สอบราชการ

เส้นทางสู่การเป็นราชการ ไม่ยากอย่างที่คิด

นอกจากการสอบเข้าทหาร ตำรวจ หรือสอบบรรจุเป็นครูแล้ว อีกหนึ่งเส้นทางสู่การเป็นข้าราชการ คือการบรรจุเป็น “ข้าราชการพลเรือนสามัญ” ซึ่งทำงานอยู่ในหน่วยงานต่างๆของรัฐ ซึ่งเป็นหนึ่งทางเลือกที่ใครหลายๆคนเลือกใช้เพื่อเข้ารับราชการ เพราะสามารถเลือกเข้าหน่วยงานที่ต้องการได้โดยตรง และสามารถเลือกทำงานในสายงานที่ตัวเองจบมาได้พร้อมกับการได้เป็นข้าราชการ ซึ่งเป็นอาชีพที่มีความมั่นคงและมีสวัสดิการที่ดี

 

“สอบราชการ” ต้องมีคุณสมบัติอะไรบ้าง?

  1. มีสัญชาติไทย
  2. มีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปี
  3. เป็นผู้สำเร็จการศึกษาในระดับ ปวช,. ปวส., ปวท., ปริญญาตรี, หรือปริญญาโท
  4. เป็นผู้เลื่อมใสในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขด้วยความบริสุทธิ์ใจ
  5. เป็นผู้มีหนังสือรับรองเพื่อยืนยันการผ่านการสอบ ภาค ก. (สำหรับผู้สมัครสอบภาค ข.)
  6. เป็นผู้ผ่านการสอบ ภาค ก.และ ภาค ข. (สำหรับผู้สมัครสอบภาค ค.)

 

ลักษณะต้องห้าม

  • เป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
  • เป็นคนไร้ความสามารถ คนเสมือนไร้ความสามารถ คนวิกลจริต หรือจิตฟั่นเฟือน ไม่สมประกอบ หรือเป็นโรคตามที่กำหนดในกฎ ก.พ.
  • เป็นผู้อยู่ในระหว่างถูกสั่งพักราชการหรือถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนตามพระราชบัญญัตินี้้หรือตามกฎหมายอื่น
  • เป็นผู้บกพร่องในศีลธรรมอันดีจนเป็นที่รังเกียจของสังคม
  • เป็นกรรมการหรือผู้ดำรงตำแหน่งที่รับผิดชอบในการบริหารพรรคการเมือง หรือเจ้าหน้าที่ในพรรคการเมือง
  • เป็นบุคคลล้มละลาย
  • เป็นผู้เคยต้องรับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกเพราะกระทำความผิดทางอาญา เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
  • เป็นผู้เคยถูกลงโทษให้ออก ปลดออก หรือไล่ออกจากรัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ
  • เป็นผู้เคยถูกลงโทษให้ออก หรือปลดออก เพราะกระทำผิดวินัยตามพระราชบัญญัติี้ หรือตามกฎหมายอื่น
  • เป็นผู้เคยถูกลงโทษไล่ออกเพราะกระทำผิดวินัยตามพระราชบัญญัตินี้ หรือตามกฎหมายอื่น
  • เป็นผู้เคยกระทำการทุจริตในการสอบเข้ารับราชการ หรือเข้าปฏิบัติงานในหน่วยงานของรัฐ

ผู้ที่จะเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือน ซึ่งมีลักษณะต้องห้ามตาม ข้อ 4, 6, 7, 8, 9, 10 หรือ 11 ทาง ก.พ. อาจพิจารณายกเว้นให้เข้ารับราชการได้ แต่ถ้าเป็นกรณีมีลักษณะต้องห้ามตามข้อ 8 หรือ 9 ผู้นั้นต้องออกจากงานหรือออกจากราชการไปเกิน 2 ปีแล้ว และในกรณีลักษณะต้องห้าม ตามข้อ 10 ผู้นั้นต้องออกจากงานหรือออกจากราชการไปแล้วเกิน 3 ปี และต้องไม่เป็นกรณีออกจากงานหรือออกจากราชการเพราะทุจริตต่อหน้าที่ สำหรับผู้มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 36 ข้อ 1 ให้มีสิทธิ์สมัครสอบแข่งขันได้ แต่จะมีสิทธิ์ได้รับบรรจุเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญที่สอบแข่งขันได้ต่อเมื่อพ้นจากการเป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองแล้ว

 

“สอบราชการ” ต้องสอบอะไรบ้าง?

