การสอบ BMAT Test คือ สอบอะไร? ค่าสอบ? สอบเมื่อไร?ทุกเรื่องที่น้องๆ กำลังจะสอบต้องรู้ ห้ามพลาด โดยเฉพาะคะแนนที่ควรได้ สำหรับการสอบติด หมอ อินเตอร์ เพราะในนี้ได้รวบรวมคะแนนเฉลี่ย คณะแพทย์ หลักสูตรนานาชาติ ยอดฮิต ว่าควรได้คะแนนเท่าไร พร้อมทั้งอัพเดท ปฎิทินสอบ มาไว้ที่นี้
BioMedical Admissions Test หรือ BMAT คือ ข้อสอบเฉพาะทางสำหรับผู้ที่ต้องการศึกษาต่อในสาขา แพทย์ ทันตแพทย์ สัตวแพทย์ วิทยาศาสตร์การแพทย์ จัดสอบโดย Cambridge Assessment Admissions Testing ทั้งนี้ คะแนน บีแมท จำเป็นสำหรับใช้ยื่นเข้ามหาลัยหลักสูตรอินเตอร์ และหลักสูตรไทย ในระบบ TCAS รอบ Portfolio โดยไม่ต้องสอบของ กสพท (แพทย์ หลักสูตรไทย สามารถใช้คะแนน BMAT หรือ กสพท ก็ได้)
1. เข้าใจรูปแบบแนวข้อสอบ BMAT Section 1 ชอบถามตามประเด็นต่อไปนี้
2. มีคลังคำศัพท์ BMAT ที่หลากหลาย
คำศัพท์ BMAT จะไม่ได้ยาก แต่ข้อสอบมักจะออกบทความเกี่ยวกับ วิทยาศาสตร์ อาชญาวิทยา ดาราศาสตร์ กฎหมาย รวมไปถึง แพทยศาสตร์ และอื่นๆ เพราะฉะนั้น น้องๆ ควรรู้คำศัพท์ที่หลากหลายจะทำให้ได้คะแนนในพาร์ทนี้เพิ่มขึ้น
3. อ่านสอบโดยเน้น เนื้อหาที่ออกสอบ จากมากสุด ไปหาน้อยสุด
4. BMAT Section 1 : Problem Solving จากสถิติข้อสอบจะออก 4 แนวด้วยกันคือ
ข้อสอบ Math ใน section 2 ข้อสอบจะออก 6 ข้อ โดยจะมีเรื่องหลักๆ ที่ออกดังนี้
ทำความเข้าใจกับข้อสอบว่าข้อสอบชอบออกเรื่องไหน แล้วเน้นเรื่องนั้นเป็นพิเศษ
1. Mechanics ข้อสอบออกประมาณ 30%
ได้แก่ เรื่อง kinematics, dynamics, work, energy, and power อาจมีการพูดถึงเรื่อง momentum บ้าง
2. Waves ข้อสอบออกประมาณ 22%
มักถามเกี่ยวกับ wave equation, reflection and refraction, electromagnetic waves รวมไปถึงเรื่อง sound
3. Radioactivity ข้อสอบออกประมาณ 19%
เน้นเรื่อง radioactive decay and half-life
4. Electricity ข้อสอบออกประมาณ 17%
มักจะออกเรื่อง electric charges และเรื่อง circuits โดยจะพูดถึงวงจรไฟฟ้ากระแสตรงเป็นหลัก
5. Magnetism ข้อสอบออกประมาณ 5%
ออกเรื่อง transformers เป็นหลัก อาจมีการพูดถึงเรื่อง electromagnetic induction บ้าง
6. Matter ข้อสอบออกประมาณ 4%
ออกเรื่อง density เป็นหลัก
7. Thermal physics ข้อสอบออกประมาณ 3%
มักจะออกเรื่อง heat transfer เป็นหลัก
ข้อสอบ BMAT Chemistry มักจะออกเรื่องต่อไปนี้ ทุกรอบ
