เคมี เชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์

สรุปเนื้อหา เชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์ คืออะไร เชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์ หมายถึง เชื้อเพลิงที่เปลี่ยนสภาพจากสิ่งมีชีวิตในยุคต่างๆ โดยกระบวนการทางธรณีวิทยาและธรณีเคมี เช่น น้ำมัน แก๊ส ถ่านหิน 1. ถ่านหิน มีองค์ประกอบหลัก คือ ธาตุคาร์บอน และธาตุอื่น ๆ เช่น ออกซิเจน ไฮโดรเจน ไนโตรเจน และกำมะถัน และอาจมีธาตุ ปรอท นิเกิล ทองแดง และแคดเมียมอยู่บ้างเล็กน้อย นั่นจึงเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ซึ่งถ่านหินนั้นเป็นเชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์ที่มีสีดำหรือสีน้ำตาลดำ เกิดขึ้นเมื่อประมาณ 300 ล้านปีมาแล้ว เมื่อเฟิร์นขนาดใหญ่ มอส หรือพืชชนิดอื่น ๆ ตายลงและทับถมกัน และเมื่อมันถูกปกคลุมไปด้วยดิน ทำให้พวกมันมีโอกาสสัมผัสกับออกซิเจนน้อยมาก นอกจากนี้ความร้อนและความดันยังไล่ออกซิเจนและไฮโดรเจนซึ่งเป็นองค์ประกอบของซากพืชเหล่านี้ออกไป โดยเหลือคาร์บอนไว้ในปริมาณมาก กลายเป็นสารประกอบอินทรีย์ที่มีปริมาณคาร์บอนแตกต่างกันไป ถ่านหินที่มีปริมาณคาร์บอนมากก็จะให้ค่าพลังงานความร้อนมาก ซึ่งถ่านหินที่พบมีหลายประเภท เรียงตามระดับความลึกที่พบถัดจากผิวโลกลงไป โดยเรียงจากตื้นสุดไปหาชั้นลึกสุด คือ พีต (Peat), ลิกไนต์ (Lignite), บิทูมินัส (Bituminous) และแอนทราไซต์ […]