
สำหรับผู้มีความฝันในการเข้ารับราชการทหาร การสอบเข้าก็เปรียบเหมือนกับสนามรบแรกที่ทุกคนต้องฝ่าฟันไปเพื่อให้เข้าใกล้ชัยชนะของตัวเองมากขึ้น สำหรับวันนี้เราจะมาเจาะลึกเส้นทางการก้าวเข้าสู่การเป็นเหล่ารั้วของชาติว่ากว่า จะได้ประดับยศบนบ่า พวกเขาต้องผ่านอะไรกันบ้าง
สอบทหารแบบไหนที่ใช่เรา?
การเข้ารับราชการทหารนั้นแบ่งได้เป็น 3 วิธีหลักคือ
- สมัครทหารกองประจำการ (ทหารเกณฑ์) เมื่อถึงปีเกณฑ์ทหาร หรือก็คือเข้ารับราชการทหารเมื่อถึงเกณฑ์ทหารนั่นเอง เป็นวิธีสำหรับสำหรับเพศชายเท่านั้น โดยหลังจากเข้ารับราชการจะได้รับการบรรจุเป็นพลทหารชั้นประทวน และสามารถสอบเพื่อเลื่อนเป็นชั้นสัญญาบัตรได้ในลำดับต่อไป (วิธีนี้มีเฉพาะกองทัพบกเท่านั้น)
- สอบเข้าเป็นนักเรียนทหารของแต่ละกองทัพ โดยสมัครสอบตามประกาศรับสมัครของแต่ละกองทัพโดยตรง หรือสอบเข้าโรงเรียนเตรียมทหารและสอบเลือกเข้ากองทัพที่ต้องการสังกัด
- สมัครสอบบุคคลพลเรือนเข้ารับราชการทหาร หรือสอบบรรจุเข้าเป็นข้าราชการทหารตามตำแหน่งงานที่ประกาศสอบ โดยหน่วยงานต่าง ๆ ในกองทัพจะเป็นผู้ประกาศรับสมัครสอบโดยตรง
ในปัจจุบันเส้นทางที่ได้รับความนิยมสูงคือการเลือกการสอบบรรจุเข้ารับราชการเพื่อเข้าเป็นทหาร เนื่องจากเป็นเส้นทางที่เหมาะสำหรับบุคคลทั่วไปที่ไม่ได้จบการศึกษาจากโรงเรียนเตรียมทหารแต่อยากสมัครเป็นทหาร โดยใช้วุฒิการศึกษาที่ตนจบมายื่นเพื่อเข้าสมัครสอบได้ และสามารถเข้าสมัครได้ทั้งเพศชาย/ผู้เข้าสอบทหารหญิง วันนี้เรามีข้อมูลควรรู้สำหรับการสอบบรรจุทหารว่าเป็นอย่างไร มีรายละเอียดอะไรบ้าง และต้องทำอย่างไรบ้างสำหรับการเข้าเป็นทหารด้วยเส้นทางนี้
การสอบทหารทั้ง 4 เหล่า
สำหรับข้อกำหนดต่างๆ ของการเข้าสอบทหารนั้น แต่ละกองทัพจะเป็นผู้กำหนดเอง โดยแบ่งได้ตามกองทัพ 4 เหล่า ได้แก่ กองกองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศ และกองทัพไทย
กองทัพบก
คุณสมบัติผู้เข้าสอบทหารกองทัพบก
เพศชาย
- มีร่างกายสมบูรณ์ อายุ 22 – 35 ปี
- ต้องมีความสูง 160 ซม. รอบอก 76/79 ซม. โดยจะพิจารณาจากผลการวัดขนาดร่างกายในแบบ สด. 43 หรือผลการวัดขนาดร่างกายในวันตรวจการสอบโรครอบที่สอง
- ผ่านการเกณฑ์ทหาร หรือผ่านการเรียนนักศึกษาวิชาทหารปีที่ 3 (รด.ปี 3) เรียบร้อยแล้ว
ผู้เข้าสอบทหารหญิง
- มีร่างการสมบูรณ์ อายุระหว่าง 22-35 ปี
- มีน้ำหนักตั้งแต่ 40 กก. มีความสูงตั้งแต่ 150 ซม. โดยจะพิจารณาจากผลการวัดขนาดร่างกายในวันตรวจโรคการสอบรอบที่สอง
คุณสมบัติเพิ่มเติมทั้งชาย/ผู้เข้าสอบทหารหญิง
- มีสัญชาติไทยโดยการเกิด
