BMAT คืออะไร ข้อสอบ BMAT 2024 สอบอะไรบ้าง

สอบ BMAT

BMAT คืออะไร

The BioMedical Admissions Test หรือ BMAT คือ แนวข้อสอบแบบเฉพาะทางสำหรับผู้ที่ต้องการเรียนต่อในในด้านแพทยศาสตร์ไม่ว่าจะเป็นแพทย์, ทันตแพทย์, สัตวแพทย์, วิทยาศาสตร์การแพทย์

เมื่อได้คะแนน BMAT แล้วจะนำไปใช้ยื่นเพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการเรียนหลักสูตรภาษาไทยหรือหลักสูตรนานาชาติก็ได้ จัดสอบโดย Cambridge Assessment Admissions Testing

สำหรับน้อง ๆ คนไหนที่สมัครสอบ TCAS เอาไว้ในรอบ Portfolio เมื่อยื่นคะแนนสอบ BMAT นี้แล้วก็ไม่ต้องสอบ กสพท. ให้ยุ่งยากอีกด้วย

วิธีสมัครสอบ BMAT

การสอบ BMAT จะมีตัวแทน (Authorized Agent ) จัดสอบโดยน้องๆ ที่สนใจสอบจะต้องเข้าไปค้นหาศูนย์สอบที่น้องสะดวกที่สุด ด้วยขั้นตอนดังนี้

การเลือกศูนย์สอบ BMAT

1. เข้าเว็บไซต์  https://www.admissionstesting.org/find-a-centre/

2. ไปที่ “Search for an authorized test centre”

3. เลือก Thailand

4. จากนั้นเลือก “Select a region/province”

5. เลือก “Select a city”

 

วิธีสมัครสอบ BMAT ผ่านหน้าเว็บไซต์

1. เข้าเว็บไซต์ https://www.capwise.co.th/

2. จะเป็น Timeline แจ้งข้อมูล วันที่เปิดรับสมัคร วันที่สอบ และ วันประกาศผลสอบ

3. ทำการลงทะเบียนหรือ “Sign Up” ด้วยอีเมลและตั้งค่า Password และทำการกดที่ “Register”

4. กรอกข้อมูลส่วนตัว (Personal Info)

5. ผู้สมัครสอบต้องเลือก มหาวิทยาลัยที่ต้องการจะสมัครสอบ

6. เลือกสนามสอบ (Select Test Center )

7. การชำระเงิน จะชำระผ่านเคาน์เตอร์ที่ธนาคาร

8. เมื่อชำระค่าสอบเรียบร้อยแล้ว จะได้รับ E-mail ยืนยัน

 

วิธีสมัครสอบ BMAT โดยการกรอกแบบฟอร์ม

1. หน้าแรก : ผู้สมัครต้องกรอกข้อมูลส่วนตัว

2. หน้าสอง : เลือกชื่อสถาบันที่ต้องการจะสมัครสอบ

3. หน้าสาม : กรณีที่ไม่มีรายชื่อสถาบันที่ต้องการสมัคร สามารถแจ้งรายชื่อสถาบันที่อยากจะลงสมัครได้เลย

4. หน้าสี่ : เป็นการแจ้งรายละเอียดค่าใช้จ่ายและ Access Arrangements

5. หน้าห้า : หน้าสุดท้าย คือ การอธิบายรายละเอียดของ Data Protection และการยินยอมในการตรวจสอบข้อมูลของผู้สมัครว่าเป็นความจริงหรือไม่

ค่าสมัครสอบ BMAT

Examination Admission Fee เป็นรายละเอียดค่าสอบที่ตกอยู่ประมาณ 6,950 บาท

สำหรับค่า Late Admission จะต้องจ่ายเพิ่มต่างหากอีก 2,000 บาท

ข้อสอบ BMAT ออกอะไรบ้าง

ข้อสอบประกอบด้วย 3 ส่วน ซึ่ง BMAT คะแนนเต็มของ 2 พาร์ทแรกรวมกันแล้วคือ 9 ส่วนพาร์ท 3 ต้องใช้คนตรวจ 2 คน และแบ่งเกรด BMAT คะแนนด้านเนื้อหาอยู่ที่ 0-5 และด้านการใช้งานภาษาอังกฤษแบ่งเป็น A, C, E

