สรุป ฟิสิกส์ เรื่อง โมเมนตัม คืออะไร พร้อมข้อสอบ

สรุปเนื้อหาเรื่อง โมเมนตัม คืออะไร โมเมนตัม คือ ปริมาณการเคลื่อนที่ของวัตถุ ซึ่งจะบ่งบอกถึงความพยายามที่จะเคลื่อนที่ไปข้างหน้าของวัตถุ โดยปริมาณนี้จะขึ้นอยู่กับมวลและความเร็วของวัตถุในขณะนั้น ตามความสัมพันธ์ว่า โมเมนตัม = มวล x ความเร็ว P = mv โดย P คือ ปริมาณโมเมนตัม m คือ มวลของวัตถุในขณะนั้น V คือ ความเร็วของวัตถุในขณะนั้น โมเมนตัมเป็นปริมาณเวคเตอร์ มีทิศทางตามทิศของความเร็ว v และมีหน่วยเป็นกิโลกรัม-เมตร/วินาที (kg.m/s) หมายเหตุ : วัตถุจะมีมวลมากเท่าไรก็ตาม หากไม่มีความเร็วก็จะไม่มีโมเมนตัม วัตถุที่มีการเคลื่อนที่ ทุกตำแหน่งที่รู้ความเร็วและรู้มวล จะช่วยให้รู้โมเมนตัมที่ตำแหน่งนั้นด้วย แรงลัพธ์จากภายนอก = อัตราการเปลี่ยนโมเมนตัม โมเมนตัมของวัตถุ สามารถถ่ายทอดให้กันได้โดยการชน   การดลและแรงดล การดล หมายถึง ค่าของโมเมนตัมที่เปลี่ยนแปลงไป เนื่องจากวัตถุมีการเปลี่ยนแปลงความเร็วและโมเมนตัม และแรงที่ทำให้โมเมนตัมเปลี่ยนไป จะเรียกว่า แรงดล   กฎการอนุรักษ์โมเมนตัม […]

สรุป ฟิสิกส์ เรื่อง การหมุน คืออะไร พร้อมข้อสอบ

สรุปเนื้อหาเรื่อง การหมุน คืออะไร การหมุน คือ การออกแรงกระทำกับวัตถุโดยไม่ผ่านศูนย์กลางมวลจนทำให้วัตถุเคลื่อนที่ในลักษณะหมุน ซึ่งวัตถุอาจจะหมุนอยู่กับที่หรือหมุนไปด้วยและเปลี่ยนตำแหน่งไปด้วย เราเรียกว่า การเคลื่อนที่แบบหมุน (Rotational motion) การหมุนเกิดจากการออกแรงกระทำกับวัตถุ โดยแรงลัพธ์ไม่ผ่านศูนย์กลางมวล ทำให้เกิดปริมาณที่ได้จากการหมุนเรียกว่า โมเมนต์ของแรง หรือ ทอร์ก (Torque) และเมื่อวัตถุหมุนจะมีความเร็วรอบจุดหมุน เรียกว่า “ความเร็วเชิงมุม เมื่อออกแรงกระทำกับวัตถุที่ไม่มีการเปลี่ยนรูปร่างซึ่งเรียกว่า วัตถุแข็งเกร็ง (Rigid body) เพื่อให้เกิดการหมุน โดยออกแรงในตำแหน่งที่ห่างจากจุดหมุนไม่เท่ากัน จะพบว่า วัตถุมีการต้านการหมุนไม่เท่ากัน เราเรียกปริมาณต้านการหมุนนี้ว่า โมเมนต์ความเฉื่อย   ความเร็วเชิงมุม คืออะไร ความเร็วเชิงมุม คือ การกระจัดเชิงมุม () ที่กวาดไปรอบแกนหมุนในหนึ่งหน่วยเวลา   โดย   เป็นการกระจัดเชิงมุม เป็นปริมาณเวกเตอร์มีทิศตั้งฉากกับระนาบการหมุน มีหน่วยเป็นเรเดียน, rad   เป็นความเร็วเชิงมุม เป็นปริมาณเวกเตอร์มีทิศเดียวกับการกระจัดเชิงมุม มีหน่วยเป็นเรเดียน/วินาที, rad/s เป็นเวลาขณะหนึ่ง การหาทิศของกระจัดเชิงมุม หาได้โดยใช้มือขวากำรอบแกนหมุน นิ้วทั้งสี่แทนทิศการหมุน […]

