ตัวอย่างข้อสอบ BMAT Section 1 – Thinking Skills

สำหรับ BMAT Aptitude and Skills นั้นให้เวลาเยอะกว่าส่วนอื่นก็จริง คือ 60 นาที แต่ก็มีจำนวน ข้อสอบ BMAT ที่เน้นการใช้ตรรรกะในการคิดวิเคราะห์อยู่เกือบในทุกๆ ข้อ ที่สำคัญมีจำนวนข้อสอบถึง 32 ข้อเลยทีเดียว

คำถามและผลลัพธ์ที่ต้องการ

คำถาม BMAT ข้อนี้เป็นคำถามเชิง Problem-solving โดยโจทย์ในข้อนี้จะถามว่า Ruby จะมีเงินเพิ่มขึ้นหรือลดลงเท่าไหร่สำหรับการซื้อแล็ปท็อปในราคา 1,500 ปอนด์ ให้ได้ภายในหนึ่งสัปดาห์ก่อนที่วันหยุดของเธอจะหมดลง

ข้อมูลที่โจทย์ให้มา

  • แล็ปท็อปที่ Ruby อยากซื้อราคา 1,500 ปอนด์
  • ต้องซื้อให้ได้ก่อนวันหยุดจะหมดลงใน 1 สัปดาห์
  • Ruby นั้นมี 12 สัปดาห์สำหรับวันหยุดฤดูร้อน และเธอหยุดพักผ่อนเป็นเวลา 4 สัปดาห์
  • Ruby มีรายได้ 6 ปอนด์ต่อชั่วโมง และทำงาน 6 ชั่วโมงทุกวันหลังจากที่เธอกลับมาจากเธอช่วงวันหยุด

คำตอบ

จากภาพคำตอบข้อ 1 คำตอบ A เป็นคำตอบที่ถูกต้อง เราทราบว่า Ruby หาเงินได้ 6 ปอนด์ต่อชั่วโมง และ Ruby จะทำงาน 6 ชั่วโมงทุกวันตลอดสัปดาห์ที่เธอกลับมาจากวันหยุด เราจึงเห็นว่าในตัวเฉลยจึงเริ่มที่การค้นหาว่า Ruby ทำงานที่กี่สัปดาห์ จากนั้นถึงจะทราบว่า Ruby ทำงานทั้งหมดกี่วัน และค่อยนำไปคิดต่อเป็นจำนวนชั่วโมง เพื่อคำนวณหาจำนวนเงินที่ Ruby จะหาได้จากการทำงานทั้งหมด จะเห็นได้ว่า Ruby นั้นมีเงินเกินมาจากค่าแล็ปท็อปที่เธออยากจะซื้ออีกด้วย

 


ตัวอย่างข้อสอบ BMAT Section 1 – Thinking Skills

คำถามและผลลัพธ์ที่ต้องการ

คำถามข้อนี้เป็นคำถามเชิง Critical Thinking ต้องการให้เราคิดเชิงวิเคราะห์เพื่อเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุด โดยโจทย์พูดถึงผู้ป่วยเด็กที่เป็นโรคหอบหืด และต้องการทราบข้อสรุปจากข้อมูลทั้งหมด โดยเราต้องเลือกคำตอบที่เหมาะสมที่สุดจาก A – E

ข้อมูลที่โจทย์ให้มา

จำนวนผู้ป่วยโรคหอบหืดในเด็กเพิ่มสูงขึ้น โดยทั่วไปมีความเชื่อว่าประชากรที่อาศัยและใช้ชีวิตอยู่ในเมืองใหญ่มีโอกาสเป็นโรคหอบหืดมากยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม ข้อมูลที่พบนั้นกลับตรงกันข้าม เพราะพบว่าอาการโรคหอบหืดส่วนใหญ่นั้น เด็กในเมืองเป็นโรคหอบหืดน้อยกว่าเด็กตามชนบท ซึ่งวัดความแตกต่างที่สัมพันธ์กันกับโรคหอบหืดได้จากน้ำหนักตัว โดยเด็กที่มีน้ำหนักตัวเยอะมากที่สุด มักจะประสบกับปัญหาโรคหอบหืดและหายใจแบบเสียงดังหวีดมากที่สุด นอกจากนี้ยังพบว่าปริมาณการออกกำลังกายที่สามารถช่วยลดน้ำหนักของเด็กๆ นั้นลดลงอย่างเห็นได้ชัดอีกด้วย