ส่วนที่ 1 Thinking Skills 60 นาที 32 ข้อ

เนื้อหาข้อสอบลักษณะ Problem Solving หรือจะเรียกว่า Aptitude ก็ไม่ผิด อีกส่วนเป็น Critical Thinking หรือ Critical Analysis แบ่งเป็นส่วนละ 16 ข้อ รวม 32 ข้อ เวลาสอบ 60 นาที

ส่วนที่ 2 Scientific Knowledge and Applications 30 นาที 27 ข้อ

เป็นลักษณะข้อสอบปรนัยทั้งหมด 27 ข้อ เวลาสอบ 30 นาที เนื้อหาจะเน้น 4 รายวิชาเป็นหลัก ฟิสิกส์ เคมี คณิตศาสตร์ และ ชีววิทยา เนื้อหาที่ออกสอบมีดังนี้

เคมี เรื่องที่ออกสอบ คือ

Atomic StructureThe Periodic TableChemical TestsMetals
Chemical ReactionsReduction and RedoxFormulae and Equationsfunctional Groups
Chemical BondingStructure and PropertiesOxidationEnergetics
Separation TechniquesAcidsBases and Saltsเคมีการวิเคราะห์ 

Physics เรื่องที่ออกสอบ คือ

ElectricityThermal PhysicsMatterMagnetism
MechanicsRadioactivityWaves 

Biology เรื่องที่ออกสอบ คือ

Cell Division and Sex DeterminationBiomedical Science
CellsInheritance
MovementAcross Membranes
Gene TechnologiesEnzymes
Animal PhysiologyVariation
DNAEcosystems

Math เรื่องที่ออกสอบ คือ

GeometryAlgebraProbabilityNumber
WordProblemStatistic 

ส่วนที่ 3 Writing Task 30 นาที 1 ข้อ

ผู้สอบต้องทำการเลือก 1 ใน 3 ของโจทย์ที่ให้มา จากนั้นตอบคำถามด้วยการเขียนตามแบบที่ตนเองเข้าใจ จากนั้นก็ประเมินตามเงื่อนไขที่ระบุเอาไว้

5 เทคนิคทำคะแนนข้อสอบ BMAT Writing Task

ข้อสอบ BMAT Writing Task ถือว่าเป็นพาร์ทที่ค่อนข้างยากที่สุ่ดใน 3 พาร์ทของข้อสอบ

ข้อสอบ Writing Task จะให้เวลาในการทำข้อสอบ 30 นาที ข้อสอบเป็นอัตนัย (essay) โดยน้องจะต้องเลือกเขียน 1 เรื่องจากข้อสอบที่ให้มา 3 เรื่อง

ความยาว Writing Task ประมาณ 300 คำ

ข้อสอบ Writing Task จะเน้นการแสดงความคิดเห็น การวิเคราะห์ ความสมเหตุสมผล และวัดทักษะเรื่อง ไวยากรณ์ การใช้คำศัพท์ เครื่องหมายต่างๆ และรวมถึง การเรียบเรียงประโยคให้สัมพันธ์กัน

เทคนิคการทำข้อสอบ Writing Task

  1. อ่านหัวข้อและคำถามให้ละเอียด
  2. เลือกหัวข้อที่เหมาะกับน้องมากที่สุด
  3. วิเคราะห์ประเด็น
  4. จัดระเบียบความคิดการเขียน ควรลิสต์ประเด็นที่ต้องการเขียน
  5. ร่างสิ่งที่เขียน ก่อนเขียนจริง
  6. กระดาษคำตอบ มี 1 แผ่น ขนาด A4 (ห้ามขอเพิ่ม และเขียนได้หน้าเดียว ห้ามเขียนหน้าหลัง) เพราะฉะนั้น น้องจะต้องวางแผนการเขียนให้ดีการเริ่มเขียนจริง

