที่มีกาแลคโตสผสมสารโครงสร้างคล้ายกาแลคโตสตัวกระตุ้นให้เกิดสีฟ้า จะมีสีของ โคโลนีแตกต่างกัน E. coli ที่มียีน LacZ สามารถสร้างเอนไซม์ -galactosidase ซึ่งสามารถเร่งปฏิกิริยาการย่อยน้ำตาลกาแลคโตสได้ แต่ในสภาวะที่มีน้ำตาลกลูโคสสูง เอนไซม์ตัวนี้จะไม่ถูกสร้างออกมา เมื่อไม่มีเอนไซม์ ไปเร่งการสลายพันธะของสารที่มีโครงสร้างคล้ายกาแลคโตส โคโลนีของแบคทีเรียกลุ่มนี้จึงเป็นสีขาว แต่ แบคทีเรียที่ถูกเลี้ยงในอาหารที่ไม่มีกลูโคส หากแต่มีน้ำตาลกาแลคโตสแบคทีเรียจะสร้างเอนไซม์มาเร่งปฏิกิริยา ย่อยน้ำตาลกาแลคโตสเป็นน้ำตาลกลูโคสและแลคโตส และเอนไซม์ตัวนี้ยังสามารถย่อย x-gal ท้าให้โคโลนีของ แบคทีเรียที่เลี้ยงในอาหารที่มีกาแลคโตสเกิดสีฟ้า ความหลากหลายในระดับชนิดพันธุ์ (Speciation diversity) เป็นความหลากหลายแตกต่างของสิ่งมีชีวิตต่างเผ่าพันธุ์ ซึ่งบางชนิดอาจมีความคล้ายคลึงกันมากกับอีกบางชนิดเช่น […]

เนื้อเยื่อและโครงสร้างพืชดอก

เนื้อเยื่อของพืชดอก (Plant tissue) แบ่งตามความสามารถในการแบ่งเซลล์ได้เป็น 2 ประเภท คือ 1. เนื้อเยื่อเจริญ (Meristematic tissue หรือ Meristem) คือ เนื้อเยื่อที่สามารถแบ่งเซลล์ได้ตลอดชีวิต ซึ่งแบ่งได้เป็น 1.1 เนื้อเยื่อเจริญที่ทำให้เกิดการเจริญเติบโตขั้นแรก (primary growth) ทำให้ต้นไม้ สูงขึ้น ๆ ซึ่งแบ่งได้เป็นการเจริญส่วนปลาย (apical meristem) พบที่รากหรือยอด กับอีกแบบคือ การเจริญเหนือข้อ (intercalary meristem) ที่จะพบเฉพาะในพืชใบเลี้ยงเดี่ยวบางชนิด 1.2 เนื้อเยื่อเจริญที่ทำให้เกิดการเจริญเติบโตขั้นที่สอง (secondary growth) ทำให้ต้นไม้ ขยายขนาดด้านข้าง ๆ ซึ่งมีสองชนิด ได้แก่ cork cambium และ vascular cambium 2. เนื้อเยื่อถาวร (Permanent tissue) คือ เนื้อเยื่อที่ไม่สามารถแบ่งเซลล์ได้อีก เป็นองค์ประกอบหลักของพืช ได้แก่ 2.1 […]

พันธุศาสตร์

พันธุศาสตร์ คืออะไร พันธุศาสตร์ คือ สาขาหนึ่งของชีววิทยาที่ศึกษาเกี่ยวกับยีน การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม และความหลากหลายทางพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิต   คำศัพท์ที่ควรรู้ ยีน (gene) คือ สิ่งที่ควบคุมลักษณะทางพันธุกรรม โดยยีน คือส่วนหนึ่ง DNA DNA คือ สารพันธุ์กรรม ยีนเด่น (dominant gene) คือ ยีนที่แสดงอาการข่ม ต่อ ยีนด้อย (recessive gene) จีโนไทป์ (genotype) คือ แบบของยีน เช่น TT Tt tt ฟีโนไทป์ (phenotype) คือ ลักษณะที่แสดงออกมาของยีน เช่น สูง เตี้ย ฮอมอไซกัส (homozygous) คือ การที่สิ่งมีชีวิตมียีน 2 ยีนเหมือนกัน เช่น TT tt เฮเทอโรไซกัส (heterozygous) คือ […]