เพราะฉะนั้นน้องๆ ที่จะสอบ BMAT Chemistry ต้องได้เรื่องเหล่านี้ และ สำหรับเรื่อง Rate of reaction (อัตราการเกิดปฏิกิริยา – ปัจจัยที่มีผลต่ออัตราการเกิดปฏิกิริยา) ,Equilibrium (สมดุลเคมี – หลักของเลอชาเตรีเย) ,Gas (ก๊าซ – กฎของก๊าซ) ,Hydrocarbon (ไฮโดรคาร์บอน – คุณสมบัติโดยทั่วไปของไฮโดรคาร์บอน) ข้อสอบมักจะเลือกมาออก สอบ BMAT บ้างรอบ
ข้อสอบ Biology มักจะออกเรื่องต่อไปนี้ ทุกรอบ
เซลล์ – เข้าใจโครงสร้างและหน้าที่ของเซลล์สัตว์ เซลล์พืชและเซลล์แบคทีเรีย รวมถึงรู้จักการจัดอันดับอย่างเป็นลำดับขั้นตั้งแต่เซลล์ เนื้อเยื่อ และอวัยวะ
การเคลื่อนที่ของสารผ่านเยื่อหุ้ม – รู้จักนิยามของคำว่าการแพร่ ออสโมซิส และการเคลื่อนที่ของสารแบบใช้พลังงาน (active transport) รวมถึงต้องสามารถยกตัวอย่างให้ได้
การแบ่งเซลล์และการกำหนดเพศ – ข้อสอบ BMAT Biology จะออกเรื่องไมโทซิส ไมโอซิส การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศและแบบไม่อาศัยเพศ การกำหนดเพศ
การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม – เรื่องที่ออกสอบจะมีเรื่องโครโมโซม หรือยีนทั้งในเซลล์พืชและเซลล์สัตว์ การผสมที่พิจารณาลักษณะเดียว (monohybrid cross) และจำให้ได้ว่านิวเคลียสคือสถานที่เก็บสารพันธุกรรม
ดีเอ็นเอ – เข้าใจว่าโครโมโซม และสามารถอธิบายโครงสร้างของดีเอ็นเอ การสังเคราะห์โปรตีน การกลายพันธุ์ระดับยีนให้ได้
เทคโนโลยียีน – เนื้อหาที่ออกสอบ BMAT Biology คือเรื่องพันธุวิศวกรรม เซลล์ต้นกำเนิด
ความแปรผัน – การคัดเลือกตามธรรมชาติและวิวัฒนาการ แหล่งกำเนิดความแปรผันและการสูญพันธุ์
เอนไซม์ – เข้าใจตัวเร่งปฏิกิริยาทางชีวภาพ กลไกการทำงานของเอนไซม์และเข้าใจปัจจัยที่ส่งผลต่อการทำงานของเอนไซม์ รวมถึงเอนไซม์ที่ใช้ย่อยอาหาร
สรีรวิทยาของสัตว์ – เนื้อหาที่ออกสอบ BMAT Biology คือการหายใจ ระบบอวัยวะ การรักษาดุลยภาพ ฮอร์โมน โรคภัยและการป้องกันโรคของร่างกาย
ข้อสอบ จะมี 3 Part ด้วยกัน คือ Part 1 .Thinking skills Part 2. Scientific Knowledge and Applications ในข้อสอบส่วนนี้ จะเป็นเนื้อหาวิชา คณิต ฟิสิกส์ เคมี ชีวะ เป็นส่วนที่น้องๆ หลายคนมักบอกว่าง่ายที่สุด ใน 3 พาร์ททั้งหมด เพราะฉนั้น น้องควรต้องเก็บคะแนนในส่วนที่ 2 ให้ได้ และ Part 3.Writing Task เป็นส่วนที่ยากที่สุดของข้อสอบ คร่าวนี้ลองมาดูแบบเจาะลึกในแต่พาร์ทกันว่ามี รายละเอียดอย่างไรบ้าง