สรุป ฟิสิกส์ เรื่อง แรง มวล และกฎการเคลื่อนที่ คืออะไร

สรุปเนื้อหา แรงและกฏการเคลื่อนที่ คืออะไร แรง (Force, F) คือ สิ่งที่กระทำต่อวัตถุ แล้วทําให้วัตถุเปลี่ยนแปลงจากสภาพเดิม โดยอาจจะสัมผัสกับวัตถุหรือไม่สัมผัสวัตถุก็ได้ แรงเป็นปริมาณเวกเตอร์ มีทั้งขนาดและทิศทาง หน่วยของแรง คือ นิวตัน ( N ) ซึ่งแรงมีหลายชนิด ได้แก่ แรงดึง ที่ทำให้วัตถุยืดออกหรือแยกจากกัน แรงอัดหรือแรงกด ที่ทำให้วัตถุถูกบีบตัว แรงบิด ที่ทำให้วุตถุบิดเป็นเกลียว แรงเฉือน ที่ทำให้วัตถุขนานกับแรงที่กระทำ ซึ่งผลของแรงเมื่อกระทำต่อวัตถุจะเปลี่ยนสภาพนิ่ง ให้การเป็นเคลื่อนที่ไดเและมีความเร็ว ทำให้สิ่งที่กำลังเคลื่อนที่ เปลี่ยนทิศทางและเปลี่ยนอัตราเร็ว หรืออาจะเปลี่ยนสภาพรูปร่างไป หมายเหตุ : แรงที่กระทำไปในทิศทางเดียวกับการเคลื่อนที่ จะทำให้วัตถุมีความเร็วเพิ่มขึ้น แรงที่กระทำไปในทิศทางตรงกันข้ามกับการเคลื่อนที่ จะทำให้วัตถุมีความเร็วลดลง   แรงลัพธ์คืออะไร มีวิธีการหายังไงบ้าง แรงลัพธ์ คือ การรวมหรือผลบวกของแรงย่อยทั้งหมด มีขนาดจากจุดเริ่มต้นถึงหัวลูกศรของแรงสุดท้าย และมีทิศจากจุดเริ่มต้นถึงจุดสุดท้าย การหาแรงลัพธ์สามารถทำได้ 2 วิธี ได้แก่   มวล แรง และกฎการเคลื่อนที่ […]

สรุป ฟิสิกส์ เรื่อง การเคลื่อนที่แนวโค้งคืออะไร พร้อมข้อสอบ

สรุปเนื้อหาเรื่อง การเคลื่อนที่แนวโค้ง การเคลื่อนที่แบบวิถีโค้ง หรือการเคลื่อนที่แบบโพรเจคไทล์ คือ การเคลื่อนที่ของวัตถุที่มีแรงกระทำทำมุมใดๆ กับความเร็ว โดยมุมกระทำนั้นไม่คงที่ เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา จะได้ลักษณะการเคลื่อนที่เป็น โค้งพาราโบลาซึ่งมีการขจัดเกิดขึ้น 2 แนวพร้อมกันคือ แนวราบและแนวดิ่ง ดังนั้น ความเร็วขณะใด ๆ ของการเคลื่อนที่จะต้องประกอบด้วยความเร็ว 2 แนว คือ แนวราบ ( V ) และแนวดิ่ง ( V, ) ทิศของความเร็วใดๆ จะต้องสัมผัสกับเส้นโค้งการเคลื่อนที่เสอม ดังรูป การเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์ ประกอบด้วยการเคลื่อนที่ 2 แนวที่เป็นอิสระต่อกัน จึงแยกคำนวณ ออกเป็น 2 แนว คือ ในแนวระดับ จะไม่มีแรงใดๆมากระทำขณะเคลื่อนที่ จึงทำให้วัตถุเคลื่อนที่ด้วยความเร็วคงตัว ในแนวดิ่ง จะมีแรงดึงดูดของโลกกระทำตลอดการเคลื่อนที่ของวัตถุนั้น   สิ่งที่ควรรู้ในการคำนวณการเคลื่อนที่แบบวิธีโค้ง วัตถุเคลื่อนจาดระดับความสูงเดียวกันโดยมีความเร็วต้น ในแนวดิ่งเท่ากันจะตกถึงพื้นดินในเวลาเท่ากัน ณ ระดับเดียวกันอัตราเร็วขาขึ้นเท่ากับอัตราเร็วขาลง และเวลาขาขึ้นเท่ากับเวลาขาลง ความสัมพันธ์ของการเคลื่อนที่แนวราบและแนวดิ่งมีเวลา t […]