ระบบนิเวศ

ระบบนิเวศ คืออะไร ระบบนิเวศ หรือ ecosystem คือ การอยู่ร่วมกันของสิ่งมีชีวิตในหนึ่งหน่วยพื้นที่ ซึ่งก่อให้เกิดความสัมพันธ์ต่อสิ่งมีชีวิตด้วยกันเองและปฏิสัมพันธ์ต่อสิ่งแวดล้อม เกิดการถ่ายทอดพลังงานและการหมุนเวียนของสสารจากธรรมชาติสู่สิ่งมีชีวิตต่าง ๆ   องค์ประกอบของระบบนิเวศ มีอะไรบ้าง ระบบนิเวศมีองค์ประกอบ 2 ส่วน ได้แก่ 1. องค์ประกอบทางชีวภาพ (biological component) คือ สิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศ เช่น พืช สัตว์ มนุษย์ เห็ด รา จุลินทรีย์ เป็นต้น โดยโครงสร้างของสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศแบ่งออกเป็น 3 ระดับ ดังนี้ ผู้ผลิต (producer) ได้แก่พืช สาหร่าย โปรโตซัว เช่น ยูกลีน่า หรือเเบคทีเรียบางชนิด โดยมีบทบาทในการนำพลังงานจากแสงอาทิตย์มากระตุ้นสารอนินทรีย์บางชนิดให้อยู่ในรูปของสารอาหาร ผู้บริโภค (consumer) ได้แก่ สัตว์ที่ดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วยการกินสิ่งมีชีวิตอื่น ได้แก่ ผู้บริโภคพืช (herbivore หรือ primary consumer) เช่น […]

ชีววิทยา-การสังเคราะห์ด้วยแสง

การสังเคราะห์ด้วยแสง คืออะไร การสังเคราะห์แสง หรือ Photosynthesis คือ กระบวนการที่สิ่งมีชีวิตเปลี่ยนพลังงานแสงเป็นพลังงานเคมี โดยเก็บสะสมไว้ในสารอินทรีย์ที่สิ่งมีชีวิตสร้างขึ้น และพลังงานเคมีที่สร้างขึ้นนี้จัดว่าเป็นแหล่งพลังงานที่สิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ในโลกนี้ได้ใช้ประโยชน์ โดยมีสมการรวมของกระบวนการสังเคราะห์แสง คือ 6CO2 + 12H2O + พลังงานแสงและคลอโรฟิลล์ → C6H12O6 + 6O2 + 6H2O   การสังเคราะห์ด้วยแสง เกิดขึ้นที่ไหน การสังเคราะห์ด้วยแสงเกิดขึ้นได้ในทุกส่วนของต้นพืชที่มีสีเขียว โดยมีใบเป็นส่วนที่ทำหน้าที่นี้โดยตรง ตามปกติใบของพืชจะกางออกให้ได้รับแสงสว่างเต็มที่และก้านใบมักจะมีการบิดตัวตามการเคลื่อนที่ของดวงอาทิตย์เพื่อให้ใบได้รับแสงแดดอยู่เสมอ ผิวด้านบนส่วนที่รับแสงเรียกว่าหลังใบ ส่วนผิวด้านล่างที่ไม่ได้รับแสงเรียกว่าท้องใบ ทางด้านหลังใบมักมีสีเขียวเข้มและผิวเรียบกว่าทางด้านท้องใบ แต่เส้นใบทางด้านท้องใบจะนูนออกมาเห็นได้ชัดเจนกว่า โดยสรุปแล้วการสังเคราะห์แสงเกิดขึ้นได้หลาย ๆ ที่ ได้แก่ ใบพืช – เป็นส่วนที่มีคลอโรฟิลล์มากที่สุด Palisade mesophyll – เป็นส่วนที่มีคลอโรพลาสต์มากที่สุด Spongy mesophyll – เป็นส่วนที่เก็บแป้งซึ่งเปลี่ยนจากน้ำตาลที่สร้างขึ้นจาก Palisade cell (เก็บชั่วคราว จนกว่าจะนำไปใช้) Stoma – ช่องว่างระหว่าง guard cell ที่ให้ก๊าซผ่านเข้า-ออกที่ผิวใบ […]