คำตอบ

คำตอบคือข้อ A โดยจากการอธิบายของข้อเฉลยนั้นจะเน้นให้เราทำสรุปเป็นประโยคสั้นๆ ไว้ก่อนเลย โดยสามารถสรุปใจความเนื้อหาได้ว่า จำนวนเด็กที่ป่วยเป็นโรคหอบเพิ่มมากขึ้นอาจเนื่องมาจากการออกกำลังกายของเด็กนั้นลดลง (เด็กที่หนักที่สุดเป็นโรคหอบหืดมากที่สุด)

ข้อ B ไม่ถูกต้อง เนื่องจากเป็นการบ่งชี้ถึงการเพิ่มขึ้นของเด็กที่ป่วยเป็นโรคหอบหืดในสังคม ซึ่งไม่มีการเจาะจงหรืออธิบายเหตุผลเพิ่มเติม

ข้อ C ไม่ถูกต้อง เนื่องจากไม่ได้มีการอธิบายเรื่องของการมี “สุขภาพที่ดี” สัมพันธ์กับเคสที่ป่วยเป็นหอบหืด นอกจากนี้ไม่มีข้อบ่งบอกถึงการเชื่อมโยงระหว่างการใช้ชีวิตอยู่ในชนบทและในตัวเมืองทำให้เกิดการเสี่ยงในเรื่องของโรคหอบหืดได้มากกว่ากัน

ข้อ D ไม่ถูกต้อง เพราะโจทย์ไม่ได้สื่อถึงว่าทำไมเด็กถึงไม่ชอบออกกำลังกาย

ข้อ E ไม่ถูกต้องเพราะไม่ได้มีการอธิบายว่าเด็กที่มีน้ำหนักน้อยจะเสี่ยงเป็นโรคหอบหืดน้อยลง

 


ตัวอย่างข้อสอบ BMAT Section 2 – Scientific Knowledge and Application

คำถามและผลลัพธ์ที่ต้องการ

โจทย์จะให้ผู้สอบพิจารณาคำตอบด้านล่างคือ A – E โดยเป็นคำตอบที่ให้เลือกจะอธิบายการจัดอิเล็กตรอนในอะตอม (Electronic configuration) จากนั้นโจทย์ต้องการทราบว่าข้อไหนแสดงถึงอโลหะที่มีปฏิกิริยามากที่สุด?

