กศน คืออะไร กศน. อินเตอร์ ทางเลือกของการศึกษานอกระบบ

กศน.

สอบเทียบ กศน คืออะไร

กศน. คือ การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย โดยเมื่อก่อนนั้น คำว่า กศน. ย่อมาจาก การศึกษานอกโรงเรียน แต่ต่อมาก็ได้มีการปรับคำจำกัดความใหม่ จึงเป็นไปตามความหมายดังที่ได้กล่าวไปแล้วในข้างต้น หลักสูตร กศน. นั้นจะมีทั้งระดับชั้นประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น และมัธยมศึกษาตอนปลาย มีการจัดรูปแบบการเรียนหลากหลาย ซึ่งไม่ได้จำกัดเฉพาะการนั่งเรียนในห้องเรียนเท่านั้น

กศน. ยังสามารถเรียนรู้ด้วยตนเอง รวมไปถึงการเรียน กศน.ออนไลน์ ผ่านระบบของสำนักงาน กศน. ที่ชื่อว่า EDU Online ซึ่งการเรียน กศน. ออนไลน์นี้ถือเป็นรูปแบบการเรียนที่สะดวกกับผู้เรียนไม่น้อยเลยทีเดียว และสุดท้ายเราสามารถสมัครสอบ กศน. ได้ที่หน่วยงานที่เราเรียนอยู่ได้เลยค่ะ

เรียน กศน. อินเตอร์ ด้วยคอร์ส GED จบ ม. ปลายได้ใน 1 เดือน

คอร์สเรียนสดออนไลน์ผ่าน Zoom อยู่ที่ไหน ก็เรียน จบ ม.ปลาย ได้

จบม.ปลาย ด้วยการสอบ GED หลักสูตร กศน. อินเตอร์ ที่น้อง ๆ สามารถเรียนและสอบได้ใน 1 เดือน ยิ่งจบม.ปลายได้เร็ว ก็ยิ่งมีเวลาเหลือเยอะมากขึ้นสำหรับการเตรียมตัวสอบเข้าในระดับมหาวิทยาลัย น้อง ๆ คนไหนชอบรูปแบบการเรียนนี้ รีบเตรียมตัวแล้วไปลุยสอบ GED กันเลย

หลักสูตร กศน. อินเตอร์อย่างการสอบ GED จะใช้ภาษาอังกฤษในการออกข้อสอบทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นวิชา Mathematical Reasoning, Reasoning Through Language Arts, Social Studies และ Science ก็ไม่สามารถหลีกเลี่ยงภาษาอังกฤษได้เลยแม้แต่วิชาเดียว จึงอาจจะทำให้น้อง ๆที่ไม่มั่นใจพื้นฐานภาษาอังกฤษ มีความกังวลว่าจะสอบไม่ผ่าน ไม่กล้าสอบ หรือหลาย ๆคน อาจจะกำลังไม่มั่นใจพื้นฐานของวิชาอื่นด้วย เช่น คณิตศาสตร์ Social เป็นต้น ถึงเวลาทิ้งความกังวลเหล่านั้น แล้วหันมาเตรียมตัวอสอบ GED อย่างจริงจังกับจุฬาติวเตอร์ได้แล้ววันนี้

คอร์สเรียน GED ที่จุฬาติวเตอร์ เรามุ่งเน้นให้นักเรียนได้เรียนอย่างครบถ้วนทุกรายวิชา สอนครอบคลุมทั้งส่วนที่เป็นพื้นฐานและแนวข้อสอบ วิธีการทำข้อสอบ รวมไปถึงการให้คำแนะนำในการสมัครสอบ และขั้นตอนอื่นๆด้วย ให้น้อง ๆมั่นใจได้ว่า แม้จะไม่มีพื้นฐานวิชาใด ๆ มาก่อนก็ตาม ยังไม่เคยสอบ ยังไม่เคยมีประสบการณ์เกี่ยวกับ GED คอร์สเรียนนี้ก็สามารถช่วยให้น้อง ๆ สามารถสอบผ่านได้ หรือแม้แต่ปัญหาด้านอื่น ๆ เช่น สมัครสอบไม่เป็น ไม่แน่ใจเรื่องขั้นตอนต่าง ๆ เอกสารต้องเตรียมอะไรบ้าง ที่นี่ก็มีคำแนะนำดี ๆ ให้เช่นเดียวกัน เรียกได้ว่าเป็นคอร์สเรียน GED ที่มีครบ ตอบโจทย์ทุกความต้องการจริง ๆ น้อง ๆคนไหนสนใจการสอบ GED อยากจบม.ปลาย ด้วยกศน. อินเตอร์ คอร์สเรียน GED รอทุกคนอยู่ที่นี่…ที่จุฬาติวเตอร์