พาร์ทนี้ข้อสอบจะเป็นแนว problem solving (หรือที่เรียกกันว่า Aptitude) จำนวน 16 ข้อ และ ข้อสอบแนว critical thinking (หรือที่เรียกกันว่า Critical analysis) จำนวน 16 ข้อ รวมทั้งหมด ข้อสอบพาร์ท Thinking skills มี 32 ข้อ ให้เวลาในการสอบ 60 นาที
พาร์ทนี้ข้อสอบจะเป็นส่วนเนื้อหาของวิชา Physics Chemistry Biology และ Math ข้อสอบปรนัย 27 ข้อ ให้เวลาในการสอบ 30 นาที
Question : ออกเรื่อง Atomic Structure , The Periodic Table , Metals , Chemical reactions , Formulae and equations , functional groups , Chemical bonding , structure and properties , Oxidation , reduction and redox , Energetics , Separation techniques , Chemical tests , Acids , bases and salts , เคมีวิเคราะห์ , Electrolysis , Rates of reaction , Kinetic , Particle theory , Carbon , Air and water , เคมีอินทรีย์
ออกเรื่อง Electricity , Thermal physics , Matter , Magnetism , Mechanics , Radioactivity , Waves
ออกเรื่อง Biomedical Science , Cells , Inheritance , DNA , Movement across membranes , Cell division and sex determination , Gene technologies , Variation , Enzymes , Animal physiology , Ecosystems
ออกเรื่อง Geometry , Algebra , Probability , Number , Word Problem , Statistic
พาร์ทนี้จะเป็นการเขียนบรรยาย โดยข้อสอบจะให้เลือกตอบคำถาม 1 ข้อจาก 3 ข้อที่ ข้อสอบให้มา โดยข้อสอบส่วนนี้จะเป็นการวัดความสามารถในการจัดการความคิดและสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ
ข้อสอบในส่วนของ Thinking skills และ Scientific Knowledge and Applications จะมีคะแนนอยู่ที่ ข้อละ 1 คะแนน โดยคะแนนสอบของทั้งสอง 2 พาร์ท จะถูกนำมาคิดคำนวนรวมกันอยู่ระหว่าง 1 คะแนน (น้อยสุด) ถึง 9 คะแนน (สูงสุด) โดยส่วนมากแล้ว นักเรียนจะได้คะแนน อยู่ที่ 5-7 คะแนน
ข้อสอบ Writing Task จะมีผู้ตรวจ 2 ท่าน โดยจะถูกแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ 1) คะแนนคุณภาพเนื้อหา จะอยู่ที่ 0 – 5 คะแนน 2) คะแนนความรู้และการใช้ภาษาอังกฤษ คะแนนจะถูกคิดเป็น A , C , E
สมัครโดยการกรอก BMAT Registration form (แบบฟอร์ม)
ดูวิธีสมัคร สมัครสอบ BMAT แบบละเอียด
ค่าสอบ BMAT Test จะอยู่ที่ 6,950 บาท กรณีสมัครล่าช้า จะมีค่าใช้จ่ายอีก 2,000 บาท
