TU-GET vocabulary

 

 

TUGET vocabulary บ้าง ในส่วนนี้ข้อสอบก็จะแบ่งออกเป็น 2 ส่วนย่อยๆคือ

1. Cloze Test

2. Synonym

 

TU-GET Vocabulary

ข้อสอบ TU-GET จะเน้นหนักไปในเรื่องของคำศัพท์ โดยข้อสอบจะแบ่งออกเป็นสองส่วนย่อยๆคือ Cloze Test และ Synonyms เริ่มจากส่วนที่เป็น Cloze Test ก่อน ในข้อสอบ Cloze Test นั้นโจทย์จำนำเอาบทความภาษาอังกฤษมาให้เราอ่าน แต่ในบทความนั้นโจทย์ได้ทำการลบคำบางคำออกไป เราจะต้องเลือกคำศัพท์ที่เติมแล้วทำให้บทความสมบูรณ์และเป็นไปในแนวทางเดียวกัน กล่าวคือนอกจากจะเติมคำที่หายไปด้วยคำศัพท์ที่ได้ความหมายในประโยคนั้นแล้ว คำนั้นต้องทำให้ประโยคนั้นสอดคล้องกับประโยคอื่นๆทั้งบทความ การที่จะทำข้อสอบส่วนนี้ให้ได้นั้นเราจำเป็นต้องรู้จักคำศัพท์ที่หลากหลาย ถ้าเราไม่รู้คำศัพท์เราก็จะเลือกคำไปเติมในช่องว่างไม่ถูกเลย ในเรื่องของการท่องจำคำศัพท์จะขออธิบายรวมๆหลังจากแนะนำข้อสอบ synonyms จบ เทคนิคหนึ่งที่ช่วยทำข้อสอบ Cloze Test ได้คือการรู้จักเชื่อมโยงความรู้ที่เรามีอยู่แล้วกับบทความที่เราอ่าน เพื่อทำให้เราเข้าใจความหมายโดยรวมของบทความว่ากำลังพูดถึงเรื่องอะไร ตามหลักแล้วถ้าเรามีพื้นฐานในหัวข้อที่บทความกล่าวถึง เราก็จะเข้าใจบทความอย่างพอสังเขปได้ ดังนั้นในขณะที่เราอ่านบทความให้เราพยายามคิดควบคู่กันไปด้วยว่าเรารู้อะไรเกี่ยวกับเรื่องในบทความบ้าง เพื่อใช้เป็นพื้นฐานในการทำความเข้าใจบทความทั้งหมด เช่นหากข้อสอบพูดถึงเรื่องการเหตุการณ์น้ำมันรั่วไหลในทะเล เราก็น่าจะเชื่อมโยงกับเหตุการณ์ที่เราเคยพบเห็นว่า เหตุการณ์น้ำมันรั่วนั้นเป็นเรื่องที่อันตรายต่อสิ่งแวดล้อม บทความจะต้องพูดถึงผลกระทบที่น้ำมันที่รั่วออกมามีต่อธรรมชาติและระบบนิเวศน์ คำศัพท์ต่างๆในบริบทนี้ก็จะทยอยแล่นเข้ามา ทำให้เราพอจะเข้าใจเนื้อเรื่องและเลือกคำศัพท์ที่ถูกต้องได้

ถัดมาเป็นส่วนของ synonyms ซึ่งยังคงประเมินความรู้เกี่ยวกับคำศัพท์ของเราอยู่ ในข้อสอบส่วนนี้โจทย์จำหยิบเอาประโยคภาษาอังกฤษมาหนึ่งประโยคแล้วขีดเส้นใต้คำคำหนึ่ง พร้อมกับให้ตัวเลือก 4 ข้อ เราต้องหาให้เจอว่าคำที่ขีดเส้นใต้นั้น มีความหมายเหมือนกับคำใดใรตัวเลือกทั้ง 4 ข้อ หรือตัวเลือกทั้ง 4 ข้อนั้น มีตัวใดที่สามารถนำมาใช้แทนคำที่ขีดเส้นใต้ได้ เช่นเดียวกัน การจะทำข้อสอบส่วนนี้ให้ได้เราต้องมีคลังคำศัพท์ค่อนข้างมาก ต้องหมั่นท่องคำศัพท์เสมอ

