TGAT คืออะไร ข้อสอบ TGAT 2024 สอบอะไรบ้าง

คอร์ส TGAT

TGAT คืออะไร สมัครสอบ ตารางสอบ แนวข้อสอบ รวมถึงเรื่องอื่นที่ DEK66 อย่าพลาด เพราะน้อง ๆ รุ่นนี้คือรุ่นแรกของข้อสอบชุดใหม่ พร้อม อัปเดตข้อมูลล่าสุด TCAS กำหนดการสอบ เกณฑ์ที่ใช้ มีอะไรเปลี่ยนไปบ้าง สิ่งสำคัญควรรู้

TGAT คืออะไร

TGAT คืออะไร

TGAT คือ การสอบเพื่อวัดสมรรถนะทั่วไป ย่อมาจาก Thai General Aptitude Test คะแนนจะเป็นส่วนหนึ่งในการยื่นสมัครเรียนต่อมหาวิทยาลัยในระบบ TCAS เนื้อหาการสอบ ได้แก่ ด้านการสื่อสารภาษาอังกฤษ การใช้เหตุผลเชิงปริมาณ การคิดอย่างมีตรรกะ และสมรรถนะการทำงานในอนาคต ซึ่งผู้สอบต้องสอบหมดทั้ง 3 พาร์ท พาร์ท ละ 100 คะแนน รวมคะแนนเต็ม 300 คะแนน

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม ได้ที่ https://www.chulatutor.com/tgat-คืออะไร/

TGAT ออกอะไรบ้าง

สำหรับใช้วัดสมรรถนะด้านการเรียนรู้ทั่วไป รูปแบบแนวข้อสอบใหม่ 2565 TGAT เบื้องต้นจะมีการปรับข้อสอบจากการสอบ GAT เดิม คะแนนรวมทั้งสิ้น 300 คะแนน มีความครอบคลุมแบบรอบด้าน ทั้งด้านภาษา การคิด และการทำงาน ซึ่งในส่วนของรายละเอียดการสอบนี้จะประกอบไปด้วย 3 พาร์ท คือ

  1. การสื่อสารภาษาอังกฤษ ( English communication )
  2. การคิดอย่างมีเหตุผล (Critical and Logical Thinking)
  3. สมรรถนะการทำงานในอนาคต (Future Workforce Competencies)
    • การสร้างคุณค่าและนวัตกรรม (Value Creation & Innovation)
    • การแก้ปัญหาที่ซับซ้อน (Complex Problem Solving)
    • การบริหารจัดการอารมณ์ (Emotional Governance)
    • การมีส่วนร่วมและรับผิดชอบต่อสังคม (Civic Engagement)

สำหรับข้อสอบ PAT ก็จะมีการเปลี่ยนแปลงเหมือนกันเป็น TPAT โดยทาง ทปอ. ได้เปลี่ยนจากการสอบระบบเก่ามาเป็นระบบใหม่ที่เริ่มใช้ในปีนี้ เพื่อลดปัญหา ลดความซ้ำซ้อนวิชาที่น้องๆ ต้องสอบ , เนื้อหาที่ใช้สอบจะไม่เกินหลักสูตรที่เรียนในระดับชั้นมัธยมปลาย

แนวข้อสอบ TGAT

แนวข้อสอบ จะมีความคล้ายคลึงกับ GAT ที่มีจะส่วนของ ข้อสอบพาร์ทภาษาอังกฤษ แต่จะเพิ่มส่วนพาร์ทสมรรถนะการทำงานเข้ามาด้วย นักเรียนสามารถดู ตัวอย่างข้อสอบ Blueprint ( LINK https://drive.google.com/file/d/1_BWYtxI0a_5xSMlafwMNC5BfOFvV18-b/ ) ดังนั้นน้อง ๆ ทุกคนจึงต้องพยายามนำเอาความรู้บวกกับประสบการณ์ของตนเองมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด โอกาสทำคะแนนสูงไม่ยาก