รหัสคอร์ส วันเรียน รอบ เวลา หมายเหตุ เหลือที่นั่ง อาจารย์
G190224 19 ก.พ. - 22 มี.ค. จ-ศ 13:00-16:00
[เต็มแล้ว]
0 เปิ้ล
G040324 4 มี.ค. - 5 เม.ย. จ-ศ 13:00-16:00
[เต็มแล้ว]
0 เปิ้ล
G180325 18 มี.ค. - 26 เม.ย. จ-ศ 13:00-16:00
จองที่นั่ง
2 เปิ้ล
G010426 1 เม.ย. - 10 พ.ค. จ-ศ 13:00-16:00
จองที่นั่ง
5 เปิ้ล

กศน. ในประเทศไทย มีโครงสร้างหลักสูตรอย่างไรบ้าง

โครงสร้างหลักสูตร กศน. จะเน้นให้ครอบคลุมในหลาย ๆ ทักษะ เช่น ทักษะทางด้านวิชาการ ทักษะการดำเนินชีวิต ทักษะทางด้านการประกอบอาชีพ เป็นต้น โดยหลักสูตร กศน. ในแต่ละระดับชั้นตั้งแต่ประถมศึกษาไปจนถึงมัธยมศึกษาตอนปลาย ก็จะมีโครงสร้างหลักสูตร จำนวนหน่วยกิตที่ต้องเรียนแตกต่างกันไป ดังนี้

สาระการเรียนรู้จำนวนหน่วยกิต
 ประถมศึกษามัธยมศึกษาตอนต้นมัธยมศึกษาตอนปลาย
 

วิชาบังคับ

(หน่วยกิต)

วิชาเลือก

(หน่วยกิต)

วิชาบังคับ

(หน่วยกิต)

วิชาเลือก

(หน่วยกิต)

วิชาบังคับ

(หน่วยกิต)

วิชาเลือก

(หน่วยกิต)

ทักษะการเรียนรู้5 5 5 
ความรู้พื้นฐาน12 16 20 
การประกอบอาชีพ8 8 8 
ทักษะการดำเนินชีวิต5 5 5 
การพัฒนาสังคม6 6 6 
รวม361240164432
48 หน่วยกิต56 หน่วยกิต76 หน่วยกิต
กิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต200 ชั่วโมง200 ชั่วโมง200 ชั่วโมง
หมายเหตุ : วิชาเลือกแต่ละระดับชั้น สถานศึกษาจะต้องจัดให้ผู้เรียน เรียนรู้จากการทำโครงงานจำนวนอย่างน้อย 3 หน่วยกิต

กศน. มีการแบ่งภาคการศึกษาและการจัดสอบอย่างไรบ้าง

การเรียนและการสอบ กศน. จะมีการเปิดรับสมัคร การเปิดภาคเรียน และการสอบคล้ายๆกับโรงเรียนปกติทั่วไป ดังนี้

ภาคเรียนกิจกรรมเดือน
ภาคเรียนที่ 1รับสมัครนักศึกษาเมษายน
 เปิดภาคเรียนพฤษภาคม
 สอบปลายภาคกันยายน
ภาคเรียนที่ 2รับสมัครนักศึกษาตุลาคม
 เปิดภาคเรียนพฤศจิกายน
 สอบปลายภาคมีนาคม