ในการสอบรับราชการพลเรือนสามัญจะมีการสอบทั้งหมด 3 ประเภท คือ การสอบภาค ก., ภาค ข., และภาค ค. และจะมีเพิ่มเติมมาในภายหลัง นั่นคือการสอบภาค ก. พิเศษ

การสอบเพื่อวัดความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก.)

เป็นการสอบขั้นต้นที่ผู้ต้องการสมัครเข้ารับราชการพลเรือนสามัญต้องสอบ โดยจะประกาศรับสมัครสอบ ประมาณเดือน ก.พ. – มี.ค. ของทุกปี เมื่อสอบผ่านแล้ว สำนักงาน ก.พ. จะส่งหนังสือรับรองการสอบผ่านให้ตามที่อยู่ที่แจ้งไว้ในใบสมัครสอบ (สามารถดูรายละเอียดได้ที่ http://job.ocsc.go.th) โดยจะสอบทั้งหมด 3 วิชา ได้แก่

  1. วิชาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ (คะแนนเต็ม 100 คะแนน) เป็นการทดสอบ ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ครอบคลุมประเด็น ดังนี้
    • การคิดวิเคราะห์เชิงภาษา ได้แก่ การใช้ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร ความเข้าใจในการอ่านภาษาไทย การจับใจความสำคัญ การสรุปความ การตีความจากบทความ, ข้อความ, หรือสถานการณ์ต่าง ๆ
    • การคิดวิเคราะห์เชิงนามธรรม ได้แก่ การคิดหาความสัมพันธ์เชื่อมโยงคำ ข้อความหรือรูปภาพ ตลอดจนการหาข้อสรุปอย่างสมเหตุสมผลจากข้อความ สัญลักษณ์ รูปภาพ สถานการณ์ หรือ แบบจำลองต่าง ๆ
    • การคิดวิเคราะห์เชิงปริมาณ ได้แก่ ความเข้าใจ ความคิดรวบยอดและแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์เบื้องต้น การเปรียบเทียบและวิเคราะห์เชิงปริมาณ ตลอดจนการประเมินความเพียงพอของข้อมูล
  2. วิชาภาษาอังกฤษ (คะแนนเต็ม 50 คะแนน) เป็นการทดสอบทักษะภาษาอังกฤษเพื่อวัดความเข้าใจในหลักการสื่อสาร โดยใช้ศัพท์, สำนวน, โครงสร้างประโยคที่เหมาะสมทั้งในเชิงความหมายและบริบท แสดงถึงความสามารถในการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ การวัดความสามารถด้านการอ่าน โดยทดสอบการทำความเข้าใจในสาระของข้อความหรือบทความ และการวัดความสามารถด้านการเขียนภาษาอังกฤษในระดับเบื้องต้น
  3. วิชาความรู้และลักษณะการเป็นข้าราชการที่ดี (คะแนนเต็ม 50 คะแนน) เป็นการทดสอบความรู้ที่เป็นพื้นฐานของการเป็นข้าราซการที่ดี ได้แก่ ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน หลักการบริหารกิจการ
    บัานมืองที่ดี วิธีปฏิบัติราซการทางปกครอง หน้าที่และความรับผิดชอบในการปฏิบัติหน้าที่ราชการ ตลอดจนเจตคติและจริยธรรมสำหรับข้าราชการ

 

การสอบเพื่อวัดความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง (ภาค ข.)

เป็นการสอบวิชาเฉพาะตามตำแหน่งนั้นๆ จัดโดยหน่วยงานแต่ละหน่วยโดยตรง ผู้เข้าสมัครจะต้องนำหนังสือรับรองมายืนยันว่าตนได้สอบผ่าน ภาค ก. แล้วจึงจะสมัครได้

 

การสอบเพื่อวัดความเหมาะสมกับตำแหน่ง (ภาค ค.)

จะเป็นการสอบสัมภาษณ์ หรืออาจมีการทดสอบอย่างอื่นเพิ่ม เช่น ทดสอบร่างกาย หรือ ทดสอบทางจิตวิทยา จัดโดยหน่วยงานแต่ละหน่วยโดยตรงเช่นเดียวกับการสอบภาค ข. โดยผู้เข้าสอบจำเป็นต้องผ่านการสอบ ภาค ก. และ ภาค ข. มาก่อนถึงจะมีสิทธิ์เข้าสอบภาค ค.