- เป็นผู้เลื่อมใสในการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
- ไม่เป็นโรคที่ขัดต่อการบรรจุเข้าเป็นนายทหารสัญญาบัตร ตามบัญชีชื่อความพิการทุพพลภาพ หรือโรคตามกฎกระทรวงฉบับที่ 74 (พ.ศ.2540) และ ฉบับที่ 76 (พ.ศ.2555) ออกตามความในพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ.2497 ซึ่งไม่สามารถจะรับราชการทหารได้
- ไม่เป็นผู้บกพร่องในศีลธรรม ไม่เป็นผู้ที่มีหนี้สินล้นพ้นตัว หรือเป็นบุคคลล้มละลายตามคำพิพากษาของศาล
- ไม่อยู่ในสมณเพศ
- ไม่เป็นผู้อยู่ในระหว่างเป็นจำเลยในคดีอาญา และไม่เคยต้องโทษจำคุกตามคำพิพากษาของศาลในคดีอาญา ยกเว้นแต่ความผิดฐานประมาทหรือลหุโทษ
- ไม่เป็นผู้อยู่ในระหว่างพักราชการเนื่องจากความผิด หรือหนีราชการ
- ไม่เป็นผู้เคยถูกปลดเพราะความผิดหรือถูกไล่ออกจากราชการ
- ไม่เคยทุจริตในการสมัครสอบ หรือการสอบคัดเลือกเข้าเป็นนักเรียนทหาร หรือการสอบเข้ารับราชการมาก่อน
- ไม่เป็นผู้เสพยาเสพติด หรือสารเคมีเสพติดให้โทษ หรือมีประวัติคดีอาญาข้อหาเกี่ยวกับยาเสพติด
วุฒิการศึกษาของผู้เข้าสอบ
สำหรับกองทัพบก การสมัครสอบเข้าเป็นทหารมีแค่ชั้นสัญญาบัตรเท่านั้น ส่วนการเข้าเป็นทหารชั้นประทวนสามารถทำได้ด้วยการสมัครทหารกองประจำการ (ทหารเกณฑ์)
ระดับชั้นสัญญาบัตร ผู้สมัครต้องเป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับระดับปริญญาตรี/โท/เอก และต้องมีวุฒิปริญญาตามตำแหน่งที่รับสมัครสอบ
วิชาที่ออกสอบ
- วิชาพื้นฐาน 50 ข้อ 200 คะแนน แบ่งเป็น
- ภาษาไทย 80 คะแนน :: หลักภาษา การใช้ภาษา วรรณกรรมและวรรณคดีไทย
- ภาษาอังกฤษ 60 คะแนน :: ทักษะการสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษในเรื่องเกี่ยวกับข่าวสารสถานการณ์ปัจจุบัน เหตุการณ์สำคัญในอดีต และความรู้ทั่วไป
- ความรู้ทั่วไป 60 คะแนน :: ข่าวสารสถานการณ์ปัจจุบัน ทั้งในประเทศและต่างประเทศ เหตุการณ์สำคัญในอดีต ประวัติศาสตร์
- สอบวิชาเฉพาะเชิงลึกตามตำแหน่งที่สมัคร
กองทัพเรือ
คุณสมบัติผู้เข้าสอบทหารกองทัพเรือ
เพศชาย
- ต้องมีส่วนสูงไม่ต่ำกว่า 160 ซม. รอบอก 76/79 ซม.
- เป็นผู้เลื่อมใสในการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
- เป็นผู้ที่มีอายุ 18-35 ปี (สำหรับผู้สมัครสอบชั้นสัญญาบัตร)
- ต้องเป็นผู้ที่มีอายุ 18-30 ปี (สำหรับผู้สมัครสอบชั้นต่ำกว่าสัญญาบัตร)
- ผ่านการเกณฑ์ทหาร หรือผ่านการเรียนนักศึกษาวิชาทหารปีที่ 3 (รด.ปี 3) เรียบร้อยแล้ว
ผู้เข้าสอบทหารหญิง
- ต้องมีส่วนสูงไม่ต่ำกว่า 150 ซม.