คำตอบ

วิธีที่ช่วยให้เราทำข้อสอบได้ไวก็คือ การตัดคำตอบที่ไม่ใช่ออกก่อน ดังนั้นตัวเลือกไหนที่ไม่ใช่อโลหะ (non-metal) เราก็สามารถตัดตัวเลือกนั้นออกได้ทันที โดยหากดูที่ตัวเลือกข้อ A จะพบว่ามีอิเล็คตรอนที่ outer shells ซึ่งหมายความว่าเป็นโลหะกลุ่ม 1 ทำให้เราตัดออกได้ ตัวเลือกในข้อ C ก็เช่นเดียวกัน มีอิเล็กตรอน 2 ตัวที่ outer shells ซึ่งหมายความว่าเป็นโลหะกลุ่ม 2 ก็ทำให้เราตัดออกจากตัวเลือกได้ ดังนั้นเราจะเหลือข้อ B, D และ E ที่ให้เลือกตอบ ซึ่งตัวเลือก E มีอิเล็กตรอน 6 ตัว ในขณะที่ตัวเลือก B และ D มีอิเล็กตรอน 7 ตัว แต่เนื่องจากข้อ E ต้องได้รับอิเล็กตรอน 2 ตัวเพื่อให้ outer shellsสมบูรณ์ จึงทำให้มีปฏิกิริยาน้อยกว่าตัวเลือก B และ D ซึ่งทำให้เราเหลือตัวเลือกอยู่แค่ 2 ข้อ โดยเราสามารถเปรียบเทียบได้ดังนี้คือ ข้อ B มี Electron shells 3 ตัว ในขณะที่ข้อ D มี 4 ตัว ดังนั้นจากจำนวน Electron shells ที่เพิ่มขึ้นในคำตอบ D เราสามารถสรุปได้ว่าข้อ D จะมีปฏิกิริยาน้อยกว่าตัวเลือก B ดังนั้นคำตอบที่ถูกต้องคือ ข้อ B นั่นเอง

 


ตัวอย่างข้อสอบ BMAT Section 2 – Scientific Knowledge and Applications

คำถามและผลลัพธ์ที่ต้องการ

ข้อนี้ให้เลือกคำตอบจากประโยคที่ถูกต้องมากที่สุด ดังนั้นผู้สอบควรพิจารณาคำตอบของตัวเลือกในแต่ละข้ออย่างละเอียด เพราะหลายครั้งคำตอบอาจจะใช้คำศัพท์หรือคำอธิบายที่ทำให้เราสับสนหรือเข้าใจผิดได้

คำตอบ

ตัวเลือกที่ถูกต้องสำหรับข้อนี้คือ ข้อ D เพราะมีข้อความที่ 3 และ 4 ที่ถูกต้อง

ข้อ 1 ไม่ถูกต้อง เนื่องจากแท้จริงแล้วพืชมีกระบวนการหายใจ เพราะการหายใจนั้นเป็นกระบวนการสำคัญสำหรับสิ่งมีชีวิตต่างๆ ไม่ว่าจะคนหรือพืชก็ตาม ต่างก็ต้องใช้ในการดำรงชีวิต

ข้อ 2 ไม่ถูกต้อง เนื่องจากการสลายสารโมเลกุลของสารอาหารแบบใช้ออกซิเจน (Aerobic respiration) เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดในการปล่อยพลังงานจากกลูโคส ซึ่งไม่ใช่การสลายอาหารแบบไม่ใช้ออกซิเจน (Anaerobic respiration) เพราะวิธีนี้เป็นวิธีที่เร็วที่สุดในการปลดปล่อยพลังงานจากกลูโคส แต่ไม่มีประสิทธิภาพมากเท่าไหร่นัก ดังนั้นในข้อนี้ควรอ่านคำตอบอย่างระมัดระวัง เพื่อป้องกันการสับสน

ข้อ 3 ถูกต้อง เพราะการใช้กรดอะมิโนเพื่อสร้างโปรตีนต้องการพลังงาน และการหายใจจะปล่อยพลังงานที่สามารถใช้สร้างโมเลกุลขนาดใหญ่เหล่านี้ได้

ข้อ 4 ถูกต้อง โดยคุณลักษณะที่สำคัญของเอนไซม์นั้นทำงานได้ดีที่สุดที่ optimum pH และเอ็นไซม์บางชนิดจะเสื่อมสภาพตามการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ นอกจากนี้เอ็นไซม์บางชนิดยังเหมาะกับค่า pH ที่เป็นด่างมากกว่า ในขณะที่เอนไซม์ในกระเพาะอาหารจะทำงานได้อย่างดีที่สุดที่ pH ที่เป็นกรดมากกว่า

 