TGAT1 การสื่อสารภาษาอังกฤษ ​

การสื่อสารภาษาอังกฤษ (English Communication) เป็นพาร์ทการสอบที่เน้นการใช้ภาษาอังกฤษสื่อสารในชีวิตประจำวัน ข้อสอบเป็นแบบปรนัย 4 ตัวเลือก 100 คะแนน ระยะเวลาในการทำข้อสอบ 60 นาที มีโครงสร้างเนื้อหาที่ต้องสอบได้แก่

ทักษะการพูด 30 ข้อ ประกอบไปด้วย

– การถาม-ตอบ (Question-Response) 10 ข้อ

– เติมบทสนทนาแบบสั้น (Short conversations) 10 ข้อ

– เติมบทสนทนาแบบยาว (Long conversations) 10 ข้อ

ทักษะการอ่าน 30 ข้อ ประกอบไปด้วย

– เติมข้อความเนื้อเรื่องให้สมบูรณ์ (Text completion) 15 ข้อ

– อ่านเพื่อจับใจความ (Reading comprehension) 15 ข้อ

ตัวอย่างข้อสอบ TGAT 1 ภาษาอังกฤษ

TGAT 2 การคิดอย่างมีเหตุผล

การคิดอย่างมีเหตุผล (Critical & Logical Thinking) เป็นการสอบที่เน้นการเข้าใจ วิพากษ์ข้อมูลข่าวสาร ใช้เหตุผลเชิงปริมาณ และคิดอย่างมีตรรกะ ข้อสอบเป็นแบบปรนัย 5 ตัวเลือก 80 ข้อ คะแนนเต็ม 100 คะแนน ระยะเวลาในการทำข้อสอบ 60 นาที มีโครงสร้างเนื้อหาที่ต้องสอบ ดังนี้

ความสามารถทางภาษา (ภาษาไทย) จำนวน 20 ข้อ ประกอบด้วย

– การสื่อความหมาย

– การใช้ภาษา

– การอ่าน

– การเข้าใจภาษา

ความสามารถทางตัวเลข (คณิตศาสตร์) จำนวน 20 ข้อ ประกอบด้วย

– อนุกรมมิติ

– การเปรียบเทียบเชิงปริมาณ

– ความเพียงพอของข้อมูล

– โจทย์ปัญหา

ความสามารถทางมิติสัมพันธ์ (คณิตศาสตร์) จำนวน 20 ข้อ ประกอบด้วย

– แบบพับกล่อง

– แบบหาภาพต่าง

– แบบหมุนภาพสามมิติ

– แบบประกอบภาพ

ความสามารถทางเหตุผล (ภาษาไทย + คณิตศาสตร์)  จำนวน 20 ข้อ ประกอบด้วย

– อนุกรมภาพ

– อุปมาอุปไมยภาพ

– สรุปความ

– วิเคราะห์ข้อความ

ตัวอย่างข้อสอบ TGAT 2 กาคิดอย่างมีเหตุผล

TGAT 3 สมรรถนะการทำงานในอนาคต

สมรรถนะการทำงานในอนาคต (Future Workforce Competencies) เป็นพาร์ทการสอบที่เน้นวิเคราะห์ข้อสอบ โดยต้องทำความเข้าใจความต้องการของโจทย์ และเข้าใจวิธีการตอบคำถาม ซึ่งทุกคำตอบจะมีคะแนนที่แตกต่างกันออกไป

โดยรูปแบบข้อสอบเป็นปรนัย 4 ตัวเลือก ทุกคำตอบจะมีคะแนนอยู่ที่ระหว่าง 0 – 1 คะแนน ดังนั้น การตอบคำถามจึงมี 2 แบบ คือ เลือกตอบตัวเลือกเดียว และเลือกตอบหลายตัวเลือก (บางคำตอบเป็น 0.25 หรือ 0.50)  มีคะแนนเต็ม 100 คะแนน มีระยะเวลาที่ใช้สอบ 60 นาที โดยโครงสร้างข้อสอบ มีดังต่อไปนี้