ตารางสอบ BMAT จะมีเปิดสอบ 3 รอบต่อปี แต่น้องจะมีโอกาสสอบได้เพียง 1 ครั้งเท่านั้น และ น้องต้องดูรายละเอียดด้วยว่า คณะที่สนใจเข้านั้นใช้ ได้ประกาศว่าใช้คะแนนสอบของเดือนไหน เช่น จุฬาฯ คณะทันตะ ใช้คะแนน รอบสอบ เดือนตุลาคม แสดงว่า แม้มีการจัดสอบหลายครั้ง แต่น้องมีโอกาสสอบเพียงแค่ 1 ครั้ง/ปี เท่านั้น
วันที่ | รายละเอียด |
1-29 กันยายน 2565 | ช่วงเวลาลงทะเบียนปกติ |
4-11 ตุลาคม 2565 | สถานที่สอบ จะแจ้ง Confirm ใน email 1 อาทิตย์ ก่อนวันสอบ |
18 ตุลาคม 2565 | วันสอบ |
25 พฤศจิกายน 2565 | ประกาศผลสอบออนไลน์ |
คะแนนเต็ม 9 โดยมีรายละเอียด ดังนี้ การคิดคะแนน จะแยกเป็น 2 ส่วน คือ
ส่วนที่1) Section 1 และ Section 2
ส่วนที่2) Sectionที่3 สำหรับคะแนนที่สามารถใช้ยื่นเข้ามหาลัยได้ น้องควรได้คะแนน อยู่ที่ช่วง 10.6 – 15.3
ข้อมูล BMAT Results สถิติเก่าที่ สอบติด แพทย์ จุฬา คะแนนเฉลี่ย 15.5 , แพทย์ รามา คะแนนเฉลี่ย 14.7, แพทย์ มข. (MDX) คะแนนเฉลี่ย 9.8 , แพทย์ มข. (MDO2) คะแนนเฉลี่ย 9.5 , แพทย์-ทันตะ CICM คะแนนเฉลี่ย 11.3 , แพทย์ มศว คะแนนเฉลี่ย 12.6 แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่คะแนนที่สอบของแต่ละปี ด้วย ข้อมูลูที่กล่าวมาเป็นสถิติของอดีต ส่วนการคิดคะแนนมีวิธีคิดังนี้
BMAT Section 1 และ Section 2 มีคะแนนเต็ม 9 โดย 1 = ต่ำสุด , 9 = สูงสุด น้องๆส่วนใหญ่จะได้คะแนนประมาณ 5 ซึ่งเป็นคะแนนระดับเฉลี่ย ในการสอบ น้องที่สามารถทำได้ 6 ถือว่าค่อนข้างสูง และน้อยคนมากที่่จะได้มากกว่า 7
BMAT Section 3 จะมีคะแนนสองแบบคือคะแนน 0-5 และคะแนนที่ระบุเป็น A, C, E โดยกรรมการที่ตรวจข้อสอบและให้คะแนนจะมีสองคน แต่ละคนจะให้คะแนนคนละ 2 แบบ คือให้ทั้งแบบตัวเลขและตัวอักษร จากนั้นจึงนำคะแนนดังกล่าวมาเฉลียออกมาเป็นหนึ่งคะแนนสุดท้าย ยกตัวอย่างเช่น คนหนึ่งให้คะแนน 4C ส่วนอีกคนให้คะแนน 4A คะแนนเฉลี่ยที่สรุปได้คือ 4B นั่นเองค่ะ
หลักการคิด คะแนน Writing คุณภาพของเนื้อหา Quality of Content จะให้คะแนนเป็นตัวเลข 0 – 5 (0=ต่ำสุด, 5=สูงสุด)
1 คือ การเขียนเนื้อหาพอได้ แต่ตอบไม่ตรงประเด็น
2 คือ การเขียนตรงประเด็นตามโจทย์ แต่ขาดใจความสำคัญที่ชัดเจน
3 คือ การเขียนที่ตอบทุกแง่มุมของคำถาม มีการสร้างข้อโต้แย้งที่สมเหตุผล แต่มีข้อโต้แย้งทางแนวคิดที่ไม่เชื่อมโยงกัน
4 คือ คำตอบที่มีการผิดพลาดเพียงเล็กน้อย ตอบตรงประเด็น มีการสร้างข้อโต้แย้งที่ดี การโต้แย้งแบบเป็นเหตุเป็นผล มีการจัดเรียงประโยคทีดี สอดคล้องกับโจทย์และเรื่องโต้แย้ง