ตัวอย่างข้อสอบ BMAT Section 3 – Essay Writing Task

คำถามและผลลัพธ์ที่ต้องการ

โจทย์ถามถึงความคิดเห็นของผู้สอบสำหรับ Quote จาก John Galsworthy นักเขียนรางวัล Nobel Prize โดยหลังจากอ่าน Quote นี้แล้ว โจทย์ให้เราอธิบายเหตุผลและยกตัวอย่างในเชิงโต้แย้งว่า Idealism นั้นสามารถช่วยแก้ปัญหาได้ไหม และในมุมมองเรานั้นจะนำ Idealism มาแก้ไขปัญหาได้มากขนาดไหน

คำตอบ

จากโจทย์จะเป็นการทำความเข้าใจเชิงปรัชญา และนำมาอธิบายหรือประยุกต์ใช้ในเชิงตรรกะ ซึ่งเอาจริงๆ แล้วคำตอบถูกหรือผิดนั้นยากที่จะตัดสิน เพราะเน้นเรื่องการใช้ตรรกะในการอธิบายมุมมองของเรา ซึ่งต้องยกทั้งเหตุผล การวิเคราะห์และความเข้าใจมาใช้ในการเขียนอธิบาย นอกจากนี้อีกส่วนที่สำคัญก็คือ รูปแบบของคำตอบที่ดีใน Section 3 นั้น ควรบรรยายด้วยการเขียน Essay แบบครบองค์ประกอบ คือ แบ่งออกเป็นส่วน Introduction และเนื้อหา ซึ่งในเฉลยแยกเป็นสองแบบให้ดู Argument for หรือ และ Argument against โดยในที่นี้จะยกเคส Foreign Aid ซึ่งหากเราทำข้อสอบจริง ก็ควรยกเคสที่เราเข้าใจและสามารถอธิบายได้อย่างลึกซึ้ง และอย่าลืมปิดท้ายด้วยการเขียน Conclusion เพื่อสรุปภาพรวมของเนื้อหาที่เราต้องการสื่อ

 


แนวทางการเตรียมตัวสอบ BMAT และการทำข้อสอบ BMAT

สรุปแนวทางในการทำข้อสอบ รายละเอียด
Section 1 ไม่ว่าคำถามเชิง Problem-solving หรือ Critical Thinking เราควรจะต้องเข้าใจความหมายของคำถามอย่างท่องแท้ที่สุด เพราะไม่งั้นจะไม่สามารถคิดเชิงวิเคราะห์เพื่อหาคำตอบต่อไปได้ นอกจากนี้โจทย์ในบางข้อนั้นจะใส่ข้อมูลไว้เยอะ และซับซ้อน ซึ่งแท้จริงแล้วมีไว้เพื่อทดสอบความสามารถในการดึงและสรุปข้อมูลของเรา หากเจอแบบนี้เข้าอย่าเพิ่งตกใจ ควรอ่านแบบ skimming และหาใจความของเนื้อหาให้ได้ไวที่สุด จะได้มีเวลาในการทำข้อสอบให้ครบทุกข้อ
Section 2 ส่วนนี้จะประเมินความรู้ด้านชีววิทยา เคมี ฟิสิกส์ และคณิตศาสตร์ ซึ่งหากเทียบกับการวัดระดับของอังกฤษจะอยู่ที่ระดับ GCSE ดังนั้นการเตรียมตัวทบทวนเนื้อหาและบทเรียนของช่วงมัธยมปลายจึงสำคัญพอสมควร แต่สำหรับนักเรียนไทยบางคนอาจจะมีข้อจำกัดของภาษาที่ไม่คุ้นเคย ดังนั้นแนะนำให้เปิด textbook หรือหัดอ่านเนื้อหาในรูปแบบของภาษาอังกฤษควบคู่ไปด้วย จะช่วยให้เข้าใจโจทย์คำถามมากยิ่งขึ้น
Section 3 การทำ Essay ในส่วนที่ 3 นั้นอาจจะเป็นปัญหาของบางคนเพราะ โจทย์มักจะยก Quote สั้นๆ จากแหล่งข้อมูลเชิงปรัชญา รวมไปถึงวิทยาศาสตร์ และการแพทย์ มาใช้เป็นคำถาม นอกจากนี้โจทย์ที่พบเจอบ่อยๆ อาจจะมาจากนักคิด นักเขียนคนสำคัญระดับโลก เช่น จาก Voltaire หรือ Charles Darwin ซึ่ง Essay หรือคำตอบของเราจะต้องอธิบายถึง ประเด็น ความหมาย การสร้างข้อโต้แย้ง หรือการประนีประนอมได้ โดยอย่าลืมว่าการเลือกใช้คำศัพท์ที่ถูกต้อง และไวยการณ์ที่เหมาะสมก็จำเป็นอย่างมาก นอกจากนี้ควรเขียนให้ได้ตาม structure หรือโครงสร้างของ Essay ที่ต้องมีทั้งบทนำ เนื้อหา และสรุปอย่างครบถ้วนอีกด้วย