สรุป ฟิสิกส์ เรื่อง ของไหล คืออะไร พร้อมข้อสอบ

สรุปเนื้อหาเรื่อง ของไหล คืออะไร ของไหล หรือ Fluids คือ สสารที่สามารถไหลได้โดยมีรูปร่างเปลี่ยนแปลงไปตามภาชนะที่บรรจุ เมื่ออยู่ในสภาวะสมดุล ของไหลจะไม่สามารถรับแรงเฉือนได้และของไหลทุกชนิดจะยุบตัวตามความกดดันได้เล็กน้อย ซึ่งในที่นี้ก็คือของเหลวและแก๊ส   สมบัติพื้นฐานของของไหล ความหนาแน่น (Density, p ) คือ มวลสารต่อหนึ่งหน่วยปริมาตร ความหนาแน่นเป็นลักษณะหนึ่งซึ่งแสดงถึงคุณสมบัติเชิงกายภาพของสสาร ในการศึกษากลศาสตร์ของไหลเบื้องตัน (ที่ของไหลมีความเร็วต่ำกว่าความเร็วเสียงมาก) สามารถกำหนดให้ความหนาแน่นของของไหลเป็นค่าคงตัวได้ ความหนาแน่นสัมพัทธ์ (Relative Density) ของสารใด หรือความถ่วงจำเพาะ คือ อัตราส่วนระหว่างความหนาแน่นของสารนั้น กับ ความหนาแน่นของสารอ้างอิง โดยทั่วไปนิยมใช้ความหนาแน่นของน้ำบริสุทธิ์ที่อุณหภูมิ 4 องศาเซลเชียส เป็นความหนาแน่นอ้างอิง 3. ความดันในของแหลว แรงดัน ( Force, F ) คือ ผลคูณระหว่างความดันกับพื้นที่ที่ถูกแรงกระทำ แรงดันเป็นปริมาณเวกเตอร์ มีหน่วยเป็น นิวตัน ความดัน ( Pressure, P ) คือ อัตราส่วนระหว่างแรงที่กระท้าต่อพื้นที่ที่ถูกแรงกระทำ […]

การเคลื่อนที่แบบฮาร์โมนิกอย่างง่าย คือะไร

สรุปเนื้อหา การเคลื่อนที่แบบฮาร์โมนิกอย่างง่าย คืออะไร การเคลื่อนที่แบบฮาร์โมนิกอย่างง่าย หรือ Simple Harmonic Motion : SHM คือ การเคลื่อนที่กลับไปมาซ้ำทางเดิมโดยผ่านตำแหน่งสมดุล และมีคาบของการเคลื่อนที่คงตัว เช่น การเคลื่อนที่ของวัตถุติดปลายสปริง การสั่นของสายเครื่องดนตรี การแกว่งของลูกตุ้มนาฬิกา ปริมาณที่ต้องรู้ สำหรับเรื่องการเคลื่อนที่แบบฮาร์โมนิกอย่างง่าย ความถี่ (f) คือ จำหน่วยรอบของการเคลื่อนที่ใน 1 วินาที หน่วยเป็น เฮิรตซ์ การขจัด คือ ระยะทางที่วัตถุเคลื่อนที่ไปโดยนับจากจุดสมดุล คาบ (T) คือ เวลาในการเคลื่อนที่ครบ 1 รอบ หน่วยเป็นวินาที (s) แอมพลิจูด คือ ระยะทางมากที่สุดที่วัตถุจะสามารถเคลื่อนที่ไปได้ โดยนับจากจุดสมดุลเช่นเดียวกัน อาจพิจารณาได้ว่า แอมพลิจูด คือ การขจัดที่มีปริมาณมากที่สุด ตัวอย่างข้อสอบเรื่อง การเคลื่อนที่แบบฮาร์โมนิกอย่างง่าย 1. จงคำนวณหาความเร่งเนื่องจากแรงโน้มถ่วง (g) ณ ตำแหน่งซึ่งนาฬิกาลูกตุ้มยาว 150.3 cm […]

