การสังเคราะห์ด้วยแสง คืออะไร เกิดขึ้นที่ไหนได้บ้าง ?

การสังเคราะห์ด้วยแสง คืออะไร การสังเคราะห์แสง หรือ Photosynthesis คือ กระบวนการที่สิ่งมีชีวิตเปลี่ยนพลังงานแสงเป็นพลังงานเคมี โดยเก็บสะสมไว้ในสารอินทรีย์ที่สิ่งมีชีวิตสร้างขึ้น และพลังงานเคมีที่สร้างขึ้นนี้จัดว่าเป็นแหล่งพลังงานที่สิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ในโลกนี้ได้ใช้ประโยชน์ โดยมีสมการรวมของกระบวนการสังเคราะห์แสง คือ 6CO2 + 12H2O + พลังงานแสงและคลอโรฟิลล์ → C6H12O6 + 6O2 + 6H2O   การสังเคราะห์ด้วยแสง เกิดขึ้นที่ไหน การสังเคราะห์ด้วยแสงเกิดขึ้นได้ในทุกส่วนของต้นพืชที่มีสีเขียว โดยมีใบเป็นส่วนที่ทำหน้าที่นี้โดยตรง ตามปกติใบของพืชจะกางออกให้ได้รับแสงสว่างเต็มที่และก้านใบมักจะมีการบิดตัวตามการเคลื่อนที่ของดวงอาทิตย์เพื่อให้ใบได้รับแสงแดดอยู่เสมอ ผิวด้านบนส่วนที่รับแสงเรียกว่าหลังใบ ส่วนผิวด้านล่างที่ไม่ได้รับแสงเรียกว่าท้องใบ ทางด้านหลังใบมักมีสีเขียวเข้มและผิวเรียบกว่าทางด้านท้องใบ แต่เส้นใบทางด้านท้องใบจะนูนออกมาเห็นได้ชัดเจนกว่า โดยสรุปแล้วการสังเคราะห์แสงเกิดขึ้นได้หลาย ๆ ที่ ได้แก่ ใบพืช – เป็นส่วนที่มีคลอโรฟิลล์มากที่สุด Palisade mesophyll – เป็นส่วนที่มีคลอโรพลาสต์มากที่สุด Spongy mesophyll – เป็นส่วนที่เก็บแป้งซึ่งเปลี่ยนจากน้ำตาลที่สร้างขึ้นจาก Palisade cell (เก็บชั่วคราว จนกว่าจะนำไปใช้) Stoma – ช่องว่างระหว่าง guard cell ที่ให้ก๊าซผ่านเข้า-ออกที่ผิวใบ […]