 

ความแตกต่างระหว่างสอบราชการกับสอบเข้ารัฐวิสาหกิจ

รัฐวิสาหกิจ คือ องค์กรที่มีรัฐบาลถือหุ้นร่วมอยู่ เป็นอีกหนึ่งองค์กรที่ใครหลายคนก็อยากเข้าทำงานเช่นเดียวกับราชการ ซึ่งการสอบเข้าก็มีความคล้ายคลึงกับการสอบเข้ารับราชการเป็นอย่างมาก ในส่วนนี้เราจะมาเปรียบเทียบลักษณะของการสอบบรรจุข้าราชการพลเรือนสามัญและการสอบบรรจุพนักงานรัฐวิสาหกิจให้ทุกคนเข้าใจมากยิ่งขึ้นค่ะ

สอบข้าราชการพลเรือนสามัญ สอบบรรจุพนัข้าราชการท้องถิ่น
ลักษณะการเปิดสอบ เปิดสอบพร้อมกันทั่วประเทศจากส่วนกลาง เปิดสอบพร้อมกันทั่วประเทศ แต่ต้องเลือกสอบตามภาคและเขตที่ต้องการ
คุณสมบัติผู้สอบ คุณสมบัติทั่วไป
1. มีสัญชาติไทย
2. มีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปี
3. เป็นผู้สำเร็จการศึกษาในระดับ ปวช,. ปวส., ปวท., ปริญญาตรี, หรือปริญญาโท
4. เป็นผู้เลื่อมใสในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขด้วยความบริสุทธิ์ใจ
เหมือนสอบเข้ารับราชการพลเรือนสามัญ แต่อาจมีกำหนดเพิ่มเติมในบางตำแหน่งเช่น ครูท้องถิ่นต้องมีใบประกอบวิชาชีพครู เป็นต้น
วิชาที่สอบ การสอบเพื่อวัดความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก.)
การสอบเพื่อวัดความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง (ภาค ข.)
การสอบเพื่อวัดความเหมาะสมกับตำแหน่ง (ภาค ค.)
แบ่งเป็นภาค ก. ข. และค. ตามแบบข้าราชการพลเรือนแต่จะสอบภาค ก. และข. ในวันเดียวกัน
ช่วงเวลาเปิดรับสมัครสอบ จัดสอบทุกปีช่วง ก.พ.-มี.ค. ไม่จัดสอบทุกปี ต้องคอยดูประกาศจากองค์การส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น

 

ความแตกต่างระหว่างการสอบราชการกับการสอบท้องถิ่น

การสอบท้องถิ่น คือ การสอบเข้ารับราชการสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเช่น อบต., เทศบาล, อบจ. ซึ่งการสอบท้องถิ่นนี้จะป็นคนละส่วนกับการสอบ ก.พ. เพื่อเข้าเป็นข้าราชการพลเรือน แต่การสอบเข้าก็มีความคล้ายคลึงกับการกันเป็นอย่างมาก ในส่วนนี้เราจะมาเปรียบเทียบลักษณะของการสอบบรรจุข้าราชการพลเรือนสามัญและการสอบบรรจุข้าราชการท้องถิ่นให้ทุกคนเข้าใจมากยิ่งขึ้นค่ะ สอบราชการรอบนี้ ใช้คะแนนภาษาอังกฤษยื่นไม่ได้แล้วนะ จากประกาศล่าสุดของสำนักงานกพ.เกี่ยวกับการสอบภาค ก. ได้มีการประกาศยกเลิกการใช้คะแนนสอบภาษาอังกฤษ TOEFL, IELTS, TOEIC, CU TEP, TU GET ช่วยยื่นทดแทนเป็นที่เรียบร้อย ซึ่งก่อนหน้านี้เราสามารถใช้คะแนนสอบภาษาอังกฤษข้างต้นช่วยยื่นทดแทนได้ในกรณีที่สอบภาษาอังกฤษของการสอบภาค ก. ไม่ผ่าน โดยมีเงื่อนไขว่าต้องได้คะแนนไม่ต่ำกว่า 50% ขึ้นไป และต้องเป็นคะแนนที่ยังไม่หมดอายุ

 

คอร์สสอบราชการ

รหัสคอร์ส วันเรียน รอบ เวลา หมายเหตุ เหลือที่นั่ง อาจารย์
M10121 15 มี.ค. 64 – 31 มี.ค. 64 จ. พ. ศ. 13.00-15:00 เต็ม 0 พี่แนน

อัตราค่าเรียน : 6,500 บาท

Related Posts