การสร้างคุณค่าและนวัตกรรม จำนวน 15 ข้อ ประกอบด้วย

– การคิดเชิงวิเคราะห์

– การแก้ไขปัญหาอย่างมืออาชีพ

– ความคิดเชิงนวัตกรรม

การแก้ไขปัญหาที่ซับซ้อน จำนวน 15 ข้อ ประกอบด้วย

– การระบุปัญหา

– การแสวงหาทางออก

– การนำทางออกไปแก้ปัญหา

– การประเมินทางออกเพื่อการพัฒนาปรับปรุง

การบริหารจัดการอารมณ์ จำนวน 15 ข้อ ประกอบด้วย

– ความตระหนักรู้ตนเอง

– การควบคุมอารมณ์และบุคลิกภาพ

– ความเข้าใจผู้อื่น

การเป็นพลเมืองที่มีส่วนร่วมของสังคม จำนวน 15 ข้อ ประกอบด้วย

– การมุ่งเน้นการบริการสังคม

– จิตสำนึกและรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม

– การสร้างสรรค์เพื่อประโยชน์ของท้องถิ่น

ตัวอย่างข้อสอบ TGAT 3 สมรรถนะการทำงาน
TGAT TPAT A-Level

TGAT TPAT A Level คืออะไร

ข้อสอบวัดความถนัดทั่วไป , ความถนัดเชิงทักษะในสายอาชีพ และ วัดความรู้เชิงวิชาการที่เรียนในหลักสูตรเน้นการประยุกต์ใช้งาน โดย TGAT/TPAT จะสอบช่วงเดือนธันวาคมของทุกปี และ A-Level จะสอบในเดือนมีนาคมของทุกปี

TGAT TPAT คืออะไร

ระบบการสอบเพื่อวัดศักยภาพในการเข้าเรียนต่อระดับมหาวิทยาลัยรูปแบบใหม่หลังผ่านการประชุมจาก “ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย” หรือ ทปอ. มีจุดมุ่งหมายสำคัญเพื่อลดความซ้ำซ้อนของเนื้อหาในรายวิชาลง เน้นความรู้ที่ผู้สอบสามารถนำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดผลลัพธ์ดีที่สุด ไม่ใช่แค่การท่องจำเพียงอย่างเดียว

TPAT คืออะไร

TPAT คือ การสอบวัดความถนัดวิชาชีพ ย่อมาจาก Thai Professional Aptitude Test ซึ่งมีทั้งหมด 5 กลุ่ม ครอบคลุมทั้งทางด้านแพทย์ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมฯ ครุศาสตร์ สถาปัตยกรรม และความถนัดทางด้านศิลปกรรม โดย TPAT คะแนนเต็ม 100 คะแนน

A Level คือะไร

Applied Knowledge Level หรือ A-Level คือ วิชาสามัญ ที่เป็นข้อสอบส่วนกลาง โดยผลคะแนนใช้นำไปยื่นระบบ TCAS รอบต่างๆ ทั้งนี้ข้อสอบ A-Level จะเน้นประยุกต์ใช้