กศน. เรียนอย่างไร

การเรียนในระบบ กศน. ในประเทศไทยนั้น จะต้องเรียนให้ครบตามที่หลักสูตรกำหนด ซึ่งเราได้ทราบกันไปแล้วว่า หลักสูตร กศน. ในแต่ละระดับชั้นต้องเรียนอะไรบ้าง และต้องเรียนกี่หน่วยกิต ซึ่งนักศึกษาจะต้องทำการลงทะเบียนเรียนด้วยตัวเอง โดยสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมกับศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยในพื้นที่ของแต่ละคนได้เลย

ส่วนช่องทางการเรียนนั้นมีหลายแบบ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับแต่ละพื้นที่ด้วยว่ามีความพร้อมในการจัดการเรียนการสอนแบบไหน เช่น การเรียนในห้องเรียน การเรียนรู้ด้วยตนเอง หรือการเรียนแบบทางไกลหรือ กศน. ออนไลน์ เป็นต้น และแน่นอนว่าการเรียน กศน. ก็มีการสอบ การวัดและประเมินผลเหมือนระบบโรงเรียนปกติเช่นกัน โดยจะมีทั้งการสอบปลายภาคตามปกติทั่วไป และการสอบ N-NET (Non-Formal National Education Test)

ซึ่งเป็นการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติของระบบ กศน. การทดสอบนี้จะสอบเพื่อวัดความรู้ให้แก่นักเรียนที่กำลังศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ตามหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551 ที่คาดว่าจะสำเร็จการศึกษาในภาคเรียนที่ 1 และภาคเรียนที่ 2 ของปีการศึกษานั่นเองค่ะ และทั้งนี้ ตามหลักสูตรของ กศน. ก็ได้กำหนด

เกณฑ์การจบหรือการได้วุฒิ กศน. ไว้ด้วย ดังนี้

1. สอบผ่านในแต่ละรายวิชา แต่ละระดับ

2. ผ่านเกณฑ์การประเมินจากกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต ไม่น้อยกว่า 200 ชั่วโมง

3. ผ่านประเมินคุณธรรมในระดับพอใช้ขึ้นไป

4. เข้ารับการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติของระบบ กศน. (N-NET)

กศน. อินเตอร์ ทางเลือกที่น่าสนใจของการศึกษานอกระบบ

สำหรับใครที่มีความสนใจเรื่อง กศน. หรือการสอบเทียบในระดับม.ปลายอยู่แล้ว แต่ไม่อยากเรียน กศน. ตามหลักสูตรปกติ ในประเทศไทยจะมี กศน. อินเตอร์ ซึ่งเป็นการเรียนด้วยหลักสูตรของต่างประเทศให้เลือกเรียนกันด้วย

ที่สำคัญคือ วุฒิ กศน. อินเตอร์เหล่านี้ สามารถใช้ยื่นสมัครเรียนต่อระดับมหาวิทยาลัยในประเทศไทยและต่างประเทศได้ตามปกติ เรียกได้ว่าเป็นการเพิ่มโอกาสในการเรียนต่อ ให้เรามีทางเลือกในการยื่นมหาวิทยาลัยได้เยอะขึ้นมาก ๆ

อีกสิ่งหนึ่งที่หากไม่พูดถึงก็คงมิได้ นั่นก็คือ การเรียนและการสอบเทียบ กศน. อินเตอร์นี้ หากเราตั้งใจเต็มที่ก็สามารถจบม.ปลายได้ในระยะเวลาที่สั้นกว่าอย่างแน่นอน เราไปดูกันดีกว่าค่ะว่ามีหลักสูตรไหนให้เราเลือกเรียนกันบ้าง

1. GED (General Educational Development) คือ

ระบบการสอบเทียบวุฒิการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายซึ่งเป็นหลักสูตรของสหรัฐอเมริกา เป็นการเรียน กศน. อินเตอร์ที่ช่วยให้น้อง ๆ นักเรียนหลายคนจบม.6 และสอบเข้ามหาวิทยาลัยได้เร็วขึ้นอย่างมาก โดย GED ประกอบไปด้วย 4 รายวิชา ได้แก่ Reasoning Through Language Arts, Science, Social Studies และ Mathematical Reasoning ข้อสอบเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด ซึ่งผู้สอบจะต้องมีอายุ 16 ปีขึ้นไป