- เป็นผู้เลื่อมใสในการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
- เป็นผู้ที่มีอายุ 18-35 ปี (สำหรับผู้สมัครสอบชั้นสัญญาบัตร)
- ต้องเป็นผู้ที่มีอายุ 18-30 ปี (สำหรับผู้สมัครสอบชั้นต่ำกว่าสัญญาบัตร)
คุณสมบัติเพิ่มเติมทั้งชาย/ผู้เข้าสอบทหารหญิง
- มีสัญชาติไทยโดยการเกิด
- ไม่เป็นผู้ที่มีร่างกายพิการ ทุพพลภาพ หรือมีโรคซึ่งไม่สามารถจะรับราชการทหารได้หรือไม่เป็นบุคคลพวกที่ 2, 3 และ 4 ตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง ซึ่งออกตามความในพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ.2497
- ไม่เป็นผู้บกพร่องในศีลธรรมอันดีงาม
- ไม่เป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว หรือเป็นบุคคลล้มละลายตามคำพิพากษาของศาล
- ไม่เป็นผู้ที่เคยถูกให้ออกจากราชการ เพราะมีความผิดหรือมีมลทินหรือมัวหมอง
- ไม่เป็นผู้ที่อยู่ในระหว่างพักราชการ หรือสำรองราชการอันเนื่องมาจากความผิดหรือหนีราชการ
- ไม่เป็นผู้ที่เคยต้องโทษจำคุก ตามคำพิพากษาของศาลในคดีอาญา ยกเว้นความผิดฐานประมาท หรือลหุโทษ
- ไม่เคยทุจริตในการสมัคร หรือการสอบคัดเลือกเข้าเป็นนักเรียนทหาร หรือนักเรียนอื่นใดของกองทัพเรือมาก่อน
- ไม่เป็นผู้เสพยาเสพติด หรือสารเคมีเสพติดให้โทษ หรือมีประวัติคดีอาญาในข้อหาเกี่ยวกับยาเสพติด
- ไม่เป็นผู้ที่ตาบอดสี (ทั้งนี้ หากตรวจพบว่าตาบอดสีในภายหลัง จะถูกตัดสิทธิ์โดยไม่สามารถเรียกร้องสิทธิ์ใด ๆ ได้)
- ไม่อยู่ในสมณเพศ
- ไม่อยู่ระหว่างตั้งครรภ์ (ทั้งนี้ หากตรวจพบว่าตั้งครรภ์ในภายหลัง จะถูกตัดสิทธิ์โดยไม่สามารถเรียกร้องสิทธิ์ใด ๆ ได้)
- ข้าราชการหรือลูกจ้างประจำ ที่จะสมัครสอบ จะต้องได้รับอนุญาตและรับรองความประพฤติจากผู้บังคับบัญชาตันสังกัด
วุฒิการศึกษาของผู้เข้าสอบ
ระดับชั้นต่ำกว่าสัญญาบัตร ผู้สมัครต้องเป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับชั้นม.6 / ปวช. /หรือ ปวส. ที่มีวุฒิตรงตามตำแหน่งที่รับสมัครสอบ
ระดับชั้นสัญญาบัตร ผู้สมัครต้องเป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับระดับปริญญาตรี และมีวุฒิปริญญาตามตำแหน่งที่รับสมัครสอบ
วิชาที่ออกสอบ
- วิชาภาษาไทย คะแนนเต็ม 100 คะแนน
- วิชาภาษาอังกฤษ คะแนนเต็ม 100 คะแนน
- วิชาชีพตามคุณวุฒิ 300 คะแนน (ยกเว้นวิชาอังกฤษและดุริยางค์ คะแนนเต็ม 200 และ 100 คะแนนตามลำดับ)
กองทัพอากาศ
คุณสมบัติผู้เข้าสอบทหารกองทัพอากาศ
- มีสัญชาติไทย โดยการเกิดตามกฎหมายว่าด้วยสัญชาติ
- มีอวัยวะ รูปร่าง ลักษณะท่าทาง และขนาดของร่างกายเหมาะสมแก่การเป็นทหาร ไม่เป็นโรคตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงกลาโหม ฉบับที่ 74 (พ.ศ.2540) และที่แก้ไขเพิ่มเติม ออกตามความ ในพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ.2497 และระเบียบกองทัพอากาศวาาด้วยมาตรฐานการตรวจทางแพทย์ ของบุคคลที่สมัครเข้ารับราชการเป็นผู้ปฏิบัติการภาคพื้นดินในกองทัพอากาศ พ.ศ. 2518