 


ภาพรวมข้อสอบ BMAT

ใครที่ใฝ่ฝันอยากเป็นหมอหรืออยากต่อแพทย์และทันตแพทย์นั้น น่าจะเคยได้ยินการสอบของ BMAT หรือ Biomedical Admissions Test กันมาบ้างแล้ว ซึ่งแนวทางการสอบของ BMAT นั้นคิดค้นและพัฒนาโดย Cambridge Assessment Admissions Testing ซึ่งถือว่ามีมารตราฐานในระดับสากล ดังนั้นนอกจากผลสอบ BMAT จะใช้เรียนต่อแพทย์ในไทยได้แล้ว ยังใช้ในการสมัครเรียนต่อในต่างประเทศได้อีกด้วย โดยประเทศยอดฮิตที่รับผล BMAT มีอยู่หลายแห่งอาทิเช่น อังกฤษ ยุโรป (บางประเทศ) มาเลเซีย และสิงคโปร์ ดังนั้น CHULATUTOR จึงข้ออาสามาช่วยแนะแนวด้วยข้อสอบที่อัดแน่นและเน้นคุณภาพให้คุณพร้อมที่สุดในการสอบ BMAT ครั้งต่อไป

ข้อควรรู้เกี่ยวกับการสอบ BMAT

หัวข้อ รายละเอียด
BMAT ใช้วัดผลทางด้านไหน? BMAT คือ การสอบวัดทักษะความสามารถซึ่งนำมาใช้เป็นส่วนหนึ่งในการสมัครเข้าเรียนต่อทางด้านการแพทย์ วิทยาศาสตร์ชีวการแพทย์และทันตกรรม ตัวข้อสอบจะคล้ายกับการสอบ UKCAT (University Clinical Aptitude Test) แต่มีความยากกว่า เพราะเน้นความรู้ทางวิชาการอย่างเข้มข้น และเน้นการทดสอบเพื่อวัดผลทักษะการแก้ปัญหาอีกด้วย
ทักษะสำคัญที่ต้องใช้ในการสอบ BMAT
  • สามารถอ่านเขียนและเข้าใจภาษาอังกฤษได้อย่างคล่องแคล่ว เนื่องจากโจทย์เป็นภาษาอังกฤษ
  • สามารถทำข้อสอบได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ เพราะมีเวลาสอบเพียง 2 ชั่วโมงเท่านั้น
  • สามารถคิดเลขในใจอย่างง่ายๆ ได้
  • สามารถอ่านข้อมูลเชิงปริมาณที่เป็นตัวเลขหรือกราฟได้อย่างเข้าใจ
  • สามารถสรุปจากข้อมูลเชิงปริมาณ และนำมาใช้กับบริบทเฉพาะหรือเชิงสมมุติฐานได้
  • มีทักษะในการคิดเชิงตรรกะเพื่อใช้ในการวิเคราะห์โจทย์และข้อสอบเชิงตัวเลขได้
  • มีความสามารถในการสื่อสารข้อมูล เพื่อแสดงความเข้าใจ การตีความ และนำเสนอข้อโต้แย้งโดยใช้การเขียนภาษาอังกฤษที่ชัดเจนอย่างเหมาะสมในการตอบคำถามได้
  • สามารถใช้ความคิดแบบเป็นกระบวนการและหลักการ รวมถึงคิดเชิงวิเคราะห์แบบเวชปฏิบัติอิงหลักฐาน (Eveidence based) ได้