ปฎิทินการสอบ TGAT TPAT ปีการศึกษา 2567

วันที่ 1 – 20 ก.ย. 2566 รับสมัครสอบ TPAT1 วิชาเฉพาะ กสพท

วันที่ 29 ต.ค. – 5 พ.ย. 2566 รับสมัครสอบ

วันที่ 24 – 11 ธ.ค. 2566 พิมพ์บัตรที่นั่งสอบ

วันที่ 9-11 ธ.ค. 2566 สอบ

วันที่ 16 ธ.ค. 2566 สอบ TPAT 1 วิชาเฉพาะ กสพท

วันที่ 18 ธ.ค. 2566 ประกาศผลสอบ

วันที่ 19-26 ธ.ค. 2566 ขอทบทวนผลคะแนนสอบ สำหรับการสอบด้วยคอมพิวเตอร์

วันที่ 7 ม.ค. 2567 ประกาศผลสอบ สำหรับกรณีสอบด้วยกระดาษ

วันที่ 8-15 ม.ค. 2567 ขอทบทวนผลคะแนนสอบ สำหรับกรณีสอบด้วยกระดาษ

วันเวลารหัสและชื่อวิชา
วันเสาร์ 9 ธ.ค. 6609:00-12:00 น.TPAT5 ความถนัดครุศาสตร์ ศึกษาศาสตร์
 13:00-16:00 น.TPAT2 ความถนัดทางศิลปกรรมศาสตร์
วันอาทิตย์ 10 ธ.ค. 6609:00-12:00 น.ความถนัดทั่วไป
 13:00-16:00 น.TPAT3 ความถนัดทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์
วันจันทร์ 11 ธ.ค. 6609:00-12:00 น.TPAT4 ความถนัดทางสถาปัตยกรรมศาสตร์
วันเสาร์ 16 ธ.ค. 6608:30-12:30 น.TPAT1 วิชาเฉพาะ กสพท

สมัครสอบ TGAT 66

การสมัครสอบ จะเปิดรับสมัครเดือนพฤศจิกายน และจะสอบในช่วงต้นเดือนธันวาคม สำหรับน้อง ๆ คนไหนเลือกสอบกับคอมพิวเตอร์ คะแนนจะออกหลังจากสอบเสร็จเพียงไม่กี่วัน แต่สำหรับใครสอบด้วยแบบกระดาษ คะแนนสอบจะออกในช่วงต้นเดือนมกราคม น้อง ๆ สามารถดูรายละเอียดการสมัครสอบอย่างละเอียดได้จากปฏิทินด้านล่างนี้

วันที่ 1-10 พ.ย. 65 จะเปิดรับสมัครสอบ

วันสอบ 10-12 ธ.ค. 65 และจะประกาศผลสอบสำหรับคนที่สอบกับคอมพิวเตอร์ในวันที่ 13 ธ.ค. 65 สำหรับน้องที่สอบกับกระดาษ จะประกาศผลสอบในวันที่ 7 ม.ค. 66

ใครสอบได้บ้าง ?

– จะต้องเป็น นักเรียนชั้น ม.6 หรือเทียบเท่า

– ปวช. ปวส.

– นักเรียนที่จบมัธยมปลายจากต่างประเทศ

สำหรับเด็กซิ่ว ไม่สามารถใช้คะแนนของปีเก่าได้ จะต้องสอบใหม่ (คะแนนมีปีอายุเพียง 1 ปี)

คะแนน TGAT ใช้ยื่นรอบไหนได้บ้าง ?

รอบ 1 Portfolio :

รอบแฟ้มสะสมผลงาน สำหรับน้องๆ ที่มีทักษะ ความสามารถและคุณสมบัติพิเศษตรงตามความต้องการของมหาวิทยาลัย ถึงแม้ว่าจะเป็นรอบสำหรับยื่นผลงาน แต่ก็ยังต้องใช้คะแนนสอบหรือเกรดอยู่ (ขึ้นอยู่กับแต่ละคณะกำหนด)

รอบ 2 Quota :

รอบสำหรับนักเรียนในโครงการพิเศษและคนที่ภูมิลำเนาอยู่ในพื้นที่ตามเกณฑ์มหาวิทยาลัยกำหนด ที่มีความสามารถพิเศษ ไม่ว่าจะเป็นความสามารถด้านการเรียน ด้านกีฬา ด้านดนตรี ด้านศิลปะ ฯลฯ ซึ่งรอบนี้บ้างคณะใช้ทั้งคะแนน TGAT/TPAT/A-Level หรือบางครั้งก็ใช้ข้อสอบของมหาลัยฯ เองทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของแต่ละมหาวิทยาลัย