ต่อไปนี้เป็นเทคนิคที่ใช้ในการเรียนรู้คำศัพท์เพื่อให้สามารถนำไปใช้ในการสอบและชีวิตจริงได้จริงๆ ก่อนอื่นเลยเราต้องเข้าใจว่าคำศัพท์ทุกคำมีหน้าที่ที่ต่างกัน เวลาเราท่องคำศัพท์ การจำแต่เพียงวิธีเขียนและความหมายของคำคำนั้นเป็นสิ่งที่อันตรายมาก เพราะการจำเพียงวิธีเขียนและคำแปลนั้นไม่สามารถทำให้เราเอาไปใช้ได้จริง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในชีวิตจริงและในข้อสอบ TU-GET ยกตัวอย่างเช่นคำว่า traffic jam ที่แปลว่า การจราจรติดขัด เป็นคำนาม หากเราจำแค่คำและความหมายโดยไม่คำนึงถึงหน้าที่ของคำนั้น เราก็จะใช้ผิดตามไปด้วย หลายคนจึงชอบพูดว่า The traffic is very jam* (รถติดมาก) ซึ่งเป็นประโยคที่ผิด คำว่า traffic jam เป็นคำนาม และ jam ไม่ใช่ verb หรือ adjective ดังนั้นเราจะใช้แบบนี้ไม่ได้ นอกจากนี้เรายังต้องเข้าใจธรรมชาติของคำศัพท์ว่าคัพท์นั้นไม่ได้เกิดขึ้นตัวเดียว คำศัพท์แต่ละคำก็จะมี pattern หรือรูปแบบการใช้ที่แตกต่างกันออกไป ดังนั้นหาเราจำคำศัพท์เป็นคำๆก็จะใช้ไม่เป็นอีกเช่นกัน เช่นคำว่า apologize เป็น verb มีรูปแบบการใช้ที่ตายตัวคือ apologize to someone for doing something ถ้าเราจำคำศัพท์เป็น pattern เราจะรู้ทันทีว่า apologize ก่อนจะตามด้วยคน ต้องมีคำว่า to มาขั้นเสมอ ฉะนั้นการเรียนรู้คำศัพท์ต้องเรียนทุกๆองค์ประกอบของมันด้วย

นอกจากนี้การเรียนคำศัพท์จากการสร้างคำก็มีส่วนช่วยในการจดจำได้มาก เนื่องจากคำศัพท์ในภาษาอังกฤษหลายตัวเกิดจากรากศัพท์ และการสร้างคำโดยการเติม prefixes หรือ suffixes (คำอุปสรรค) หากเรารู้จักกับรากศัพท์ ก็ไม่ใช่เรื่องยากที่เราจะจำคำศัพท์ตัวอื่นๆที่มีต้นกำเนิดจากรากศัพท์เดียวกัน เช่น คำว่า –ver- เป็นรากศัพท์แปลว่า หมุน หรือเปลี่ยน convert (v) แปลว่า เปลี่ยน controversy (n) แปลว่าความขัดแย้ง versatile (adj) แปลว่า เก่งรอบด้าน เป็นต้น นอกจากรากศัพท์แล้ว การจำคำศัพท์โดยใช้คำเหมือยนหรือ synonym ก็มีประโยชน์มากในการจัดกลุ่มคำที่มีความหมายเหมือนกัน และจำเอาไว้ด้วยกัน แต่ข้อควรระวังก็มี เพราะบางครั้งข้อสอบจะชอบให้ตัวเลือกเป็นคำที่มีความหมายใกล้เคียงกันอยู่ในข้อสอบข้อเดียวกัน ฉะนั้นเราก็ต้องจำแนกให้ได้ว่าคำเหล่านั้นใช้ในกรณีที่ต่างกันอย่างไรบ้าง เช่น คำว่า necessary กับ important ไม่ได้ใช้แทนกันได้เสมอไป การที่เราพยายามท่องคำศัพท์แบบจับกลุ่มคำที่เหมือนกันเป็นเรื่องที่ดี แต่ไม่พอที่จะทำให้เราทำข้อสอบได้ เนื่องจากคำทุกคำไม่ได้ใช้แทนกันได้เสมอไป เราต้องเข้าใจถึง shade of meaning หรือความแตกต่างของความหมายของคำแต่ละคำด้วย อีกเรื่องที่สำคัญคือเรื่อง collocation เวลาคำศัพท์ภาษาอังกฤษเกิดขึ้นพร้อมๆกับคำอื่น เราเรียกว่า collocation หากเราท่องศัพท์เป็นคำๆ เราจะใช้ทำข้อสอบไม่ได้เพราะไม่รู้จักคำที่มันมาด้วยกัน ยกตัวอย่างเช่น เวลาจะบอกว่าลมแรง เราไม่ใช้คำว่า hard wind แต่เราใช้คำว่า strong wind ในขณะที่ฝนตกหนัก เราก็ไม่เรียก strong rain แต่เราเรียก hard rain เรื่องพวกนี้จะทำให้เราทำข้อสอบได้คะแนนมากขึ้น ต่อมาในส่วนของ Synonym ข้อสอบจำเอาประโยคภาษาอังกฤษมา 1 ประโยคและขีดเส้นใต้คำคำหนึ่ง ผู้เข้าสอบต้องเลือกคำที่มีความหมายเหมือนกันกับคำที่ขีดเส้นใต้ให้ถูก ในข้อสอบแบบนี้เรามักใช้เทคนิค context clue หรือการเดาศัพท์จากคำแวดล้อมเพื่อหาความหมายของคำที่โจทย์กำหนด ซึ่งก็เป็นเทคนิคที่ดี แต่บางครั้ง context ก็ไม่ได้ช่วยเราเท่าไหร่ ดังนั้นเราก็ต้องมีวิธีท่องคำศัพท์และหมั่นอัพเดทคำศัพท์ที่มักปรากฏในข้อสอบอย่างสม่ำเสมอ

Scroll to Top