โครงสร้างข้อสอบ BMAT การสอบ BMAT แบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ Section 1, 2 และ 3 เวลาในการสอบทั้งหมดคือ 2 ชั่วโมง โดยข้อสอบมีทั้งปรนัย (Multiple Choice) และการเขียนตอบแบบ Short Essay
BMAT Section 1 จะเน้นเรื่อง Thinking Skills หรือวิธีการคิด ซึ่งจะให้เวลาในการสอบ 60 นาที ในส่วนนี้ต้องการวัดผลและทักษะในการแก้ปัญหา การทำความเข้าใจข้อโต้แย้ง และการวิเคราะห์ข้อมูลและการอนุมาน จะเป็นคำถามแบบปรนัยจำนวน 32 ข้อ โดยใน Section 1 จะแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ ส่วนที่ 1 คือ Problem Solving หรือโจทย์ที่ให้ผู้สอบแก้ปัญหาเชิงคำนวณอย่างง่ายๆ มีจำนวน 16 ข้อ โดยจะเน้นทักษะและความสามารถในการเลือกข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ระบุความคล้ายคลึงกัน กำหนดและใช้ขั้นตอนที่เหมาะสม ส่วนที่ 2 คือ Critical Thinking หรือการคิดเชิงวิเคราะห์โดยใช้วิจารณญาณ จะเป็น 16 ข้อที่เหลือ โดยโจทย์ต้องการเน้นทักษะในการคิดเชิงตรรกะและวัดความสามารถในการสรุปผล ระบุสมมติฐาน การให้เหตุผล การคิดแบบโต้แย้ง และการคิดแบบใช้หลักการ
BMAT Section 2 ส่วนที่ 2 จะเป็น Scientific Knowledge and Applications ซึ่งแนวทางของข้อสอบต้องการวัดผลทางด้านความรู้ทางวิทยาศาสตร์และการประยุกต์ โดยในส่วนนี้ให้เวลาทั้งหมด 30 นาที จำนวน 27 ข้อ ซึ่งคำถามจะเน้นในเรื่องของเนื้อหาที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์แบบทั่วไป และวิชาคณิตศาสตร์ในระดับมัธยมศึกษา คำถามจะอยู่ในรูปแบบปรนัย และไม่สามารถใช้เครื่องคิดเลขได้ โดยคำถามต่างๆ จะเน้นในเรื่องต่างๆ ดังต่อไปนี้คือ ชีววิทยามีคำถามจำนวน 7 ข้อ เคมีจะมีคำถามจำนวน 7 ข้อ ฟิสิกส์ มีคำถามจำนวน 7 ข้อ คณิตศาตร์ มีคำถามจำนวน 6 ข้อ
BMAT Section 3 ส่วนที่ 3 จะเป็นข้อสอบแบบ Writing หรือการเขียนตอบแบบ Short Essay โดยให้เวลาในการทำ 30 นาที ซึ่งผู้สอบสามารถเลือกตอบได้ 1 ข้อจากจำนวน 3 ข้อ แนวทางข้อสอบจะเป็นคำถามตามหัวข้อที่น่าสนใจทั่วไปทางวิทยาศาสตร์หรือทางการแพทย์ ซึ่งคำตอบที่ต้องการจะเน้นองค์ประกอบดังต่อไปนี้