รอบ 3 Admission :

รอบรับตรงร่วมกัน พิจารณาคะแนนสอบ เปิดรับสมัครพร้อมกันทั้งประเทศ ซึ่งเป็นรอบที่ใช้คะแนนสอบ TGAT/TPAT/A-Level

รอบ 4 Direct Admission :

รอบรับตรงอิสระ ถือเป็นรอบเก็บตกสำหรับน้องๆ ที่ยังไม่ได้มหาวิทยาลัยที่ถูกใจ หรือยังไม่มีที่เรียน เป็นรอบที่รับสมัครค่อนข้างน้อยและไม่ได้เปิดรับทุกมหาวิทยาลัย ทุกคณะ โดยคะแนนที่ใช้จะเป็น TGAT/TPAT/A-Level

คณะ/มหาลัยฯ ไหนใช้คะแนน TGAT อย่างเดียว

– คณะรัฐศาสตร์ สาขาวิชาการเมืองการปกครอง

– คณะรัฐศาสตร์ สาขาวิชาการระหว่างประเทศ

– คณะรัฐศาสตร์ สาขาวิชาบริหารรัฐกิจ

– คณะศิลปกรรมศาสตร์ สาขาวิชาศิลปะการออกแบบพัสตราภรณ์ เอกออกแบบสิ่งทอ

– คณะศิลปกรรมศาสตร์ สาขาวิชาศิลปะการออกแบบพัสตราภรณ์ เอกออกแบบแฟชั่น

– คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ หลักสูตรสังคมเคราะห์ศาสรบัณฑิต

– คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ หลักสูตรสังคมเคราะห์ศาสรบัณฑิต ศูนย์ลำปาง

– คณะมนุษยศาสตร์ สาขาวิชาภาษาจีนธุรกิจ (ภาคพิเศษ)

– คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ (กำแพงแสน) สาขาวิชาการบัญชี

– คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ (กำแพงแสน) สาขาวิชาการบัญชี ภาคพิเศษ

– คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ (กำแพงแสน) สาขาวิชาการตลาด

– คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ (กำแพงแสน) สาขาวิชาการตลาด ภาคพิเศษ

– คณะอุตาสาหกรรมบริการ (กำแพงแสน) สาขาวิชาการจัดการธุรกิจการบิน

– คณะอุตาสาหกรรมบริการ (กำแพงแสน) สาขาวิชาการจัดการธุรกิจการบิน ภาคพิเศษ

– คณะอุตาสาหกรรมบริการ (กำแพงแสน) สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรมการบริการ เอกการจัดการการท่องเที่ยวร่วมสมัย ภาคพิเศษ

– คณะอุตาสาหกรรมบริการ (กำแพงแสน) สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรมการบริการ เอกการจัดการโรงแรม ภาคพิเศษ

– คณะวิทยาศาสตร์ สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ (โครงการพิเศษ)

– คณะวิทยาศาสตร์ สาขาวิชาวิเทคโนโลยีสารสนเทศ (โครงการพิเศษ)

– คณะวิทยาการจัดการ ทุกสาขาวิชา (โครงการเด็กดี อยากเรียน)

– คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์

– คณะวิศวกรรมศาสตร์ ทุกสาขาวิชา

– คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์

– คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สาขาวิชานิเทศศาสตร์

– คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สาขาวิชาสารสนเทศศึกษา

– คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สาขาวิชาประวัติศาสตร์

– คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สาขาวิชาศาสนาและปรัชญา

– คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรวัฒนธรรม

– คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สาขาวิชาการจัดการบริหารสังคม

