ความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต การจัดหมวดหมู่ของสิ่งมีชีวิต

สรุปเนื้อหาเรื่อง ความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต นักวิชาการได้ แบ่งความหลากหลายบนโลกใบนี้ไว้ใน 3 ระดับคือ ความหลากหลายในระดับนิเวศ (Ecological diversity) กล่าวคือ สิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกัน มีพันธุกรรมแบบเดียวกัน แต่เมื่ออาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน ก็ทำให้มีความแตกต่างกันได้ เช่น แบคทีเรีย E. coli ที่มียีน LacZ เมื่อ เลี้ยงในอาหารที่มีกลูโคสสูงผสมสารโครงสร้างคล้าย (analog) กาแลคโตส (x-gal) และสารกระตุ้นสีฟ้า (IPCT) กับกลุ่มที่เลี้ยงในอาหารที่มีกาแลคโตสผสมสารโครงสร้างคล้ายกาแลคโตสตัวกระตุ้นให้เกิดสีฟ้า จะมีสีของ โคโลนีแตกต่างกัน E. coli ที่มียีน LacZ สามารถสร้างเอนไซม์ -galactosidase ซึ่งสามารถเร่งปฏิกิริยาการย่อยน้ำตาลกาแลคโตสได้ แต่ในสภาวะที่มีน้ำตาลกลูโคสสูง เอนไซม์ตัวนี้จะไม่ถูกสร้างออกมา เมื่อไม่มีเอนไซม์ ไปเร่งการสลายพันธะของสารที่มีโครงสร้างคล้ายกาแลคโตส โคโลนีของแบคทีเรียกลุ่มนี้จึงเป็นสีขาว แต่ แบคทีเรียที่ถูกเลี้ยงในอาหารที่ไม่มีกลูโคส หากแต่มีน้ำตาลกาแลคโตสแบคทีเรียจะสร้างเอนไซม์มาเร่งปฏิกิริยา ย่อยน้ำตาลกาแลคโตสเป็นน้ำตาลกลูโคสและแลคโตส และเอนไซม์ตัวนี้ยังสามารถย่อย x-gal ท้าให้โคโลนีของ แบคทีเรียที่เลี้ยงในอาหารที่มีกาแลคโตสเกิดสีฟ้า ความหลากหลายในระดับชนิดพันธุ์ (Speciation diversity) เป็นความหลากหลายแตกต่างของสิ่งมีชีวิตต่างเผ่าพันธุ์ ซึ่งบางชนิดอาจมีความคล้ายคลึงกันมากกับอีกบางชนิดเช่น […]