สรุป ฟิสิกส์ เรื่อง คลื่นกล คืออะไร พร้อมข้อสอบ

สรุปเนื้อหา คลื่นกล คืออะไร คลื่นกล หรือ Mechanics wave คือ คลื่นที่อาศัยตัวกลางในการเคลื่อนที่ เช่น คลื่นเส้นเชือก คลื่นสปริง หรือคลื่นผิวน้ำ ชนิดของคลื่น แบ่งตามลักษณะการเคลื่อนที่ของอนุภาคตัวกลางขณะคลื่นเคลื่อนที่ผ่าน ได้แก่ คลื่นตามยาว ซึ่งเป็นคลื่นที่อนุภาคของตัวกลางสั่นในแนวเดียวกับการเคลื่อนที่ของคลื่น เช่น คลื่นในสปริง คลื่นเสียง เป็นต้น คลื่นตามขวาง เป็นคลื่นที่อนุภาคของตัวกลางสั่นในแนวตั้งฉากกับการเคลื่อนที่ของคลื่น เช่น คลื่นในเส้นเชือก เป็นต้น ชนิดของคลื่น แบ่งตามลักษณะของการทำให้เกิดคลื่น ได้แก่ คลื่นดล คือ คลื่นที่เกิดจากแหล่งกำเนิดสั่นเพียงครั้งเดียว ทำให้เกิดคลื่นเพียงหนึ่งลูก อาจมีลักษณะกระจายออกจากแหล่งกำเนิดที่ทำให้เกิดคลื่น เช่น การโยนหินลงไปในน้ำ คลื่นต่อเนื่อง คือ คลื่นที่เกิดจากการสั่นของแหล่งกำเนิดหลายครั้งติดต่อกัน ทำให้เกิด คลื่นหลายลูกติดต่อกัน โดยความถี่ของคลื่นที่เกิดขึ้นเท่ากับความถี่ของการรบกวนของแหล่งกำเนิดคลื่น เช่น คลื่นน้ำที่ เกิดจากการใช้มอเตอร์ การถ่ายโอนพลังงานของคลื่นกล โดยปกติแล้ว การเคลื่อนที่ของคลื่นที่อาศัยตัวกลางในการเคลื่อนที่นั้น ตัวกลางจะเคลื่อนที่กลับไปกลับมาแบบซิมเปิลฮาร์มอนิก โดยไม่ได้เคลื่อนที่ไปกับคลื่น ยกตัวอย่างเช่น เมื่อเราสะบัดเชือกให้ขึ้นลงจะทำให้เกิดคลื่นเส้นเชือก อนุภาคของเส้นเชือกจะเคลื่อนที่ขึ้นลงแบบซิมเปิลฮาร์มอนิก แต่คลื่นจะเคลื่อนที่ไปด้วยความเร็วคงตัว […]

สรุป ฟิสิกส์ เรื่อง คลื่นเสียง คืออะไร พร้อมข้อสอบ

สรุปเนื้อหาเรื่อง คลื่นเสียง คืออะไร คลื่นเสียง (Sound wave) คือ คลื่นกล (Mechanical wave) ตามยาวที่เกิดจากการสั่นสะเทือนของวัตถุ หรือ “แหล่งกำเนิดเสียง” ซึ่งต้องอาศัยตัวกลาง (Medium) ในการเคลื่อนที่ ซึ่งลักษณะของคลื่นเสียง ประกอบด้วย 2 ส่วนคือ ส่วนอัด และส่วนขยาย ดังรูป ทั้งนี้ การเคลื่อนที่ของเสียงผ่านตัวกลางหนึ่งไปยังอีกตัวกลางหนึ่ง ความถี่จะมีค่าคงที่ โดยความเร็วของคลื่นเสียงจะขึ้นอยู่กับชนิดของตัวกลางและอุณหภูมิ ดังรูป   สมบัติของเสียง การสะท้อน (Reflection) คือ การเคลื่อนที่ของเสียงไปกระทบสิ่งกีดขวาง ส่งผลให้เกิดการสะท้อนกลับของเสียงที่เรียกว่า “เสียงสะท้อน” (Echo) การหักเห (Refraction) คือ การเคลื่อนที่ของเสียงผ่านตัวกลางต่างชนิดกัน หรือการเคลื่อนที่ผ่านตัวกลางที่มีอุณหภูมิต่างกัน ส่งผลให้อัตราเร็วและทิศทางการเคลื่อนที่ของเสียงเปลี่ยนไป การเลี้ยวเบน (Diffraction) คือ การเดินทางอ้อมสิ่งกีดขวางหรือเลี้ยวเบนผ่านช่องว่างต่างๆของเสียง โดยคลื่นเสียงที่มีความถี่และความยาวคลื่นมาก สามารถเดินทางอ้อมสิ่งกีดขวางได้ดีกว่าคลื่นสั้นที่มีความถี่ต่ำ การแทรกสอด (Interference) เกิดจากการปะทะกันของคลื่นเสียงจากหลายแหล่งกำเนิด ซึ่งอาจทำให้เกิดเสียงที่ดังขึ้นหรือเบาลงกว่าเดิม หากคลื่นเสียงที่มีความถี่ต่างกันเล็กน้อย (ไม่เกิน […]