- มีส่วนสูงไม่ต่ำกว่า 150 เซนติเมตร ยกเว้นรหัสตำแหน่งที่กำหนด
- ไม่เป็นผู้บกพร่องในศีลธรรมอันดี
- ไม่เป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว หรือเป็นบุคคลล้มละลายตามคำพิพากษาของศาล
- ไม่เป็นผู้ที่เคยต้องโทษจำคุกตามคำพิพากษาของศาลในคดีอาญา ยกเว้น ความผิดฐานประมาท หรือลหุโทษ
- ไม่เป็นผู้อยู่ในระหวาางพักราชการ หรือสำรองราชการอันเนื่องมาจาก ความผิด หรือหนีราชการ
- ไม่เป็นผู้เคยถูกปลดออกจากราชการเพราะความผิด หรือถูกไล่ออกจากราชการ
- ไม่เป็นผู้เสพยาเสพติด หรือสารเคมีเสพติดให้โทษ
- ไม่เป็นผู้ที่ตาบอดสี
- ไม่เป็นผู้ที่อยู่ระหว่างตั้งครรภ์
- ไม่เป็นผู้ที่ขัดกับข้อกำหนดเกี่ยวกับรอยสักบนร่างกาย
- คุณสมบัติตามข้อ 1, 3 และ 9 – 12 ให้ยึดถือผลการตรวจราางกายของคณะกรรมการตรวจราางกายทางแพทย์กรมแพทย์ทหารอากาศ ที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นที่ยุติ ซึ่งจะมีการตรวจเพียงครั้งเดียวไม่มีการตรวจซ้ำอีกไม่ว่าขั้นตอนใด
และจะไม่พิจารณาผลการตรวจร่างกาย โดยแพทย์จากสถานพยาบาลอื่น - พระภิกษุหรือสามเณร ทางกองทัพอากาศไม่รับสมัครสอบและไม่อาจให้เข้าสอบ คัดเลือกเพื่อบรรจุเข้ารับราชการได้
วุฒิการศึกษาของผู้เข้าสอบ
ระดับชั้นต่ำกว่าสัญญาบัตร ผู้สมัครต้องเป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับชั้นม.6 / ปวช. /หรือ ปวส. ที่มีวุฒิตรงตามตำแหน่งที่รับสมัครสอบ
ระดับชั้นสัญญาบัตร ผู้สมัครต้องเป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับระดับปริญญาตรี/ปริญญาโท และมีวุฒิปริญญาตามตำแหน่งที่รับสมัครสอบ
วิชาที่ออกสอบ
ระดับชั้นที่ต่ำกว่าสัญญาบัตร
- ข้อสอบวิชาความรู้ทั่วไป 40 ข้อ
- วิชาความรู้วิชาชีพพื้นฐาน 30 ข้อ
- ข้อสอบวิชาพื้นฐานความรู้เฉพาะตำแหน่ง 30 ข้อ
ระดับชั้นสัญญาบัตร
มีข้อสอบ 100 ข้อ 100 คะแนน
- ข้อสอบวิชาความรู้ทั่วไป 40 ข้อ 40 คะแนน (ต้องสอบทุกตำแหน่ง)
- คณิตศาสตร์ 8 ข้อ
- ภาษาไทย 8 ข้อ
- ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร 8 ข้อ
- คอมพิวเตอร์พื้นฐาน 8 ข้อ
- ความรู้ทั่วไป 8 ข้อ
- ข้อสอบวิชาพื้นฐานความรู้เฉพาะตำแหน่ง 60 ข้อ 60 คะแนน (จำแนกตามตำแหน่ง)
ผู้เข้าสอบเข้ากองทัพไทย
เพศชาย
- จะต้องมีความสูงไม่น้อยกว่า 155 เซนติเมตร
- ผู้สมัครสอบตำแหน่งนายทหารสัญญาบัตรจะต้องมีอายุ 18 – 35 ปี
- ผู้สมัครสอบตำแหน่งนายทหารประทวน จะต้องมีอายุ 18 – 30 ปี ยกเว้นผู้ที่สมัครในกลุ่มตำแหน่งพลขับรถ จะต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 22 – 30 ปี
- ไม่เป็นผู้ที่อยู่ในระหว่างรับราชการเป็นทหารกองประจำการ (ทหารเกณฑ์)
- สำหรับบุคคลพลเรือนชายต้องไม่เป็นผู้เข้ารับการตรวจเลือกเข้าเป็นทหารกองประจำการ หรือผู้ที่ขอผ่อนผันเข้ารับการคัดเลือกเป็นทหารกองประจำการ