การคิดคะแนน BMAT

ส่วนที่ 1 – 2 คะแนนเต็ม 9.0

แต่ละข้อมี 1 คะแนน มีการแบ่งเกณฑ์การให้คะแนนออกเป็นสเกล 1-9

โดยส่วนใหญ่คะแนนจะอยู่ที่ 5.0 หากมีความชำนาญสูงขึ้นคะแนนจะอยู่ที่ 6.0 ขึ้นไป

 

ส่วนที่ 3 จะมีผู้ตรวจ 2 คน

ผู้ตรวจจะให้คะแนน 2 แบบ

ส่วนแรก จะเป็นการให้คะแนนด้านเนื้อหา ซึ่งมีเกณฑ์คะแนนอยู่ที่ 0-5

ส่วนที่สอง จะให้คะแนนด้านการใช้ภาษาอังกฤษ โดยแบ่งเป็นเกณฑ์ A, C, E

 

การให้คะแนน BMAT ด้านเนื้อหา (มี 1-5 คะแนน)

1 คะแนน หมายถึง เป็นการเขียนด้วยเนื้อหาที่พอรับได้ แต่ตอบไม่ค่อยตรงคำถาม

2 คะแนน หมายถึง เป็นการเขียนที่ค่อนข้างตรงประเด็น แต่อาจมีบางจุดที่ไม่ชัดเจน

3 คะแนน หมายถึง เป็นการเขียนที่พอใช้ได้ มีการสร้างเหตุผลโต้แย้ง แต่อาจมีจุดบกพร่องด้านการเชื่อมโยงความคิด

4 คะแนน หมายถึง เป็นการเขียนมีข้อบกพร่องน้อย ตอบตรงประเด็นทุกมุมมอง มีการใช้โครงสร้างประโยคแสดงออกถึงความคิดได้อย่างมีเหตุผล

5 คะแนน หมายถึง เป็นการเขียนที่ไร้ข้อผิดพลาด ตอบตรงประเด็น มีการใช้โครงสร้างประโยคแสดงออกถึงความคิดได้ดี สรุปได้ดี

 

เกณฑ์การให้คะแนนด้านการใช้ภาษาอังกฤษ

Band A หมายถึง การใช้ภาษาอังกฤษได้ดี โดยดูจากการอ่านได้ลื่นไหล, โครงสร้างประโยคดี, เลือกใช้คำศัพท์ได้เหมาะสม , ไวยากรณ์ใช้ถูกต้อง

Band C หมายถึง การใช้ภาษาอังกฤษได้พอใช้ โดยดูจาก การอ่านลื่นไหล , ใช้คำศัพท์ระดับกลาง , ใช้ไวยากรณ์ได้เหมาะสม เป็นต้น

Band E หมายถึง การใช้ภาษาอังกฤษค่อนข้างอ่อน เช่น มีจุดบกพร่องในประโยคหรือย่อหน้า, มีการใช้คำศัพท์ง่าย , ใช้ไวยากรณ์ผิด , มีจุดบกพร่องด้านการสะกดคำและเครื่องหมายวรรคตอน เป็นต้น

 

“เกณฑ์การให้คะแนน จะแบ่งเป็น A, B, C, D, E ”

หากกรรมการ 2 คน ให้คะแนน AA = A, AC=B, CC=C, CE=D, EE=E

โดยส่วนใหญ่คะแนนด้านเนื้อหา เต็ม 5.0 จะได้ 3.0, 3.5, 2.5, 2.0 และ 4.0 และภาษาอังกฤษจะได้ A, B, C, D, E ตามลำดับ

การยื่นคะแนน BMAT สอบเข้าแพทย์อินเตอร์

1. GPA ควรได้อยู่ที่ 3.0-3.5 ขึ้นไป

2. BMAT ควรได้ 12c ขึ้นไป

3. คะแนนภาษาอังกฤษ เช่น IELTS , TOEFL

4. Portfolio หรือผลงานที่เกี่ยวข้องกับสาขาแพทย์

เปรียบเทียบ BMAT VS กสพท.