สรุป ฟิสิกส์ เรื่อง แสง คืออะไร พร้อมข้อสอบ

สรุปเนื้อหาเรื่อง แสง คืออะไร แสง คือ คลื่นชนิดหนึ่งและมีพลังงานการแผ่รังสีแม่เหล็กไฟฟ้าในช่วงความยาวคลื่นที่สายตามนุษย์มองเห็น โดยแสงนั้นมีคุณสมบัติ ดังนี้ แสงเป็นคลื่น ซึ่งเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า โดยที่ระนาบการสั่นของสนามแม่เหล็กตั้งฉากกับระนาบการสั่นของสนามไฟฟ้า และตั้งฉากกับทิศทางการเคลื่อนที่ของคลื่น และแสงก็มีการเลี้ยวเบนด้วย ซึ่งการเลี้ยวเบนก็แสดงคุณสมบัติของคลื่น แสงเป็นอนุภาค ซึ่งเป็นก้อนพลังงานมีค่าพลังงาน E = hf โดยที่ h คือค่าคงตัวของพลังค์ และ f คือความถี่ของแสง เรียกอนุภาคแสงว่าโฟตอน ทั้งนี้ ลักษณะความเป็นคลื่นของแสงระบุได้ด้วยสมบัติอย่างใดอย่างหนึ่งใน 3 ส่วน คือ ความยาวคลื่น () คือ ระยะระหว่างยอดคลื่น (crest) ที่อยู่ติดกัน วัดในหน่วยความยาว เช่น เมตร เซนติเมตร เป็นต้น ความถี่คลื่น (f) คือ จำนวนการสั่นไหวของคลื่น (wave oscillatation) หรือจำนวนลูกคลื่นต่อวินาที วัดในหน่วย cm-1 (Hz) ความเร็วคลื่น (V) คือ […]

สรุป ฟิสิกส์ เรื่อง การเคลื่อนที่แบบต่างๆ

สรุปเนื้อหา การเคลื่อนที่แบบต่างๆ คืออะไร มีอะไรบ้าง 1. การเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์ (Progectile Motion) คือ การเคลื่อนที่ของวัตถุอย่างอิสระโโยมีแรงดึงดูดของโลกมากระทำเพียงแรงเดียวเท่านั้น เป็นการเคลื่อนที่แบบวิถีโค้ง เช่น การขว้างวัตถุออกไป โดยการเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์ ประกอบด้วยการเคลื่อนที่ 2 แนวพร้อมกัน คือ แนวระดับและแนวดิ่ง ซึ่งพบว่า ความเร็วเริ่มต้นทางแนวระดับไม่มีผลต่อการเคลื่อนที่ในแนวดิ่ง โดยดูจากการตกของวัตถุที่ปล่อยและวัตถุที่ถูกดีด ถ้าดีดแรงตกไกล ดีดค่อยตกใกล้ แต่จะตกถึงพื้นพร้อมกับวัตถุที่ปล่อยให้ตกในแนวดิ่ง ณ จุดเริ่มต้นเดียวกัน แสดงว่า การเคลื่อนที่ในแนวระดับไม่มีผลต่อการเคลื่อนที่ในแนวดิ่ง ดังนั้น จึงแยกคิดการเคลื่อนที่เป็นอิสระต่อกัน 2 แนว ดังรูป การเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ แบบทั่วไป คือ จะมีเฉพาะความเร็วต้นในแนวระดับเพียงแนวเดียว และมีความเร็วทั้งแนวระดับและแนวดิ่ง แบบเมื่อจุดเริ่มต้นและจุดสุดท้ายอยู่ในแนวระดับเดียวกัน (ดังรูป) 2. การเคลื่อนที่แบบวงกลม (Circular motion) เป็นการเคลื่อนที่ใน 2 มิติอีกแบบหนึ่ง ที่ทิศทางของแรงกระทำหรือความเร่งของวัตถุจะมีทิศที่เปลี่ยนไปตลอดเวลาที่วัตถุเคลื่อนที่ โดยจะมีทิศตั้งฉากกับแนวการเคลื่อนที่ของวัตถุตลอดเวลา คือจะมีทิศอยู่ในแนวรัศมีของวงกลมที่วัตถุเคลื่อนที่ […]

1 2 3