ผู้เข้าสอบทหารหญิง
- จะต้องมีความสูงไม่น้อยกว่า 150 เซนติเมตร
- ดัชนีมวลกาย (Body Mass Index) ไม่เกิน 30 กิโลกรัม/ตารางเมตร
- ไม่เป็นโรคเท้าแบนยึดติด (Rigid type) และไม่เป็นโรคตาบอดสี (Color Blindness)
- ผู้สมัครสอบตำแหน่งนายทหารสัญญาบัตรจะต้องมีอายุ 18 – 35 ปี
- ผู้สมัครสอบตำแหน่งนายทหารประทวน จะต้องมีอายุ 18 – 30 ปี
คุณสมบัติเพิ่มเติมทั้งชาย/ผู้เข้าสอบทหารหญิง
- มีสัญชาติไทยโดยการเกิดตามกฎหมายว่าด้วยสัญชาติ
- ไม่เป็นผู้บกพร่องในศีลธรรม ไม่เป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว หรือเป็นบุคคลล้มละลายตามคำพิพากษาของศาล
- ไม่เป็นผู้อยู่ในระหว่างเป็นจำเลยในคดีอาญา และไม่เคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกเพราะกระทำความผิดทางอาญา เว้นแต่ความผิดลหุโทษ หรือการกระทำโดยประมาท
- ไม่อยู่ในระหว่างพักราชการหรือสำรองราชการเนื่องจากกระทำความผิด หรือหนีราชการ
- ไม่เป็นผู้เคยถูกปลดออกจากราชการเพราะมีความผิดหรือมีมลทินมัวหมอง หรือถูกไล่ออกจากราชการ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ
- มีอวัยวะ รูปร่าง ลักษณะท่าทาง ขนาดของร่างกายเหมาะสมแก่การเป็นทหารและไม่เป็นโรคตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร
- ไม่เป็นผู้เสพยาเสพติด หรือสารเคมีเสพติดให้โทษ
- ไม่เป็นผู้ที่มีรอยสักบนร่างกายที่เห็นเด่นชัด
- ไม่เป็นผู้อยู่ระหว่างตั้งครรภ์
- คุณสมบัติตามข้อ 10-14 ให้ใช้ผลการตรวจร่างกายของคณะกรรมการแพทย์ถือเป็นยุติ ซึ่งจะมีการตรวจเพียงครั้งเดียว โดยไม่ตรวจซ้ำอีกไม่ว่ากรณีใด ๆ และจะไม่พิจารณาผลการตรวจร่างกายโดยแพทย์จากสถานพยาบาลอื่น
- พระภิกษุหรือสามเณร ทางกองบัญชาการกองทัพไทยไม่รับสมัครสอบ และไม่อาจให้เข้าสอบคัดเลือกเพื่อบรรจุเข้ารับราชการได้
- สำหรับนายทหารประทวน ลูกจ้าง พลอาสาสมัคร หรือพนักงานราชการในสังกัดของส่วนราชการกระทรวงกลาโหม ที่สมัครสอบจะต้องมีหนังสือรับรองความประพฤติ และได้รับอนุญาตจากหน่วยต้นสังกัด ในระดับกองพันหรือเทียบเท่าขึ้นไป
วุฒิการศึกษาของผู้เข้าสอบ
ระดับชั้นต่ำกว่าสัญญาบัตร ผู้สมัครต้องเป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับชั้นม.6 / ปวช. /หรือ ปวส. ที่มีวุฒิตรงตามตำแหน่งที่รับสมัครสอบ
ระดับชั้นสัญญาบัตร ผู้สมัครต้องเป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับระดับปริญญาตรี และมีวุฒิปริญญาตามตำแหน่งที่รับสมัครสอบ
วิชาที่ออกสอบ
ระดับชั้นต่ำกว่าสัญญาบัตร
วิชาพื้นฐานความรู้ทั่วไป ทุกตำแหน่งสอบเหมือนกัน ข้อสอบปรนัย
- คณิตศาสตร์ ระดับ ม.1
- ภาษาไทย ระดับ ม.1-ม.3
- หลักภาษา ความรู้เกี่ยวกับ หน่วยเสีย งรูปลักษณ์ของคำ หน้าที่ของคำ การสะกดคำ การอ่านคำ ความหมายของคำ และลักษณะประโยคเพื่อการสื่อสาร