5 คือ คำตอบที่เยี่ยมที่สุด ชัดเจน ตรงประเด็นตามโจทย์ ไม่มีจุดบกพร่อง มีการเรียบเรียงประโยคแสดงแนวความคิดอย่างชัดเจน มีเหตุผล โดยพิจารณาจากประเด็นที่เกียวข้องอย่างกว้างๆ และนำไปสู่การสังเคราะห์หรือข้อสรุปที่น่าสนใจ
หลักการคิดคะแนน Writing คุณภาพของการใช้ภาษาอังกฤษ Quality of English จะให้คะแนนเป็นตัวอักษร A, C, E (E=ต่ำสุด, A=สูงสุด)
Band A หมายถึง การใช้ภาษาอังกฤษในระดับที่ดี โครงสร้างประโยคดี หลักไวยกรณ์ถูกต้อง เลือกใช้คำศัพท์ มีการสะกดคำได้ดี และมีเครื่องหมายวรรคตอน โดยรวมแล้วมีข้อผิดพลาดน้อยที่สุด
Band C หมายถึง การใช้ภาษาอังกฤษในระดับพอใช้ โครงสร้างประโยคเรียบง่ายไม่คลุมเคลือ การใช้คำศัพท์ หลักไวยกรณ์ การสะกดคำ และเครื่องหมายวรรคตอนที่เหมาะสม สมเหตุสมผล
Band E หมายถึง การใช้ภาษาอังกฤษที่คอนข้างอ่อน อ่านยาก โครงสร้างประโยคและหลักไวยกรณ์ไม่ถูกต้อง รวมไปถึงการใช้คำศัพท์และสะกดคำนั้นไม่ถูกต้องเช่นเดียวกัน
หน่วยงานที่จัด สนามสอบ BMAT Thailand จะมี 3 อยู่ 3 ที่คือ Capwise , CICM Thammasat University , British Council Bangkok โดยหน่วยงานที่จัดสอบจะมีสนามสอบให้กับน้องๆ ใน กรุงเทพ และตามต่างจังหวัด เช่น เชียงใหม่ , ขอนแก่น , นครราชสีมา , สงขลา , ปทุมธานี , ภูเก็ต
เตรียมสอบ BMAT Preparation แบบ ติว BMAT ตัวต่อตัว กับ รุ่นพี่ ที่มากประสบการณ์ ที่เชี่ยวชาญใน Section ของข้อสอบนั้นโดยตรง พร้อมทั้งนำ past papers มาติวให้กับน้องเพื่อเพิ่มความมั่นใจ และคุ้นเคยกับข้อสอบ
น้องสามารถเลือก เรียน คอร์ส BMAT ตัวต่อตัวได้ที่ สถาบัน มาบุญครอง ชั้น4 มีห้องส่วนตัวให้ สามารถเลือกวันและเวลาเรียน หรือ จะ ติวออนไลน์ ผ่านทาง Zoom กับ พี่ที่เชี่ยวชาญข้อสอบโดยตรง ที่จะนำ ตัวอย่าง ข้อสอบ รอบล่าสุด มาให้ติวให้กับน้องๆ
ติวตัวต่อตัว | ||||
จำนวนนักเรียน | จำนวนชั่วโมง | |||
10 ชม. | 20 ชม. | ![]() 30 ชม. |
40 ชม. | |
1 คน | 14,000 ฿ | 22,000 ฿ | 33,000 ฿ | 44,000 ฿ |
2 คน (ประหยัดถึง 25%) | 21,000 ฿ | 33,000 ฿ | 49,500 ฿ | 66,000 ฿ |
3 คน (ประหยัดถึง 40%) | 29,680 ฿ | 39,600 ฿ | 59,400 ฿ | 79,200 ฿ |
แถมฟรี 2 ชม. | แถมฟรี 4 ชม. | |||
หมายเหตุ : คอร์สส่วนตัว ห้องเรียนส่วนตัว เรียนที่สถาบัน กับ ติวเตอร์มากประสบการณ์ สามารถเลือกวันและเวลา เรียนเองได้ |