  • คำอธิบาย เช่น ขอให้ผู้สอบอธิบายข้อเสนอแนะหรือผลลัพธ์จากโจทย์
  • นำเสนอข้อโต้แย้ง ผู้สอบอาจจะต้องนำเสนอข้อมูลอีกด้านหนึ่ง พร้อมเหตุผลเชิงตรรกะเพื่อใช้ในการโต้แย้ง
  • การประนีประนอมของ ผู้สอบอาจจะต้องเสนอข้อมูลบางอย่างเพื่อเน้นสร้างความเป็นกลาง
คำแนะนำ เนื่องจากไม่อนุญาตให้ใช้เครื่องคิดเลข ดังนั้นผู้สอบที่ไม่ถนัดคณิตศาสตร์ควรเตรียมตัวและฝึกซ้อมมาอย่างดี นอกจากนี้ในส่วนของ Section 3 นั้นถือเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้สอบได้แสดงความสามารถในการคิดและวิเคราะห์ ดังนั้นจึงต้องใช้การเขียนสื่อสารภาษาอังกฤษที่อ่านได้เข้าใจง่าย กระชับ ถูกต้องและแม่นยำ รวมถึงแสดงให้เห็นการคิดเชิงตรรกะจากทางผู้สอบด้วยเช่นกัน

 


BMAT ยากไหม ต้องสอบอะไรบ้าง

ข้อสอบ BMAT หรือ BioMedical Admissions Test ประกอบด้วย 3 ส่วน ดังนี้

  • Section 1: Aptitude and Skills เป็นส่วนที่วัดทักษะการแก้ปัญหา และการวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆของผู้สอบ มีข้อสอบทั้งหมด 35 ข้อ เป็นคำถามแบบเลือกตอบ ให้เวลาทำข้อสอบ 60 นาที
  • Section 2: Scientific Knowledge and Applications เป็นส่วนที่วัดความสามารถในการประยุกต์ใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ครอบคลุมในรายวิชาฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา และคณิตศาสตร์ในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายช่วงประมาณ ม.4 ซึ่งความยาก-ง่ายจะพอๆกับ IGCSE ,  GCSE มีทั้งหมด 27 ข้อ ให้เวลาทำข้อสอบ 30 นาที และเป็นแบบเลือกตอบเช่นเดียวกันค่ะ
  • Section 3: Writing Task เป็นส่วนที่ต้องการวัดความสามารถในการเรียบเรียงจัดระบบความคิด และสื่อสาร ถ่ายทอดผ่านการเขียนที่รัดกุม กระชับ แต่เต็มไปด้วยประสิทธิภาพ ซึ่งในส่วนนี้จะมีคำถามให้เลือก 3 ข้อ ผู้เข้าสอบสามารถเลือกหัวข้อที่จะเขียนได้ 1 หัวข้อ ในเวลา 30 นาที
    น้องๆสามารถเข้าไปศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้นะคะว่าแต่ละ section มีรายละเอียดการออกข้อสอบอย่างไรบ้าง ทาง BMAT นั้นใจดีสุดๆ บอกได้ละเอียดมากๆ ตามลิงค์นี้ได้เลยค่ะ http://www.admissionstestingservice.org

 


แนะนำหนังสือสำหรับ เตรียมสอบ BMAT

ว่าที่คุณหมอต้องฟังทางนี้…น้อง ๆ คนไหนที่มีความฝันอยากเรียนต่อในคณะแพทยศาสตร์ อาจจะเคยได้ยินมาบ้างแล้วว่า คณะทางด้านนี้โดยส่วนใหญ่จะต้องมีผลคะแนน BMAT หรือ Biomedical admissions test ใช้ในการยื่นด้วย ซึ่งข้อสอบ BMAT เป็นข้อสอบที่เราไม่สามารถสอบได้บ่อยๆ และยังมีเนื้อหาที่ต้องใช้สอบหลายส่วนมาก ๆ ด้วย ดังนั้น เราจึงมักเห็นน้อง ๆ ที่กำลังเตรียมสอบวิชานี้ต้องอ่านหนังสือกันเยอะมาก