- การใช้ภาษา ความรู้เกี่ยวกับ การใช้พจนานุกรม ระดับภาษา ราชาศัพท์ สำนวน สุภาษิต คำพังเพย ข้อบกพร่องในการใช้ประโยค โวหารการเขียน การใช้เครื่องหมายวรรคตอนและเครื่องหมายอื่น ๆ
- ความเข้าใจภาษาความรู้เกี่ยวกับ การอ่านจับใจความ การอ่านตีความ การอ่านสรุปความและการเขียนเรียงความ/บทความ
- ภาษาอังกฤษ เนื้อหาระดับ ม.1-ม.3 ความรู้เกี่ยวกับ คำศัพท์ สำนวน ไวยากรณ์พื้นฐาน ความเข้าใจประโยคและเนื้อเรื่องที่อ่าน การจับประเด็นและใจความของเรื่อง และบทสนทนาระดับเบื้องต้น
- ความรู้ทั่วไป ความรู้ด้านการเมือง การทหาร เศรษฐกิจ สังคม วิทยาศาสตร์เทคโนโลยี พลังงานสิ่งแวดล้อม ประชาคมอาเซียน และค่านิยมคนไทย
ระดับชั้นสัญญาบัตร
วิชาพื้นฐานความรู้ทั่วไป ทุกตำแหน่งสอบเหมือนกัน 60 ข้อ 60 คะแนน ดังนี้1
- คณิตศาสตร์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 ความรู้เกี่ยวกับ เซต ตรรกศาสตร์ ความสัมพันธ์และฟังก์ชั่น ระบบจำนวนจริง ความน่าจะเป็น สถิติ ลำดับและอนุกรม
- ภาษาไทย ระดับปริญญาตรี
- หลักภาษา ความรู้เกี่ยวกับ หน่วยเสียง รูปลักษณ์ของคำ หน้าที่ของคำ การสะกดคำ การอ่านคำ ความหมายของคำ และลักษณะประโยคเพื่อการสื่อสาร
- การใช้ภาษา ความรู้เกี่ยวกับ การใช้พจนานุกรม ระดับภาษา ราชาศัพท์ สำนวน สุภาษิต คำพังเพย ข้อบกพร่องในการใช้ประโยค โวหารการเขียน การใช้เครื่องหมายวรรคตอนและเครื่องหมายอื่น ๆ
- ความเข้าใจภาษา ความรู้เกี่ยวกับ การอ่านจับใจความ การอ่านตีความ การอ่านสรุปความ การเขียนเรียงความ/บทความ
- ภาษาอังกฤษ ระดับปริญญาตรี ความรู้เกี่ยวกับ ด้านคำศัพท์ สำนวน ไวยากรณ์ ความเข้าใจประโยคและเนื้อเรื่องที่อ่าน การจับประเด็นและใจความสำคัญของเรื่องและบทสนทนาทั่วไป
- รู้ทั่วไป ความรู้ด้านการเมือง การทหาร เศรษฐกิจ สังคม วิทยาศาสตร์เทคโนโลยี พลังงานสิ่งแวดล้อม ประชาคมอาเซียน และค่านิยมคนไทย
ตารางสรุปความแตกต่างของข้อสอบทหารทั้ง 4 เหล่า
กองทัพไทย | วิชาที่ใช้สอบวัดความรู้พื้นฐาน | ||||
ภาษาไทย | ภาษาอังกฤษ | คณิตศาสตร์ | ความรู้ทั่วไป | คอมพิวเตอร์พื้นฐาน | |
กองบัญชาการกองทัพไทย | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✖ |
กองทัพบก | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✖ |
กองทัพเรือ | ✓ | ✓ | ✖ | ✖ | ✖ |
กองทัพอากาศ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ |
สำหรับวันและเวลาการเปิดรับสมัคร จะขึ้นอยู่กับการเปิดรับตามปีงบประมาณของแต่ละกองทัพ ผู้สมัครสอบควรติดตามประกาศและข่าวสารจากเว็บไซต์และแฟนเพจของหน่วยงานในแต่ละกองทัพอย่างใกล้ชิด
คอร์สติวสอบทหาร
รหัสคอร์ส | วันเรียน | รอบ | เวลา | หมายเหตุ | เหลือที่นั่ง | อาจารย์ |
M10121 | 2 มี.ค. 66 – 30 มี.ค. 66 | จ. พ. ศ. | 13.00-15:00 | เต็ม | 0 | พี่แนน |
อัตราค่าเรียน : 10,500 บาท