– คณะนิติศาสตร์

– คณะสังคมศาสตร์ สาขาวิชารัฐศาสตร์

– คณะสังคมศาสตร์ สาขาวิชาจิตวิทยา

– คณะสังคมศาสตร์ สาขาวิชาประวัติศาสตร์

– คณะมนุษยศาสตร์ สาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น

– คณะมนุษยศาสตร์ สาขาวิชาภาษาไทย

– คณะมนุษยศาสตร์ สาขาวิชาภาษาฝรั่งเศส

– คณะมนุษยศาสตร์ สาขาวิชาพม่าศึกษา

– คณะมนุษยศาสตร์ สาขาวิชาภาษาจีน

– คณะมนุษยศาสตร์ สาขาวิชานาฏศิลป์ไทย

– คณะบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์ และการสื่อสาร สาขาวิชานวัตกรรมและการตลาดเชิงสร้างสรรค์

– คณะบัญชีและการจัดการ สาขาการเงิน

TGAT สอบเป็นภาษาอะไร

ข้อสอบในส่วนที่ 1 การสื่อสารภาษาอังกฤษ (English Communication) ข้อสอบจะเป็นภาษาอังกฤษ อยู่แล้ว ส่วนพาร์ท Critical and Logical Thinking และ Future Workforce Competencies ผู้สอบสามารถเลือกภาษาของข้อสอบได้ตามถนัด ซึ่งข้อสอบจะมีให้เลือกทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ นอกจากนี้ผู้สอบต้องทำข้อสอบในคอมพิวเตอร์อีกด้วย

TGAT รูปแบบการสอบ

การสอบมี2 รูปแบบ สามารถเลือกได้ว่าต้องการสอบคอมพิวเตอร์หรือกระดาษ

  • เลือกสอบแบบกระดาษ สนามสอบจะเป็นโรงเรียนเหมือนเดิม
  • เลือกสอบบนคอมพิวเตอร์ ศูนย์จะเป็นมหาวิทยาลัย ที่มีคอมพิวเตอร์รองรับ

สนามสอบ

น้อง ๆ สามารถเลือกวิธีสอบได้ว่าจะสอบแบบคอมพิวเตอร์ หรือ แบบกระดาษ กรณีสอบกับคอมพิวเตอร์สนามสอบจะเป็นมหาวิทยาลัย ส่วนถ้าเลือกสอบกระดาษสนามสอบจะเป็นโรงเรียน สามารถเลือกสนามสอบได้ไม่เกิน 5 แห่ง แล้วระบบจะจัดที่นั่งสอบให้กับทุกคน ซึ่งตอนสมัครสอบ อาจจะเลือกสอบทั้ง 2 แบบ คือ สอบกับคอมและกระดาษสลับกันก็ได้

คะแนนมีอายุกี่ปี ?

เมื่อได้รับผลคะแนนออกมาแล้ว จะมีอายุในการใช้งานอยู่ที่ 1 ปี หากน้อง ๆ ม.6 แม้จะทำการสอบนี้เรียบร้อยแล้ว แต่อยากรอยื่นมหาวิทยาลัยในปีถัดไป หรือคะแนนที่ได้รับยังไม่เป็นไปตามเป้าของคณะที่คาดหวังเอาไว้ ก็จะต้องสอบใหม่ในไปถัดไปนั่นเอง ไม่สามารถใช้คะแนนเดิมได้อีก แนะนำให้เลือกและวางแผนอย่างดี