วันนี้เราก็เลยจะมาแนะนำหนังสือสำหรับการเตรียมสอบ BMAT ที่จะช่วยให้น้อง ๆ มีแนวทางในการเลือกอ่านหนังสือได้เหมาะกับตัวเราเองมากขึ้นค่า

เริ่มต้นกันที่เล่มแรก The Official Guide to the Biomedical Admission Test เป็นหนังสือที่เหมาะสำหรับคนที่ยังไม่เคยสอบหรือไม่ค่อยมีพื้นฐานมากนัก เนื่องจากในเล่มนี้ ะมีการแสดงวิธีทำของคำถามให้ มี Tips สำหรับการทำข้อสอบในแต่ละส่วน มีการสรุปเนื้อหาให้ และที่สำคัญคือเป็นหนังสือ Official Guide จัดทำโดยทีมงานที่ออกข้อสอบเองค่ะ

book preparing for the bmat

เล่มต่อมา เหมาะสำหรับคนที่ต้องการเน้นไปที่การทำโจทย์โดยเฉพาะ เราขอแนะนำ THE ULTIMATE BMAT GUIDE : 800 PRACTICE QUESTIONS หนังสือเล่มนี้จะรวบรวมโจทย์ไว้เยอะถึงประมาณ 800 ข้อเลยทีเดียว นอกจากนี้ยังมีข้อสอบเสมือนจริงให้ถึง 3 ชุดอีกด้วย เรียกได้ว่าทำข้อสอบกันให้จุใจไปเลย และที่สำคัญตอนที่ฝึกทำ อย่าลืมจับเวลาจริงด้วยนะคะ

book the ultimate bmat guide

มาถึงเล่มสุดท้าย ถ้าใครยังอยากทำโจทย์ให้เยอะขึ้นอีก เราขอแนะนำสองเล่มนี้เลยค่ะ BMAT PAST PAPER Work Solutions: Volumes 1&2 หนังสือเตรียมสอบสองเล่มนี้จะรวบรวมข้อสอบเก่ามาให้เราฝึกทำแบบเน้น ๆ เหมาะสำหรับคนที่มีพื้นฐานดีแล้ว โดยจะมีเฉลยละเอียดให้ทุกข้อ น้องคนไหนเป็นสายตะลุยโจทย์ต้องไม่พลาดค่ะ

book bmat past paper

และทั้งหมดนี้ก็คือหนังสือสำหรับการเตรียมสอบ BMAT ที่เราอยากแนะนำให้น้อง ๆ ที่กำลังจะสอบลองเตรียมตัว ซึ่งมีครบทั้งคนที่ชอบแบบอธิบายละเอียด และคนที่อยากเน้นทำโจทย์ สามารถเลือกในแบบที่เราต้องการได้เลยค่ะ แต่หากใครที่ชอบให้มีคนคอยอธิบายหรือแนะนำแนวทางให้มากกว่า แนะนำให้เลือกเรียนคอร์สที่เน้นติวสอบ BMAT โดยเฉพาะซักคอร์ส นอกจากจะไม่ต้องอ่านหนังสือเองทั้งหมดแล้ว ยังประหยัดเวลาในการเตรียมตัวอีกด้วย หากน้อง ๆ คนไหนสนใจและยังไม่รู้ว่าจะเรียนคอร์ส BMAT ที่ไหนดี สามารถมาเตรียมตัวในคอร์ส BMAT ของจุฬาติวเตอร์ได้นะคะ คอร์สเรียนของเรานั้นมีสอนครบทุกพาร์ทในคอร์สเดียวเลยค่ะ

Scroll to Top