GED มีคะแนนเต็มทั้งหมด 800 คะแนน แบ่งเป็นวิชาละ 200 คะแนนเต็ม โดยผู้สอบจะต้องได้คะแนนไม่ต่ำกว่า 145 คะแนนจึงจะถือว่าสอบผ่าน ซึ่งปกติแล้วเราจะรู้ผลคะแนนได้ทันทีหลังสอบเสร็จ หรืออย่างช้าคือภายใน 24 ชม. หลังสอบเสร็จ และหลังจากที่สอบผ่านครบทุกวิชาแล้ว เราสามารถทำเรื่องขอเอกสารวุฒิและทรานสคริปมาจากอเมริกาได้โดยตรง โดยมีค่าใช้จ่ายรวมทั้งหมดประมาณ $110

GED มีการจัดสอบทุกวัน ในแต่ละวันจะมีหลายช่วงเวลาให้เลือกสอบ ซึ่งตรงนี้เองที่เป็นจุดสำคัญที่จะช่วยให้นักเรียน กศน. หรือนักเรียน Home School ที่ไม่ได้ไปโรงเรียนแล้ว สามารถเรียนจบในระดับเทียบเท่า ม.6 ได้ภายในระยะเวลาอันสั้น ทั้งนี้ เราสามารถเข้าไปสมัครสอบผ่านระบบออนไลน์ได้ที่ https://ged.com ค่าสอบวิชาละ $75 และยังมีสนามสอบให้เราเลือกได้ด้วยว่าจะสอบในกรุงเทพหรือต่างจังหวัด ดังนี้

– Pearson Professional Centers กรุงเทพมหานคร

– Paradigm Language Institute กรุงเทพมหานคร

– Assumption University จ. สมุทรปราการ

– Thabyay Education Foundation อ. แม่สอด จ. แม่ฮ่องสอน

– Movaci จ. เชียงใหม่

การสอบ GED ยังมีข้อดีตรงที่มีความยืดหยุ่นสูง คือ หากเราสอบไม่ผ่านในรายวิชาใดก็ตาม เราสามารถสมัครสอบรายวิชานั้นเพื่อสอบใหม่ได้เลย (เสียค่าสมัครสอบตามปกติ) โดยให้สูงสุดถึง 3 ครั้งต่อรายวิชา หากสอบครบ 3 ครั้งแต่ยังไม่ผ่านในรายวิชานั้น ๆ ก็รอเพียงแค่ 60 วัน เราก็จะสามารถสอบใหม่ได้อีก เรียกได้ว่าเป็นวุฒิ กศน. อินเตอร์ที่น่าสนใจมาก ๆ

ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://www.chulatutor.com/blog/ged/

2. IGCSE & A Level คือ

การสอบเทียบวุฒิมัธยมศึกษาตอนปลายในระบบอังกฤษ ซึ่งหาก IGCSE เทียบเท่ากับระบบการศึกษาของประเทศไทยจะเทียบเท่าได้ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ดังนั้น เพื่อให้เพียงพอสำหรับการเทียบเท่าในระดับม.ปลาย ผู้เรียนจะเรียน A Level ต่อไปด้วยนั่นเอง

โดยผู้ที่เลือกเรียนหลักสูตร IGCSE จะต้องเรียนและสอบให้ผ่านอย่างน้อย 5 รายวิชา จุดเด่นที่น่าสนใจ ของ กศน. อินเตอร์ตัวนี้คือ เราสามารถเลือกวิชาการเรียนและสอบได้ตามความสนใจได้เลย บอกได้เลยว่าดีสุด ๆ จะมีเพียงแค่ 2 วิชาเท่านั้นที่หลักสูตรนี้ขอบังคับให้ทุกคนสอบ นั่นคือ Math และ ESL (English as a second language) เพราะถือว่าเป็นวิชาหลักที่สำคัญ

นอกนั้นเราสามารถเลือกเรียนได้ตามความสนใจ โดย IGCSE นั้นมีรายวิชาให้เราเลือกเรียนมากกว่า 70 รายวิชา เยอะมาก ๆ เลยใช่ไหมล่ะคะ เลือกไม่ถูกกันเลยทีเดียว