สถิติคะแนน TGAT

ความถนัดทั่วไป

คะแนนเฉลี่ย 47.15

คนส่วนใหญ่ทำคะแนนได้ 40.001-50 คะแนน

การสื่อสารภาษาอังกฤษ

คะแนนเฉลี่ย 37.60

คนส่วนใหญ่ทำคะแนนได้ 20.001-30 คะแนน

การคิดอย่างมีเหตุผล

คะแนนเฉลี่ย 42.38

คนส่วนใหญ่ทำคะแนนได้ 30.001-40 คะแนน

สมรรถนะการทำงาน

คะแนนเฉลี่ย 61.47

คนส่วนใหญ่ทำคะแนนได้ 60.001-70 คะแนน

เรียน TGAT CHULA TUTOR สอนสด Online ผ่าน Zoom

คอร์สติวกับพี่หลิน สอนครอบคลุมทั้ง 3 พาร์ท ภาษาอังกฤษ และสรุปเนื้อหา พร้อมทำตัวอย่างข้อสอบให้กับน้อง ๆ ได้นำเอาไปใช้สำหรับการเตรียมสอบการคิดอย่างมีเหตุผล สมรรถนะการทำงานในอนาคต ครบทุกพาร์ท รายละเอียดชัดเจน ฝึกทำบ่อยเท่าไหร่ยิ่งเป็นเรื่องดีกับตัวทุกคนเองมากเท่านั้น คะแนนสูงไม่ไกลเกินเอื้อม

ติว TGAT ตัวต่อตัว

คอร์สเรียนเตรียมความพร้อมในการสอบให้กับน้อง ๆ มั่นใจทั้ง English Communications, Future Workforce Competencies, Critical and Logical Thinking ซึ่งไม่ว่าน้อง ๆ จะมีพื้นฐานดีอยู่แล้ว หรือขาดทักษะเบื้องต้น ไม่ถนัดข้อสอบแนววิเคราะห์ใด ๆ ก็ตาม สามารถคอร์ส ติวคอร์สนี้ได้แน่นอน ขอแค่มีความตั้งใจ

เรียนตัวต่อตัว Online ผ่าน Program Zoom
จำนวนคน จำนวนชั่วโมง
10 20 30 40
1 8,000 16,000 24,000 32,000
2
(ประหยัด 25%)
12,000 24,000 36,000 48,000
3
(ประหยัด 50%)
12,000 24,000 36,000 48,000
      แถม 2 ชม.
รวมเป็น 32 ชม.
แถม 4 ชม.
รวมเป็น 44 ชม.

รีวิว เรียน TGAT

TGAT สอบทีไหน

สำหรับน้องๆ ที่อยู่ กรุงเทพ สอบที่ จุฬาฯ , ม.เกษตร ,ศรีนครินทรวิโรฒ , พระจองเกล้าธนบุรี และลาดกระบัง

สำหรับน้องๆ ที่อยู่ จังหวัดปทุมธานี สอบที่ มหาวิทยาลัย รังสิต

สำหรับน้องๆ ที่อยู่ จังหวัดนครปฐม สอบที่ ศิลปากร

สำหรับน้องๆ ที่อยู่ จังหวัดขอนแก่น สอบที่ ม.ขอนแก่น

สำหรับน้องๆ ที่อยู่ จังหวัดเชียงใหม่ สอบที่ ม.เชียงใหม่ และ ม.แม่โจ้

สำหรับน้องๆ ที่อยู่ จังหวัดนครราชสีมา สอบที่ ม.เทคโนโลยีสุรนารี

สำหรับน้องๆ ที่อยู่ จังหวัดมหาสารคาม สอบที่ ม.มหาสารคาม

สำหรับน้องๆ ที่อยู่ จังหวัดนครพนม สอบที่ ม.นครพนม

สำหรับน้องๆ ที่อยู่ จังหวัดสงขลา สอบที่ ม.สงขลานครินทร์

สำหรับน้องๆ ที่อยู่ จังหวัดนครศรีธรรมราช สอบที่ ม.วลัยลักษณ์

สถิติคะแนน TGAT
ตัวอย่างข้อสอบ TGAT 1 พร้อมเฉลย
ตัวอย่างข้อสอบ TGAT 2 พร้อมเฉลย
ตัวอย่างข้อสอบ TGAT 3 พร้อมเฉลย
ตัวอย่างข้อสอบ TGAT 3 พร้อมเฉลย
Related Posts