ใบประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรม

ใบประกอบอาชีพสถาปัตยกรรม

ความสำคัญของใบประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรม

ใบประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรม เรียกสั้น ๆ ว่า ก.ส  ซึ่งตามกฎกระทรวงได้กำหนดให้วิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุมมีทั้งหมด 4 สาขา สถาปัตยกรรมหลัก สถาปัตยกรรมผังเมือง   สาขาภูมิสถาปัตยกรรม  และสุดท้ายคือ สาขาสถาปัตยกรรมภายในและมัณฑนศิลป์ ซึ่งการมีใบประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมนี้จะทำให้ผู้ประกอบวิชาชีพนี้ สามารถดำเนินงานต่างๆได้อย่างเต็มศักยภาพและถูกต้องตามกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นการออกแบบ การให้คำปรึกษา การตรวจสอบโครงการ การบริหารงาน การทำนวยการสร้าง การเซ็นรับรองแบบต่างๆ โดยใบประกอบวิชาชีพแบ่งได้ทั้งหมด 3 ระดับ ได้แก่ ระดับภาคีสถาปนิก ระดับสามัญสถาปนิก และระดับวุฒิสถาปนิก

 

การสอบใบประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรม

จะเริ่มจากการสอบระดับภาคีสถาปนิกก่อน สำหรับวิชาที่ใช้สอบ สามารถแบ่งได้ 3 หัวข้อหลัก ๆ ได้แก่ ทักษะในการวางผังและออกแบบ ความรู้ทางสถาปัตยกรรม และ การปฏิบัติวิชาชีพ (จรรยาบรรณ) โดยการที่จะมีสิทธิ์สมัครสอบได้นั้นต้องเป็นสมาชิกสภาสถาปนิกก่อน ซึ่งการสมัครสมาชิกสภาสถาปนิก จะมีค่าจดทะเบียนสมาชิก 500 บาท พร้อมค่าบำรุง ซึ่งค่าบำรุงจะมีแบบราย 2 ปี และแบบราย 5 ปี กรณีราย 2 ปีจะบวกเพิ่มจากค่าจดทะเบียนอีก 500 บาท รวมทั้งสิ้น 1,000 บาท แต่หากเป็นค่าบำรุงแบบราย 5 ปี จะบวกเพิ่มจากค่าจดทะเบียนอีก 1,000 บาท รวมทั้งสิ้นเป็น 1,500 บาท

การสมัครสมาชิกดังกล่าว จะมีขั้นตอนหลักๆ อยู่ 2 ขั้นตอน คือ กรอกข้อมูล ผ่านระบบออนไลน์ act.or.th และขั้นตอนยื่นเอกสารด้วยตนเองที่สภาสถาปนิก โดยเอกสารที่จะต้องเตรียมไว้ประกอบการยื่น มีดังนี้ต่อไปนี้

  • จบการศึกษาประดับปริญญาตรี ต้องเป็นหลักสูตรและสถาบันการศึกษาที่สภาสถาปนิกรับรอง
  • ในกรณีที่จบจากต่างประเทศให้ส่งรายละเอียดวิชา Catalogue, Course Description หนังสือรับรองการจบ โดยผ่านการตรวจสอบและรับรองวุฒิการศึกษาแล้ว
  • ใบแสดงผลการศึกษา ฉบับจริงที่ระบุวันสำเร็จการศึกษา
  • รูปถ่ายหน้าตรงไม่สวมแว่นหรือหมวก ขนาด2.5 ชม. ถ่ายไม่เกิน 1 ปี จำนวน 2 ใบ
  • ใบรับรองแพทย์ อายุไม่เกิน 6 เดือน
  • สำเนาบัตรประชาชน/ หนังสือเดินทาง
  • สำเนาทะเบียนบ้าน
  • สำเนาบัตรสมาชิกสภาสถาปนิกและใบอนุญาตฯ ของผู้รับรองสมาชิกสามัญของสภาสถาปนิกซึ่งได้จดทะเบียนและได้รับใบอนุญาตฯมาแล้วไม่น้อยกว่า 10 ปี 1 คน หรือสมาชิกสามัญของสภาสถาปนิกซึ่งได้จดทะเบียนและได้รับใบอนุญาตฯมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี 2คน
  • หนังสือรับรองการทำงาน กรณี (กรณีสมัครเป็นสมาชิกสามัญ สาย ข. หรือ สาย ค. หรือ สาย ง. หรือ สาย จ.)
  • หนังสือสำคัญการเปลี่ยนชื่อ – นามสกุล (ถ้ามี)
  • หนังสืออนุญาตในทำงานในราชอาณาจักร ในกรณีเป็นผู้ไม่มีสัญชาติไทย

ผู้สนใจสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ http://act.or.th/th/member_act/ และเมื่อได้หมายเลขสมาชิกสภาสถาปนิก แล้วจึงจะสามารถสมัครสอบได้ โดยสามารถเข้าไปทำการสมัครสอบได้ที่เว็บไซด์ http://www.act.or.th/lex/ ค่าสอบครั้งแรกคือ 2,000 บาท และหากสอบไม่ผ่านจะมีค่าธรรมเนียมการสอบแก้ตัวจำนวน 1,000 บาท โดยหลังจากสอบข้อเขียนผ่านแล้ว จะมีการจัดอบรมและออกใบอนุญาตให้ ณ วันที่ผ่านการอบรม โดยมีค่าใช้จ่าย อีก 4,000 บาท

เมื่อได้ใบประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมระดับภาคีสถาปนิกมาแล้ว เราสามารถต่อยอดเตรียมตัวเข้ารับการประเมิน/การสอบใบประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมในระดับสามัญสถาปนิก และระดับวุฒิสถาปนิกได้

 

การจัดสอบใบประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรม มีการจัดสอบเมื่อไหร่บ้าง และสอบที่ใด

ตารางสอบสำหรับภาคีสถาปนิกนั้นจะมีการจัดสอบปีละ 2-3 ครั้ง ปกติจะจัดสอบช่วงเดือน เมษายน และ ตุลาคม สามารถติดตามรายละเอียดได้ที่ http://act.or.th/th/home/ ส่วนการสอบในระดับอื่นจะต้องติดตามประกาศเป็นปีๆไป เพราะกำหนดการแต่ละปีอาจจะไม่เหมือนหรือไม่อยู่ในช่วงเดียวกัน ส่วนสถานที่สอบนั้นจะสอบที่สภาสถาปนิก เลขที่ 12 ถนนพระราม9 ซอย9 แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ กรุงเทพ โทร. 02-318-2112 Email: office@act.or.th

 

คอร์สเรียนเพื่อสอบใบประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรม

หากคุณคือคนหนึ่งที่กำลังเตรียมสอบใบประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรม แต่ยังมีความกังวล หรือยังมีความไม่มั่นใจในเรื่องของเนื้อหาหรือการเตรียมตัวสอบอยู่ ให้คอร์สเรียนของจุฬาติวเตอร์เป็นตัวช่วยในการเตรียมสอบได้นะคะ ด้วยรูปแบบคอร์สเรียนที่สอนตั้งแต่การปรับพื้นฐานไปจนถึงการเน้นตะลุยโจทย์และเจาะลึกการทำข้อสอบ มาพร้อมทีมติวเตอร์ยังพร้อมไปด้วยความสามารถ มีความชำนาญ มีความถนัด และเก่งในวิชานี้ คุณจึงมั่นใจได้ว่าคอร์สเรียนดังกล่าวจะช่วยให้การเตรียมตัวสอบของคุณกลายเป็นเรื่องง่ายมากยิ่งขึ

Related Posts