IGCSE จะมีการจัดสอบอยู่ 2 ครั้ง/ปี ได้แก่ ช่วงเดือนพ.ค. – มิ.ย. และช่วงเดือนต.ค. – พ.ย. อาจจะไม่ได้มีสอบบ่อยเท่า GED แต่หากเราฟิตเต็มที่จนสามารถสอบให้ผ่านทั้ง 5 วิชาได้ภายในการสอบช่วงเดียวเลยก็ยังประหยัดเวลามากกว่าการเรียน กศน. ปกติอยู่เยอะทีเดียวค่ะ

ส่วนการให้คะแนนนั้น จะมีตั้งแต่ระดับ A* ลงไปจนถึงเกรด G โดยเกรดที่ถือว่าสอบผ่าน จะต้องได้ไม่ต่ำกว่า C แต่อย่างไรก็ตาม อาจจะมีบางคณะหรือบางมหาวิทยาลัยที่อาจจะต้องการเกรดที่สูงกว่านี้ก็ได้ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับรายละเอียดคุณสมบัติของแต่ละมหาวิทยาลัยด้วย

ข้อสอบ IGCSE จะเป็นแบบเขียนตอบ หรืออาจจะมีสอบปฏิบัติด้วยแล้วแต่รายวิชา ข้อสอบเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด นอกจากนี้ยังแบ่งระดับของข้อสอบออกเป็น 2 แบบตามความยากง่าย ได้แก่ ระดับ Core ที่จะได้เกรดสูงสุดคือ C และระดับ Extended ที่จะได้เกรดสูงสุดคือ A* เรียกง่าย ๆ ว่า การสอบแบบ Core จะง่ายกว่าการสอบแบบ Extended นั่นเอง

ซึ่งหากถามว่าเราจะทราบผลสอบได้เมื่อไหร่ ก็ต้องบอกเลยว่า โดยปกติแล้วจะใช้เวลาประมาณ 1-2 เดือน

เมื่อสอบผ่าน IGCSE แล้ว ก็จะเป็นการมุ่งหน้าสู่การเรียนและสอบ A Level เพื่อให้ได้มาซึ่งวุฒิเทียบเท่าม.ปลายอย่างสมบูรณ์ ซึ่งระบบการเรียนการสอบก็จะคล้าย ๆ กับ IGCSE แต่ลักษณะการเรียนจะเน้นการเรียนเชิงลึกมากขึ้นในรายวิชาที่เราเลือกมา ซึ่งจำนวนที่ต้องสอบให้ผ่านสำหรับ A Level ได้กำหนดไว้คืออย่างน้อย 3 รายวิชาค่ะ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.chulatutor.com/blog/igcse/

ความแตกต่างระหว่าง กศน. GED และ IGCSE & A Level

รายละเอียดกศน.GEDIGCSE & A Level
ระดับของวุฒิเทียบเท่า

– ประถมศึกษา

– มัธยมศึกษาตอนต้น

– มัธยมศึกษาตอนปลาย

– มัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6)– มัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6)
หน่วยงานการจัดสอบ/ออกวุฒิการศึกษาสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

GED Testing Service

ประเทศสหรัฐอเมริกา

Cambridge Assessment International Education

สหราชอาณาจักร

รายวิชาในหลักสูตร

เน้นรายวิชาให้ครอบคลุมในด้าน

– การเรียนรู้

– ความรู้พื้นฐาน

– การประกอบอาชีพ

– การดำเนินชีวิต

– การพัฒนาสังคม

– กิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต

ประกอบไปด้วย 4 รายวิชา

– Reasoning Through Language Arts

– Science

– Social Studies

– Mathematical Reasoning

มีหลายวิชาให้เลือกกว่า 70 รายวิชาโดยแบ่งเป็นกลุ่มวิชา

– Creative and professional

– English language and literature

– Humanities and social sciences

– Languages

– Mathematics

– Sciences

เกณฑ์การสอบผ่าน

1. สอบผ่านในรายวิชาต่าง ๆ ตามจำหน่วนหน่วยกิตที่กำหนด

– ประถม 48 หน่วยกิต

– มัธยมศึกษาตอนต้น 56 หน่วยกิต

– มัธยมศึกษาตอนปลาย 76 หน่วยกิต

2. ผ่านกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต ไม่น้อยกว่า 200 ชั่วโมง