1. อัตราแข่งขัน

แพทย์อินเตอร์ : 1,900 คน จำนวนที่รับ: 350 คน คิดเป็นอัตราส่วน 1:6

คนสมัคร กสพท 61: 43,000 คน จำนวนที่รับ: 1,719 คน คิดเป็นอัตราส่วน 1:25

2. ความยากของข้อสอบ

แพทย์อินเตอร์ ข้อสอบ Part 1 Aptitude test และ Part 3 Writing ข้อสอบยาก แต่ Part 2 Science ไม่ยาก

ข้อสอบ กสพ. ยากทุกพาร์ท

3. รอบ TCAS

คะแนน BMAT สามารถใช้ยื่นรอบแรกของ TCAS

คะแนน กสพท. ใช้ยื่นรอบที่สอบ ของ TCAS

4. จำนวนรอบสอบ

แพทย์อินเตอร์ มีสอบรอบเดียว

กสพท. มีสอบรอบเดียว

5. ค่าใช้จ่ายในการสอบ

ค่าสอบ BMAT 7,100 บาท

กสพท. ความถนัดแพทย์ ค่าสอบ 810 บาท , 7 วิชาสามัญ 710 บาท

6. จำนวนที่รับ

หมออินเตอร์ และ ทันตะอินเตอร์ รับ 350 คน

กสพท. หมอและทันตะ รับ 1,719 คน

7. เกณฑ์ยื่นคะแนนใช้อะไรบ้าง

แพทย์อินเตอร์ ใช้ GPA 3.00 – 3.5 / English > 6.5 / Chemistry , Biology , Physics , Math / Interview

กสพท. ใช้ 7 วิชาสามัญ (เลข,ฟิสิกส์ ,เคมี,ชีวะ,อังกฤษ ,ไทย,สังคม) >70% / ความถนัดทางแพทย์ >30% / ONET เกิน 60% ทุกวิชา

8.การสัมภาษณ์

แพทย์อินเตอร์ การสัมภาษณ์เป็นภาษาอังกฤษ มีการคัดออกครึ่งหนึ่ง

กสพท. สัมภาษณ์เป็นภาษาไทย ไม่มีการคัดออก

เรียน bmat ตัวต่อตัว
เรียน bmat ตัวต่อตัว

ติว BMAT ตัวต่อตัว

คอร์สเรียน BMAT ตัวต่อตัวกับผู้เชี่ยวชาญข้อสอบโดยตรง น้องๆ สามารถเลือกวันและเวลาเรียนได้ เรียนที่สถาบัน หรือ กรณีน้องไม่สะดวกในการเดินทาง สามารถเลือกเรียนสด ตัวต่อตัว ออนไลน์ ได้เช่นกัน ตอบโจทย์ทุก Lifestyle ของน้อง

ติวสอบ BMAT ตัวต่อตัว
จำนวนนักเรียนจำนวนชั่วโมง
20 ชม.30 ชม.40 ชม.
1 คน22,000 ฿33,000 ฿44,000 ฿
2 คน
( ประหยัดถึง 25% )
33,000 ฿49,500 ฿66,000 ฿
3 คน
( ประหยัดถึง 40% )
39,600 ฿59,400 ฿79,200 ฿
  แถมฟรี 2 ชม.แถมฟรี 4 ชม.

หมายเหตุ :

  • คอร์ส เรียนตัวต่อตัว มีห้องเรียนส่วนตัว / เรียนที่สถาบัน MBK / ผู้เรียนสามารถเลือกวันและเวลา เรียนเองได้ กรณีไม่สะดวกในการเดินทาง สามารถ เรียนตัวต่อตัว ผ่านทางออนไลน์ได้
Related Posts