3. ผ่านการประเมินคุณธรรม ในระดับพอใช้ขึ้นไป

4. สอบ N-NET

แต่ละวิชา ได้คะแนนไม่ต่ำกว่า 145 คะแนน

– IGCSE อย่างน้อย 5 รายวิชา โดยแต่ละวิชาได้เกรดไม่ต่ำกว่า C

– A Level อย่างน้อย 3 วิชา โดยแต่ละวิชาได้เกรดไม่ต่ำกว่า C

ความถี่ในการจัดสอบภาคการศึกษาละ 1 ครั้ง

มีเปิดสอบทุกวัน

มีหลายเวลาให้เลือกสอบ

เปิดสอบปีละ 2 ครั้ง ได้แก่

ช่วงเดือนพ.ค. – มิ.ย. และเดือนต.ค. – พ.ย.

ระยะเวลาผลสอบออกขึ้นอยู่กับสำนักงาน กศน. ในเขตพื้นที่กำหนดรู้ผลสอบทันทีหลังสอบเสร็จรอผลสอบประมาณ 2-3 เดือน
ค่าธรรมเนียมการสอบไม่กำหนดค่าธรรมเนียม$75

6,000 – 9,000 บาทต่อวิชา

แต่ละวิชามีอัตราค่าสอบไม่เท่ากัน

ศูนย์สอบ/สถานที่สอบสำนักงาน กศน. ในเขตพื้นที่ใกล้บ้าน

– Pearson Professional Centers กรุงเทพมหานคร

– Paradigm Language Institute กรุงเทพมหานคร

– Assumption University จ. สมุทรปราการ

– Thabyay Education Foundation อ. แม่สอด จ. แม่ฮ่องสอน

– Movaci จ. เชียงใหม่

– British Council

– Harrow International School

เราจะเห็นได้ว่านอกจากการเรียน กศน. อินเตอร์นั้นจะช่วยประหยัดเวลาได้เยอะมาก ๆ จากที่ต้องเรียนเป็นปี ก็สามารถย่นระยะเวลาให้เราสามารถสอบจบได้โดยใช้เวลาเพียงไม่กี่เดือน โดยเฉพาะ GED ที่มีรอบสอบแทบทุกวัน แถมยังรู้ผลสอบได้เร็วอีกด้วย ซึ่งนั่นจะทำให้เราวางแผนการสอบในครั้งต่อ ๆ ไปได้รวดเร็วมากขึ้นตามไปด้วยค่ะ ส่วน IGCSE & A Level ก็เลือกวิชาตามความสนใจของเราได้เลย ถือเป็นแนวทางการเรียนที่น่าสนใจทีเดียวค่ะ

อยากสอบ กศน. อินเตอร์ ต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง

สำหรับใครที่สนใจการเรียน กศน. อินเตอร์ ไม่ว่าจะเป็น GED หรือ IGCSE & A Level ที่จุฬาติวเตอร์เรามีคอร์สเรียนที่สอนอย่างครบถ้วนทั้งพื้นฐานและการตะลุยแนวข้อสอบ แม้ผู้เรียนจะไม่มีพื้นฐานมาก่อนเลย หรือภาษาอังกฤษอ่อนมากก็ไม่ใช่ปัญหาเลยค่ะ คอร์สเรียนของเราจะช่วยให้การเตรียมตัวสอบ กศน. อินเตอร์ ทั้ง GED และ IGCSE & A Level กลายเป็นเรื่องง่ายขึ้น นอกจากจะได้ความรู้ในรายวิชาใหม่ ๆ แล้วยังเพิ่มโอกาสในการเรียนต่อมหาวิทยาลัยให้มีทางเลือกมากขึ้นกว่าเดิมได้อีกด้วย เพราะเราสามารถใช้วุฒิเทียบเท่าที่ได้มาจากการสอบ GED หรือ IGCSE & A Level สมัครเรียนต่อได้ทั้งในประเทศและต่างประเทศ

Related Posts